เพิ่มช่องทางขายอัญมณีและเครื่องประดับด้วยตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ

Jun 8, 2022
2167 views
3 shares

            ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เข้ามาสร้างความสะดวกให้ผู้บริโภคในการเข้าถึงสินค้าที่ต้องการโดยไม่ต้องเดินทางไปซื้อถึงร้านค้าที่ขายสินค้าโดยตรง ซึ่งกระแสตู้ขายสินค้าอัตโนมัติในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกระแสตู้เต่าบินในปัจจุบันกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงกันอย่างมาก ทั้งยังสามารถสร้างยอดขายได้เป็นกอบเป็นกำ กระทั่งมีแผนขยายจำนวนตู้เพิ่มอีก 5,000 ตู้ภายในปีนี้  จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้าที่น่าสนใจ แล้วการนำอัญมณีและเครื่องประดับมาขายผ่านเทคโนโลยีชนิดนี้จะเป็นไปได้หรือไม่?

            เมื่อคิดถึงตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเรามักคิดถึงประเทศญี่ปุ่นที่มีตู้แบบนี้เรียงรายให้เห็นในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นริมทางเดิน หน้าร้านสะดวกซื้อ ออนเซน แหล่งท่องเที่ยว สถานีขนส่ง หรือแม้แต่บนรถไฟ ข้อมูลจากองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่นประมาณการณ์ว่า จำนวนตู้ขายสินค้านี้ในญี่ปุ่นมีจำนวนมากกว่า 5.5 ล้านตู้ โดยมีขายตั้งแต่สินค้าพื้นฐานอย่างเครื่องดื่ม สาเก อาหารหลากหลายชนิด หนังสือ ร่ม ของเล่น รวมทั้งของแปลกที่ไม่มีในตู้ขายสินค้าประเทศอื่นๆ อย่างเครื่องรางจากวัดและศาลเจ้า ถุงน่อง แม้แต่สัตว์เลี้ยงที่มีชีวิต และสินค้าสำหรับผู้ใหญ่

            จากตู้ขายสินค้าอัตโนมัติในญี่ปุ่นกลายเป็นตัวจุดประกายให้เกิดแนวคิดการทำตู้ขายเครื่องประดับอัตโนมัติขึ้น โดยจุดเริ่มต้นแนวคิดที่แหวกแนวนี้มาจาก Marla Aaron ซึ่งเธอเคยทำงานด้านโฆษณาและการตลาดมาก่อนที่จะผันตัวเองมาทำแบรนด์เครื่องประดับของตัวเองและต้องการสื่อสารการตลาดกับผู้บริโภคในแบบที่แตกต่างเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก โดยนำแรงบันดาลใจที่ได้จากการเห็นตู้ขายสินค้าอัตโนมัติในการเดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่นมาเป็นไอเดียในการขยายช่องทางค้าปลีกเครื่องประดับ จากไอเดียดังกล่าวทำให้เธอนำมาใช้ในการทำตู้ขายเครื่องประดับอัตโนมัติที่มีหน้าจอแสดงวีดิโอแนะนำแบรนด์และรูปแบบการใช้งานให้ผู้สัญจรไปมาได้รับรู้ หากผู้ที่สนใจชื่นชอบก็เพียงแค่กดปุ่มไม่กี่ปุ่มก็จะได้รับเครื่องประดับเหล่านี้ไปสวมใส่ได้ทันที โดยสนนราคาอยู่ระหว่าง 100-1,600 ดอลลาร์สหรัฐ


    


ตู้ขายเครื่องประดับ Marla Aaron ภาพจาก https://marlaaaron.com

            นอกจากตู้ขายเครื่องประดับของแบรนด์ Marla Aaron แล้ว แดนอาทิตย์อุทัยต้นกำเนิดไอเดียก็มีตู้ขายเครื่องประดับมุกอะโกย่าของแบรนด์ Preno ที่มีหลากหลายแบบ ทั้งสร้อยคอ ต่างหู แหวน หรือสร้อยข้อมือ ที่มาพร้อมใบรับรองคุณภาพเพื่อสร้างความั่นใจให้ผู้ซื้ออีกด้วย

    

ตู้ขายเครื่องประดับมุกของแบรนด์ Preno ภาพจาก https://soranews24.com


            การทำตลาดสินค้าในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นส่วนสำคัญค่อนข้างมาก รวมทั้งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ทำให้มีการแข่งขันกันสูงด้วยเทคโนโลยีที่มีรูปแบบคล้ายๆ กัน การหารูปแบบที่แตกต่างไม่เพียงแต่สร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ ยังสร้างความสนใจให้ผู้ที่พบเห็นได้ถ่ายทอดต่อแบบปากต่อปากซึ่งสามารถแพร่หลายเป็นวงกว้างในสังคมออนไลน์ได้อีกทางหนึ่งด้วย 

ผู้เขียน:  นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)



ข้อมูลอ้างอิง


1) The jewellery Cut. 2022. Fine jewels in a vending machine?. [Online]. Available at: https://jewellerycut.com. (Retrieved May 11,2022).
2) Marla Aaron. 2022. The Vending Machine. [Online]. Available at: https://marlaaaron.com/pages/the-vending-machine. (Retrieved May 11,2022).
3) Soraa News24. 2021. Japanese vending machines now sell pearl jewellery. [Online]. Available at: https://soranews24.com/2021/02/25/japanese-vending-machines-now-sell-pearl-jewellery/. (Retrieved May 11,2022).
4) BRAND MOVE. 2565. ถอดความสำเร็จ “ตู้เต่าบิน” คาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง เร่งขยาย 2 หมื่นตู้. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.brandbuffet.in.th/2022/03/tao-bin-robotic-barista-vending-machine-business-strategies

