ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

นโยบายการจัดหาเลือกซื้อเครื่องประดับและอัญมณีอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Sourcing) ของ CIBJO

Jun 1, 2020
2639 views
10 shares

จัดหาเลือกซื้ออัญมณี 1. ขอบเขตของนโยบาย

            นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO (“นโยบาย”) เป็นข้อแนะนำและแนวทางสำหรับสมาชิก CIBJO ตลอดจนภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบ “หลักการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง” ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเครื่องประดับ นโยบายนี้สามารถนำไปปฏิบัติผ่านกระบวนการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอาจดำเนินการแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท ห่วงโซ่อุปทาน และภาคอุตสาหกรรม

            นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบนำเสนอแนวทางและกระบวนการซึ่งผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับอัญมณีอาจนำไปใช้เพื่อให้ความมั่นใจว่าสมาชิกจะจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายในห่วงโซ่อุปทานของตน

            นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบเป็นแนวทางเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain due diligence) นโยบายนี้ไม่ใช่ระบบจัดการความสามารถในการสืบค้นแหล่งที่มาของโลหะมีค่าหรืออัญมณีย้อนกลับไปยังแหล่งทำเหมือง และไม่ควรได้รับคำอธิบายหรือได้รับการตีความว่าเป็นระบบแสดงลำดับการครอบครองวัตถุ (chain of custody)

            นโยบายนี้ควรได้รับการนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาพเงื่อนไขในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทแต่ละแห่ง นโยบายนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดระเบียบวิธีการอย่างละเอียดในการตรวจสอบสถานะ เนื่องจากระเบียบวิธีการดังกล่าวย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทและภาคอุตสาหกรรม

            นโยบายนี้เป็นข้อแนะนำและเป็นแนวทางให้แก่สมาชิก CIBJO ตลอดจนภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับโดยรวม และไม่ได้เป็นการบัญญัติมาตรฐานหรือกลไกการปฏิบัติตามระเบียบโดย CIBJO ดังนั้น CIBJO ขอแนะนำว่า หากสมาชิกต้องการการรับรองหรือหลักฐานยืนยันอย่างเป็นทางการว่าตนได้ปฏิบัติตามนโยบายนี้ ขอให้สมาชิกดำเนินการผ่านองค์กรรับรองมาตรฐานระดับสากล ดังที่ได้ระบุไว้ในภาคผนวกของนโยบาย
 


2. ความท้าทายในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับอัญมณี

            นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO เกิดจากการเล็งเห็นว่าห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับอัญมณีแยกย่อยออกเป็นหลายส่วน มีความหลากหลาย และมีหลายมิติ อีกทั้งยังมีความซับซ้อนหลายระดับแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและแต่ละภาคส่วนของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงธุรกิจโลหะมีค่าและอัญมณี

            ที่สำคัญ นโยบายนี้ยังได้จัดทำขึ้นโดยเล็งเห็นว่าห่วงโซ่อุปทานของพลอยสีนั้นพึ่งพาแหล่งทำเหมืองแบบดั้งเดิม ตลอดจนกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (“SME”) เป็นหลัก ดังนั้น ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดจึงไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางนี้ได้โดยทันที แนวทางนี้ควรถือว่าเป็น “แนวทางการดำเนินการ” ซึ่งตั้งอยู่บนหลักของการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

            เราไม่ได้คาดว่าบริษัททุกแห่งจะสามารถดำเนินการตามแนวทางนี้ได้ทันทีหรือปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นโยบายนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้บริษัทแต่ละแห่งดำเนินการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิดความถูกต้องและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ภายในห่วงโซ่อุปทานผ่านการตรวจสอบสถานะตามกำลังความสามารถของบริษัท
 


3. นโยบายการจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO

            นโยบายการจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO เป็นไปตามแนวทางการตรวจสอบสถานะเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบสำหรับแร่จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและมีความเสี่ยงสูง (Due Diligence Guidance for Responsible Supply Chains of Minerals from Conflict-Affected and High-Risk Areas) ซึ่งออกโดยองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Cooperation and Development: OECD) นอกจากนี้ ยังเป็นไปตามแผนการรับรอง Kimberley Process (Kimberley Process Certification Scheme) และสนับสนุนแนวทางของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) CIBJO คาดหวังว่าสมาชิกและบริษัทที่ดำเนินการตามแนวทางนี้จะปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในประเทศที่ตนดำเนินธุรกิจอยู่ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบด้วย

            แนวทางการตรวจสอบสถานะของ OECD (www.oecd.org/corporate/mne/mining.htm) อธิบายถึงวิธีการที่จะช่วยให้บริษัทระบุและจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้นทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานของแร่ ตั้งแต่ผู้ทำเหมือง ผู้ส่งออกท้องถิ่นและผู้แปรรูปแร่ ไปจนถึงบริษัทผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกที่ใช้แร่เหล่านี้ในสินค้าของตน แนวทางดังกล่าวสามารถใช้ได้กับแร่ทุกประเภทและครอบคลุมทั่วโลก แนวทางดังกล่าวได้รับการอ้างอิงและนำไปใช้ในกฎระเบียบของสหรัฐอเมริกา (“กฎหมาย Dodd-Frank”) และเป็นพื้นฐานให้ระเบียบของ EU ว่าด้วยห่วงโซ่อุปทานแร่ที่มีความรับผิดชอบ


นโยบายเลือกซื้ออัญมณี

            CIBJO กำหนดให้ผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานเพชรปฏิบัติตามแนวทางว่าด้วยระบบการรับประกันในอุตสาหกรรมสำหรับสินค้าเพชร (Industry System of Warranties Guidelines for diamonds) ซึ่งออกโดย WDC

            CIBJO แนะนำให้สมาชิกทุกรายดำเนินการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานของตนตามแนวทางการตรวจสอบสถานะของ OECD เพื่อให้แน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างมีความรับผิดชอบ
นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO แนะนำให้บริษัทสมาชิกควร (1) มีนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ และ (2) ดำเนินการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานของบริษัทและใช้การตรวจสอบสถานะนี้เพื่อระบุ ประเมิน และบรรเทาความเสี่ยงใดๆ ที่ระบุได้
 
3.1 กำหนดและดำเนินนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

            สมาชิกทุกรายควรจัดให้มี “เจ้าหน้าที่กำกับดูแล” โดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่กำหนดและดำเนินนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัท ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบสถานะภายในบริษัทและรายงานผล (ถ้ามี) ในหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม “เจ้าหน้าที่กำกับดูแล” อาจเป็นเจ้าของบริษัทเอง

            สมาชิกควรมีนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับขอบเขตของธุรกิจ ประเภทโลหะมีค่าและ
อัญมณีที่ใช้ในธุรกิจ ตลอดจนความซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทาน นโยบายนี้ควรเหมาะสมกับธุรกิจและไม่จำเป็นต้องซับซ้อนหรือมีรายละเอียดสูง แต่ควรมีความชัดเจนสำหรับผู้จัดหาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อีกทั้งการดำเนินนโยบายนี้ควรสามารถตรวจสอบได้ผ่านเอกสารการทำธุรกรรม

