โควิดระบาดใหม่ทุบเชื่อมั่นเอกชนระส่ำ

Jan 21, 2021
1436 views
0 share
แหล่งที่มา: ข่าวสด
หมวดหมู่: การตลาด

ส.อ.ท.เผยโควิด-19 ระบาดใหม่ซัดดัชนีความเชื่อมั่นเดือนธ.ค.ลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน หนุนแก้พ.ร.ก.ซอฟต์โลน 5 แสนล้านบาท เสริมข้อเสนอกู้ได้ไม่จำกัดวงเงิน เพิ่มสิทธิคนละครึ่งเฟส 3-ต่อเวลาช้อปดีมีคืนปี 64 

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค.2563 อยู่ที่ 85.8 ลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 87.4 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เนื่องจากปัจจัยลบจากการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก และขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัด

ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ 92.7 จากเดิม 94.1 เนื่องจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมกังวลต่อความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวช้า ทำให้ผู้ประกอบการปรับแผนการดำเนินกิจการเพื่อรับมือสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่มากขึ้น

"สถานการณ์การระบาดของโควิดระลอกใหม่ และจากมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดของภาครัฐทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ทั้งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการเดินทางท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อีกทั้งการขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดยังมีความล่าช้า"

นอกจากนี้ ผู้ส่งออกผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทำให้ส่งออกสินค้าได้น้อยลง และสูญเสียรายได้จากการส่งออก รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นปัจจัยเสี่ยงกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการ ประกอบกับในเดือนธ.ค.ยังมีวันทำงานน้อย เนื่องจากมีวันหยุดในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้ภาคการผลิตลดลงจากเดือนก่อนหน้า

ดังนั้น ส.อ.ท.ขอให้เร่งออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โควิด-19 ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น มาตรการเสริมสภาพคล่องจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดกิจการชั่วคราวตามคำสั่ง หรืออาจพักชำระหนี้ชั่วคราว เป็นต้น

รวมทั้งมีข้อเสนอเพิ่มเติมจากที่คณะกรรมาธิการเสนอแก้ไข พ.ร.ก.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) 5 แสนล้านบาท โดย 1.ขอไม่จำกัดวงเงินกู้ในการขอสินเชื่อ 2.ขอให้คิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน 5% ต่อปีในระยะ 5 ปีแรก ไม่ควรกำหนดที่ 5% ต่อปีเท่านั้น 3.ขอให้ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำลง 1% 4.ขอให้ปรับการจัดลำดับการตัดชำระหนี้ของผู้ประกอบการ

ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือประชาชน เสนอให้เพิ่มวงเงินใช้จ่ายโครงการคนละครึ่งเป็น 5,000 บาท สนับสนุนให้มีโครงการคนละครึ่งเฟส 3 และโครงการช้อปดีมีคืนในปี 2564


ข้อมูลอ้างอิง


หนังสือพิมพ์ ข่าวสด. ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


โควิดระบาดใหม่ทุบเชื่อมั่นเอกชนระส่ำ

Jan 21, 2021
1436 views
0 share
แหล่งที่มา: ข่าวสด
หมวดหมู่: การตลาด

ส.อ.ท.เผยโควิด-19 ระบาดใหม่ซัดดัชนีความเชื่อมั่นเดือนธ.ค.ลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน หนุนแก้พ.ร.ก.ซอฟต์โลน 5 แสนล้านบาท เสริมข้อเสนอกู้ได้ไม่จำกัดวงเงิน เพิ่มสิทธิคนละครึ่งเฟส 3-ต่อเวลาช้อปดีมีคืนปี 64 

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค.2563 อยู่ที่ 85.8 ลดลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ 87.4 เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือน เนื่องจากปัจจัยลบจากการระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก และขยายวงกว้างไปในหลายจังหวัด

ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงอยู่ที่ 92.7 จากเดิม 94.1 เนื่องจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมกังวลต่อความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวช้า ทำให้ผู้ประกอบการปรับแผนการดำเนินกิจการเพื่อรับมือสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่มากขึ้น

"สถานการณ์การระบาดของโควิดระลอกใหม่ และจากมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดของภาครัฐทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลง ทั้งการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและการเดินทางท่องเที่ยวลดลง ส่งผลกระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการลดลง โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อีกทั้งการขนส่งสินค้าข้ามจังหวัดยังมีความล่าช้า"

นอกจากนี้ ผู้ส่งออกผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ทำให้ส่งออกสินค้าได้น้อยลง และสูญเสียรายได้จากการส่งออก รวมทั้งการแข็งค่าของเงินบาทยังเป็นปัจจัยเสี่ยงกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการ ประกอบกับในเดือนธ.ค.ยังมีวันทำงานน้อย เนื่องจากมีวันหยุดในช่วงเทศกาลปีใหม่ ทำให้ภาคการผลิตลดลงจากเดือนก่อนหน้า

ดังนั้น ส.อ.ท.ขอให้เร่งออกมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โควิด-19 ทั้งผู้ประกอบการและประชาชนให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น มาตรการเสริมสภาพคล่องจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สำหรับเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดกิจการชั่วคราวตามคำสั่ง หรืออาจพักชำระหนี้ชั่วคราว เป็นต้น

รวมทั้งมีข้อเสนอเพิ่มเติมจากที่คณะกรรมาธิการเสนอแก้ไข พ.ร.ก.สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) 5 แสนล้านบาท โดย 1.ขอไม่จำกัดวงเงินกู้ในการขอสินเชื่อ 2.ขอให้คิดอัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน 5% ต่อปีในระยะ 5 ปีแรก ไม่ควรกำหนดที่ 5% ต่อปีเท่านั้น 3.ขอให้ธนาคารพาณิชย์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำลง 1% 4.ขอให้ปรับการจัดลำดับการตัดชำระหนี้ของผู้ประกอบการ

ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือประชาชน เสนอให้เพิ่มวงเงินใช้จ่ายโครงการคนละครึ่งเป็น 5,000 บาท สนับสนุนให้มีโครงการคนละครึ่งเฟส 3 และโครงการช้อปดีมีคืนในปี 2564


ข้อมูลอ้างอิง


หนังสือพิมพ์ ข่าวสด. ฉบับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2564.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970