อนาคตเพชรสังเคราะห์เติบโตสดใส

Mar 30, 2022
2342 views
1 share

            เพชรสังเคราะห์ (Lab Grown Diamond หรือ LGD) เป็นเพชรที่มนุษย์ผลิตขึ้นในห้องทดลองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพเหมือนกับเพชรที่มาจากธรรมชาติทุกประการ ต่างกันเพียงเรื่องแหล่งกำเนิดเท่านั้น

            ล่าสุด National Jeweller ได้พูดคุยกับนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมอิสระ Edahn Golan และ Paul Zimnisky ได้ใจความสรุปว่า ก่อนปี 2018 ยอดขายเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์มีมูลค่าน้อยกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของตลาดเครื่องประดับเพชรทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดในโลกด้วยสัดส่วนถึง 90% และสัดส่วนยอดขายเพชรสังเคราะห์ก็เพิ่มขึ้นเป็น 2% ในปี 2019, 3.5% ในปี 2020 และราว 5% ในปี 2021 และมีมูลค่าประมาณ 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ Report Ocean ประมาณการว่ามูลค่าตลาดเพชรสังเคราะห์ในช่วงปี 2021 – 2027 จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.7% และมีมูลค่าเป็น 27,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2027


เพชรสังเคราะห์

ที่มาภาพ: www.growndiamondcorp.com


            สำหรับปัจจัยกระตุ้นการเติบโตของตลาดเพชรสังเคราะห์ ได้แก่ 1) ราคาต่ำ1 โดยราคาถูกกว่าเพชรแท้ราว 40% ทั้งนี้ Paul Zimnisky ได้คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าราคาเพชรสังเคราะห์จะถูกกว่าเพชรแท้ถึง 90%  2) การรับรู้และการยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น และ 3) ความเชื่อที่ว่าเพชรสังเคราะห์ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ใช่เพชรแห่งความขัดแย้ง (Conflict Diamond) โดยเพชรสังเคราะห์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มชาวมิลเลนเนียล ฉะนั้น เครื่องประดับเพชรสังเคราะห์จึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งของผู้ประกอบการไทย


ข้อมูลอ้างอิง


1. ในปี 2008 เพชรสังเคราะห์มีราคาราว 4,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต ปัจจุบันมีราคาประมาณ 300 ถึง 500 ดอลลาร์ต่อกะรัต ตามรายงานของ Bain & Company
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง: Nationaljeweler. February 2022. Measuring the Lab-Grown Diamond Market: Size, Growth, and Future Opportunities. [Online]. Available at https://www.nationaljeweler.com/articles/10624-measuring-the-lab-grown-diamond-market-size-growth-and-future-opportunities. (Retrieved March 3, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อนาคตเพชรสังเคราะห์เติบโตสดใส

Mar 30, 2022
2342 views
1 share

            เพชรสังเคราะห์ (Lab Grown Diamond หรือ LGD) เป็นเพชรที่มนุษย์ผลิตขึ้นในห้องทดลองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีองค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพเหมือนกับเพชรที่มาจากธรรมชาติทุกประการ ต่างกันเพียงเรื่องแหล่งกำเนิดเท่านั้น

            ล่าสุด National Jeweller ได้พูดคุยกับนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมอิสระ Edahn Golan และ Paul Zimnisky ได้ใจความสรุปว่า ก่อนปี 2018 ยอดขายเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์มีมูลค่าน้อยกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของตลาดเครื่องประดับเพชรทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดในโลกด้วยสัดส่วนถึง 90% และสัดส่วนยอดขายเพชรสังเคราะห์ก็เพิ่มขึ้นเป็น 2% ในปี 2019, 3.5% ในปี 2020 และราว 5% ในปี 2021 และมีมูลค่าประมาณ 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ Report Ocean ประมาณการว่ามูลค่าตลาดเพชรสังเคราะห์ในช่วงปี 2021 – 2027 จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.7% และมีมูลค่าเป็น 27,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2027


เพชรสังเคราะห์

ที่มาภาพ: www.growndiamondcorp.com


            สำหรับปัจจัยกระตุ้นการเติบโตของตลาดเพชรสังเคราะห์ ได้แก่ 1) ราคาต่ำ1 โดยราคาถูกกว่าเพชรแท้ราว 40% ทั้งนี้ Paul Zimnisky ได้คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าราคาเพชรสังเคราะห์จะถูกกว่าเพชรแท้ถึง 90%  2) การรับรู้และการยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น และ 3) ความเชื่อที่ว่าเพชรสังเคราะห์ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ใช่เพชรแห่งความขัดแย้ง (Conflict Diamond) โดยเพชรสังเคราะห์ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มชาวมิลเลนเนียล ฉะนั้น เครื่องประดับเพชรสังเคราะห์จึงเป็นอีกโอกาสหนึ่งของผู้ประกอบการไทย


ข้อมูลอ้างอิง


1. ในปี 2008 เพชรสังเคราะห์มีราคาราว 4,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต ปัจจุบันมีราคาประมาณ 300 ถึง 500 ดอลลาร์ต่อกะรัต ตามรายงานของ Bain & Company
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง: Nationaljeweler. February 2022. Measuring the Lab-Grown Diamond Market: Size, Growth, and Future Opportunities. [Online]. Available at https://www.nationaljeweler.com/articles/10624-measuring-the-lab-grown-diamond-market-size-growth-and-future-opportunities. (Retrieved March 3, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970