            สมาชิกควรมีเอกสารระบุเงื่อนไขในการทำธุรกิจกับผู้จัดหา ตลอดจนนโยบายและกระบวนการที่สอดคล้องกับนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัท เจ้าหน้าที่กำกับดูแลควรกำหนดและสื่อสารให้ผู้จัดหาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกรับทราบนโยบายของบริษัทว่าด้วยแนวทางปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบภายในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห่วงโซ่อุปทานของโลหะมีค่า (โลหะในกลุ่มทอง เงิน และแพลทินัม) รวมถึง
อัญมณี(เพชร พลอยสี และไข่มุก)

            สมาชิกควรสามารถแสดงให้เห็นว่าได้ดำเนินการตามเงื่อนไขในการทำธุรกิจและนโยบายเหล่านี้ทั่วทั้งธุรกิจของตน ผ่านเอกสารการทำธุรกรรม เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบรับประกัน ใบส่งมอบ ใบรับรองผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
 
3.2 การตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทาน

            สมาชิกควรมีกระบวนการตรวจสอบสถานะที่พิสูจน์ได้เพื่อทำความเข้าใจและร่างแผนผังโครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานของตนให้ครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงมีการระบุตัวผู้จัดหาของตนอย่างชัดเจน มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ “รู้จักลูกค้า/คู่ค้าของคุณ” (Know Your Customer/Counterparty: KYC) เงื่อนไขในการทำธุรกิจ ตลอดจนหลักฐานยืนยันแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เช่น ใบรับรองการสกัดโลหะมีค่า ใบแจ้งหนี้ การยืนยันความถูกต้องด้วยบล็อกเชน ฯลฯ

            สมาชิกของ CIBJO ควรเข้าใจอย่างละเอียดว่าผู้จัดหา (Supplier) ของตนเป็นใคร (เช่น จากทะเบียนบริษัท เว็บไซต์ของบริษัท ฯลฯ) ดำเนินกระบวนการ “KYC” กับผู้จัดหาเหล่านี้ (ดังรายละเอียดด้านล่าง) มีเงื่อนไขในการทำธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีเอกสารแสดงแหล่งที่มาของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบและ/หรือนโยบายด้านห่วงโซ่อุปทานของบริษัทควรรวมอยู่ในสัญญาและ/หรือข้อตกลงกับผู้จัดหาทุกราย

            ด้วยการตรวจสอบสถานะดังกล่าว ในกรณีส่วนใหญ่ สมาชิกน่าจะสามารถระบุความเสี่ยงใดๆ ในห่วงโซ่อุปทาน มีกระบวนการประเมินความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลกระทบทางลบจากความเสี่ยงดังกล่าว และพร้อมที่จะสื่อสารกับคู่ค้าเพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาหรือกำจัดความเสี่ยง

            ในการทำความเข้าใจห่วงโซ่อุปทาน บริษัทควรดำเนินการประเมินความเสี่ยงเพื่อระบุความเสี่ยงใดๆ ในห่วงโซ่อุปทานที่อาจขัดแย้งกับนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัทเท่าที่สามารถทำได้

            นอกจากนี้ บริษัทควรประเมินความเสี่ยงจากผลกระทบทางลบใดๆ ภายในห่วงโซ่อุปทานของโลหะมีค่าและ
อัญมณีแต่ละประเภท (ตัวอย่างเช่น ประเมินว่าห่วงโซ่อุปทานของโลหะมีค่าหรืออัญมณีประเภทหนึ่งๆ อาจเกี่ยวข้องกับการจัดหาจากพื้นที่ซึ่งมีความขัดแย้งหรือไม่)

            หากระบุความเสี่ยงใดๆ ได้แล้ว บริษัทควรวางแผนและดำเนินกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว อีกทั้งดำเนินการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทานให้ละเอียดยิ่งขึ้น การดำเนินการดังกล่าวอาจรวมถึง


            ก. การรายงานผลการประเมินความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทาน (ดังระบุข้างต้น) แก่ผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย (ถ้ามี) แม้ผลการประเมินจะระบุว่าไม่พบความเสี่ยงก็ตาม

            ข. การจัดทำและดำเนินแผนบริหารความเสี่ยง จัดทำกลยุทธ์เพื่อบริหารความเสี่ยง โดยอาจทำการค้าต่อไประหว่างบรรเทาความเสี่ยงที่วัดได้ หรือระงับการค้าชั่วคราวระหว่างบรรเทาความเสี่ยงที่วัดได้ หรือยกเลิกการทำธุรกิจกับผู้จัดหาหลังจากบรรเทาความเสี่ยงไม่ สำเร็จหรือบริษัทอาจลงความเห็นว่าการบรรเทาความเสี่ยงนั้นไม่สามารถเป็นไปได้หรือไม่สามารถยอมรับได้

            ค. การดำเนินแผนบริหารความเสี่ยง การตรวจและติดตามผลการบรรเทาความเสี่ยง และการรายงานกลับไปยังผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย

            ง. การประเมินข้อเท็จจริงและความเสี่ยงเพิ่มเติมสำหรับความเสี่ยงที่ต้องได้รับการบรรเทา หรือหลังจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

            บริษัทควรดำเนินการหรือสนับสนุนการยืนยันความถูกต้องหรือการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานโดยองค์กรอิสระจากภายนอก ณ จุดที่พบความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบริษัทในห่วงโซ่อุปทานและขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของบริษัท
หากเป็นไปได้ บริษัทควรรายงานผลการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทานผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัท รายงานความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร หรือรายงานประจำปี
 
3.3 รู้จักคู่ค้าของคุณ (Know Your Counterparty: KYC)

            สมาชิกควรใช้หลักการ “รู้จักลูกค้า/คู่ค้าของคุณ” (KYC) กับห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งกำหนดให้ธุรกิจทำการระบุตัวองค์กรทั้งหมดที่ทำธุรกิจด้วยเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งยังต้องเข้าใจความสัมพันธ์ทางธุรกิจของตนอย่างกระจ่างชัด และมีความสามารถตามสมควรในการระบุและตอบสนองต่อรูปแบบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติหรือน่าสงสัย

            หลักการ KYC ดังกล่าวควรนำไปใช้กับสินค้าคงคลังกลุ่มโลหะมีค่าและ/หรือ
อัญมณีที่มีอยู่ก่อนหน้าหรือสินค้าที่เก็บค้างไว้ในสต็อกด้วย โดยให้พยายามระบุหาแหล่งที่มาของสินค้าที่จัดหามาในอดีตเท่าที่สามารถทำได้ เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้อาจไม่ได้รวมอยู่ในการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
กระบวนการ KYC อาจมีขั้นตอนดังต่อไปนี้


            1. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระบุบ่งชี้ขั้นพื้นฐาน

            2. การตรวจสอบชื่อโดยเทียบกับรายชื่อที่เปิดเผยอยู่ก่อนแล้ว (เช่น ทะเบียนบริษัท)

            3. การกำหนดรายละเอียดนโยบายและกระบวนการของสมาชิก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการระบุแหล่งที่มาของเศษวัสดุ/วัสดุรีไซเคิล)

            4. การตัดสินความเสี่ยงของสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มที่โลหะมีค่าและอัญมณีจะมาจากพื้นที่ความขัดแย้ง รวมถึงการค้าสินค้าเหล่านี้ผ่านธุรกรรมที่ใช้เงินสด

