“สามเมือง แก้วแหวน” ตัวตายแต่ชื่อคง ตำนานคนเผาพลอยเมืองจันท์

Apr 23, 2021
4489 views
6 shares

        พลอยเมืองจันท์มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกถึงคุณภาพ ความสวยงามที่ผ่านกรรมวิธีทั้งการปรับปรุงคุณภาพและการเจียระไนด้วยทักษะฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะการเผาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของพลอยให้มีสีสันสวยงาม เป็นที่ชื่นชอบยอมรับในตลาดค้าพลอยทั่วโลก ด้วยจุดเริ่มต้นจากความช่างสังเกตและพัฒนาต่อยอดวิธีการเผาพลอยของลุงสามเมือง แก้วแหวน จากจุดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นขยายเติบโตกระทั่งเป็นที่รู้จักและวงการค้าพลอยโลกต่างยอมรับในพลอยเมืองจันท์ 

จุดเริ่มต้นพลอยเมืองจันท์

        จากหลักฐานย้อนไปได้ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 บันทึกถึงชาวไทใหญ่หรือกุหล่า ที่เดินทางหาสายแร่มีค่ากระทั่งมาพบแหล่งพลอยที่สำคัญในเมืองจันทบุรี มีการตั้งรกรากและฝึกฝนชาวจันทบุรีให้รู้จักการเจียระไน โดยแหล่งที่พบพลอยสมัยก่อนอยู่ในบริเวณเขาพลอยแหวน ตำบลบ่อเวฬุ ตำบลบางกะจะ และตำบลเขาวัว ต่อมาภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว มีการตั้งโรงงานเจียระไนพลอยขึ้นทั้งที่ในกรุงเทพฯ  กาญจนบุรี และจันทบุรี โดยช่วงนี้ช่างเจียระไนในจันทบุรีมีการนำพลอยสตาร์หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พลอยสาแหรก มาเจียระไนแบบหลังเบี้ย (Cabochon) ให้เกิดสตาร์ขึ้นเป็นหกแฉกได้สวยงาม โดยใช้วัตถุดิบพลอยสตาร์สีน้ำตาลจากแหล่งที่สำคัญ คือ ตำบลบางกะจะ และตำบลเขาวัว ทำให้ตลาดค้าพลอยในจันทบุรีเฟื่องฟูขึ้นตามลำดับ 

ตำนานการเผาพลอย

        ในเวลานั้นจันทบุรียังไม่มีชื่อเสียงในเรื่องเผาพลอย กระทั่งผู้บุกเบิกคนหนึ่งทำให้วงการพลอยเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล นั่นคือ ลุงสามเมือง แก้วแหวน เริ่มทำอาชีพค้าขายพลอยด้วยการลองผิดลองถูก ต่อมาได้โกลนพลอยสตาร์เม็ดหนึ่งแตกแต่ถูกคิดค่าจ้างปะติดแพง จึงเกิดความคิดปะพลอยเอง โดยใช้ความร้อนและน้ำประสานทองเป็นตัวเชื่อม ลุงสามเมืองสังเกตเห็นเนื้อพลอยใสขึ้นเมื่อถูกความร้อนมากๆ จากความช่างสังเกตมาประจวบกับเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในตลาดเมืองจันทบุรี ปี 2511 สร้างความเสียหายให้ร้านค้าพลอยเป็นจำนวนมาก ภายหลังเพลิงสงบมีร้านพลอยที่ถูกไฟไหม้นำพลอยก้อนมาขายให้ลุงสามเมือง ด้วยความช่างสังเกตจึงเห็นสีสันที่เปลี่ยนไปของพลอยก้อนจากการถูกเผาในครั้งนั้นและจากความสงสัยเดิมที่ว่าความร้อนเป็นต้นเหตุที่ทำให้สีเปลี่ยนแปลงได้ ลุงสามเมืองจึงเริ่มต้นค้นคว้าเกี่ยวกับการเผาพลอยอย่างจริงจัง พยายามทำเตาเผาพลอยที่ให้ความร้อนในระดับต่างๆ ผ่านการลองผิดลองถูก และความร่วมมือในการนำซีเมนต์ทนไฟที่อยู่ระหว่างการทดลองของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย มาใช้ในการผลิตเตาเผาพลอยด้วยถ่านหิน ทำให้สามารถเผาพลอยกระทั่งทำให้หม่าหรือความขุ่นในเนื้อพลอยหายไปกลายเป็นพลอยที่มีสีสันสวยงาม โดยเม็ดแรกเป็นพลอยแซปไฟร์สีน้ำเงิน จึงกล่าวได้ว่า ผู้คิดค้นวิธีการเผาพลอยขึ้นคนแรกในวงการพลอยเมืองไทย คือ “ลุงสามเมือง แก้วแหวน” นั่นเอง



