อินเดียปรับภาษีนำเข้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

May 18, 2022
2469 views
0 share

            อินเดียเป็นหนึ่งผู้ผลิตเพชรเจียระไนและเครื่องประดับรายใหญ่ของโลก ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจึงส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศว่าในปีงบประมาณ 2022-2023 (1 เมษายน 2022 ถึง 31 มีนาคม 2023) รัฐบาลจะลดภาษีนำเข้าเพชรเจียระไนและพลอยสีจาก 7.5% เหลือ 5% ทั้งจากการนำเข้าปกติและจากการซื้อออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีวัตถุดิบเข้ามาอย่างเพียงพอที่จะผลิตเป็นเครื่องประดับส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดโลกกำลังฟื้นตัวและมีความต้องการบริโภคเครื่องประดับเพิ่มขึ้น และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ รวมถึงการเก็บภาษีนำเข้าเครื่องประดับเทียมกิโลกรัมละ 400 รูปี เพื่อป้องกันเครื่องประดับเทียมราคาต่ำจากประเทศอื่นเข้าไปแข่งขันในประเทศ

            แม้ว่าอินเดียจะเป็นแหล่งผลิตอัญมณีหลากหลายชนิด เช่น ทับทิม แซปไฟร์ มรกต อะความารีน โกเมนและทัวร์มารีน เป็นต้น หากแต่ปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงลดภาษีนำเข้าอัญมณี เพื่อทำให้ต้นทุนในการผลิตเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีถูกลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดโลกได้

            สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องประดับเทียมอินเดีย เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คาดว่ามีมูลค่าสูงถึง 656,200 ล้านรูปี (8,469.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)*  เนื่องจากราคาโลหะมีค่าอย่างทองคำและเงินมีราคาสูงขึ้น จึงทำให้เครื่องประดับเทียมซึ่งมีราคาต่ำ ดีไซน์ทันสมัย และใส่ได้ในทุกโอกาสได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มักเปลี่ยนเครื่องประดับบ่อยและยังมีกำลังซื้อไม่มากนัก ทั้งนี้ ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเทียม มีเพียงจีนที่เป็นคู่แข่งสำคัญและมีต้นทุนการผลิตเครื่องประดับเทียมที่ต่ำมาก จึงอาจเข้าไปตีตลาดเครื่องประดับเทียมในอินเดียได้ รัฐบาลอินเดียจึงเก็บภาษีนำเข้าเครื่องประดับเทียม เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าจากจีนเข้าไปแย่งชิงตลาดของผู้ประกอบการในประเทศได้

 

ที่มาภาพ: https://jewelsonhampton.com/the-four-cs-cut-color-clarity-and-carat/


            ทั้งนี้ อินเดียเป็นทั้งคู่แข่งและคู่ค้าสำคัญของไทย ในด้านคู่แข่งนั้น การลดภาษีนำเข้าเพชรเจียระไนและพลอยสี ทำให้อินเดียมีแต้มต่อมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันค่าจ้างแรงงานของอินเดียยังอยู่ในระดับต่ำ ทักษะฝีมือเจียระไนทั้งเพชรและพลอยสีก็เป็นที่ยอมรับในตลาดสากลเช่นกัน ซึ่งการลดภาษีนำเข้าอัญมณีดังกล่าวข้างต้นก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีต่ำลง อาจแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากไทยเพิ่มมากขึ้น หากพิจารณาด้านคู่ค้าจะพบว่า อินเดียเป็นคู่ค้าหลักของไทย ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 อินเดียเป็นผู้นำเข้าอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ด้วยอัตราการเติบโตถึง 114% ซึ่งการที่อินเดียลดภาษีนำเข้าทั้งเพชรเจียระไนและพลอยสีลงจะทำให้ไทยซึ่งมีฐานะเป็นผู้ค้าและผู้ผลิตพลอยสี รวมถึงเพชรเจียระไนที่สำคัญของโลก มีโอกาสส่งออกวัตถุดิบทั้งเพชรและพลอยสีไปยังอินเดียได้เพิ่มมากขึ้นในปีนี้ 


ข้อมูลอ้างอิง


* อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 1 รูปี = 0.01291 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก https://wise.com/th/currency-converter/inr-to-usd-rate)
-----------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง

1) Government proposes reduction in import duty on cut & polished diamonds & gemstones to 5 per cent [Online]. Available at https://economictimes.indiatimes.com/industry/cons-products/fashion-/-cosmetics-/-jewellery/government-proposes-reduction-in-import-duty-on-cut-polished-diamonds-gemstones-to-5-per-cent/articleshow/89269050.cms. (Retrieved May 6, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อินเดียปรับภาษีนำเข้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