            5. การกำหนดความคาดหวังต่อพฤติกรรมในการทำธุรกรรมของลูกค้า

            6. การติดตามธุรกรรมของลูกค้าเทียบกับพฤติกรรมที่คาดหวังและการบันทึกข้อมูลของลูกค้า

            ควรมีการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลัก KYC สำหรับแหล่งที่มาทั้งหมดของวัสดุรีไซเคิลหรือ “เศษวัสดุ”
 
3.4 การต่อต้านการฟอกเงิน (AML) การติดสินบน และค่าใช้จ่ายเพื่ออำนวยความสะดวก
           
            สมาชิกควรกำหนดนโยบายดังนี้


            1. ห้ามสมาชิกและตัวแทนที่กระทำการในนามของสมาชิกกระทำการติดสินบนในการดำเนินธุรกิจและทำธุรกรรมต่างๆ

            2. ปกป้องพนักงานไม่ให้ถูกลงโทษหรือได้รับผลสืบเนื่องทางลบจากการบ่งชี้โดยสุจริตใจถึงกรณีที่สงสัยว่าจะมีการติดสินบน การปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในการติดสินบน หรือการปฏิเสธที่จะจ่ายค่าอำนวยความสะดวกในกรณีที่กฎหมายห้ามไว้

            3. กำหนดเกณฑ์และกระบวนการอนุมัติสำหรับพนักงานว่าด้วยการให้และ/หรือรับของขวัญจากบุคคลภายนอก

            4. อบรมเรื่องนโยบายและกระบวนการต่างๆ ให้แก่ผู้จัดการและพนักงานที่เกี่ยวข้อง

            5. บันทึกข้อมูลของขวัญที่มอบให้และได้รับจากบุคคลภายนอกในทะเบียนของขวัญตามนโยบายที่สมาชิกกำหนดไว้

            6. สืบสวนกรณีใดๆ ที่สงสัยว่าจะมีการติดสินบนภายในองค์กร

            หากการจ่ายค่าอำนวยความสะดวกเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ตามกฎหมาย สมาชิกควรดำเนินการดังนี้

            1. ดำเนินการต่างๆ เพื่อยกเลิกการจ่ายค่าอำนวยความสะดวกทั้งหมด หรือลดจำนวนเงินและความถี่ของค่าอำนวยความสะดวกตามระยะเวลา

            2. ตรวจสอบดูแลให้ค่าอำนวยความสะดวกมีลักษณะและขอบเขตที่จำกัด

            3. ดำเนินการควบคุมเพื่อติดตาม กำกับดูแล และชี้แจงได้อย่างครบถ้วนถึงกรณีการจ่ายค่าอำนวยความสะดวกใดๆ โดยสมาชิกหรือตัวแทนที่กระทำในนามสมาชิก

            สมาชิกควรใช้หลัก รู้จักคู่ค้าของคุณ (KYC ดังระบุข้างต้น) กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจไม่ว่าจะเป็นผู้จัดหาหรือลูกค้า รวมถึงติดตามธุรกรรมเพื่อตรวจหาการกระทำที่ผิดปกติหรือน่าสงสัย และรายงานกรณีที่น่าสงสัยว่าจะมีการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

            สมาชิกควรทำบันทึกธุรกรรมเงินสดหรือธุรกรรมคล้ายเงินสดทั้งหมดที่เกินขอบเขตทางการเงินตามที่กฎหมายระบุไว้ และรายงานข้อมูลนี้ให้แก่ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด
 
3.5 การบริหารความเสี่ยงเพื่อการจัดหาสินค้าที่ “ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง”

            การตรวจสอบสถานะควรมีจุดประสงค์เพื่อยืนยันว่าไม่มีการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่กลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ ผ่านการสกัด การขนส่ง การค้า การส่งมอบ หรือการส่งออกโลหะมีค่าหรืออัญมณีที่ใช้ในสินค้าของสมาชิก สมาชิกควรดำเนินมาตรการประเมินห่วงโซ่อุปทานของตนเพื่อระบุความเสี่ยงใดๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง

            การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐในทางตรงหรือทางอ้อมผ่านการสกัด การขนส่ง การค้า การส่งมอบ หรือการส่งออกโลหะมีค่าหรืออัญมณีนั้น รวมถึงการจัดซื้อสินค้า การชำระเงินให้ การให้ความช่วยเหลือทาง
โลจิสติกส์ หรือการจัดหาอุปกรณ์ให้แก่กลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องซึ่งกระทำการดังนี้


            1. ควบคุมเหมืองหรือแหล่งผลิตโดยผิดกฎหมาย หรือไม่เช่นนั้นก็ควบคุมเส้นทางการขนส่ง ควบคุมจุดที่มีการค้าโลหะมีค่าและอัญมณีและควบคุมผู้มีบทบาทในธุรกิจต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทาน และ/หรือ

            2. เรียกเก็บเงินโดยผิดกฎหมายหรือกรรโชกทรัพย์หรือโลหะมีค่าและอัญมณี ณ จุดทางเข้าเหมืองแร่หรือแหล่งผลิต ตามเส้นทางการขนส่ง หรือจุดที่มีการค้าโลหะมีค่าและอัญมณี และ/หรือ

            3. เรียกเก็บเงินโดยผิดกฎหมายหรือขู่กรรโชกคนกลาง บริษัทส่งออก หรือผู้ค้าระหว่างประเทศ

            สมาชิกสามารถให้ความมั่นใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงเพื่อการจัดหาที่ “ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง” ด้วยการรับรองตามมาตรฐานและแนวทางสากล (เช่น การรับรอง Kimberley Process ว่าด้วยความเสี่ยงที่การค้าเพชรจะเป็นการสนับสนุนด้านการเงินแก่กลุ่มกบฎหรือความขัดแย้งกับรัฐบาล หรือมาตรฐาน LBMA Responsible Sourcing สำหรับโลหะมีค่า)
 
3.6 สิทธิมนุษยชน

            สมาชิกควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนเองและผู้จัดหาเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามแนวทางของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจและสภาพการณ์ โดยมีแนวทางขั้นต่ำดังนี้


            1. นโยบายของบริษัทมุ่งให้ความเคารพแก่สิทธิมนุษยชนโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

            2. วางมาตรการในการตรวจสอบสถานะของสมาชิก โดยมุ่งระบุ ป้องกัน บรรเทา และชี้แจงวิธีการรับมือกับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

            3. ในกรณีที่สมาชิกระบุได้ว่าตนเป็นสาเหตุหรือมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบทางลบด้านสิทธิมนุษยชน สมาชิกควรจัดการหรือร่วมมือในกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อช่วยให้การเยียวยาผลกระทบดังกล่าวเกิดขึ้นได้

            ในการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทานนั้นควรยืนยันด้วยว่าผู้จัดหาของสมาชิกปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนข้อกำหนดด้านการตรวจสอบสถานะอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในแนวทางของ OECD
 
3.7 ความถูกต้องของสินค้า

            สมาชิกควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าโลหะมีค่าหรือ
อัญมณีและสินค้าในห่วงโซ่อุปทานของตนได้รับการนำเสนอและเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องแม่นยำ สอดคล้องกับแนวทางอ้างอิงสำหรับผู้ค้าปลีกของ CIBJO (CIBJO Retailers’ Reference Guide) และ/หรือ CIBJO Blue Book ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมอบใบรับรองและหลักฐานยืนยันอื่นๆ ตามความเหมาะสม (เช่น รายงานการจัดระดับเพชร ใบรับรองความบริสุทธิ์ของทองคำ/หลักฐานการตรวจรับรองทองคำ)

