มติครม. ปรับค่าจ้างอาชีพในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

Jun 20, 2022
2942 views
2 shares

            อัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าส่งออกใน 3 อันดับแรกของสินค้าส่งออกโดยรวมของประเทศ สร้างงานสร้างรายได้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแรงงานมีฝีมือที่สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพลอยสี นับตั้งแต่การขุดหาพลอย การปรับปรุงคุณภาพพลอยด้วยการหุงหรือการเผา การตั้งน้ำ การเจียระไน การออกแบบ การฝัง การประกอบตัวเรือน การขัดเงา การตกแต่งตัวเรือน และการผลิตเครื่องประดับ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2564 มีแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับทั้งสิ้น 664,325 คน โดยส่วนใหญ่เกือบ 80% เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมปลายน้ำ รองลงมาอยู่ในในอุตสาหกรรมกลางน้ำ (สัดส่วน 18%) และอุตสาหกรรมต้นน้ำ (สัดส่วน 2%) ตามลำดับ

            จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น อาชีพในกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็นหนึ่งในสามกลุ่มอาชีพตามมติครม.ที่เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงาน และมีเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้ใบรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

            โดย 3 กลุ่มอาชีพ 16  สาขา ที่ได้มีการปรับอัตราค่าจ้าง 3 ระดับ ได้แก่ 

                1. กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง 5 สาขา:  ช่างติดตั้งยิปซั่ม ช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น ช่างสีอาคาร ช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา

                2. กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ 4 สาขา: ช่างเครื่องประดับ ช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ) ช่างเครื่องถม

                3. กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ 7 สาขา: นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด) ผู้ประกอบขนมอบ พนักงานต้อนรับส่วนหน้า พนักงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ช่างแต่งผมสตรีสาขาช่างแต่งผมบุรุษ การดูแลผู้สูงอายุ


ช่างผลิตเครื่องประดับ

ที่มาภาพ: https://www.salika.co/2021/09/05/thai-jewelry-business-industry-covid-solutions/


            โดยช่างเครื่องประดับ หากมีมาตรฐานฝีมือระดับ 1 จะได้รับค่าจ้าง 450 บาท/วัน  ระดับ 2 ค่าจ้าง 550 บาท/วัน และระดับ 3 ค่าจ้างอยู่ที่ 650  บาท/วัน ช่างเทคนิคโบราณ ระดับ 1 จะได้ค่าจ้าง 525 บาท/วัน ส่วน

ช่างเครื่องถม มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้างอยู่ที่ 625 บาท/วัน

            ปัจจุบันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเริ่มขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ดังนั้น การปรับค่าจ้างดังกล่าว ก็เป็นหนึ่งปัจจัยจูงใจให้มีคนเข้าสู่อาชีพเครื่องประดับมากขึ้น อย่างไรก็ดี ฝีมือแรงงานอื่นๆ อย่างเจียระไนพลอยสีและเพชร หากช่างมีทักษะฝีมือสูงก็มักจะได้รับค่าจ้างสูงกว่ามาตรฐานอยู่แล้ว 

 


ผู้เขียน:  นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 11 พฤษภาคม 2565.3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ([ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.prachachat.net/general/news-929058. (สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2564)

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


มติครม. ปรับค่าจ้างอาชีพในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

Jun 20, 2022
2942 views
2 shares

            อัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าส่งออกใน 3 อันดับแรกของสินค้าส่งออกโดยรวมของประเทศ สร้างงานสร้างรายได้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแรงงานมีฝีมือที่สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพลอยสี นับตั้งแต่การขุดหาพลอย การปรับปรุงคุณภาพพลอยด้วยการหุงหรือการเผา การตั้งน้ำ การเจียระไน การออกแบบ การฝัง การประกอบตัวเรือน การขัดเงา การตกแต่งตัวเรือน และการผลิตเครื่องประดับ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในปี 2564 มีแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับทั้งสิ้น 664,325 คน โดยส่วนใหญ่เกือบ 80% เป็นแรงงานในอุตสาหกรรมปลายน้ำ รองลงมาอยู่ในในอุตสาหกรรมกลางน้ำ (สัดส่วน 18%) และอุตสาหกรรมต้นน้ำ (สัดส่วน 2%) ตามลำดับ

            จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น อาชีพในกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็นหนึ่งในสามกลุ่มอาชีพตามมติครม.ที่เห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงาน และมีเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้ใบรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

            โดย 3 กลุ่มอาชีพ 16  สาขา ที่ได้มีการปรับอัตราค่าจ้าง 3 ระดับ ได้แก่ 

                1. กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง 5 สาขา:  ช่างติดตั้งยิปซั่ม ช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น ช่างสีอาคาร ช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา

                2. กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ 4 สาขา: ช่างเครื่องประดับ ช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ) ช่างเครื่องถม

                3. กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ 7 สาขา: นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด) ผู้ประกอบขนมอบ พนักงานต้อนรับส่วนหน้า พนักงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ช่างแต่งผมสตรีสาขาช่างแต่งผมบุรุษ การดูแลผู้สูงอายุ


ช่างผลิตเครื่องประดับ

ที่มาภาพ: https://www.salika.co/2021/09/05/thai-jewelry-business-industry-covid-solutions/


            โดยช่างเครื่องประดับ หากมีมาตรฐานฝีมือระดับ 1 จะได้รับค่าจ้าง 450 บาท/วัน  ระดับ 2 ค่าจ้าง 550 บาท/วัน และระดับ 3 ค่าจ้างอยู่ที่ 650  บาท/วัน ช่างเทคนิคโบราณ ระดับ 1 จะได้ค่าจ้าง 525 บาท/วัน ส่วน

ช่างเครื่องถม มาตรฐานฝีมือระดับ 1 ค่าจ้างอยู่ที่ 625 บาท/วัน

            ปัจจุบันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเริ่มขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ดังนั้น การปรับค่าจ้างดังกล่าว ก็เป็นหนึ่งปัจจัยจูงใจให้มีคนเข้าสู่อาชีพเครื่องประดับมากขึ้น อย่างไรก็ดี ฝีมือแรงงานอื่นๆ อย่างเจียระไนพลอยสีและเพชร หากช่างมีทักษะฝีมือสูงก็มักจะได้รับค่าจ้างสูงกว่ามาตรฐานอยู่แล้ว 

 


ผู้เขียน:  นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. 11 พฤษภาคม 2565.3 กลุ่มอาชีพ 16 สาขา รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ([ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.prachachat.net/general/news-929058. (สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2564)

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970