ภาพลุงสามเมือง จาก BGL Burapha Gemological Laboratory

        ลุงสามเมืองได้พัฒนาการเผาพลอยด้วยเตาเผาแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพลอยแต่ละชนิด โดยเตาน้ำมันเหมาะกับการเผาพลอยน้ำเงิน เตาไฟฟ้าเหมาะสำหรับเผาพลอยแดง ต่อมาจึงพบว่าเตาแก๊สที่สามารถปรับระดับความร้อนได้หลากหลาย กลายเป็นเตาสารพัดประโยชน์ที่ใช้เผาพลอยได้ทุกชนิด โดยมีเพื่อนในวงการพลอยร่วมกันค้นคว้าและสนับสนุน ซึ่งใช้เวลาเกือบ 3 ปี จนเป็นผลสำเร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 2522-2523 


ภาพเตาใช้แก๊สที่ใช้เผาพลอย จาก http://ploychan.chanthaburi.buu.ac.th

ก้าวสู่ระดับโลก 

        จากการพัฒนาเตาแก๊สที่ได้นั้นทำให้สามารถเผาบุษราคัมได้สีดีที่สุด ชื่อเสียงการเผาพลอยของลุงสามเมืองเริ่มแพร่กระจายไป กระทั่งในช่วงปี 2523 มีการนำบุษราคัมสีเหลืองอมส้มที่ผ่านการเผาไปแสดงในงานเมืองทูซอน (TUCSON) รัฐแอริโซนา สร้างความสนใจต่อนักอัญมณีศาสตร์ในกรรมวิธีการทำ มีการนำตัวอย่างกลับไปทดลองในแล็บ รวมทั้งผู้สื่อข่าวต่างชาติเดินทางมาเพื่อพิสูจน์ถึงจันทบุรี ก่อนที่จะได้รับการยอมรับและมีการตีพิมพ์เนื้อหาการทำพลอย การปรับปรุงคุณภาพจากการเผาของจันทบุรี ลงในวารสาร GEM & GEMLOGGY ฉบับ WINTER 1982 (พ.ศ. 2525) ทั้งยังได้รับการยกย่องจากนักอัญมณีที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาว่าเป็น "King of Orange Sapphires" ชื่อเสียงของลุงสามเมืองและพลอยเมืองจันท์จึงเป็นที่รู้จักในระดับสากลตั้งแต่นั้นมา


ภาพปกวารสาร GEM & GEMLOGGY ฉบับ WINTER 1982 จาก https://elibrary.git.or.th

            ลุงสามเมืองนอกจากเป็นผู้จุดประกายการเผาพลอยของวงการพลอยเมืองจันท์แล้ว ยังถือเป็นครูของผู้ยากไร้ จากการถ่ายทอดภูมิปัญญาการเผาพลอยให้กับผู้ที่ยากจนที่ต่างพากันมาเรียนรู้และได้รับวิชาติดตัวกลับไปประกอบอาชีพ ด้วยความคิดว่า ต้องการให้วิชาการเผาพลอยนี้เป็นภูมิปัญญาคู่กับชาวจันทบุรีและประเทศไทย หลังจากการเผาพลอยแพร่ขยายมากขึ้น ในช่วงนั้นคนได้วิชาการเผาพลอยพากันกว้านซื้อพลอยหม่า (พลอยที่มีมลทินในพลอยเป็นสีขาวขุ่น) ซึ่งไม่มีราคาค่างวดจากแหล่งต่างๆ ทั้งออสเตรเลีย ศรีลังกา เมียนมา มาเผาเพื่อพัฒนาต่อยอดความรู้และสามารถเพิ่มมูลค่าพลอยกันได้อย่างกว้างขวาง กระทั่งในปี 2523 เริ่มมีพ่อค้าจากต่างประเทศเข้ามาซื้อพลอยสีจากพ่อค้าจันท์ โดยผ่านทางพ่อค้าจากกรุงเทพฯ เป็นผู้นำพาไปที่ตลาดพลอยจันท์ ต่อมาจึงเริ่มมีพ่อค้าชาวยุโรป จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ทยอยเดินทางเข้าไปซื้อพลอยสีที่จันท์ด้วยตนเองมากขึ้น จวบจนปัจจุบันพลอยสีที่ขายกันทั่วโลกราวร้อยละ 80 ล้วนผ่านการปรับปรุงคุณภาพจากจันทบุรี ทำให้จันทบุรีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีแห่งหนึ่งของโลกโดยเฉพาะพลอยตระกูลคอรันดัม (ทับทิมและแซปไฟร์) อีกทั้งมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกพลอยสีทั้งหมดของประเทศไทยก็มาจากจันทบุรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากภูมิปัญญาในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พลอยสีที่ลุงสามเมืองส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดมา

