บริษัทเพชรและอัญมณีชั้นนำตกลงใช้แผนชดเชยคาร์บอนที่จะเปลี่ยนโฉมธุรกิจกลางน้ำ

Aug 14, 2020
1475 views
2 shares

            กลุ่มลูกค้าชั้นนำของ De Beers ตกลงวางเป้าหมายว่าจะชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ (Carbon Neutral) อันเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่เพื่อสร้างกระบวนการดำเนินงานที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบอย่างสมบูรณ์ในภาคอุตสาหกรรมเพชรและอัญมณี


            ในการประชุมครั้งสำคัญซึ่งนำโดยบริษัทที่ปรึกษา Gemdax จากแอนต์เวิร์พ ประเทศเบลเยียม ร่วมด้วย De Beers และบริษัทผู้ผลิตเพชรเก้าแห่ง อันได้แก่ D Navinchandra Gems, Dianco, Diamant Impex, Diarush, HVK International, Hari Darshan, H Dipak and Co, Yaelstar และ StarRays ได้ให้คำมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการผลิตในธุรกิจ ‘กลางน้ำ’ เพื่อมุ่งสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนและถูกต้อง โดยตกลงว่าจะพัฒนาแผนการที่เป็นรูปธรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งจะได้รับการตรวจสอบและประเมินทุกๆ 6 เดือน จากผู้ตรวจสอบภายนอกที่มีชื่อเสียงและเคยทำงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยผู้ตรวจสอบจะตัดสินพิจารณาบริษัทเหล่านี้ด้วยมาตรฐานการประเมินที่เข้มงวด

            แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีกำหนดการว่าบริษัทต่างๆ จะบรรลุเป้าหมายด้านการชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ได้เมื่อใด และคาดว่าน่าจะมีผู้ผลิตบางรายที่จำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว แต่ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องยากมากที่จะบรรลุผลได้โดยไม่ซื้อเครดิตชดเชย แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็คือการที่ผู้ผลิตเพชรใช้คาร์บอนลดลง เช่น อาจมีการพิจารณาโอกาสที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้วหันมาใช้เชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการผลิตเพชรจะปล่อยคาร์บอนออกมาจากการใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าทั่วไป การคมนาคมขนส่ง ตลอดจนการกระจายสินค้า กระบวนการต่างๆ เหล่านี้มีจุดที่สามารถปรับปรุงได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในวงกว้างด้วย

            จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และหันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นมิลเลนเนียล Generation Z ไปจนถึงผู้บริโภควัยอื่นๆ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจึงเกิดขึ้นขณะที่ผู้บริโภคหันมาเรียกร้องว่า นอกจากเพชรจะต้องผ่านการทำเหมืองและการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบแล้ว กระบวนการผลิตและการค้าก็ต้องสอดคล้องกับค่านิยมและมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคด้วย ซึ่งรวมถึงการมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net Zero Carbon Footprint)



            ทั้งนี้ De Beers เล็งเห็นว่า ไม่มีภารกิจใดสำคัญยิ่งไปกว่าการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคด้วยสิ่งที่เรียกว่า ‘ความฝันแห่งเพชร’ (Diamond Dream) เพราะพันธกิจของ De Beers คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพชรและสิ่งที่อุตสาหกรรมนี้ได้มอบให้แก่สังคมในปัจจุบัน

            De Beers จึงได้ประกาศแผนการที่จะปรับปรุงเหมืองเพชรบางแห่งให้มีการชดเชยคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งแผนการดังกล่าวได้สร้างโอกาสที่จะนำเสนอ “วงจรอุตสาหกรรมที่มีการชดเชยคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างสมบูรณ์” เพื่อ ที่จะผลักดันการทำเหมืองอย่างยั่งยืน การนำธุรกิจกลางน้ำมาเข้าร่วมด้วยในขั้นตอนต่อไปจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากขาดส่วนนี้ไปก็จะไม่ได้ภาพรวมที่สมบูรณ์และจะไม่สามารถมอบสิ่งที่ผู้บริโภคเรียกร้องมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือเพชรที่มีความยั่งยืนตั้งแต่ขุดมาจากเหมืองจนมาถึงนิ้วมือของผู้สวมใส่

            นอกจากนี้ ไม่ได้มีเพียงบริษัทผู้ผลิตเพชรกลุ่มนี้เท่านั้นที่สนใจเรื่องการชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ ผู้ผลิตเครื่องประดับอย่าง Pandora ก็ตั้งเป้าหมายว่าจะชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2025 ในขณะที่ผู้ผลิตเพชรจากห้องปฏิบัติการอย่าง Diamond Foundry ก็ผ่านการรับรองจาก Natural Capital Partners ว่าสามารถชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์แล้ว


ข้อมูลอ้างอิง


1. “Leading diamond firms agree carbon neutral roadmaps that could transform the midstream” by Andrew Seymour. Retrieved July 31, 2020 from https://www.professionaljeweller.com/breaking-news-leading-diamond-firms-agree-carbon-neutral-roadmaps-that-could-transform-the-midstream/.
2. “9 Sightholders Commit to Carbon Neutrality” by Rob Bates. Retrieved July 31, 2020 from https://
www.jckonline.com/editorial-article/9-sightholders-carbon-neutrality/.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


