De Beers ส่งเสริมหัตถศิลป์ชาว Miao ผ่านกิจกรรม CSR

Sep 26, 2022
1250 views
2 shares

            การถักทอเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหรือข้าวของเครื่องใช้นั้น เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่พบได้ในหลายอารยธรรมทั่วโลกและมีการสืบทอดกันมาโดยส่งผ่านครอบครัวหรือชุมชนที่ทำงานในลักษณะแบบเดียวกัน แม้ว่าจะผ่านการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานแต่กลับเป็นที่นิยมเฉพาะกลุ่มเล็กๆ ไม่แพร่หลาย เนื่องจากขาดความทันสมัยและประยุกต์เข้ากับเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับตามแฟชั่นได้ยาก จึงเป็นข้อจำกัดในการเชื่อมต่อระหว่างกัน

            มณฑลกุ้ยโจว (Guizhou) ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสูงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมณฑลหนึ่งที่มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ โดยมีถึง 17 กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีการตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณนี้มานานนับศตวรรษ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ Miao นับเป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความโดดเด่นในทักษะงานฝีมือเย็บปักถักร้อย ผ่านการสืบทอดทักษะนี้จากรุ่นสู่รุ่นสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ล่าสุดแบรนด์เครื่องประดับเพชรระดับโลกอย่าง De Beers ได้เล็งเห็นความมีเอกลักษณ์นี้ จึงนำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมงานหัตถศิลป์ของกลุ่มชาติพันธุ์ Miao ในกุ้ยโจว นำมาหลอมรวมเข้ากับแฟชั่นสมัยใหม่ ด้วยการนำอาจารย์ Liu Zhenghua ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านนี้ พร้อมกับหญิงสาวที่มีฝีมือในการเย็บปักชาว Miao อีก 30 คน มาร่วมกันสร้างสรรค์กระเป๋าใส่เครื่องประดับธีมลายผีเสื้อ โดยผีเสื้อนั้นไม่เพียงเป็นการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ แต่ยังมีความหมายในหมู่ชาว Miao ว่าเป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต จึงนับเป็นการเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างลงตัว





   ภาพลายปักผีเสื้อฝีมือชาว Miao ที่ De Beers จะนำมาใช้บนกระเป๋าใส่เครื่องประดับ ที่มา : https://daoinsights.com

            โครงการอบรมของ De Beers จะช่วยให้หญิงสาวรุ่นใหม่รู้จักสามารถประยุกต์งานเย็บปักแบบดั้งเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้น และทางแบรนด์จะมีการสั่งซื้อโดยตรงกับพวกเธอด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างงานและรายได้ให้เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนท้องถิ่นของ De Beers นี้ ไม่เพียงเป็นการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์แต่ยังสร้างเรื่องราวระหว่างแบรนด์กับชุมชนท้องถิ่น ทำให้การทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือ CSR ครั้งนี้ ได้รับคำชมในฐานะที่มีส่วนร่วมต่อสังคมในการช่วยพัฒนาชนบท 

            นอกจากนี้ De Beers ยังใช้โอกาสในช่วงเทศกาลวันแห่งความรักของจีน (Qixi Festival) ออกคอลเลคชั่นเครื่องประดับผีเสื้อที่สื่อถึงความรัก คำสัญญา และความเป็นนิรันดร์ โดยเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์นักร้องนักแสดงชาวจีนที่มีชื่อเสียงอย่าง Cai Xukun ซึ่งมีผู้ติดตามใน Weibo กว่า 37 ล้านคน มาถ่ายทอดความงดงามของเครื่องประดับชุดนี้ควบคู่กับงานหัตถศิลป์ชาว Miao  



   ภาพจากโฆษณา Cai Xukun กับเครื่องประดับผีเสื้อของ De Beers ที่มา : https://daoinsights.com

            ก่อนหน้านี้กุ้ยโจวเป็นหนึ่งในมณฑลที่ยากจนที่สุดในจีน มีค่า GDP ต่ำ แต่ด้วยนโยบายขจัดความยากจนของจีน ทำให้กุ้ยโจวมีการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในด้านต่างๆ สู่ภายนอกมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาส่งเสริมให้งานฝีมือเหล่านี้สามารถใช้เลี้ยงตัวเองได้และไม่เกิดการย้ายถิ่นจากบ้านเกิด ทำให้ในปี 2021 ค่า GDP ต่อหัวของกุ้ยโจว อยู่ที่ราว 6,700 ดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2005 ที่มีมูลค่าไม่ถึง 800 ดอลลาร์สหรัฐ

            จากที่กล่าวมาจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในการพัฒนาวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนของแบรนด์ระดับโลก ทำให้เกิดเป็นชิ้นงานที่มีเรื่องเล่าอันน่าประทับใจผสมผสานกลายเป็นเครื่องประดับสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ซึ่งการนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นไปสู่สายตาชาวโลกไม่เพียงเป็นการสร้างตัวตนให้รู้จักในระดับสากลยังเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดให้เกิดขึ้นได้อีกด้วย 


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ


ข้อมูลอ้างอิง


1) Daoinsight.com. 2022. De Beers weaves Miao embroidery into jewellery. [Online]. Available at: https://daoinsights.com/news/de-beers-weaves-miao-embroidery-into-jewellery/. (Retrieved August 24,2022).
2) China Matters. 2022. China Matters features the living heritage of Miao Embroidery in Guizhou. [Online]. Available at: https://www.prnewswire.com. (Retrieved August 24, 2022).
3) De Beers. 2022. De Beers Miao Embroidery Project officially launched. [Online]. Available at: https://mp.weixin.qq.com. (Retrieved August 25, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