May 18, 2022
2469 views
0 share

            อินเดียเป็นหนึ่งผู้ผลิตเพชรเจียระไนและเครื่องประดับรายใหญ่ของโลก ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลจึงส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศว่าในปีงบประมาณ 2022-2023 (1 เมษายน 2022 ถึง 31 มีนาคม 2023) รัฐบาลจะลดภาษีนำเข้าเพชรเจียระไนและพลอยสีจาก 7.5% เหลือ 5% ทั้งจากการนำเข้าปกติและจากการซื้อออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีวัตถุดิบเข้ามาอย่างเพียงพอที่จะผลิตเป็นเครื่องประดับส่งออกต่างประเทศ ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดโลกกำลังฟื้นตัวและมีความต้องการบริโภคเครื่องประดับเพิ่มขึ้น และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ รวมถึงการเก็บภาษีนำเข้าเครื่องประดับเทียมกิโลกรัมละ 400 รูปี เพื่อป้องกันเครื่องประดับเทียมราคาต่ำจากประเทศอื่นเข้าไปแข่งขันในประเทศ

            แม้ว่าอินเดียจะเป็นแหล่งผลิตอัญมณีหลากหลายชนิด เช่น ทับทิม แซปไฟร์ มรกต อะความารีน โกเมนและทัวร์มารีน เป็นต้น หากแต่ปริมาณการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงลดภาษีนำเข้าอัญมณี เพื่อทำให้ต้นทุนในการผลิตเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีถูกลง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาดโลกได้

            สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องประดับเทียมอินเดีย เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คาดว่ามีมูลค่าสูงถึง 656,200 ล้านรูปี (8,469.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)*  เนื่องจากราคาโลหะมีค่าอย่างทองคำและเงินมีราคาสูงขึ้น จึงทำให้เครื่องประดับเทียมซึ่งมีราคาต่ำ ดีไซน์ทันสมัย และใส่ได้ในทุกโอกาสได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มักเปลี่ยนเครื่องประดับบ่อยและยังมีกำลังซื้อไม่มากนัก ทั้งนี้ ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับเทียม มีเพียงจีนที่เป็นคู่แข่งสำคัญและมีต้นทุนการผลิตเครื่องประดับเทียมที่ต่ำมาก จึงอาจเข้าไปตีตลาดเครื่องประดับเทียมในอินเดียได้ รัฐบาลอินเดียจึงเก็บภาษีนำเข้าเครื่องประดับเทียม เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าจากจีนเข้าไปแย่งชิงตลาดของผู้ประกอบการในประเทศได้

 

ที่มาภาพ: https://jewelsonhampton.com/the-four-cs-cut-color-clarity-and-carat/


            ทั้งนี้ อินเดียเป็นทั้งคู่แข่งและคู่ค้าสำคัญของไทย ในด้านคู่แข่งนั้น การลดภาษีนำเข้าเพชรเจียระไนและพลอยสี ทำให้อินเดียมีแต้มต่อมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันค่าจ้างแรงงานของอินเดียยังอยู่ในระดับต่ำ ทักษะฝีมือเจียระไนทั้งเพชรและพลอยสีก็เป็นที่ยอมรับในตลาดสากลเช่นกัน ซึ่งการลดภาษีนำเข้าอัญมณีดังกล่าวข้างต้นก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีต่ำลง อาจแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากไทยเพิ่มมากขึ้น หากพิจารณาด้านคู่ค้าจะพบว่า อินเดียเป็นคู่ค้าหลักของไทย ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 อินเดียเป็นผู้นำเข้าอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ด้วยอัตราการเติบโตถึง 114% ซึ่งการที่อินเดียลดภาษีนำเข้าทั้งเพชรเจียระไนและพลอยสีลงจะทำให้ไทยซึ่งมีฐานะเป็นผู้ค้าและผู้ผลิตพลอยสี รวมถึงเพชรเจียระไนที่สำคัญของโลก มีโอกาสส่งออกวัตถุดิบทั้งเพชรและพลอยสีไปยังอินเดียได้เพิ่มมากขึ้นในปีนี้ 


ข้อมูลอ้างอิง


* อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 1 รูปี = 0.01291 ดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก https://wise.com/th/currency-converter/inr-to-usd-rate)
-----------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง

1) Government proposes reduction in import duty on cut & polished diamonds & gemstones to 5 per cent [Online]. Available at https://economictimes.indiatimes.com/industry/cons-products/fashion-/-cosmetics-/-jewellery/government-proposes-reduction-in-import-duty-on-cut-polished-diamonds-gemstones-to-5-per-cent/articleshow/89269050.cms. (Retrieved May 6, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970