จัดหาอัญมณีอย่างมีความรับผิดชอบ
  
3.8 การแจ้งเตือนล่วงหน้า การร้องทุกข์ และการเปิดโปงข้อมูล

            สมาชิกควรมีหลักฐานของกลไกการร้องทุกข์ระดับบริษัทหรือระดับอุตสาหกรรม โดยเป็นระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงที่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทเองหรือห่วงโซ่อุปทานอื่น สมาชิกควรเก็บคำร้องทุกข์หรือรายงานเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ระบุได้ทั้งหมดไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด
 
3.9 การรับรองการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

            นโยบายของ CIBJO มีจุดประสงค์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่สมาชิก CIBJO และภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับ โดยเล็งเห็นว่าผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมสามารถเลือกให้แนวทางปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบและการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานของตนนั้นได้รับการตรวจสอบและ/หรือรับรองโดยมาตรฐานและกลไกการรับรองอิสระจากภายนอก เช่น The Responsible Jewellery Council (RJC), The Responsible Minerals Initiative (RMI), SCS Responsible Source Standard, The London Bullion Market Association (LBMA) และอื่นๆ อีกมาก

            นอกจากนี้ ทาง CIBJO ยังเล็งเห็นว่าผู้ประกอบการบางรายในภาคอุตสาหกรรมยังไม่พร้อมที่จะทำให้ห่วงโซ่อุปทานของตนได้รับการตรวจรับรองตามแนวทางและมาตรฐานได้โดยทันที ด้วยเหตุนี้จึงเน้นให้ใช้หลักการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่ระบุไว้ในนโยบายฉบับนี้

 
            หากสมาชิกของ CIBJO ประสงค์จะได้รับการรับรองหรือยืนยันการปฏิบัติตามนโยบายของ CIBJO ทาง CIBJO ขอแนะนำให้สมาชิกเข้ารับการรับรองจากองค์กรด้านการรับรองมาตรฐานระดับสากลที่เหมาะสม
           
            CIBJO ได้ให้รายการมาตรฐานและแนวทางที่เกี่ยวข้องไว้ในภาคผนวกของแนวทางนี้ รายการดังกล่าวอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมดและจะยังคงได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการปรับปรุงแนวทางของ CIBJO
           
            สมาชิกควรบรรจุนโยบายของ CIBJO และกระบวนการตรวจสอบสถานะของบริษัทให้รวมเป็นส่วนหนึ่งในขอบเขตของการรับรองที่เกี่ยวข้อง

            CIBJO ขอแนะนำว่าการรับรองใดๆ ตามแผนและมาตรฐานที่ปรากฏชื่อในภาคผนวกนั้นควรได้รับการยืนยันความถูกต้องโดยบริษัทตรวจสอบอิสระจากภายนอกซึ่งเชี่ยวชาญด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ (มีรายชื่อตัวอย่างอยู่ในภาคผนวก)
 


4. ภาคผนวกของแนวทางการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO

4.1 รายชื่อมาตรฐาน แนวทาง และองค์กรรับรอง

            รายชื่อด้านล่างนี้ประกอบด้วยองค์กรด้านมาตรฐานและแนวทางระดับสากลซึ่งสมาชิก CIBJO และผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงและแหล่งสนับสนุนด้านการกำหนดและดำเนินนโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัท รายการนี้อาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด และผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมตลอดจนสมาชิก CIBJO ควรใช้รายการนี้เพื่อการอ้างอิง
 
4.1.1 แนวทางและมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบ

            ก. องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)
           แนวทางการตรวจสอบสถานะเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบสำหรับแร่จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและมีความเสี่ยงสูง (OECD Due Diligence Guidance for Responsible Supply Chains of Minerals from Conflict-Affected and High-Risk Areas) ดูที่ www.oecd.org/corporate/mne/mining.htm

            ข. Responsible Jewellery Council (RJC)
            ระเบียบปฏิบัติของ RJC (RJC Code of Practices) ดูที่ www.responsiblejewellery.com

            ค. Responsible Minerals Initiative (RMI)
           กระบวนการรับรองแร่ที่มีความรับผิดชอบของ RMI (RMI responsible Minerals Assurance process) ดูที่ www.responsiblemineralsinitiative.org

            ง. SCS Global Services
            แนวทางด้านความรับผิดชอบว่าด้วยโลหะ การทำเหมือง และเครื่องประดับของ SCS Global Services (SCS Global Services Responsible Metals, Mining and Jewellery) ดูที่ www.scsglobalservices.com

            จ. Jewelers Vigilance Committee (JVC) ในสหรัฐ
            แนวทางแนะนำเบื้องต้น (Essential Guide Series) ดูที่ www.jvclegal.org
 
4.1.2  แนวทางและมาตรฐานเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบสำหรับโลหะและอัญมณีในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

            ก. London Bullion Market Association (LBMA)
            โครงการการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ LBMA (LBMA Responsible Sourcing programme) www.lbma.org.uk/responsible-sourcing

            ข. World Diamond Council (WDC)
            ระบบการรับประกันของ WDC (WDC System of Warranties) ดู www.worlddiamondcouncil.org
 
4.1.3 แนวทางและมาตรฐานเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบสำหรับการทำเหมืองแบบดั้งเดิม

            ก. Alliance for Responsible Mining (ARM)
            ระเบียบว่าด้วยการบรรเทาความเสี่ยง “CRAFT” สำหรับการทำเหมืองแบบดั้งเดิม (“CRAFT” Code of Risk Mitigation for ASM) ดูที่www.responsiblemines.org

            ข. Diamond Development Initiative
           ดูที่ www.ddiglobal.org

            ค. Fairmined (ทองคำ)
           ดูที่ www.fairmined.org
 
            ง. Fairtrade (ทองคำ)
           ดูที่ www.faitrade.org.uk
 
4.1.4 บริษัทตรวจสอบที่เชี่ยวชาญด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

ชื่อ                                                             เว็บไซต์
Bureau Veritas                                           
    www.bureauveritas.com
Figurad Bedrijfsrevisoren                             
www.figurad.be
Intertek                                                             www.intertek.com
International Associates Ltd                         www.ia_uk.com
ISOQAR (India) Private Ltd                             www.isoqarindia.com
QIMA (Quality Inspection Management)   www.qima.com
Resource Consulting Services                     www.rcsglobal.com
SCS Global Services                                      www.scsglobalservices.com
SGS                                                                   www.sgs.com
UL Responsible Sourcing                              www.ul.com/responsible-sourcing
 
4.2 รายการตรวจสอบด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO

       

*** เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในการจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบ

 

ข้อมูลอ้างอิง


“The CIBJO Responsible Sourcing Policy.” by CIBJO Responsible Sourcing Commission. THE RESPONSIBLE SOURCING BOOK. (2018: pp. 6-14).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

นโยบายการจัดหาเลือกซื้อเครื่องประดับและอัญมณีอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Sourcing) ของ CIBJO