De Beers ส่งเสริมหัตถศิลป์ชาว Miao ผ่านกิจกรรม CSR

Sep 26, 2022
1250 views
2 shares

            การถักทอเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายหรือข้าวของเครื่องใช้นั้น เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่พบได้ในหลายอารยธรรมทั่วโลกและมีการสืบทอดกันมาโดยส่งผ่านครอบครัวหรือชุมชนที่ทำงานในลักษณะแบบเดียวกัน แม้ว่าจะผ่านการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานแต่กลับเป็นที่นิยมเฉพาะกลุ่มเล็กๆ ไม่แพร่หลาย เนื่องจากขาดความทันสมัยและประยุกต์เข้ากับเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับตามแฟชั่นได้ยาก จึงเป็นข้อจำกัดในการเชื่อมต่อระหว่างกัน

            มณฑลกุ้ยโจว (Guizhou) ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสูงทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมณฑลหนึ่งที่มีหลายกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่ โดยมีถึง 17 กลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีการตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณนี้มานานนับศตวรรษ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ Miao นับเป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความโดดเด่นในทักษะงานฝีมือเย็บปักถักร้อย ผ่านการสืบทอดทักษะนี้จากรุ่นสู่รุ่นสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ล่าสุดแบรนด์เครื่องประดับเพชรระดับโลกอย่าง De Beers ได้เล็งเห็นความมีเอกลักษณ์นี้ จึงนำมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมงานหัตถศิลป์ของกลุ่มชาติพันธุ์ Miao ในกุ้ยโจว นำมาหลอมรวมเข้ากับแฟชั่นสมัยใหม่ ด้วยการนำอาจารย์ Liu Zhenghua ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านนี้ พร้อมกับหญิงสาวที่มีฝีมือในการเย็บปักชาว Miao อีก 30 คน มาร่วมกันสร้างสรรค์กระเป๋าใส่เครื่องประดับธีมลายผีเสื้อ โดยผีเสื้อนั้นไม่เพียงเป็นการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ แต่ยังมีความหมายในหมู่ชาว Miao ว่าเป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิต จึงนับเป็นการเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างลงตัว





   ภาพลายปักผีเสื้อฝีมือชาว Miao ที่ De Beers จะนำมาใช้บนกระเป๋าใส่เครื่องประดับ ที่มา : https://daoinsights.com

            โครงการอบรมของ De Beers จะช่วยให้หญิงสาวรุ่นใหม่รู้จักสามารถประยุกต์งานเย็บปักแบบดั้งเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้น และทางแบรนด์จะมีการสั่งซื้อโดยตรงกับพวกเธอด้วย ซึ่งจะช่วยสร้างงานและรายได้ให้เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนท้องถิ่นของ De Beers นี้ ไม่เพียงเป็นการสร้างคุณค่าให้กับแบรนด์แต่ยังสร้างเรื่องราวระหว่างแบรนด์กับชุมชนท้องถิ่น ทำให้การทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือ CSR ครั้งนี้ ได้รับคำชมในฐานะที่มีส่วนร่วมต่อสังคมในการช่วยพัฒนาชนบท 

            นอกจากนี้ De Beers ยังใช้โอกาสในช่วงเทศกาลวันแห่งความรักของจีน (Qixi Festival) ออกคอลเลคชั่นเครื่องประดับผีเสื้อที่สื่อถึงความรัก คำสัญญา และความเป็นนิรันดร์ โดยเลือกแบรนด์แอมบาสเดอร์นักร้องนักแสดงชาวจีนที่มีชื่อเสียงอย่าง Cai Xukun ซึ่งมีผู้ติดตามใน Weibo กว่า 37 ล้านคน มาถ่ายทอดความงดงามของเครื่องประดับชุดนี้ควบคู่กับงานหัตถศิลป์ชาว Miao  



   ภาพจากโฆษณา Cai Xukun กับเครื่องประดับผีเสื้อของ De Beers ที่มา : https://daoinsights.com

            ก่อนหน้านี้กุ้ยโจวเป็นหนึ่งในมณฑลที่ยากจนที่สุดในจีน มีค่า GDP ต่ำ แต่ด้วยนโยบายขจัดความยากจนของจีน ทำให้กุ้ยโจวมีการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ จากการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในด้านต่างๆ สู่ภายนอกมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีมาส่งเสริมให้งานฝีมือเหล่านี้สามารถใช้เลี้ยงตัวเองได้และไม่เกิดการย้ายถิ่นจากบ้านเกิด ทำให้ในปี 2021 ค่า GDP ต่อหัวของกุ้ยโจว อยู่ที่ราว 6,700 ดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2005 ที่มีมูลค่าไม่ถึง 800 ดอลลาร์สหรัฐ

            จากที่กล่าวมาจึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในการพัฒนาวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่นผ่านการสนับสนุนของแบรนด์ระดับโลก ทำให้เกิดเป็นชิ้นงานที่มีเรื่องเล่าอันน่าประทับใจผสมผสานกลายเป็นเครื่องประดับสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ซึ่งการนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นไปสู่สายตาชาวโลกไม่เพียงเป็นการสร้างตัวตนให้รู้จักในระดับสากลยังเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดให้เกิดขึ้นได้อีกด้วย 


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ


ข้อมูลอ้างอิง


1) Daoinsight.com. 2022. De Beers weaves Miao embroidery into jewellery. [Online]. Available at: https://daoinsights.com/news/de-beers-weaves-miao-embroidery-into-jewellery/. (Retrieved August 24,2022).
2) China Matters. 2022. China Matters features the living heritage of Miao Embroidery in Guizhou. [Online]. Available at: https://www.prnewswire.com. (Retrieved August 24, 2022).
3) De Beers. 2022. De Beers Miao Embroidery Project officially launched. [Online]. Available at: https://mp.weixin.qq.com. (Retrieved August 25, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970