เครื่องประดับทองอินเดียเติบโตสูงในยูเออี หลังหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจมีผลบังคับใช้

Aug 19, 2022
1276 views
0 share

            อินเดียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี ได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Economic Partnership Agreement: CEPA) ระหว่างการประชุมสุดยอด India-UAE Virtual Summit เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา ซึ่งทั้งสองประเทศคาดว่าจะช่วยเพิ่มปริมาณการค้าสินค้าระหว่างกันเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มปริมาณการค้าบริการเป็น 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในระยะเวลา 5 ปี 

            ปัจจุบันยูเออี เป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของอินเดีย รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน ก่อนการแพร่ระบาดโควิดในปี 2562 การค้าระหว่างอินเดียและยูเออีมีมูลค่า 59,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากพิจารณาทางด้านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากข้อมูลของ Global Trade Atlas พบว่าในปี 2562 ยูเออี เป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอันดับ 2 รองจากฮ่องกง ด้วยมูลค่าส่งออก 10,130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 26 ของมูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียโดยรวม โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 67 เป็นเครื่องประดับทอง หรือมีมูลค่า 8,241 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            นับตั้งแต่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจมีผลบังคับใช้ อินเดียส่งออกเครื่องประดับทองไปยังยูเออี ในเดือนพฤษภาคม ด้วยมูลค่า 1,048 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มสูงถึง 72% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า และ 1,451 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 68% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกเครื่องประดับทองจากอินเดียไปในตลาดโลกในเดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ 5,641 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 35.25% จากช่วงเดียวกันในปี 2564


ที่มาภาพ: https://www.tanishq.ae/product/tanishq-22kt-yellow-gold-necklace-set-with-teardrop-design-and-rawa-balls-5110692zwaaa00


            การลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากอินเดียได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าไปยังตลาดยูเออี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ รวมถึงไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5 เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอินเดียในยูเออีและตะวันออกกลาง (ยูเออีเป็นประตูกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางด้วย ) ส่งผลให้อินเดียส่งออกเครื่องประดับทองไปยังยูเออีได้เพิ่มขึ้น เพราะต้นทุนที่ถูกลง แต่ในขณะเดียวกัน อินเดียก็เป็นคู่ค้าหลักของไทย ก็จะทำให้ไทยสามารถส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบไปยังอินเดียเพื่อนำไปแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่าเพื่อส่งออกต่อไปยังยูเออีและตลาดต่างๆ ในตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

            ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของกรมศุลกากรพบว่า ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ไทยส่งออกเครื่องประดับทองไปยังยูเออีด้วยมูลค่า 69.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า


ผู้เขียน:  นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


The Economics Times. July 2022. Jewellery exports to UAE shine post comprehensive economic partnership agreement [Online]. Available at https://economictimes.indiatimes.com/industry/cons-products/
fashion-/-cosmetics-/-jewellery/jewellery-exports-to-uae-shine-post-comprehensive-economic-partnership-agreement/articleshow/92884603.cms?from=mdr. (Retrieved August 17, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เครื่องประดับทองอินเดียเติบโตสูงในยูเออี หลังหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจมีผลบังคับใช้

Aug 19, 2022
1276 views
0 share

            อินเดียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี ได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Comprehensive Economic Partnership Agreement: CEPA) ระหว่างการประชุมสุดยอด India-UAE Virtual Summit เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา ซึ่งทั้งสองประเทศคาดว่าจะช่วยเพิ่มปริมาณการค้าสินค้าระหว่างกันเป็น 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มปริมาณการค้าบริการเป็น 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในระยะเวลา 5 ปี 

            ปัจจุบันยูเออี เป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของอินเดีย รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน ก่อนการแพร่ระบาดโควิดในปี 2562 การค้าระหว่างอินเดียและยูเออีมีมูลค่า 59,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากพิจารณาทางด้านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากข้อมูลของ Global Trade Atlas พบว่าในปี 2562 ยูเออี เป็นตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอันดับ 2 รองจากฮ่องกง ด้วยมูลค่าส่งออก 10,130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 26 ของมูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับอินเดียโดยรวม โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 67 เป็นเครื่องประดับทอง หรือมีมูลค่า 8,241 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

            นับตั้งแต่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจมีผลบังคับใช้ อินเดียส่งออกเครื่องประดับทองไปยังยูเออี ในเดือนพฤษภาคม ด้วยมูลค่า 1,048 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มสูงถึง 72% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า และ 1,451 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 68% จากเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา สำหรับการส่งออกเครื่องประดับทองจากอินเดียไปในตลาดโลกในเดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ 5,641 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 35.25% จากช่วงเดียวกันในปี 2564


ที่มาภาพ: https://www.tanishq.ae/product/tanishq-22kt-yellow-gold-necklace-set-with-teardrop-design-and-rawa-balls-5110692zwaaa00


            การลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากอินเดียได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าไปยังตลาดยูเออี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ รวมถึงไทยจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 5 เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอินเดียในยูเออีและตะวันออกกลาง (ยูเออีเป็นประตูกระจายสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางด้วย ) ส่งผลให้อินเดียส่งออกเครื่องประดับทองไปยังยูเออีได้เพิ่มขึ้น เพราะต้นทุนที่ถูกลง แต่ในขณะเดียวกัน อินเดียก็เป็นคู่ค้าหลักของไทย ก็จะทำให้ไทยสามารถส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบไปยังอินเดียเพื่อนำไปแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่าเพื่อส่งออกต่อไปยังยูเออีและตลาดต่างๆ ในตะวันออกกลางได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

            ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของกรมศุลกากรพบว่า ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 ไทยส่งออกเครื่องประดับทองไปยังยูเออีด้วยมูลค่า 69.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.51% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า


ผู้เขียน:  นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


The Economics Times. July 2022. Jewellery exports to UAE shine post comprehensive economic partnership agreement [Online]. Available at https://economictimes.indiatimes.com/industry/cons-products/
fashion-/-cosmetics-/-jewellery/jewellery-exports-to-uae-shine-post-comprehensive-economic-partnership-agreement/articleshow/92884603.cms?from=mdr. (Retrieved August 17, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970