อินเดียและตะวันออกกลางช่วยหนุนความต้องการเครื่องประดับทองปี 2022

Sep 1, 2022
792 views
0 share

            World Gold Council (WGC) เผยว่าความต้องการเครื่องประดับทองในไตรมาสที่สองของปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในตลาดอินเดียและตะวันออกกลาง

            ทว่าอุปสงค์เครื่องประดับทองในไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 มีปริมาณเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 453 ตัน แต่ยังคงแผ่วอยู่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด เพราะถึงแม้การบริโภคเครื่องประดับทั่วโลกได้ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดระหว่างสถานการณ์โควิดในปี 2020 แต่ก็ยังคงไม่กลับมาเท่าระดับค่าเฉลี่ยรายไตรมาสที่ราว 550 ตัน ซึ่งเป็นตัวเลขปกติในช่วงสองสามปีก่อนเกิดโรคระบาด ส่งผลให้ภาพรวมความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 อยู่ที่ 928 ตัน ลดลงราวร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021


ที่มา: Gold Demand Trends Q2 2022, World Gold Council. 

            ข้อมูลจากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำในไตรมาสที่สองของปี 2022 (Gold Demand Trends Q2 2022) โดย WGC แสดงให้เห็นว่า จีนซึ่งเดิมเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองรายสำคัญกลับมีความต้องการลดลงร้อยละ 29 โดยสาเหตุสำคัญมาจากการล็อคดาวน์และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ยอดขายจากตลาดอินเดียก็เข้ามาช่วยชดเชยด้วยความต้องการที่พุ่งสูงถึงร้อยละ 49 จากการซื้อเครื่องประดับแต่งงานและการซื้อช่วงเทศกาล นอกจากนี้ อุปสงค์เครื่องประดับทองในตลาดตะวันออกกลางก็ขยายตัวร้อยละ 24 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและระดับรายได้ของผู้บริโภคในตะวันออกกลางด้วย

            สำหรับตลาดอินเดีย ยอดขายเครื่องประดับแต่งงานและยอดขายในช่วงเทศกาลช่วยเพิ่มความต้องการเครื่องประดับในไตรมาสที่สองของปีนี้ โดยเครื่องประดับทองล้วน 22 กะรัตยังคงครองตลาดอินเดีย ขณะที่เครื่องประดับ 18 กะรัต และ 14 กะรัตที่มีราคาย่อมเยากว่ามีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่ แต่แนวโน้มในอนาคตข้างหน้ายังคงไม่สดใสนัก เพราะท่ามกลางความต้องการสูงในไตรมาสที่สองนี้ก็ยังมีแรงต้านจากปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินที่อ่อนตัวลง อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกนี้อุปสงค์เครื่องประดับทองของอินเดียเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2021

            ในตลาดตะวันออกกลาง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและเพิ่มระดับรายได้ จึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องประดับทองเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคกว่าร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2021 โดยผู้บริโภครายใหญ่ในภูมิภาคนี้คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่มีอุปสงค์เติบโตถึงร้อยละ 64 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022

ที่มา: Gold Demand Trends Q2 2022, World Gold Council. 

            ขณะที่ผู้บริโภคจีนไม่สามารถใช้จ่ายระหว่างการล็อคดาวน์ครั้งใหญ่และมีรายได้ที่เติบโตช้าลง จึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องประดับทองของจีนชะลอตัวในไตรมาสที่สองของปีนี้ นอกจากนี้ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลดังกล่าว เนื่องจากครัวเรือนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์โควิดที่ไม่แน่นอน อีกทั้งผู้บริโภคก็มีความเชื่อมั่นที่ลดต่ำลงด้วย จึงทำให้อุปสงค์เครื่องประดับทองในครึ่งแรกของปี 2022 ลดลงเกือบร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021

            WGC ระบุว่า ความต้องการของจีนน่าจะซบเซาต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เพราะการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-Covid Policy) อย่างเข้มงวดและความต้องการภายในประเทศที่ลดต่ำลงจะยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน และส่งผลลบต่อความต้องการเครื่องประดับทองของจีนซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภครายใหญ่ของโลก ขณะเดียวกันหลายประเทศก็เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่ออุปสงค์เครื่องประดับทองในตลาดโลกในช่วงครึ่งปีหลังนี้ตามไปด้วย


จัดทำโดย นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์


ข้อมูลอ้างอิง


1) World Gold Council. July 2022. Gold Demand Trends Q2 2022. [Online]. Available at: https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q2-2022/jewellery.
2) JNA. August 2022. India, Middle East lift Q2 gold jewellery demand. [Online]. Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/news/24790.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อินเดียและตะวันออกกลางช่วยหนุนความต้องการเครื่องประดับทองปี 2022