        จึงอาจกล่าวได้ว่า ลุงสามเมือง แก้วแหวน เป็นทั้งผู้บุกเบิก ผู้ค้นพบ และพัฒนาต่อยอดการเผาพลอย กระทั่งพลอยเมืองจันท์เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สร้างชื่อเสียงให้ทั้งส่วนตนและส่วนรวม แม้ว่าคุณลุงสามเมืองได้จากไปแล้ว เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2564 สิริอายุได้ 95 ปี ทว่าสิ่งที่ปูชนียบุคคลอย่าง ลุงสามเมือง แก้วแหวน ได้สร้างไว้เป็นคุณูปการที่ไม่เคยเลือนหายไปจากวงการพลอยและเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไทยทุกคนตลอดไป ด้วยจิตคารวะ

ข้อมูลอ้างอิง


1) ตามรอยอดีต ก่อนที่จะมาเป็นเมืองแห่งอัญมณี สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 จาก https://medium.com/@chantory.gems
2) เอกสาร ตำนาน และประวัติการเผาพลอยของชาวจันทบุรี "เมืองศูนย์กลางอัญมณีโลก" สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564
3) รู้จักผู้ริเริ่มเผาพลอยคนแรก สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 จาก https://www.pembagems.com
4) บุรุษผู้เผาพลอยคนแรก สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 จาก http://www.arts.rbru.ac.th
5) สัมภาษณ์คุณอานุภาพ ชินอุดมพงศ์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นคุณพัศพงศ์) วันที่ 20 เมษายน 2564
6) สัมภาษณ์นาวาเอกหญิงพรรณวิภา ยนนาวา (สกุลเดิม แก้วแหวน) วันที่ 23 เมษายน 2564

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


“สามเมือง แก้วแหวน” ตัวตายแต่ชื่อคง ตำนานคนเผาพลอยเมืองจันท์

Apr 23, 2021
4489 views
6 shares

        พลอยเมืองจันท์มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกถึงคุณภาพ ความสวยงามที่ผ่านกรรมวิธีทั้งการปรับปรุงคุณภาพและการเจียระไนด้วยทักษะฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะการเผาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของพลอยให้มีสีสันสวยงาม เป็นที่ชื่นชอบยอมรับในตลาดค้าพลอยทั่วโลก ด้วยจุดเริ่มต้นจากความช่างสังเกตและพัฒนาต่อยอดวิธีการเผาพลอยของลุงสามเมือง แก้วแหวน จากจุดเล็กๆ ที่เกิดขึ้นขยายเติบโตกระทั่งเป็นที่รู้จักและวงการค้าพลอยโลกต่างยอมรับในพลอยเมืองจันท์ 

จุดเริ่มต้นพลอยเมืองจันท์

        จากหลักฐานย้อนไปได้ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 บันทึกถึงชาวไทใหญ่หรือกุหล่า ที่เดินทางหาสายแร่มีค่ากระทั่งมาพบแหล่งพลอยที่สำคัญในเมืองจันทบุรี มีการตั้งรกรากและฝึกฝนชาวจันทบุรีให้รู้จักการเจียระไน โดยแหล่งที่พบพลอยสมัยก่อนอยู่ในบริเวณเขาพลอยแหวน ตำบลบ่อเวฬุ ตำบลบางกะจะ และตำบลเขาวัว ต่อมาภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว มีการตั้งโรงงานเจียระไนพลอยขึ้นทั้งที่ในกรุงเทพฯ  กาญจนบุรี และจันทบุรี โดยช่วงนี้ช่างเจียระไนในจันทบุรีมีการนำพลอยสตาร์หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พลอยสาแหรก มาเจียระไนแบบหลังเบี้ย (Cabochon) ให้เกิดสตาร์ขึ้นเป็นหกแฉกได้สวยงาม โดยใช้วัตถุดิบพลอยสตาร์สีน้ำตาลจากแหล่งที่สำคัญ คือ ตำบลบางกะจะ และตำบลเขาวัว ทำให้ตลาดค้าพลอยในจันทบุรีเฟื่องฟูขึ้นตามลำดับ 