Jun 1, 2020
2639 views
10 shares

จัดหาเลือกซื้ออัญมณี 1. ขอบเขตของนโยบาย

            นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO (“นโยบาย”) เป็นข้อแนะนำและแนวทางสำหรับสมาชิก CIBJO ตลอดจนภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อมอบ “หลักการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง” ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเครื่องประดับ นโยบายนี้สามารถนำไปปฏิบัติผ่านกระบวนการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอาจดำเนินการแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท ห่วงโซ่อุปทาน และภาคอุตสาหกรรม

            นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบนำเสนอแนวทางและกระบวนการซึ่งผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับอัญมณีอาจนำไปใช้เพื่อให้ความมั่นใจว่าสมาชิกจะจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ภายในห่วงโซ่อุปทานของตน

            นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบเป็นแนวทางเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทาน (supply chain due diligence) นโยบายนี้ไม่ใช่ระบบจัดการความสามารถในการสืบค้นแหล่งที่มาของโลหะมีค่าหรืออัญมณีย้อนกลับไปยังแหล่งทำเหมือง และไม่ควรได้รับคำอธิบายหรือได้รับการตีความว่าเป็นระบบแสดงลำดับการครอบครองวัตถุ (chain of custody)

            นโยบายนี้ควรได้รับการนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาพเงื่อนไขในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทแต่ละแห่ง นโยบายนี้ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดระเบียบวิธีการอย่างละเอียดในการตรวจสอบสถานะ เนื่องจากระเบียบวิธีการดังกล่าวย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัทและภาคอุตสาหกรรม

            นโยบายนี้เป็นข้อแนะนำและเป็นแนวทางให้แก่สมาชิก CIBJO ตลอดจนภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับโดยรวม และไม่ได้เป็นการบัญญัติมาตรฐานหรือกลไกการปฏิบัติตามระเบียบโดย CIBJO ดังนั้น CIBJO ขอแนะนำว่า หากสมาชิกต้องการการรับรองหรือหลักฐานยืนยันอย่างเป็นทางการว่าตนได้ปฏิบัติตามนโยบายนี้ ขอให้สมาชิกดำเนินการผ่านองค์กรรับรองมาตรฐานระดับสากล ดังที่ได้ระบุไว้ในภาคผนวกของนโยบาย
 


2. ความท้าทายในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับอัญมณี

            นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO เกิดจากการเล็งเห็นว่าห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับอัญมณีแยกย่อยออกเป็นหลายส่วน มีความหลากหลาย และมีหลายมิติ อีกทั้งยังมีความซับซ้อนหลายระดับแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและแต่ละภาคส่วนของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงธุรกิจโลหะมีค่าและอัญมณี

            ที่สำคัญ นโยบายนี้ยังได้จัดทำขึ้นโดยเล็งเห็นว่าห่วงโซ่อุปทานของพลอยสีนั้นพึ่งพาแหล่งทำเหมืองแบบดั้งเดิม ตลอดจนกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (“SME”) เป็นหลัก ดังนั้น ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดจึงไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางนี้ได้โดยทันที แนวทางนี้ควรถือว่าเป็น “แนวทางการดำเนินการ” ซึ่งตั้งอยู่บนหลักของการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไป

            เราไม่ได้คาดว่าบริษัททุกแห่งจะสามารถดำเนินการตามแนวทางนี้ได้ทันทีหรือปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นโยบายนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้บริษัทแต่ละแห่งดำเนินการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้เกิดความถูกต้องและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ภายในห่วงโซ่อุปทานผ่านการตรวจสอบสถานะตามกำลังความสามารถของบริษัท
 


3. นโยบายการจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO

            นโยบายการจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO เป็นไปตามแนวทางการตรวจสอบสถานะเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบสำหรับแร่จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและมีความเสี่ยงสูง (Due Diligence Guidance for Responsible Supply Chains of Minerals from Conflict-Affected and High-Risk Areas) ซึ่งออกโดยองค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Cooperation and Development: OECD) นอกจากนี้ ยังเป็นไปตามแผนการรับรอง Kimberley Process (Kimberley Process Certification Scheme) และสนับสนุนแนวทางของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) CIBJO คาดหวังว่าสมาชิกและบริษัทที่ดำเนินการตามแนวทางนี้จะปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในประเทศที่ตนดำเนินธุรกิจอยู่ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบด้วย

            แนวทางการตรวจสอบสถานะของ OECD (www.oecd.org/corporate/mne/mining.htm) อธิบายถึงวิธีการที่จะช่วยให้บริษัทระบุและจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้นทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานของแร่ ตั้งแต่ผู้ทำเหมือง ผู้ส่งออกท้องถิ่นและผู้แปรรูปแร่ ไปจนถึงบริษัทผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกที่ใช้แร่เหล่านี้ในสินค้าของตน แนวทางดังกล่าวสามารถใช้ได้กับแร่ทุกประเภทและครอบคลุมทั่วโลก แนวทางดังกล่าวได้รับการอ้างอิงและนำไปใช้ในกฎระเบียบของสหรัฐอเมริกา (“กฎหมาย Dodd-Frank”) และเป็นพื้นฐานให้ระเบียบของ EU ว่าด้วยห่วงโซ่อุปทานแร่ที่มีความรับผิดชอบ


นโยบายเลือกซื้ออัญมณี

            CIBJO กำหนดให้ผู้มีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานเพชรปฏิบัติตามแนวทางว่าด้วยระบบการรับประกันในอุตสาหกรรมสำหรับสินค้าเพชร (Industry System of Warranties Guidelines for diamonds) ซึ่งออกโดย WDC

            CIBJO แนะนำให้สมาชิกทุกรายดำเนินการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานของตนตามแนวทางการตรวจสอบสถานะของ OECD เพื่อให้แน่ใจว่าห่วงโซ่อุปทานเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างมีความรับผิดชอบ
นโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO แนะนำให้บริษัทสมาชิกควร (1) มีนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ และ (2) ดำเนินการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานของบริษัทและใช้การตรวจสอบสถานะนี้เพื่อระบุ ประเมิน และบรรเทาความเสี่ยงใดๆ ที่ระบุได้
 
3.1 กำหนดและดำเนินนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

            สมาชิกทุกรายควรจัดให้มี “เจ้าหน้าที่กำกับดูแล” โดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่กำหนดและดำเนินนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัท ตลอดจนดำเนินการตรวจสอบสถานะภายในบริษัทและรายงานผล (ถ้ามี) ในหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม “เจ้าหน้าที่กำกับดูแล” อาจเป็นเจ้าของบริษัทเอง

            สมาชิกควรมีนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับขอบเขตของธุรกิจ ประเภทโลหะมีค่าและ
อัญมณีที่ใช้ในธุรกิจ ตลอดจนความซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทาน นโยบายนี้ควรเหมาะสมกับธุรกิจและไม่จำเป็นต้องซับซ้อนหรือมีรายละเอียดสูง แต่ควรมีความชัดเจนสำหรับผู้จัดหาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อีกทั้งการดำเนินนโยบายนี้ควรสามารถตรวจสอบได้ผ่านเอกสารการทำธุรกรรม

            สมาชิกควรมีเอกสารระบุเงื่อนไขในการทำธุรกิจกับผู้จัดหา ตลอดจนนโยบายและกระบวนการที่สอดคล้องกับนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัท เจ้าหน้าที่กำกับดูแลควรกำหนดและสื่อสารให้ผู้จัดหาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอกรับทราบนโยบายของบริษัทว่าด้วยแนวทางปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบภายในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห่วงโซ่อุปทานของโลหะมีค่า (โลหะในกลุ่มทอง เงิน และแพลทินัม) รวมถึง
อัญมณี(เพชร พลอยสี และไข่มุก)

