อินเดียเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมเพชรสังเคราะห์

Feb 13, 2023
1907 views
1 share

            นอกจากเมืองสุรัต (Surat) ของอินเดียจะเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและขัดแต่งเพชรแห่งหนึ่งของโลกแล้ว ยังต้องการเป็นศูนย์กลางการผลิตเพชรสังเคราะห์ (Lab-Grown Diamond)  อีกด้วย โดยเมื่อช่วงสองปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งสมาคม Lab-Grown Diamond Association (LGDA) และศูนย์การประมูลเพชร (Auction House) ที่ชื่อว่า “Navratna Gallery” ซึ่งครอบคลุมถึงการประมูลเพชรสังเคราะห์ในเมืองนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Gems and Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย

            แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิดจะคลี่คลายลง แต่เศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลง ทำให้กำลังซื้อของประชากรมีจำกัด ประกอบผู้บริโภคตระหนักถึงความยั่งยืน จึงหันมาซื้อเพชรสังเคราะห์กันมากขึ้น ส่งผลให้อินเดียส่งออกเพชรสังเคราะห์ได้มากขึ้น อีกทั้งยังขายได้ดีในประเทศด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคู่แต่งงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ซึ่งมีงบประมาณจำกัด จึงต้องการเครื่องประดับตกแต่งเพชรสังเคราะห์เพื่อใช้ในงานแต่งงานเพิ่มขึ้น เพราะราคาเพชรสังเคราะห์ถูกกว่าเพชรแท้ราว 30-40% 

            อย่างไรก็ดี การผลิตเพชรสังเคราะห์จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบอย่างเม็ดแกรไฟต์ รัฐบาลอินเดียจึงได้ประกาศยกเลิกการจัดเก็บภาษีนำเข้า 5% สำหรับเม็ดแกรไฟร์ที่ใช้ในการผลิตเพชรในห้องปฏิบัติการเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา เพื่อต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพชรสังเคราะห์ให้เติบโตต่อไป และเมื่อย้อนกลับไปเดือนสิงหาคม 2565 ก็เริ่มมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ โดย State Bank of India (SBI) ได้ประกาศปล่อยกู้ให้แก่ผู้ผลิตเป็นครั้งแรกสำหรับซื้อเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตเพชรสังเคราะห์ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดีย ยังได้ประกาศให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาเป็นเวลา 5 ปี เพื่อช่วยให้อินเดียผลิตเม็ดแกรไฟต์ได้เองจะได้พึ่งพาการนำเข้าน้อยลง


เครื่องประดับเพชรสังเคราะห์ ภาพ: https://limelightdiamonds.com/

            ทั้งนี้ ประเทศผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์หลักของโลกคือ จีน (สัดส่วน 56%) อินเดีย (15%) และสหรัฐอเมริกา (13%) ตามลำดับ สำหรับตลาดเพชรสังเคราะห์มีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง จากข้อมูลของ Paul Zimnisky นักวิเคราะห์ตลาดเพชรได้คาดการณ์ว่าเมื่อปี 2022 ยอดขายเพชรสังเคราะห์อยู่ที่ราว 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 10% ของตลาดเพชรของโลก และคาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 – 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ และ ResearchAndMarkets คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2023 – 2028 ตลาดเพชรสังเคราะห์ของโลกจะเติบโตเฉลี่ยเกือบ 9% ต่อปี ตลาดผู้บริโภคเพชรสังเคราะห์สำคัญของโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น 


จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) Thejewelrymagazine. February 2, 2023. Lab Grown Boost: India Abolishes Diamond Seed Tax. [Online]. Available at www.thejewelrymagazine.com/lab-grown-boost-india-abolishes-diamond-seed-tax/. (Retrieved February 6, 2023).
2) The Times of India. Explainer: February 1, 2023. Lab-grown diamonds get a Budget boost, but what are they? [Online]. Available at https://timesofindia.indiatimes.com/business/budget/explainer-lab-grown-diamonds-get-a-budget-boost-but-what-are-they/articleshow/97524942.cms. (Retrieved February 6, 2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อินเดียเร่งส่งเสริมอุตสาหกรรมเพชรสังเคราะห์

