6 ความท้าทายในอุตสาหกรรมเพชรปี 2023

Jan 27, 2023
2223 views
0 share

            ในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเพชรมีการฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2021 แม้ว่ายังคงมีปัจจัยรุมเร้าหลายประการที่เข้ามากระทบอย่างต่อเนื่อง แต่ก็สามารถเติบโตได้ดีท่ามกลางห้วงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเมื่อพิจารณาจากยอดขายเพชรดิบของ De Beers Group ในปีที่ผ่านมา พบว่า มีมูลค่า 5.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.12% จากยอดขาย 4.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021 แล้วหนทางในปี 2023 นี้ อุตสาหกรรมเพชรจะเป็นอย่างไรบ้าง

            จากรายงานของ Rapaport ได้ทำการคาดการณ์ถึงผลกระทบสำคัญที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมเพชรในปีนี้ไว้ ดังนี้

            1. อุปทานเพชรลดลง แต่ราคาปรับเพิ่มขึ้น อุปทานเพชรของ Alrosa ที่ได้จากเหมืองในรัสเซียนั้น คิดเป็นสัดส่วน 30% ของผลผลิตทั่วโลก นับตั้งแต่การคว่ำบาตร Alrosa ในเดือนเมษายนปี 2022 ทำให้ทิศทางการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเพชรเริ่มชะลอตัวลง ผู้ประกอบการจำนวนมากลดการสั่งซื้อเพชรดิบทำให้เพชรเจียระไนที่ออกสู่ตลาดลดตามลงไปด้วย เห็นได้จาก อินเดีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเพชรดิบที่สำคัญของโลก มีปริมาณการนำเข้าในรอบ 11 เดือนของปี 2022 ลดลง 21% แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาเฉลี่ยของเพชรปรับตัวสูงขึ้นราว 38% แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการของธนาคารอินเดียได้อำนวยความสะดวกการค้าเป็นสกุลรูปีกับรัสเซีย และเบลเยียมหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรเพชรจากรัสเซีย อาจทำให้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบปรับตัวดีขึ้นได้


             2. ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากระทบอุตสาหกรรมเพชร จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงทำให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ผู้ค้าเองก็มีการรักษาระดับสต็อกสินค้าไม่ให้มากเกินไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวมีผลต่อเนื่องมาจากปีก่อนและน่าจะส่งผลต่อเนื่องในครึ่งแรกของปีนี้ ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นจากความเชื่อมั่นที่เริ่มกลับมาในช่วงเทศกาลใช้จ่ายครึ่งหลังของปี 2023

            3. อุปสงค์ในจีนฟื้นตัว จากการที่จีนผ่อนคลายนโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศได้ส่งผลดีต่อช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งมีความคาดหวังต่อความต้องการซื้อสินค้า (Pent Up Demand) ของชาวจีนว่าจะช่วยกระตุ้นให้การค้าเพชรกลับมาเติบโตอีกครั้ง

            4. เพชรสังเคราะห์ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเพชรเนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้า ไม่เพียงแต่ทำให้อุปทานของเพชรสังเคราะห์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังทำให้ราคาของเพชรสังเคราะห์ลดลงด้วย โดยเพชรสังเคราะห์ได้รับความนิยมมากขึ้นในตลาดเครื่องประดับแต่งงานด้วย

            5. การพิสูจน์แหล่งกำเนิดของเพชรมีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการที่สหรัฐฯ คว่ำบาตรเพชรจาก Alrosa ของรัสเซีย ไม่เพียงแต่เป็นตัวเร่งให้เพชรสังเคราะห์เติบโตมากขึ้น ทว่าปัจจัยอย่างกระแสรักษ์โลก การผลิตมีความโปร่งใส การให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาที่ไม่ผิดจริยธรรม มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การพิสูจน์แหล่งที่มาของเพชรจะเป็นแรงผลักสำคัญที่อุตสาหกรรมไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