            สมาชิกควรสามารถแสดงให้เห็นว่าได้ดำเนินการตามเงื่อนไขในการทำธุรกิจและนโยบายเหล่านี้ทั่วทั้งธุรกิจของตน ผ่านเอกสารการทำธุรกรรม เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบรับประกัน ใบส่งมอบ ใบรับรองผลิตภัณฑ์ ฯลฯ
 
3.2 การตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทาน

            สมาชิกควรมีกระบวนการตรวจสอบสถานะที่พิสูจน์ได้เพื่อทำความเข้าใจและร่างแผนผังโครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานของตนให้ครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงมีการระบุตัวผู้จัดหาของตนอย่างชัดเจน มีรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการ “รู้จักลูกค้า/คู่ค้าของคุณ” (Know Your Customer/Counterparty: KYC) เงื่อนไขในการทำธุรกิจ ตลอดจนหลักฐานยืนยันแหล่งที่มาของวัตถุดิบ เช่น ใบรับรองการสกัดโลหะมีค่า ใบแจ้งหนี้ การยืนยันความถูกต้องด้วยบล็อกเชน ฯลฯ

            สมาชิกของ CIBJO ควรเข้าใจอย่างละเอียดว่าผู้จัดหา (Supplier) ของตนเป็นใคร (เช่น จากทะเบียนบริษัท เว็บไซต์ของบริษัท ฯลฯ) ดำเนินกระบวนการ “KYC” กับผู้จัดหาเหล่านี้ (ดังรายละเอียดด้านล่าง) มีเงื่อนไขในการทำธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีเอกสารแสดงแหล่งที่มาของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบและ/หรือนโยบายด้านห่วงโซ่อุปทานของบริษัทควรรวมอยู่ในสัญญาและ/หรือข้อตกลงกับผู้จัดหาทุกราย

            ด้วยการตรวจสอบสถานะดังกล่าว ในกรณีส่วนใหญ่ สมาชิกน่าจะสามารถระบุความเสี่ยงใดๆ ในห่วงโซ่อุปทาน มีกระบวนการประเมินความเป็นไปได้ที่จะเกิดผลกระทบทางลบจากความเสี่ยงดังกล่าว และพร้อมที่จะสื่อสารกับคู่ค้าเพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาหรือกำจัดความเสี่ยง

            ในการทำความเข้าใจห่วงโซ่อุปทาน บริษัทควรดำเนินการประเมินความเสี่ยงเพื่อระบุความเสี่ยงใดๆ ในห่วงโซ่อุปทานที่อาจขัดแย้งกับนโยบายด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัทเท่าที่สามารถทำได้

            นอกจากนี้ บริษัทควรประเมินความเสี่ยงจากผลกระทบทางลบใดๆ ภายในห่วงโซ่อุปทานของโลหะมีค่าและ
อัญมณีแต่ละประเภท (ตัวอย่างเช่น ประเมินว่าห่วงโซ่อุปทานของโลหะมีค่าหรืออัญมณีประเภทหนึ่งๆ อาจเกี่ยวข้องกับการจัดหาจากพื้นที่ซึ่งมีความขัดแย้งหรือไม่)

            หากระบุความเสี่ยงใดๆ ได้แล้ว บริษัทควรวางแผนและดำเนินกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงดังกล่าว อีกทั้งดำเนินการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทานให้ละเอียดยิ่งขึ้น การดำเนินการดังกล่าวอาจรวมถึง


            ก. การรายงานผลการประเมินความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทาน (ดังระบุข้างต้น) แก่ผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย (ถ้ามี) แม้ผลการประเมินจะระบุว่าไม่พบความเสี่ยงก็ตาม

            ข. การจัดทำและดำเนินแผนบริหารความเสี่ยง จัดทำกลยุทธ์เพื่อบริหารความเสี่ยง โดยอาจทำการค้าต่อไประหว่างบรรเทาความเสี่ยงที่วัดได้ หรือระงับการค้าชั่วคราวระหว่างบรรเทาความเสี่ยงที่วัดได้ หรือยกเลิกการทำธุรกิจกับผู้จัดหาหลังจากบรรเทาความเสี่ยงไม่ สำเร็จหรือบริษัทอาจลงความเห็นว่าการบรรเทาความเสี่ยงนั้นไม่สามารถเป็นไปได้หรือไม่สามารถยอมรับได้

            ค. การดำเนินแผนบริหารความเสี่ยง การตรวจและติดตามผลการบรรเทาความเสี่ยง และการรายงานกลับไปยังผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมาย

            ง. การประเมินข้อเท็จจริงและความเสี่ยงเพิ่มเติมสำหรับความเสี่ยงที่ต้องได้รับการบรรเทา หรือหลังจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

            บริษัทควรดำเนินการหรือสนับสนุนการยืนยันความถูกต้องหรือการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานโดยองค์กรอิสระจากภายนอก ณ จุดที่พบความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของบริษัทในห่วงโซ่อุปทานและขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของบริษัท
หากเป็นไปได้ บริษัทควรรายงานผลการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทานผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัท รายงานความรับผิดชอบทางสังคมขององค์กร หรือรายงานประจำปี
 
3.3 รู้จักคู่ค้าของคุณ (Know Your Counterparty: KYC)

            สมาชิกควรใช้หลักการ “รู้จักลูกค้า/คู่ค้าของคุณ” (KYC) กับห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งกำหนดให้ธุรกิจทำการระบุตัวองค์กรทั้งหมดที่ทำธุรกิจด้วยเท่าที่จะทำได้ อีกทั้งยังต้องเข้าใจความสัมพันธ์ทางธุรกิจของตนอย่างกระจ่างชัด และมีความสามารถตามสมควรในการระบุและตอบสนองต่อรูปแบบการทำธุรกรรมที่ผิดปกติหรือน่าสงสัย

            หลักการ KYC ดังกล่าวควรนำไปใช้กับสินค้าคงคลังกลุ่มโลหะมีค่าและ/หรือ
อัญมณีที่มีอยู่ก่อนหน้าหรือสินค้าที่เก็บค้างไว้ในสต็อกด้วย โดยให้พยายามระบุหาแหล่งที่มาของสินค้าที่จัดหามาในอดีตเท่าที่สามารถทำได้ เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้อาจไม่ได้รวมอยู่ในการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
กระบวนการ KYC อาจมีขั้นตอนดังต่อไปนี้


            1. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระบุบ่งชี้ขั้นพื้นฐาน

            2. การตรวจสอบชื่อโดยเทียบกับรายชื่อที่เปิดเผยอยู่ก่อนแล้ว (เช่น ทะเบียนบริษัท)

            3. การกำหนดรายละเอียดนโยบายและกระบวนการของสมาชิก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการระบุแหล่งที่มาของเศษวัสดุ/วัสดุรีไซเคิล)

            4. การตัดสินความเสี่ยงของสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มที่โลหะมีค่าและอัญมณีจะมาจากพื้นที่ความขัดแย้ง รวมถึงการค้าสินค้าเหล่านี้ผ่านธุรกรรมที่ใช้เงินสด