Feb 13, 2023
1907 views
1 share

            นอกจากเมืองสุรัต (Surat) ของอินเดียจะเป็นศูนย์กลางการเจียระไนและขัดแต่งเพชรแห่งหนึ่งของโลกแล้ว ยังต้องการเป็นศูนย์กลางการผลิตเพชรสังเคราะห์ (Lab-Grown Diamond)  อีกด้วย โดยเมื่อช่วงสองปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งสมาคม Lab-Grown Diamond Association (LGDA) และศูนย์การประมูลเพชร (Auction House) ที่ชื่อว่า “Navratna Gallery” ซึ่งครอบคลุมถึงการประมูลเพชรสังเคราะห์ในเมืองนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจาก Gems and Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของอินเดีย

            แม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิดจะคลี่คลายลง แต่เศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัวลง ทำให้กำลังซื้อของประชากรมีจำกัด ประกอบผู้บริโภคตระหนักถึงความยั่งยืน จึงหันมาซื้อเพชรสังเคราะห์กันมากขึ้น ส่งผลให้อินเดียส่งออกเพชรสังเคราะห์ได้มากขึ้น อีกทั้งยังขายได้ดีในประเทศด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคู่แต่งงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ซึ่งมีงบประมาณจำกัด จึงต้องการเครื่องประดับตกแต่งเพชรสังเคราะห์เพื่อใช้ในงานแต่งงานเพิ่มขึ้น เพราะราคาเพชรสังเคราะห์ถูกกว่าเพชรแท้ราว 30-40% 

            อย่างไรก็ดี การผลิตเพชรสังเคราะห์จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบอย่างเม็ดแกรไฟต์ รัฐบาลอินเดียจึงได้ประกาศยกเลิกการจัดเก็บภาษีนำเข้า 5% สำหรับเม็ดแกรไฟร์ที่ใช้ในการผลิตเพชรในห้องปฏิบัติการเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา เพื่อต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพชรสังเคราะห์ให้เติบโตต่อไป และเมื่อย้อนกลับไปเดือนสิงหาคม 2565 ก็เริ่มมีการสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ โดย State Bank of India (SBI) ได้ประกาศปล่อยกู้ให้แก่ผู้ผลิตเป็นครั้งแรกสำหรับซื้อเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตเพชรสังเคราะห์ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินเดีย ยังได้ประกาศให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาเป็นเวลา 5 ปี เพื่อช่วยให้อินเดียผลิตเม็ดแกรไฟต์ได้เองจะได้พึ่งพาการนำเข้าน้อยลง


เครื่องประดับเพชรสังเคราะห์ ภาพ: https://limelightdiamonds.com/

            ทั้งนี้ ประเทศผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์หลักของโลกคือ จีน (สัดส่วน 56%) อินเดีย (15%) และสหรัฐอเมริกา (13%) ตามลำดับ สำหรับตลาดเพชรสังเคราะห์มีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง จากข้อมูลของ Paul Zimnisky นักวิเคราะห์ตลาดเพชรได้คาดการณ์ว่าเมื่อปี 2022 ยอดขายเพชรสังเคราะห์อยู่ที่ราว 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 10% ของตลาดเพชรของโลก และคาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นเป็น 9,000 – 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ และ ResearchAndMarkets คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2023 – 2028 ตลาดเพชรสังเคราะห์ของโลกจะเติบโตเฉลี่ยเกือบ 9% ต่อปี ตลาดผู้บริโภคเพชรสังเคราะห์สำคัญของโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น 


จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) Thejewelrymagazine. February 2, 2023. Lab Grown Boost: India Abolishes Diamond Seed Tax. [Online]. Available at www.thejewelrymagazine.com/lab-grown-boost-india-abolishes-diamond-seed-tax/. (Retrieved February 6, 2023).
2) The Times of India. Explainer: February 1, 2023. Lab-grown diamonds get a Budget boost, but what are they? [Online]. Available at https://timesofindia.indiatimes.com/business/budget/explainer-lab-grown-diamonds-get-a-budget-boost-but-what-are-they/articleshow/97524942.cms. (Retrieved February 6, 2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970