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เพิ่มช่องทางขายอัญมณีและเครื่องประดับด้วยตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ

Jun 8, 2022
2167 views
3 shares

            ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่เข้ามาสร้างความสะดวกให้ผู้บริโภคในการเข้าถึงสินค้าที่ต้องการโดยไม่ต้องเดินทางไปซื้อถึงร้านค้าที่ขายสินค้าโดยตรง ซึ่งกระแสตู้ขายสินค้าอัตโนมัติในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกระแสตู้เต่าบินในปัจจุบันกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงกันอย่างมาก ทั้งยังสามารถสร้างยอดขายได้เป็นกอบเป็นกำ กระทั่งมีแผนขยายจำนวนตู้เพิ่มอีก 5,000 ตู้ภายในปีนี้  จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้าที่น่าสนใจ แล้วการนำอัญมณีและเครื่องประดับมาขายผ่านเทคโนโลยีชนิดนี้จะเป็นไปได้หรือไม่?

            เมื่อคิดถึงตู้ขายสินค้าอัตโนมัติเรามักคิดถึงประเทศญี่ปุ่นที่มีตู้แบบนี้เรียงรายให้เห็นในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นริมทางเดิน หน้าร้านสะดวกซื้อ ออนเซน แหล่งท่องเที่ยว สถานีขนส่ง หรือแม้แต่บนรถไฟ ข้อมูลจากองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่นประมาณการณ์ว่า จำนวนตู้ขายสินค้านี้ในญี่ปุ่นมีจำนวนมากกว่า 5.5 ล้านตู้ โดยมีขายตั้งแต่สินค้าพื้นฐานอย่างเครื่องดื่ม สาเก อาหารหลากหลายชนิด หนังสือ ร่ม ของเล่น รวมทั้งของแปลกที่ไม่มีในตู้ขายสินค้าประเทศอื่นๆ อย่างเครื่องรางจากวัดและศาลเจ้า ถุงน่อง แม้แต่สัตว์เลี้ยงที่มีชีวิต และสินค้าสำหรับผู้ใหญ่

            จากตู้ขายสินค้าอัตโนมัติในญี่ปุ่นกลายเป็นตัวจุดประกายให้เกิดแนวคิดการทำตู้ขายเครื่องประดับอัตโนมัติขึ้น โดยจุดเริ่มต้นแนวคิดที่แหวกแนวนี้มาจาก Marla Aaron ซึ่งเธอเคยทำงานด้านโฆษณาและการตลาดมาก่อนที่จะผันตัวเองมาทำแบรนด์เครื่องประดับของตัวเองและต้องการสื่อสารการตลาดกับผู้บริโภคในแบบที่แตกต่างเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก โดยนำแรงบันดาลใจที่ได้จากการเห็นตู้ขายสินค้าอัตโนมัติในการเดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่นมาเป็นไอเดียในการขยายช่องทางค้าปลีกเครื่องประดับ จากไอเดียดังกล่าวทำให้เธอนำมาใช้ในการทำตู้ขายเครื่องประดับอัตโนมัติที่มีหน้าจอแสดงวีดิโอแนะนำแบรนด์และรูปแบบการใช้งานให้ผู้สัญจรไปมาได้รับรู้ หากผู้ที่สนใจชื่นชอบก็เพียงแค่กดปุ่มไม่กี่ปุ่มก็จะได้รับเครื่องประดับเหล่านี้ไปสวมใส่ได้ทันที โดยสนนราคาอยู่ระหว่าง 100-1,600 ดอลลาร์สหรัฐ


    


ตู้ขายเครื่องประดับ Marla Aaron ภาพจาก https://marlaaaron.com

            นอกจากตู้ขายเครื่องประดับของแบรนด์ Marla Aaron แล้ว แดนอาทิตย์อุทัยต้นกำเนิดไอเดียก็มีตู้ขายเครื่องประดับมุกอะโกย่าของแบรนด์ Preno ที่มีหลากหลายแบบ ทั้งสร้อยคอ ต่างหู แหวน หรือสร้อยข้อมือ ที่มาพร้อมใบรับรองคุณภาพเพื่อสร้างความั่นใจให้ผู้ซื้ออีกด้วย

    

ตู้ขายเครื่องประดับมุกของแบรนด์ Preno ภาพจาก https://soranews24.com


            การทำตลาดสินค้าในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นส่วนสำคัญค่อนข้างมาก รวมทั้งสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ทำให้มีการแข่งขันกันสูงด้วยเทคโนโลยีที่มีรูปแบบคล้ายๆ กัน การหารูปแบบที่แตกต่างไม่เพียงแต่สร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ ยังสร้างความสนใจให้ผู้ที่พบเห็นได้ถ่ายทอดต่อแบบปากต่อปากซึ่งสามารถแพร่หลายเป็นวงกว้างในสังคมออนไลน์ได้อีกทางหนึ่งด้วย 

ผู้เขียน:  นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)



ข้อมูลอ้างอิง


1) The jewellery Cut. 2022. Fine jewels in a vending machine?. [Online]. Available at: https://jewellerycut.com. (Retrieved May 11,2022).
2) Marla Aaron. 2022. The Vending Machine. [Online]. Available at: https://marlaaaron.com/pages/the-vending-machine. (Retrieved May 11,2022).
3) Soraa News24. 2021. Japanese vending machines now sell pearl jewellery. [Online]. Available at: https://soranews24.com/2021/02/25/japanese-vending-machines-now-sell-pearl-jewellery/. (Retrieved May 11,2022).
4) BRAND MOVE. 2565. ถอดความสำเร็จ “ตู้เต่าบิน” คาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง เร่งขยาย 2 หมื่นตู้. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.brandbuffet.in.th/2022/03/tao-bin-robotic-barista-vending-machine-business-strategies

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970