            6. ข้อตกลงการค้าเพชรระหว่าง De Beers กับบอตสวานา ส่งผลต่ออุปทานเพชร จากการที่ข้อตกลงได้หมดอายุไปเมื่อปี 2020 และมีการขยายอายุข้อตกลงต่อไปกระทั่งถึงวันที่ 30 มิถุนายนของปีนี้ แต่ด้วยการเจรจาของทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ข้อยุติ จากการเจรจาต่อรองในหลายประเด็น อย่างเช่น ความต้องการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของบอตสวานา ซึ่งเดิมบอตสวานาถือหุ้นส่วนอยู่เพียง 15% และ De Beers 85% และรัฐบาลบอตสวานาต้องการกระจายรายได้และผลกำไรจากอุตสาหกรรมเหมืองเพชรและการค้าเพชรไปสู่ท้องถิ่นให้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมากเป็นการยากที่จะนัดเวลาให้ตรงกัน ทั้งนี้ เพชรในบอตสวานาเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดของ De Beers ทั้งปริมาณที่ขุดได้และมูลค่าทางการค้า การเปลี่ยนแปลงในข้อตกลงอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และส่วนแบ่งของ De Beers จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าการทำข้อตกลงจะมีข้อสรุปอย่างไร

            ในปี 2023 จึงอาจนับได้ว่า ยังเป็นปีที่ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเพชรต้องมีความระแวดระวังสูง การบริหารจัดการต้องมีความรอบคอบ ทั้งจากปัจจัยต่างๆ ในช่วงครึ่งปีแรกที่อาจทำให้การค้าไม่เติบโตเท่าที่ควรก่อนที่มีแนวโน้มคลี่คลายขยายตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้  



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2023. Six Stories That Will Shape the Diamond Market in 2023. [Online]. Available at: https://rapaport.com/analysis/six-stories-that-will-shape-the-diamond-market-in-2023/. (Retrieved January 18,2023).
2) De Beers Group. 2023. Rough Diamond Sales. [Online]. Available at: https://www.debeersgroup.com/reports/rough-diamond-sales. (Retrieved January 18,2023).
3) Global Newswire. 2022. Diamond Global Market Report 2022. [Online]. Available at: https://www.globenewswire.com. (Retrieved January 18,2023).
4) Why Can’t De Beers and Botswana Reach a Deal?. [Online]. Available at: https://www.diamonds.net. (Retrieved January 18,2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


6 ความท้าทายในอุตสาหกรรมเพชรปี 2023

Jan 27, 2023
2223 views
0 share

            ในช่วงปี 2022 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเพชรมีการฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2021 แม้ว่ายังคงมีปัจจัยรุมเร้าหลายประการที่เข้ามากระทบอย่างต่อเนื่อง แต่ก็สามารถเติบโตได้ดีท่ามกลางห้วงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเมื่อพิจารณาจากยอดขายเพชรดิบของ De Beers Group ในปีที่ผ่านมา พบว่า มีมูลค่า 5.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.12% จากยอดขาย 4.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021 แล้วหนทางในปี 2023 นี้ อุตสาหกรรมเพชรจะเป็นอย่างไรบ้าง

            จากรายงานของ Rapaport ได้ทำการคาดการณ์ถึงผลกระทบสำคัญที่จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมเพชรในปีนี้ไว้ ดังนี้

            1. อุปทานเพชรลดลง แต่ราคาปรับเพิ่มขึ้น อุปทานเพชรของ Alrosa ที่ได้จากเหมืองในรัสเซียนั้น คิดเป็นสัดส่วน 30% ของผลผลิตทั่วโลก นับตั้งแต่การคว่ำบาตร Alrosa ในเดือนเมษายนปี 2022 ทำให้ทิศทางการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเพชรเริ่มชะลอตัวลง ผู้ประกอบการจำนวนมากลดการสั่งซื้อเพชรดิบทำให้เพชรเจียระไนที่ออกสู่ตลาดลดตามลงไปด้วย เห็นได้จาก อินเดีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าเพชรดิบที่สำคัญของโลก มีปริมาณการนำเข้าในรอบ 11 เดือนของปี 2022 ลดลง 21% แต่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาเฉลี่ยของเพชรปรับตัวสูงขึ้นราว 38% แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยมาตรการของธนาคารอินเดียได้อำนวยความสะดวกการค้าเป็นสกุลรูปีกับรัสเซีย และเบลเยียมหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรเพชรจากรัสเซีย อาจทำให้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบปรับตัวดีขึ้นได้