ตำนานการเผาพลอย

        ในเวลานั้นจันทบุรียังไม่มีชื่อเสียงในเรื่องเผาพลอย กระทั่งผู้บุกเบิกคนหนึ่งทำให้วงการพลอยเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล นั่นคือ ลุงสามเมือง แก้วแหวน เริ่มทำอาชีพค้าขายพลอยด้วยการลองผิดลองถูก ต่อมาได้โกลนพลอยสตาร์เม็ดหนึ่งแตกแต่ถูกคิดค่าจ้างปะติดแพง จึงเกิดความคิดปะพลอยเอง โดยใช้ความร้อนและน้ำประสานทองเป็นตัวเชื่อม ลุงสามเมืองสังเกตเห็นเนื้อพลอยใสขึ้นเมื่อถูกความร้อนมากๆ จากความช่างสังเกตมาประจวบกับเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในตลาดเมืองจันทบุรี ปี 2511 สร้างความเสียหายให้ร้านค้าพลอยเป็นจำนวนมาก ภายหลังเพลิงสงบมีร้านพลอยที่ถูกไฟไหม้นำพลอยก้อนมาขายให้ลุงสามเมือง ด้วยความช่างสังเกตจึงเห็นสีสันที่เปลี่ยนไปของพลอยก้อนจากการถูกเผาในครั้งนั้นและจากความสงสัยเดิมที่ว่าความร้อนเป็นต้นเหตุที่ทำให้สีเปลี่ยนแปลงได้ ลุงสามเมืองจึงเริ่มต้นค้นคว้าเกี่ยวกับการเผาพลอยอย่างจริงจัง พยายามทำเตาเผาพลอยที่ให้ความร้อนในระดับต่างๆ ผ่านการลองผิดลองถูก และความร่วมมือในการนำซีเมนต์ทนไฟที่อยู่ระหว่างการทดลองของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย มาใช้ในการผลิตเตาเผาพลอยด้วยถ่านหิน ทำให้สามารถเผาพลอยกระทั่งทำให้หม่าหรือความขุ่นในเนื้อพลอยหายไปกลายเป็นพลอยที่มีสีสันสวยงาม โดยเม็ดแรกเป็นพลอยแซปไฟร์สีน้ำเงิน จึงกล่าวได้ว่า ผู้คิดค้นวิธีการเผาพลอยขึ้นคนแรกในวงการพลอยเมืองไทย คือ “ลุงสามเมือง แก้วแหวน” นั่นเอง



ภาพลุงสามเมือง จาก BGL Burapha Gemological Laboratory

        ลุงสามเมืองได้พัฒนาการเผาพลอยด้วยเตาเผาแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับพลอยแต่ละชนิด โดยเตาน้ำมันเหมาะกับการเผาพลอยน้ำเงิน เตาไฟฟ้าเหมาะสำหรับเผาพลอยแดง ต่อมาจึงพบว่าเตาแก๊สที่สามารถปรับระดับความร้อนได้หลากหลาย กลายเป็นเตาสารพัดประโยชน์ที่ใช้เผาพลอยได้ทุกชนิด โดยมีเพื่อนในวงการพลอยร่วมกันค้นคว้าและสนับสนุน ซึ่งใช้เวลาเกือบ 3 ปี จนเป็นผลสำเร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 2522-2523 


ภาพเตาใช้แก๊สที่ใช้เผาพลอย จาก http://ploychan.chanthaburi.buu.ac.th

ก้าวสู่ระดับโลก 

        จากการพัฒนาเตาแก๊สที่ได้นั้นทำให้สามารถเผาบุษราคัมได้สีดีที่สุด ชื่อเสียงการเผาพลอยของลุงสามเมืองเริ่มแพร่กระจายไป กระทั่งในช่วงปี 2523 มีการนำบุษราคัมสีเหลืองอมส้มที่ผ่านการเผาไปแสดงในงานเมืองทูซอน (TUCSON) รัฐแอริโซนา สร้างความสนใจต่อนักอัญมณีศาสตร์ในกรรมวิธีการทำ มีการนำตัวอย่างกลับไปทดลองในแล็บ รวมทั้งผู้สื่อข่าวต่างชาติเดินทางมาเพื่อพิสูจน์ถึงจันทบุรี ก่อนที่จะได้รับการยอมรับและมีการตีพิมพ์เนื้อหาการทำพลอย การปรับปรุงคุณภาพจากการเผาของจันทบุรี ลงในวารสาร GEM & GEMLOGGY ฉบับ WINTER 1982 (พ.ศ. 2525) ทั้งยังได้รับการยกย่องจากนักอัญมณีที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาว่าเป็น "King of Orange Sapphires" ชื่อเสียงของลุงสามเมืองและพลอยเมืองจันท์จึงเป็นที่รู้จักในระดับสากลตั้งแต่นั้นมา