บริษัทเพชรและอัญมณีชั้นนำตกลงใช้แผนชดเชยคาร์บอนที่จะเปลี่ยนโฉมธุรกิจกลางน้ำ

Aug 14, 2020
1475 views
2 shares

            กลุ่มลูกค้าชั้นนำของ De Beers ตกลงวางเป้าหมายว่าจะชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ (Carbon Neutral) อันเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่เพื่อสร้างกระบวนการดำเนินงานที่ยั่งยืนและมีความรับผิดชอบอย่างสมบูรณ์ในภาคอุตสาหกรรมเพชรและอัญมณี


            ในการประชุมครั้งสำคัญซึ่งนำโดยบริษัทที่ปรึกษา Gemdax จากแอนต์เวิร์พ ประเทศเบลเยียม ร่วมด้วย De Beers และบริษัทผู้ผลิตเพชรเก้าแห่ง อันได้แก่ D Navinchandra Gems, Dianco, Diamant Impex, Diarush, HVK International, Hari Darshan, H Dipak and Co, Yaelstar และ StarRays ได้ให้คำมั่นว่าจะเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการผลิตในธุรกิจ ‘กลางน้ำ’ เพื่อมุ่งสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนและถูกต้อง โดยตกลงว่าจะพัฒนาแผนการที่เป็นรูปธรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งจะได้รับการตรวจสอบและประเมินทุกๆ 6 เดือน จากผู้ตรวจสอบภายนอกที่มีชื่อเสียงและเคยทำงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ โดยผู้ตรวจสอบจะตัดสินพิจารณาบริษัทเหล่านี้ด้วยมาตรฐานการประเมินที่เข้มงวด

            แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีกำหนดการว่าบริษัทต่างๆ จะบรรลุเป้าหมายด้านการชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ได้เมื่อใด และคาดว่าน่าจะมีผู้ผลิตบางรายที่จำเป็นต้องซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว แต่ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องยากมากที่จะบรรลุผลได้โดยไม่ซื้อเครดิตชดเชย แต่เป้าหมายที่แท้จริงก็คือการที่ผู้ผลิตเพชรใช้คาร์บอนลดลง เช่น อาจมีการพิจารณาโอกาสที่จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลแล้วหันมาใช้เชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการผลิตเพชรจะปล่อยคาร์บอนออกมาจากการใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าทั่วไป การคมนาคมขนส่ง ตลอดจนการกระจายสินค้า กระบวนการต่างๆ เหล่านี้มีจุดที่สามารถปรับปรุงได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในวงกว้างด้วย

            จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และหันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นมิลเลนเนียล Generation Z ไปจนถึงผู้บริโภควัยอื่นๆ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจึงเกิดขึ้นขณะที่ผู้บริโภคหันมาเรียกร้องว่า นอกจากเพชรจะต้องผ่านการทำเหมืองและการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบแล้ว กระบวนการผลิตและการค้าก็ต้องสอดคล้องกับค่านิยมและมุมมองด้านสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคด้วย ซึ่งรวมถึงการมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเท่ากับศูนย์ (Net Zero Carbon Footprint)



            ทั้งนี้ De Beers เล็งเห็นว่า ไม่มีภารกิจใดสำคัญยิ่งไปกว่าการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้บริโภคด้วยสิ่งที่เรียกว่า ‘ความฝันแห่งเพชร’ (Diamond Dream) เพราะพันธกิจของ De Beers คือการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเพชรและสิ่งที่อุตสาหกรรมนี้ได้มอบให้แก่สังคมในปัจจุบัน

            De Beers จึงได้ประกาศแผนการที่จะปรับปรุงเหมืองเพชรบางแห่งให้มีการชดเชยคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งแผนการดังกล่าวได้สร้างโอกาสที่จะนำเสนอ “วงจรอุตสาหกรรมที่มีการชดเชยคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างสมบูรณ์” เพื่อ ที่จะผลักดันการทำเหมืองอย่างยั่งยืน การนำธุรกิจกลางน้ำมาเข้าร่วมด้วยในขั้นตอนต่อไปจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากขาดส่วนนี้ไปก็จะไม่ได้ภาพรวมที่สมบูรณ์และจะไม่สามารถมอบสิ่งที่ผู้บริโภคเรียกร้องมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือเพชรที่มีความยั่งยืนตั้งแต่ขุดมาจากเหมืองจนมาถึงนิ้วมือของผู้สวมใส่

            นอกจากนี้ ไม่ได้มีเพียงบริษัทผู้ผลิตเพชรกลุ่มนี้เท่านั้นที่สนใจเรื่องการชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ ผู้ผลิตเครื่องประดับอย่าง Pandora ก็ตั้งเป้าหมายว่าจะชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2025 ในขณะที่ผู้ผลิตเพชรจากห้องปฏิบัติการอย่าง Diamond Foundry ก็ผ่านการรับรองจาก Natural Capital Partners ว่าสามารถชดเชยคาร์บอนให้เป็นศูนย์แล้ว


ข้อมูลอ้างอิง


1. “Leading diamond firms agree carbon neutral roadmaps that could transform the midstream” by Andrew Seymour. Retrieved July 31, 2020 from https://www.professionaljeweller.com/breaking-news-leading-diamond-firms-agree-carbon-neutral-roadmaps-that-could-transform-the-midstream/.
2. “9 Sightholders Commit to Carbon Neutrality” by Rob Bates. Retrieved July 31, 2020 from https://
www.jckonline.com/editorial-article/9-sightholders-carbon-neutrality/.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970