กระทรวงการคลังสหรัฐคว่ำบาตรผู้ผลิตอัญมณีมุกเมียนมา

May 7, 2021
2290 views
3 shares

        “สหรัฐประกาศคว่ำบาตรไข่มุกเมียนมาเช่นเดียวกับอัญมณีทับทิมและหยกที่ถูกห้ามซื้อขายไปก่อนหน้านี้”

        เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา สำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ (Office of Foreign Assets Control: OFAC) ของกระทรวงการคลังสหรัฐได้ประกาศคว่ำบาตรบริษัท Myanmar Pearl Enterprise (MPE) บริษัทผู้ผลิตมุกซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจากเมียนมา

        MPE จะอยู่ในบัญชีผู้ที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Specially Designated Nationals List) ของ OFAC ซึ่งหมายความว่าบริษัทในสหรัฐจะไม่สามารถทำธุรกิจกับ MPE ได้ และทรัพย์สินของ MPE ในสหรัฐจะถูกอายัดไว้


        รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ทำการคว่ำบาตรกิจการที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริษัทผู้ผลิตทับทิมและหยกซึ่งเป็นสินค้าอัญมณีอันมีชื่อเสียงของเมียนมา หลังจากเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กองทัพเมียนมาได้ก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นถูกประนามจากหลายฝ่าย

        OFAC ระบุว่าที่ต้องดำเนินการกับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะเนื่องจากเป็นกิจการแบบรัฐวิสาหกิจ MPE ดำเนินกิจการด้านการเก็บหอยมุก การผสมเทียมหอยมุก การเพาะและการเก็บไข่มุก รวมถึงการขายไข่มุกผ่านงาน Myanmar Pearl Event นอกจากนี้ MPE ยังเป็นผู้อนุมัติสัมปทานในการเก็บหอยมุก การเก็บและขายเปลือกมุก ตลอดจนการลงทะเบียนเรือสำหรับการดำน้ำเก็บหอยมุก รวมถึงการลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญด้านไข่มุกและหอยมุก จากบทบาทในการกำกับควบคุมดังกล่าว MPE จึงเป็นผู้สร้างรายได้หลักให้แก่รัฐบาลเมียนมา โดยการค้ามุกสร้างรายได้ราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่เมียนมาตามข้อมูลจาก Nikkei Asia แต่ก็ยังน้อยกว่ารายได้จากหยกอยู่มาก ซึ่งหยกก็เป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐเช่นกัน

        เมียนมาเป็นผู้ผลิตมุกมาตั้งแต่ยุคศตวรรษ 1800 แต่ธุรกิจเพิ่งเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นเข้ามาในช่วงทศวรรษ 1950 การรัฐประหารครั้งแรกโดยกองทัพเมียนมาในปี 1962 ทำให้ธุรกิจดังกล่าวต้องหยุดชะงัก แม้ว่าการปฏิรูปประชาธิปไตยในระยะหลังได้ช่วยให้ธุรกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

        แต่ปัจจุบันไข่มุกเมียนมารวมอยู่ในรายชื่อสินค้าที่ห้ามทำการซื้อขายของสหรัฐเช่นเดียวกับอัญมณีอื่นๆ จากเมียนมา หลังจากที่สหรัฐได้คว่ำบาตรบริษัท Myanmar Ruby Enterprise, Myanmar Imperial Jade Co., Cancri (Gems and Jewelry) Co. และ Myanmar Gems Enterprise ไปแล้วก่อนหน้านี้ซึ่งส่งผลให้การค้าอัญมณีทับทิม หยก และอัญมณีอื่นๆ จากเมียนมาส่วนใหญ่ถูกห้ามนำเข้าไปยังสหรัฐด้วยเช่นกัน

        อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริหารของ Cultured Pearl Association of America กล่าวว่า สถานการณ์ในเมียนมาร์ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดสหรัฐเนื่องจากยังมีแหล่งมุกเซาท์ซีที่เชื่อถือได้อีกมากจากประเทศอื่นๆ ที่สหรัฐนำเข้าอยู่แล้ว

ข้อมูลอ้างอิง


1) “U.S. Treasury Sanctions Burma Pearl Producer.” by Rob Bates. Retrieved April 21, 2021 from https://www.jckonline.com/editorial-article/treasury-burma-pearl-producer.
2) “US Bans Myanmar Pearl Company.” Retrieved April 29, 2021 from https://www.diamonds.net/News/NewsItem.aspx?ArticleID=66310&ArticleTitle=US%2bBans%2bMyanmar%2bPearl%2bCompany.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