            5. การกำหนดความคาดหวังต่อพฤติกรรมในการทำธุรกรรมของลูกค้า

            6. การติดตามธุรกรรมของลูกค้าเทียบกับพฤติกรรมที่คาดหวังและการบันทึกข้อมูลของลูกค้า

            ควรมีการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลัก KYC สำหรับแหล่งที่มาทั้งหมดของวัสดุรีไซเคิลหรือ “เศษวัสดุ”
 
3.4 การต่อต้านการฟอกเงิน (AML) การติดสินบน และค่าใช้จ่ายเพื่ออำนวยความสะดวก
           
            สมาชิกควรกำหนดนโยบายดังนี้


            1. ห้ามสมาชิกและตัวแทนที่กระทำการในนามของสมาชิกกระทำการติดสินบนในการดำเนินธุรกิจและทำธุรกรรมต่างๆ

            2. ปกป้องพนักงานไม่ให้ถูกลงโทษหรือได้รับผลสืบเนื่องทางลบจากการบ่งชี้โดยสุจริตใจถึงกรณีที่สงสัยว่าจะมีการติดสินบน การปฏิเสธที่จะมีส่วนร่วมในการติดสินบน หรือการปฏิเสธที่จะจ่ายค่าอำนวยความสะดวกในกรณีที่กฎหมายห้ามไว้

            3. กำหนดเกณฑ์และกระบวนการอนุมัติสำหรับพนักงานว่าด้วยการให้และ/หรือรับของขวัญจากบุคคลภายนอก

            4. อบรมเรื่องนโยบายและกระบวนการต่างๆ ให้แก่ผู้จัดการและพนักงานที่เกี่ยวข้อง

            5. บันทึกข้อมูลของขวัญที่มอบให้และได้รับจากบุคคลภายนอกในทะเบียนของขวัญตามนโยบายที่สมาชิกกำหนดไว้

            6. สืบสวนกรณีใดๆ ที่สงสัยว่าจะมีการติดสินบนภายในองค์กร

            หากการจ่ายค่าอำนวยความสะดวกเป็นสิ่งที่อนุญาตให้ทำได้ตามกฎหมาย สมาชิกควรดำเนินการดังนี้

            1. ดำเนินการต่างๆ เพื่อยกเลิกการจ่ายค่าอำนวยความสะดวกทั้งหมด หรือลดจำนวนเงินและความถี่ของค่าอำนวยความสะดวกตามระยะเวลา

            2. ตรวจสอบดูแลให้ค่าอำนวยความสะดวกมีลักษณะและขอบเขตที่จำกัด

            3. ดำเนินการควบคุมเพื่อติดตาม กำกับดูแล และชี้แจงได้อย่างครบถ้วนถึงกรณีการจ่ายค่าอำนวยความสะดวกใดๆ โดยสมาชิกหรือตัวแทนที่กระทำในนามสมาชิก

            สมาชิกควรใช้หลัก รู้จักคู่ค้าของคุณ (KYC ดังระบุข้างต้น) กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจไม่ว่าจะเป็นผู้จัดหาหรือลูกค้า รวมถึงติดตามธุรกรรมเพื่อตรวจหาการกระทำที่ผิดปกติหรือน่าสงสัย และรายงานกรณีที่น่าสงสัยว่าจะมีการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายให้ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

            สมาชิกควรทำบันทึกธุรกรรมเงินสดหรือธุรกรรมคล้ายเงินสดทั้งหมดที่เกินขอบเขตทางการเงินตามที่กฎหมายระบุไว้ และรายงานข้อมูลนี้ให้แก่ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนด
 
3.5 การบริหารความเสี่ยงเพื่อการจัดหาสินค้าที่ “ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง”

            การตรวจสอบสถานะควรมีจุดประสงค์เพื่อยืนยันว่าไม่มีการสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่กลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐ ผ่านการสกัด การขนส่ง การค้า การส่งมอบ หรือการส่งออกโลหะมีค่าหรืออัญมณีที่ใช้ในสินค้าของสมาชิก สมาชิกควรดำเนินมาตรการประเมินห่วงโซ่อุปทานของตนเพื่อระบุความเสี่ยงใดๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง

            การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐในทางตรงหรือทางอ้อมผ่านการสกัด การขนส่ง การค้า การส่งมอบ หรือการส่งออกโลหะมีค่าหรืออัญมณีนั้น รวมถึงการจัดซื้อสินค้า การชำระเงินให้ การให้ความช่วยเหลือทาง
โลจิสติกส์ หรือการจัดหาอุปกรณ์ให้แก่กลุ่มติดอาวุธที่ไม่ใช่รัฐหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องซึ่งกระทำการดังนี้


            1. ควบคุมเหมืองหรือแหล่งผลิตโดยผิดกฎหมาย หรือไม่เช่นนั้นก็ควบคุมเส้นทางการขนส่ง ควบคุมจุดที่มีการค้าโลหะมีค่าและอัญมณีและควบคุมผู้มีบทบาทในธุรกิจต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทาน และ/หรือ

            2. เรียกเก็บเงินโดยผิดกฎหมายหรือกรรโชกทรัพย์หรือโลหะมีค่าและอัญมณี ณ จุดทางเข้าเหมืองแร่หรือแหล่งผลิต ตามเส้นทางการขนส่ง หรือจุดที่มีการค้าโลหะมีค่าและอัญมณี และ/หรือ

            3. เรียกเก็บเงินโดยผิดกฎหมายหรือขู่กรรโชกคนกลาง บริษัทส่งออก หรือผู้ค้าระหว่างประเทศ

            สมาชิกสามารถให้ความมั่นใจเรื่องการบริหารความเสี่ยงเพื่อการจัดหาที่ “ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง” ด้วยการรับรองตามมาตรฐานและแนวทางสากล (เช่น การรับรอง Kimberley Process ว่าด้วยความเสี่ยงที่การค้าเพชรจะเป็นการสนับสนุนด้านการเงินแก่กลุ่มกบฎหรือความขัดแย้งกับรัฐบาล หรือมาตรฐาน LBMA Responsible Sourcing สำหรับโลหะมีค่า)
 
3.6 สิทธิมนุษยชน

            สมาชิกควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนเองและผู้จัดหาเคารพหลักสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามแนวทางของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับขนาดธุรกิจและสภาพการณ์ โดยมีแนวทางขั้นต่ำดังนี้


            1. นโยบายของบริษัทมุ่งให้ความเคารพแก่สิทธิมนุษยชนโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

            2. วางมาตรการในการตรวจสอบสถานะของสมาชิก โดยมุ่งระบุ ป้องกัน บรรเทา และชี้แจงวิธีการรับมือกับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

            3. ในกรณีที่สมาชิกระบุได้ว่าตนเป็นสาเหตุหรือมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบทางลบด้านสิทธิมนุษยชน สมาชิกควรจัดการหรือร่วมมือในกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อช่วยให้การเยียวยาผลกระทบดังกล่าวเกิดขึ้นได้

            ในการตรวจสอบสถานะของห่วงโซ่อุปทานนั้นควรยืนยันด้วยว่าผู้จัดหาของสมาชิกปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนข้อกำหนดด้านการตรวจสอบสถานะอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในแนวทางของ OECD
 