Sep 1, 2022
792 views
0 share

            World Gold Council (WGC) เผยว่าความต้องการเครื่องประดับทองในไตรมาสที่สองของปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในตลาดอินเดียและตะวันออกกลาง

            ทว่าอุปสงค์เครื่องประดับทองในไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 มีปริมาณเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 453 ตัน แต่ยังคงแผ่วอยู่เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด เพราะถึงแม้การบริโภคเครื่องประดับทั่วโลกได้ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดระหว่างสถานการณ์โควิดในปี 2020 แต่ก็ยังคงไม่กลับมาเท่าระดับค่าเฉลี่ยรายไตรมาสที่ราว 550 ตัน ซึ่งเป็นตัวเลขปกติในช่วงสองสามปีก่อนเกิดโรคระบาด ส่งผลให้ภาพรวมความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 อยู่ที่ 928 ตัน ลดลงราวร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021


ที่มา: Gold Demand Trends Q2 2022, World Gold Council. 

            ข้อมูลจากรายงานแนวโน้มความต้องการทองคำในไตรมาสที่สองของปี 2022 (Gold Demand Trends Q2 2022) โดย WGC แสดงให้เห็นว่า จีนซึ่งเดิมเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองรายสำคัญกลับมีความต้องการลดลงร้อยละ 29 โดยสาเหตุสำคัญมาจากการล็อคดาวน์และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ยอดขายจากตลาดอินเดียก็เข้ามาช่วยชดเชยด้วยความต้องการที่พุ่งสูงถึงร้อยละ 49 จากการซื้อเครื่องประดับแต่งงานและการซื้อช่วงเทศกาล นอกจากนี้ อุปสงค์เครื่องประดับทองในตลาดตะวันออกกลางก็ขยายตัวร้อยละ 24 จากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและระดับรายได้ของผู้บริโภคในตะวันออกกลางด้วย

            สำหรับตลาดอินเดีย ยอดขายเครื่องประดับแต่งงานและยอดขายในช่วงเทศกาลช่วยเพิ่มความต้องการเครื่องประดับในไตรมาสที่สองของปีนี้ โดยเครื่องประดับทองล้วน 22 กะรัตยังคงครองตลาดอินเดีย ขณะที่เครื่องประดับ 18 กะรัต และ 14 กะรัตที่มีราคาย่อมเยากว่ามีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่ แต่แนวโน้มในอนาคตข้างหน้ายังคงไม่สดใสนัก เพราะท่ามกลางความต้องการสูงในไตรมาสที่สองนี้ก็ยังมีแรงต้านจากปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค ไม่ว่าจะเป็นค่าเงินที่อ่อนตัวลง อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกนี้อุปสงค์เครื่องประดับทองของอินเดียเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2021

            ในตลาดตะวันออกกลาง ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและเพิ่มระดับรายได้ จึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องประดับทองเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคกว่าร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2021 โดยผู้บริโภครายใหญ่ในภูมิภาคนี้คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่มีอุปสงค์เติบโตถึงร้อยละ 64 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022

ที่มา: Gold Demand Trends Q2 2022, World Gold Council. 

            ขณะที่ผู้บริโภคจีนไม่สามารถใช้จ่ายระหว่างการล็อคดาวน์ครั้งใหญ่และมีรายได้ที่เติบโตช้าลง จึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องประดับทองของจีนชะลอตัวในไตรมาสที่สองของปีนี้ นอกจากนี้ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลดังกล่าว เนื่องจากครัวเรือนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์โควิดที่ไม่แน่นอน อีกทั้งผู้บริโภคก็มีความเชื่อมั่นที่ลดต่ำลงด้วย จึงทำให้อุปสงค์เครื่องประดับทองในครึ่งแรกของปี 2022 ลดลงเกือบร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021

            WGC ระบุว่า ความต้องการของจีนน่าจะซบเซาต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เพราะการใช้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-Covid Policy) อย่างเข้มงวดและความต้องการภายในประเทศที่ลดต่ำลงจะยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน และส่งผลลบต่อความต้องการเครื่องประดับทองของจีนซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภครายใหญ่ของโลก ขณะเดียวกันหลายประเทศก็เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่ออุปสงค์เครื่องประดับทองในตลาดโลกในช่วงครึ่งปีหลังนี้ตามไปด้วย


จัดทำโดย นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์


ข้อมูลอ้างอิง


1) World Gold Council. July 2022. Gold Demand Trends Q2 2022. [Online]. Available at: https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q2-2022/jewellery.
2) JNA. August 2022. India, Middle East lift Q2 gold jewellery demand. [Online]. Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/news/24790.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970