สหรัฐฯ-อียู เร่งเก็บภาษีคาร์บอน ผู้ส่งออกเครื่องประดับไทยควรรู้และเตรียมรับมือ!

Dec 15, 2022
2430 views
1 share

            ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายไปทั่วทุกพื้นที่ของโลก และเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว โดยพยายามใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดโลกร้อน

            สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เป็นกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับการลดภาวะโลกร้อนเป็นอย่างมาก โดยล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2565 สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมาย Clean Competition Act (CCA) ตั้งเป้าหมายเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยคาร์บอนปริมาณสูง โดยเสนอให้ผู้ผลิตของสหรัฐฯ และผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีคาร์บอน 55 เหรียญสหรัฐต่อการปล่อยคาร์บอน 1 ตัน หากกระบวนการผลิตสินค้ามีการปล่อยคาร์บอนเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2567 กับสินค้า อันได้แก่ เพลิงฟอสซิล ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย ไฮโดรเจน กรดอะดิพิก ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระจก เยื่อกระดาษและกระดาษ และเอทานอล

            ส่วนสหภาพยุโรป ได้ประกาศนโยบาย European Green Deal เมื่อเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ภายในปี 2573 และมุ่งสู่ Net Zero Emissions (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ภายในปี 2593 และได้ออกมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งเป็นมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป นั่นคือ การเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนจากสินค้านำเข้าตามปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้านั้นๆ คาดว่าจะเริ่มใช้มาตรการ CBAM ในปี 2566 กับสินค้า 8 ประเภท ที่นำเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจน เคมีภัณฑ์ และพลาสติก ซึ่งในช่วงปี 2566 -2568 ผู้นำเข้ามีหน้าที่เพียงรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนเท่านั้น ยังไม่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ มาตรการ CBAM จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบ (เก็บภาษีคาร์บอน) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป


            อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบไปจนถึงการขนส่งสินค้าเครื่องประดับถึงมือผู้บริโภค โดยการทำเหมืองแร่อัญมณีและโลหะมีค่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่สิ่งแวดล้อมค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเหมืองเปิดที่สร้างคาร์บอนฟุตพรินท์คิดเป็นสัดส่วน 95% ของทั้งหมด ส่วนกระบวนการผลิตเครื่องประดับสร้างคาร์บอนฟุตพรินท์คิดเป็นสัดส่วนเพียง 5%

            ทั้งนี้ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นคู่ค้าหลักในกลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย จากข้อมูลส่งออกของกรมศุลกากรล่าสุดในเดือนมกราคม - ตุลาคม 2565 พบว่า ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 1,637.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูงถึง 66.50% ส่วนสหภาพยุโรป มีมูลค่าส่งออก 1,237.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.46% โดยตลาดหลักของไทยในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้แก่ เยอรมนี ซึ่งครองสัดส่วนสูงสุดราว 40% รองลงมาเป็น เบลเยียม (18%) อิตาลี (14%) ฝรั่งเศส (10%) และเดนมาร์ก (4%) ตามลำดับ

            เนื่องจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นคู่ค้าหลักของไทย การดำเนินมาตรการใดๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าในช่วง 2- 3 ปีนี้ สินค้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจะยังไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกเก็บภาษีคาร์บอน แต่มีแนวโน้มที่จะมีการขยายการเก็บภาษีคาร์บอนครอบคลุมทุกประเภทสินค้าในอนาคต ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับมือ หันมาให้ความสำคัญต่อกระแสการบริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ พร้อมกับศึกษากฎเกณฑ์ของมาตรการดังกล่าวข้างต้นและหาความรู้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาที่มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว จะได้มีความพร้อมในการยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการส่งออกได้อย่างไม่มีสะดุด

 

จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ธันวาคม 2565


ข้อมูลอ้างอิง


1) กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 3 ธันวาคม 2565. สหรัฐ-อียู เร่งเครื่อง คลอดกติกาการค้า”สีเขียว”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/environment/1041062. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565).
2) European Green Deal ประเด็นสำคัญที่ผู้ส่งออกไทยต้องรู้. แหล่งที่มา https://www.setsustainability.com/ libraries/1035/ item/european-green-deal. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565).
3) ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. มีนาคม 2564. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับตั้งเป้าลดคาร์บอน
ฟุตพรินท์ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://infocenter.git.or.th/th/article/article-20210324. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


สหรัฐฯ-อียู เร่งเก็บภาษีคาร์บอน ผู้ส่งออกเครื่องประดับไทยควรรู้และเตรียมรับมือ!