กระทรวงการคลังสหรัฐคว่ำบาตรผู้ผลิตอัญมณีมุกเมียนมา

May 7, 2021
2290 views
3 shares

        “สหรัฐประกาศคว่ำบาตรไข่มุกเมียนมาเช่นเดียวกับอัญมณีทับทิมและหยกที่ถูกห้ามซื้อขายไปก่อนหน้านี้”

        เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา สำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ (Office of Foreign Assets Control: OFAC) ของกระทรวงการคลังสหรัฐได้ประกาศคว่ำบาตรบริษัท Myanmar Pearl Enterprise (MPE) บริษัทผู้ผลิตมุกซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจากเมียนมา

        MPE จะอยู่ในบัญชีผู้ที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (Specially Designated Nationals List) ของ OFAC ซึ่งหมายความว่าบริษัทในสหรัฐจะไม่สามารถทำธุรกิจกับ MPE ได้ และทรัพย์สินของ MPE ในสหรัฐจะถูกอายัดไว้


        รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ทำการคว่ำบาตรกิจการที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริษัทผู้ผลิตทับทิมและหยกซึ่งเป็นสินค้าอัญมณีอันมีชื่อเสียงของเมียนมา หลังจากเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กองทัพเมียนมาได้ก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นถูกประนามจากหลายฝ่าย

        OFAC ระบุว่าที่ต้องดำเนินการกับบริษัทดังกล่าวโดยเฉพาะเนื่องจากเป็นกิจการแบบรัฐวิสาหกิจ MPE ดำเนินกิจการด้านการเก็บหอยมุก การผสมเทียมหอยมุก การเพาะและการเก็บไข่มุก รวมถึงการขายไข่มุกผ่านงาน Myanmar Pearl Event นอกจากนี้ MPE ยังเป็นผู้อนุมัติสัมปทานในการเก็บหอยมุก การเก็บและขายเปลือกมุก ตลอดจนการลงทะเบียนเรือสำหรับการดำน้ำเก็บหอยมุก รวมถึงการลงทะเบียนผู้เชี่ยวชาญด้านไข่มุกและหอยมุก จากบทบาทในการกำกับควบคุมดังกล่าว MPE จึงเป็นผู้สร้างรายได้หลักให้แก่รัฐบาลเมียนมา โดยการค้ามุกสร้างรายได้ราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐให้แก่เมียนมาตามข้อมูลจาก Nikkei Asia แต่ก็ยังน้อยกว่ารายได้จากหยกอยู่มาก ซึ่งหยกก็เป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐเช่นกัน

        เมียนมาเป็นผู้ผลิตมุกมาตั้งแต่ยุคศตวรรษ 1800 แต่ธุรกิจเพิ่งเริ่มเป็นรูปเป็นร่างเมื่อผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นเข้ามาในช่วงทศวรรษ 1950 การรัฐประหารครั้งแรกโดยกองทัพเมียนมาในปี 1962 ทำให้ธุรกิจดังกล่าวต้องหยุดชะงัก แม้ว่าการปฏิรูปประชาธิปไตยในระยะหลังได้ช่วยให้ธุรกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

        แต่ปัจจุบันไข่มุกเมียนมารวมอยู่ในรายชื่อสินค้าที่ห้ามทำการซื้อขายของสหรัฐเช่นเดียวกับอัญมณีอื่นๆ จากเมียนมา หลังจากที่สหรัฐได้คว่ำบาตรบริษัท Myanmar Ruby Enterprise, Myanmar Imperial Jade Co., Cancri (Gems and Jewelry) Co. และ Myanmar Gems Enterprise ไปแล้วก่อนหน้านี้ซึ่งส่งผลให้การค้าอัญมณีทับทิม หยก และอัญมณีอื่นๆ จากเมียนมาส่วนใหญ่ถูกห้ามนำเข้าไปยังสหรัฐด้วยเช่นกัน

        อย่างไรก็ดี คณะกรรมการบริหารของ Cultured Pearl Association of America กล่าวว่า สถานการณ์ในเมียนมาร์ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดสหรัฐเนื่องจากยังมีแหล่งมุกเซาท์ซีที่เชื่อถือได้อีกมากจากประเทศอื่นๆ ที่สหรัฐนำเข้าอยู่แล้ว

ข้อมูลอ้างอิง


1) “U.S. Treasury Sanctions Burma Pearl Producer.” by Rob Bates. Retrieved April 21, 2021 from https://www.jckonline.com/editorial-article/treasury-burma-pearl-producer.
2) “US Bans Myanmar Pearl Company.” Retrieved April 29, 2021 from https://www.diamonds.net/News/NewsItem.aspx?ArticleID=66310&ArticleTitle=US%2bBans%2bMyanmar%2bPearl%2bCompany.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970