             2. ปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากระทบอุตสาหกรรมเพชร จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงทำให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ผู้ค้าเองก็มีการรักษาระดับสต็อกสินค้าไม่ให้มากเกินไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวมีผลต่อเนื่องมาจากปีก่อนและน่าจะส่งผลต่อเนื่องในครึ่งแรกของปีนี้ ก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้นจากความเชื่อมั่นที่เริ่มกลับมาในช่วงเทศกาลใช้จ่ายครึ่งหลังของปี 2023

            3. อุปสงค์ในจีนฟื้นตัว จากการที่จีนผ่อนคลายนโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศได้ส่งผลดีต่อช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งมีความคาดหวังต่อความต้องการซื้อสินค้า (Pent Up Demand) ของชาวจีนว่าจะช่วยกระตุ้นให้การค้าเพชรกลับมาเติบโตอีกครั้ง

            4. เพชรสังเคราะห์ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเพชรเนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้า ไม่เพียงแต่ทำให้อุปทานของเพชรสังเคราะห์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยังทำให้ราคาของเพชรสังเคราะห์ลดลงด้วย โดยเพชรสังเคราะห์ได้รับความนิยมมากขึ้นในตลาดเครื่องประดับแต่งงานด้วย

            5. การพิสูจน์แหล่งกำเนิดของเพชรมีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการที่สหรัฐฯ คว่ำบาตรเพชรจาก Alrosa ของรัสเซีย ไม่เพียงแต่เป็นตัวเร่งให้เพชรสังเคราะห์เติบโตมากขึ้น ทว่าปัจจัยอย่างกระแสรักษ์โลก การผลิตมีความโปร่งใส การให้ความสำคัญกับแหล่งที่มาที่ไม่ผิดจริยธรรม มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การพิสูจน์แหล่งที่มาของเพชรจะเป็นแรงผลักสำคัญที่อุตสาหกรรมไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

            6. ข้อตกลงการค้าเพชรระหว่าง De Beers กับบอตสวานา ส่งผลต่ออุปทานเพชร จากการที่ข้อตกลงได้หมดอายุไปเมื่อปี 2020 และมีการขยายอายุข้อตกลงต่อไปกระทั่งถึงวันที่ 30 มิถุนายนของปีนี้ แต่ด้วยการเจรจาของทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ข้อยุติ จากการเจรจาต่อรองในหลายประเด็น อย่างเช่น ความต้องการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของบอตสวานา ซึ่งเดิมบอตสวานาถือหุ้นส่วนอยู่เพียง 15% และ De Beers 85% และรัฐบาลบอตสวานาต้องการกระจายรายได้และผลกำไรจากอุตสาหกรรมเหมืองเพชรและการค้าเพชรไปสู่ท้องถิ่นให้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องมีจำนวนมากเป็นการยากที่จะนัดเวลาให้ตรงกัน ทั้งนี้ เพชรในบอตสวานาเป็นแหล่งที่สำคัญที่สุดของ De Beers ทั้งปริมาณที่ขุดได้และมูลค่าทางการค้า การเปลี่ยนแปลงในข้อตกลงอาจส่งผลกระทบต่อรายได้และส่วนแบ่งของ De Beers จึงเป็นที่น่าจับตามองว่าการทำข้อตกลงจะมีข้อสรุปอย่างไร

            ในปี 2023 จึงอาจนับได้ว่า ยังเป็นปีที่ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเพชรต้องมีความระแวดระวังสูง การบริหารจัดการต้องมีความรอบคอบ ทั้งจากปัจจัยต่างๆ ในช่วงครึ่งปีแรกที่อาจทำให้การค้าไม่เติบโตเท่าที่ควรก่อนที่มีแนวโน้มคลี่คลายขยายตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้  



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2023. Six Stories That Will Shape the Diamond Market in 2023. [Online]. Available at: https://rapaport.com/analysis/six-stories-that-will-shape-the-diamond-market-in-2023/. (Retrieved January 18,2023).
2) De Beers Group. 2023. Rough Diamond Sales. [Online]. Available at: https://www.debeersgroup.com/reports/rough-diamond-sales. (Retrieved January 18,2023).
3) Global Newswire. 2022. Diamond Global Market Report 2022. [Online]. Available at: https://www.globenewswire.com. (Retrieved January 18,2023).
4) Why Can’t De Beers and Botswana Reach a Deal?. [Online]. Available at: https://www.diamonds.net. (Retrieved January 18,2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970