3.7 ความถูกต้องของสินค้า

            สมาชิกควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าโลหะมีค่าหรือ
อัญมณีและสินค้าในห่วงโซ่อุปทานของตนได้รับการนำเสนอและเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องแม่นยำ สอดคล้องกับแนวทางอ้างอิงสำหรับผู้ค้าปลีกของ CIBJO (CIBJO Retailers’ Reference Guide) และ/หรือ CIBJO Blue Book ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมอบใบรับรองและหลักฐานยืนยันอื่นๆ ตามความเหมาะสม (เช่น รายงานการจัดระดับเพชร ใบรับรองความบริสุทธิ์ของทองคำ/หลักฐานการตรวจรับรองทองคำ)

จัดหาอัญมณีอย่างมีความรับผิดชอบ
  
3.8 การแจ้งเตือนล่วงหน้า การร้องทุกข์ และการเปิดโปงข้อมูล

            สมาชิกควรมีหลักฐานของกลไกการร้องทุกข์ระดับบริษัทหรือระดับอุตสาหกรรม โดยเป็นระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงที่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทเองหรือห่วงโซ่อุปทานอื่น สมาชิกควรเก็บคำร้องทุกข์หรือรายงานเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ระบุได้ทั้งหมดไว้เป็นความลับอย่างเคร่งครัด
 
3.9 การรับรองการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

            นโยบายของ CIBJO มีจุดประสงค์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่สมาชิก CIBJO และภาคส่วนอื่นๆ ในห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับ โดยเล็งเห็นว่าผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมสามารถเลือกให้แนวทางปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบและการตรวจสอบสถานะห่วงโซ่อุปทานของตนนั้นได้รับการตรวจสอบและ/หรือรับรองโดยมาตรฐานและกลไกการรับรองอิสระจากภายนอก เช่น The Responsible Jewellery Council (RJC), The Responsible Minerals Initiative (RMI), SCS Responsible Source Standard, The London Bullion Market Association (LBMA) และอื่นๆ อีกมาก

            นอกจากนี้ ทาง CIBJO ยังเล็งเห็นว่าผู้ประกอบการบางรายในภาคอุตสาหกรรมยังไม่พร้อมที่จะทำให้ห่วงโซ่อุปทานของตนได้รับการตรวจรับรองตามแนวทางและมาตรฐานได้โดยทันที ด้วยเหตุนี้จึงเน้นให้ใช้หลักการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่ระบุไว้ในนโยบายฉบับนี้

 
            หากสมาชิกของ CIBJO ประสงค์จะได้รับการรับรองหรือยืนยันการปฏิบัติตามนโยบายของ CIBJO ทาง CIBJO ขอแนะนำให้สมาชิกเข้ารับการรับรองจากองค์กรด้านการรับรองมาตรฐานระดับสากลที่เหมาะสม
           
            CIBJO ได้ให้รายการมาตรฐานและแนวทางที่เกี่ยวข้องไว้ในภาคผนวกของแนวทางนี้ รายการดังกล่าวอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมดและจะยังคงได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการปรับปรุงแนวทางของ CIBJO
           
            สมาชิกควรบรรจุนโยบายของ CIBJO และกระบวนการตรวจสอบสถานะของบริษัทให้รวมเป็นส่วนหนึ่งในขอบเขตของการรับรองที่เกี่ยวข้อง

            CIBJO ขอแนะนำว่าการรับรองใดๆ ตามแผนและมาตรฐานที่ปรากฏชื่อในภาคผนวกนั้นควรได้รับการยืนยันความถูกต้องโดยบริษัทตรวจสอบอิสระจากภายนอกซึ่งเชี่ยวชาญด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ (มีรายชื่อตัวอย่างอยู่ในภาคผนวก)
 


4. ภาคผนวกของแนวทางการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO

4.1 รายชื่อมาตรฐาน แนวทาง และองค์กรรับรอง

            รายชื่อด้านล่างนี้ประกอบด้วยองค์กรด้านมาตรฐานและแนวทางระดับสากลซึ่งสมาชิก CIBJO และผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงและแหล่งสนับสนุนด้านการกำหนดและดำเนินนโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของบริษัท รายการนี้อาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด และผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมตลอดจนสมาชิก CIBJO ควรใช้รายการนี้เพื่อการอ้างอิง
 
4.1.1 แนวทางและมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบ

            ก. องค์กรเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)
           แนวทางการตรวจสอบสถานะเพื่อห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบสำหรับแร่จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและมีความเสี่ยงสูง (OECD Due Diligence Guidance for Responsible Supply Chains of Minerals from Conflict-Affected and High-Risk Areas) ดูที่ www.oecd.org/corporate/mne/mining.htm

            ข. Responsible Jewellery Council (RJC)
            ระเบียบปฏิบัติของ RJC (RJC Code of Practices) ดูที่ www.responsiblejewellery.com

            ค. Responsible Minerals Initiative (RMI)
           กระบวนการรับรองแร่ที่มีความรับผิดชอบของ RMI (RMI responsible Minerals Assurance process) ดูที่ www.responsiblemineralsinitiative.org

            ง. SCS Global Services
            แนวทางด้านความรับผิดชอบว่าด้วยโลหะ การทำเหมือง และเครื่องประดับของ SCS Global Services (SCS Global Services Responsible Metals, Mining and Jewellery) ดูที่ www.scsglobalservices.com

            จ. Jewelers Vigilance Committee (JVC) ในสหรัฐ
            แนวทางแนะนำเบื้องต้น (Essential Guide Series) ดูที่ www.jvclegal.org
 
4.1.2  แนวทางและมาตรฐานเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบสำหรับโลหะและอัญมณีในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

            ก. London Bullion Market Association (LBMA)
            โครงการการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ LBMA (LBMA Responsible Sourcing programme) www.lbma.org.uk/responsible-sourcing

            ข. World Diamond Council (WDC)
            ระบบการรับประกันของ WDC (WDC System of Warranties) ดู www.worlddiamondcouncil.org
 
4.1.3 แนวทางและมาตรฐานเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบสำหรับการทำเหมืองแบบดั้งเดิม

            ก. Alliance for Responsible Mining (ARM)
            ระเบียบว่าด้วยการบรรเทาความเสี่ยง “CRAFT” สำหรับการทำเหมืองแบบดั้งเดิม (“CRAFT” Code of Risk Mitigation for ASM) ดูที่www.responsiblemines.org

            ข. Diamond Development Initiative
           ดูที่ www.ddiglobal.org

            ค. Fairmined (ทองคำ)
           ดูที่ www.fairmined.org
 
            ง. Fairtrade (ทองคำ)
           ดูที่ www.faitrade.org.uk
 
4.1.4 บริษัทตรวจสอบที่เชี่ยวชาญด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

ชื่อ                                                             เว็บไซต์
Bureau Veritas                                           
    www.bureauveritas.com
Figurad Bedrijfsrevisoren                             
www.figurad.be
Intertek                                                             www.intertek.com
International Associates Ltd                         www.ia_uk.com
ISOQAR (India) Private Ltd                             www.isoqarindia.com
QIMA (Quality Inspection Management)   www.qima.com
Resource Consulting Services                     www.rcsglobal.com
SCS Global Services                                      www.scsglobalservices.com
SGS                                                                   www.sgs.com
UL Responsible Sourcing                              www.ul.com/responsible-sourcing
 
4.2 รายการตรวจสอบด้านการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบของ CIBJO

       

*** เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในการจัดหาสินค้าอย่างมีความรับผิดชอบ