ภาพปกวารสาร GEM & GEMLOGGY ฉบับ WINTER 1982 จาก https://elibrary.git.or.th

            ลุงสามเมืองนอกจากเป็นผู้จุดประกายการเผาพลอยของวงการพลอยเมืองจันท์แล้ว ยังถือเป็นครูของผู้ยากไร้ จากการถ่ายทอดภูมิปัญญาการเผาพลอยให้กับผู้ที่ยากจนที่ต่างพากันมาเรียนรู้และได้รับวิชาติดตัวกลับไปประกอบอาชีพ ด้วยความคิดว่า ต้องการให้วิชาการเผาพลอยนี้เป็นภูมิปัญญาคู่กับชาวจันทบุรีและประเทศไทย หลังจากการเผาพลอยแพร่ขยายมากขึ้น ในช่วงนั้นคนได้วิชาการเผาพลอยพากันกว้านซื้อพลอยหม่า (พลอยที่มีมลทินในพลอยเป็นสีขาวขุ่น) ซึ่งไม่มีราคาค่างวดจากแหล่งต่างๆ ทั้งออสเตรเลีย ศรีลังกา เมียนมา มาเผาเพื่อพัฒนาต่อยอดความรู้และสามารถเพิ่มมูลค่าพลอยกันได้อย่างกว้างขวาง กระทั่งในปี 2523 เริ่มมีพ่อค้าจากต่างประเทศเข้ามาซื้อพลอยสีจากพ่อค้าจันท์ โดยผ่านทางพ่อค้าจากกรุงเทพฯ เป็นผู้นำพาไปที่ตลาดพลอยจันท์ ต่อมาจึงเริ่มมีพ่อค้าชาวยุโรป จีน อินเดีย และญี่ปุ่น ทยอยเดินทางเข้าไปซื้อพลอยสีที่จันท์ด้วยตนเองมากขึ้น จวบจนปัจจุบันพลอยสีที่ขายกันทั่วโลกราวร้อยละ 80 ล้วนผ่านการปรับปรุงคุณภาพจากจันทบุรี ทำให้จันทบุรีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีแห่งหนึ่งของโลกโดยเฉพาะพลอยตระกูลคอรันดัม (ทับทิมและแซปไฟร์) อีกทั้งมูลค่าการส่งออกถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกพลอยสีทั้งหมดของประเทศไทยก็มาจากจันทบุรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากภูมิปัญญาในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พลอยสีที่ลุงสามเมืองส่งต่อไปยังคนรุ่นถัดมา

        จึงอาจกล่าวได้ว่า ลุงสามเมือง แก้วแหวน เป็นทั้งผู้บุกเบิก ผู้ค้นพบ และพัฒนาต่อยอดการเผาพลอย กระทั่งพลอยเมืองจันท์เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สร้างชื่อเสียงให้ทั้งส่วนตนและส่วนรวม แม้ว่าคุณลุงสามเมืองได้จากไปแล้ว เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2564 สิริอายุได้ 95 ปี ทว่าสิ่งที่ปูชนียบุคคลอย่าง ลุงสามเมือง แก้วแหวน ได้สร้างไว้เป็นคุณูปการที่ไม่เคยเลือนหายไปจากวงการพลอยและเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไทยทุกคนตลอดไป ด้วยจิตคารวะ

ข้อมูลอ้างอิง


1) ตามรอยอดีต ก่อนที่จะมาเป็นเมืองแห่งอัญมณี สืบค้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 จาก https://medium.com/@chantory.gems
2) เอกสาร ตำนาน และประวัติการเผาพลอยของชาวจันทบุรี "เมืองศูนย์กลางอัญมณีโลก" สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564
3) รู้จักผู้ริเริ่มเผาพลอยคนแรก สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 จาก https://www.pembagems.com
4) บุรุษผู้เผาพลอยคนแรก สืบค้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 จาก http://www.arts.rbru.ac.th
5) สัมภาษณ์คุณอานุภาพ ชินอุดมพงศ์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นคุณพัศพงศ์) วันที่ 20 เมษายน 2564
6) สัมภาษณ์นาวาเอกหญิงพรรณวิภา ยนนาวา (สกุลเดิม แก้วแหวน) วันที่ 23 เมษายน 2564

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970