Dec 15, 2022
2430 views
1 share

            ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายไปทั่วทุกพื้นที่ของโลก และเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว โดยพยายามใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดโลกร้อน

            สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป เป็นกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญกับการลดภาวะโลกร้อนเป็นอย่างมาก โดยล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2565 สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐฯ ได้เสนอร่างกฎหมาย Clean Competition Act (CCA) ตั้งเป้าหมายเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยคาร์บอนปริมาณสูง โดยเสนอให้ผู้ผลิตของสหรัฐฯ และผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีคาร์บอน 55 เหรียญสหรัฐต่อการปล่อยคาร์บอน 1 ตัน หากกระบวนการผลิตสินค้ามีการปล่อยคาร์บอนเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2567 กับสินค้า อันได้แก่ เพลิงฟอสซิล ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย ไฮโดรเจน กรดอะดิพิก ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระจก เยื่อกระดาษและกระดาษ และเอทานอล

            ส่วนสหภาพยุโรป ได้ประกาศนโยบาย European Green Deal เมื่อเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 55% ภายในปี 2573 และมุ่งสู่ Net Zero Emissions (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) ภายในปี 2593 และได้ออกมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งเป็นมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป นั่นคือ การเก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอนจากสินค้านำเข้าตามปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้านั้นๆ คาดว่าจะเริ่มใช้มาตรการ CBAM ในปี 2566 กับสินค้า 8 ประเภท ที่นำเข้าไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจน เคมีภัณฑ์ และพลาสติก ซึ่งในช่วงปี 2566 -2568 ผู้นำเข้ามีหน้าที่เพียงรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนเท่านั้น ยังไม่ต้องเสียภาษี ทั้งนี้ มาตรการ CBAM จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบ (เก็บภาษีคาร์บอน) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป


            อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่แหล่งผลิตวัตถุดิบไปจนถึงการขนส่งสินค้าเครื่องประดับถึงมือผู้บริโภค โดยการทำเหมืองแร่อัญมณีและโลหะมีค่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่สิ่งแวดล้อมค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเหมืองเปิดที่สร้างคาร์บอนฟุตพรินท์คิดเป็นสัดส่วน 95% ของทั้งหมด ส่วนกระบวนการผลิตเครื่องประดับสร้างคาร์บอนฟุตพรินท์คิดเป็นสัดส่วนเพียง 5%

            ทั้งนี้ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นคู่ค้าหลักในกลุ่มสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย จากข้อมูลส่งออกของกรมศุลกากรล่าสุดในเดือนมกราคม - ตุลาคม 2565 พบว่า ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 1,637.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูงถึง 66.50% ส่วนสหภาพยุโรป มีมูลค่าส่งออก 1,237.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.46% โดยตลาดหลักของไทยในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้แก่ เยอรมนี ซึ่งครองสัดส่วนสูงสุดราว 40% รองลงมาเป็น เบลเยียม (18%) อิตาลี (14%) ฝรั่งเศส (10%) และเดนมาร์ก (4%) ตามลำดับ

            เนื่องจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป เป็นคู่ค้าหลักของไทย การดำเนินมาตรการใดๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าในช่วง 2- 3 ปีนี้ สินค้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับจะยังไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกเก็บภาษีคาร์บอน แต่มีแนวโน้มที่จะมีการขยายการเก็บภาษีคาร์บอนครอบคลุมทุกประเภทสินค้าในอนาคต ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมรับมือ หันมาให้ความสำคัญต่อกระแสการบริโภคที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ พร้อมกับศึกษากฎเกณฑ์ของมาตรการดังกล่าวข้างต้นและหาความรู้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาที่มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว จะได้มีความพร้อมในการยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการส่งออกได้อย่างไม่มีสะดุด

 

จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ธันวาคม 2565


ข้อมูลอ้างอิง


1) กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. 3 ธันวาคม 2565. สหรัฐ-อียู เร่งเครื่อง คลอดกติกาการค้า”สีเขียว”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.bangkokbiznews.com/environment/1041062. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565).
2) European Green Deal ประเด็นสำคัญที่ผู้ส่งออกไทยต้องรู้. แหล่งที่มา https://www.setsustainability.com/ libraries/1035/ item/european-green-deal. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565).
3) ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ. มีนาคม 2564. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับตั้งเป้าลดคาร์บอน
ฟุตพรินท์ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://infocenter.git.or.th/th/article/article-20210324. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970