เอกชนอินเดียเสนอรัฐฯ ลดภาษี GST กระตุ้นการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับ

Feb 4, 2022
1733 views
0 share

            All India Gem & Jewellery Domestic Council (GJC) ระบุว่า ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาดครั้งใหญ่มาเกือบสองปีที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจซบเซาลงเนื่องจากการล็อกดาวน์ และการจำกัดการเดินทาง ส่งผลให้ลูกค้าลดการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับลงมาก และเมื่อธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมา กลับมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอน สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้บริโภคและอาจชะลอการซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับลง 

            GJC จึงได้เสนอให้รัฐบาลอินเดียลดภาษีสินค้าและบริการ (GST) สำหรับเครื่องประดับ จาก 3% เหลือ 1.25% ในปีงบประมาณ 2022 (1 เมษายน 2022 – 31 มีนาคม 2023) รวมถึงการขอให้ขยายฐานภาษีที่ต้องนำมาคำนวณหักภาษีเงินได้จาก 10,000 รูปี/วัน เป็น 100,000 รูปี/วัน และยกเว้นค่าธรรมเนียมธนาคาร (อัตรา 1 – 1.5%) ในการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับผ่านบัตรเครดิต ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคอินเดียใช้จ่ายซื้ออัญมณีและเครื่องประดับกันมากขึ้น 

 อัญมณีอินเดีย

ที่มาภาพ: www.deccanherald.com

            เนื่องจากอินเดียเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย โดยในปี 2021 อินเดียเป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในอันดับที่ 5 ด้วยมูลค่าส่งออก 584.25 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตสูงกว่า 40% ซึ่งสินค้าส่งออกหลักไปยังตลาดนี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ได้แก่ อัญมณีเพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ฉะนั้น หากอินเดียลดภาษี GST และส่งเสริมตามมาตรการที่ GJC เสนอ ก็น่าจะทำให้ชาวอินเดียซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้น อันจะส่งผลให้ไทยส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบดังกล่าวไปยังอินเดียได้เพิ่มมากขึ้น


ข้อมูลอ้างอิง


The Economics Times. January 18, 2022. Jewellers urge FM to reduce GST rate, increase PAN card limit to Rs 5 lakh in Budget 2022. [Online]. Available at www.economictimes.indiatimes.com/ industry/cons-products/fashion-/-cosmetics-/-jewellery/jewellers-urge-fm-to-reduce-gst-rate-increase-pan-card-limit-to-rs-5-lakh-in-budget-2022/articleshow/88967213.cms. (Retrieved January 25, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เอกชนอินเดียเสนอรัฐฯ ลดภาษี GST กระตุ้นการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับ

Feb 4, 2022
1733 views
0 share

            All India Gem & Jewellery Domestic Council (GJC) ระบุว่า ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาดครั้งใหญ่มาเกือบสองปีที่ผ่านมา ทำให้ธุรกิจซบเซาลงเนื่องจากการล็อกดาวน์ และการจำกัดการเดินทาง ส่งผลให้ลูกค้าลดการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับลงมาก และเมื่อธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมา กลับมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่างโอมิครอน สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้บริโภคและอาจชะลอการซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับลง 

            GJC จึงได้เสนอให้รัฐบาลอินเดียลดภาษีสินค้าและบริการ (GST) สำหรับเครื่องประดับ จาก 3% เหลือ 1.25% ในปีงบประมาณ 2022 (1 เมษายน 2022 – 31 มีนาคม 2023) รวมถึงการขอให้ขยายฐานภาษีที่ต้องนำมาคำนวณหักภาษีเงินได้จาก 10,000 รูปี/วัน เป็น 100,000 รูปี/วัน และยกเว้นค่าธรรมเนียมธนาคาร (อัตรา 1 – 1.5%) ในการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับผ่านบัตรเครดิต ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคอินเดียใช้จ่ายซื้ออัญมณีและเครื่องประดับกันมากขึ้น 

 อัญมณีอินเดีย

ที่มาภาพ: www.deccanherald.com

            เนื่องจากอินเดียเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย โดยในปี 2021 อินเดียเป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในอันดับที่ 5 ด้วยมูลค่าส่งออก 584.25 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตสูงกว่า 40% ซึ่งสินค้าส่งออกหลักไปยังตลาดนี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ได้แก่ อัญมณีเพชรเจียระไน โลหะเงิน พลอยก้อน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ฉะนั้น หากอินเดียลดภาษี GST และส่งเสริมตามมาตรการที่ GJC เสนอ ก็น่าจะทำให้ชาวอินเดียซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้น อันจะส่งผลให้ไทยส่งออกสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบดังกล่าวไปยังอินเดียได้เพิ่มมากขึ้น


ข้อมูลอ้างอิง


The Economics Times. January 18, 2022. Jewellers urge FM to reduce GST rate, increase PAN card limit to Rs 5 lakh in Budget 2022. [Online]. Available at www.economictimes.indiatimes.com/ industry/cons-products/fashion-/-cosmetics-/-jewellery/jewellers-urge-fm-to-reduce-gst-rate-increase-pan-card-limit-to-rs-5-lakh-in-budget-2022/articleshow/88967213.cms. (Retrieved January 25, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970