เปลี่ยนขยะเป็นของมีค่า: ผลิตเครื่องประดับจากโลหะรีไซเคิล

Jun 12, 2023
1393 views
1 share

        เมื่อผู้บริโภคต้องการเครื่องประดับที่ยั่งยืนมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการความเชื่อของตน ผู้ผลิตเครื่องประดับจึงหันมาบุกเบิกวิธีการเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยวิธีหนึ่งก็คือการรีไซเคิลโลหะมีค่าจากขยะอิเล็กทรอนิกส์และวัสดุเหลือใช้ทางการแพทย์ 


ที่มาภาพ: https://rapaport.com

        ก่อนหน้านี้มีผู้ผลิตเครื่องประดับเพียงไม่กี่รายที่จะพิจารณาการนำเอาโลหะมีค่าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานไม่ได้แล้วหรือฟิล์มเอ็กซ์เรย์กลับมาใช้ใหม่ แต่ปัจจุบันนักออกแบบผู้สร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ ได้เริ่มเล็งเห็นแล้วว่า วัสดุเหล่านี้เป็นแหล่งโลหะเงินและทองที่มีค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีหลายแบรนด์เครื่องประดับที่ให้ความสำคัญกับการใช้โลหะรีไซเคิลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“บริษัทหลายแห่งรีไซเคิลทองและเงินจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และฟิล์มที่ถูกทิ้งแล้วเพื่อลดปริมาณขยะ”

        ตัวอย่างเช่นแบรนด์ 886 โดย The Royal Mint จากสหราชอาณาจักรเพิ่งประกาศว่าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเป็นต้นไป โลหะเงินที่ใช้ในเครื่องประดับหรูทุกชิ้นของทางแบรนด์จะมาจากฟิล์มเอ็กซ์เรย์ทางการแพทย์ที่ทิ้งแล้ว แม้การสกัดโลหะมีค่าเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์แต่มักต้องอาศัยอุปกรณ์และความสามารถเฉพาะทาง The Royal Mint ได้รับซื้อโลหะเงินที่สกัดจากฟิล์มเอ็กซ์เรย์ทิ้งแล้วมาจาก Betts Metals ซึ่งเป็นผู้จัดหาโลหะให้อุตสาหกรรมในวงกว้างอยู่แล้ว โรงถลุงอายุ 400 ปีแห่งนี้แปรรูปโลหะมีค่า เช่น ทอง เงิน แพลทินัม และแพลเลเดียม ซึ่งสกัดมาจากวัสดุด้านทันตกรรม อุตสาหกรรม หรือการถ่ายภาพ


โลหะรีไซเคิลแบรนด์ Pandora

        Pandora ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่เข้าร่วมกระแสนี้ โดยผู้ผลิตเครื่องประดับจากเดนมาร์กรายนี้มีฐานการผลิตในไทย ก็ใช้โลหะเงินและทองรีไซเคิลที่มาจากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้าเครื่องประดับของตนคิดเป็นสัดส่วน 71% และตั้งเป้าหมายที่จะใช้โลหะมีค่ารีไซเคิลให้ถึง 100% ภายในปี 2025 โดยการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของบริษัท ในการเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ เพราะการรีไซเคิลโลหะเงินจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดคาร์บอนมากกว่าการทำเหมืองแร่ถึง 2 ใน 3 ในขณะที่การรีไซเคิลทองคำก่อคาร์บอนน้อยกว่าการทำเหมืองทองถึง 600 เท่า ยังไม่รวมถึงลดมลพิษจากโลหะหนักอาทิ สารปรอทที่เกิดจากการทำเหมืองทองคำด้วย


เครื่องประดับจากโลหะเงินรีไซเคิลแบรนด์ Pandora

        แบรนด์ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องประดับแต่งงาน Brilliant Earth เน้นการสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันเครื่องประดับของทางแบรนด์ใช้ทองรีไซเคิลคิดเป็น 93% และใช้โลหะเงินรีไซเคิล 99.8% การใช้ประโยชน์จากโลหะมีค่าในชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นส่วนสำคัญในโครงการจัดหาวัตถุดิบของแบรนด์นี้

        สำหรับแบรนด์สหราชอาณาจักรอีกรายอย่าง Lylie ซึ่งผลิตเครื่องประดับที่เน้นความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2017 มองว่าความยั่งยืนและความสวยงามนั้นไม่จำเป็นต้องแยกจากกัน บริษัทนี้ใช้ทองคำและโลหะรีไซเคิลจากเครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นเครื่องประดับเพื่อลดต้นทุนจากทองคำ นอกจากนี้ ยังให้บริการซื้อคืนทองคำและเครื่องประดับเก่าให้กับลูกค้า เพื่อแลกเป็นเครดิตสำหรับซื้อเครื่องประดับชิ้นใหม่จากทางแบรนด์ได้ ทั้งนี้ ทองคำที่แบรนด์ Lylie ใช้ในการผลิตสินค้ากว่า 30% นั้น มาจากการซื้อคืนทองคำและเครื่องประดับเก่า และการรีไซเคิลทองคำจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งทำให้แบรนด์สามารถลดราคาต้นทุนทองคำได้กว่า 30% เมื่อเทียบกับราคาตลาด

        ปัจจุบันมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 16% ที่ได้รับการรีไซเคิล ขณะที่ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีอยู่มหาศาล ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเสมือนเหมืองทองที่ซ่อนตัวอยู่ เพราะปริมาณทองคำในขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสูงกว่าการขุดสินแร่ทองคำในเหมืองถึง 100 เท่า ฉะนั้น ผู้ผลิตเครื่องประดับควรหันมาใช้โลหะมีค่ารีไซเคิลในการผลิตเครื่องประดับกันมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจต่อแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และมุ่งเน้นความยั่งยืนในธุรกิจ


จัดทำโดย นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2023. Trash to Treasure: The Brands Turning Used Materials into Jewelry. [Online]. Available at https://rapaport.com/magazine-article/1-trash-to-treasure/.
2) Fast Company. 2022. This new Pandora jewelry collection uses 100% recycled gold and silver (and lab-grown diamonds). [Online]. Available at https://www.fastcompany.com/90779168/new-pandora-jewelry-recycled-gold-silver-lab-grown-diamonds?partner=rss&utm_source=rss&utm_medium=feed&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss.
3) Fast Company. 2020. The world’s largest jewelry maker commits to using 100% recycled silver and gold. [Online]. Available at https://www.fastcompany.com/90512610/the-worlds-largest-jewelry-maker-commits-to-using-100-recycled-silver-and-gold?partner=rss&utm_source=rss&utm_medium=feed&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เปลี่ยนขยะเป็นของมีค่า: ผลิตเครื่องประดับจากโลหะรีไซเคิล

Jun 12, 2023
1393 views
1 share

        เมื่อผู้บริโภคต้องการเครื่องประดับที่ยั่งยืนมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการความเชื่อของตน ผู้ผลิตเครื่องประดับจึงหันมาบุกเบิกวิธีการเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยวิธีหนึ่งก็คือการรีไซเคิลโลหะมีค่าจากขยะอิเล็กทรอนิกส์และวัสดุเหลือใช้ทางการแพทย์ 


ที่มาภาพ: https://rapaport.com

        ก่อนหน้านี้มีผู้ผลิตเครื่องประดับเพียงไม่กี่รายที่จะพิจารณาการนำเอาโลหะมีค่าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานไม่ได้แล้วหรือฟิล์มเอ็กซ์เรย์กลับมาใช้ใหม่ แต่ปัจจุบันนักออกแบบผู้สร้างสรรค์แนวทางใหม่ๆ ได้เริ่มเล็งเห็นแล้วว่า วัสดุเหล่านี้เป็นแหล่งโลหะเงินและทองที่มีค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงมีหลายแบรนด์เครื่องประดับที่ให้ความสำคัญกับการใช้โลหะรีไซเคิลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“บริษัทหลายแห่งรีไซเคิลทองและเงินจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และฟิล์มที่ถูกทิ้งแล้วเพื่อลดปริมาณขยะ”

        ตัวอย่างเช่นแบรนด์ 886 โดย The Royal Mint จากสหราชอาณาจักรเพิ่งประกาศว่าตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเป็นต้นไป โลหะเงินที่ใช้ในเครื่องประดับหรูทุกชิ้นของทางแบรนด์จะมาจากฟิล์มเอ็กซ์เรย์ทางการแพทย์ที่ทิ้งแล้ว แม้การสกัดโลหะมีค่าเป็นแนวคิดที่มีประโยชน์แต่มักต้องอาศัยอุปกรณ์และความสามารถเฉพาะทาง The Royal Mint ได้รับซื้อโลหะเงินที่สกัดจากฟิล์มเอ็กซ์เรย์ทิ้งแล้วมาจาก Betts Metals ซึ่งเป็นผู้จัดหาโลหะให้อุตสาหกรรมในวงกว้างอยู่แล้ว โรงถลุงอายุ 400 ปีแห่งนี้แปรรูปโลหะมีค่า เช่น ทอง เงิน แพลทินัม และแพลเลเดียม ซึ่งสกัดมาจากวัสดุด้านทันตกรรม อุตสาหกรรม หรือการถ่ายภาพ


โลหะรีไซเคิลแบรนด์ Pandora

        Pandora ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่เข้าร่วมกระแสนี้ โดยผู้ผลิตเครื่องประดับจากเดนมาร์กรายนี้มีฐานการผลิตในไทย ก็ใช้โลหะเงินและทองรีไซเคิลที่มาจากการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในสินค้าเครื่องประดับของตนคิดเป็นสัดส่วน 71% และตั้งเป้าหมายที่จะใช้โลหะมีค่ารีไซเคิลให้ถึง 100% ภายในปี 2025 โดยการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของบริษัท ในการเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำ เพราะการรีไซเคิลโลหะเงินจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดคาร์บอนมากกว่าการทำเหมืองแร่ถึง 2 ใน 3 ในขณะที่การรีไซเคิลทองคำก่อคาร์บอนน้อยกว่าการทำเหมืองทองถึง 600 เท่า ยังไม่รวมถึงลดมลพิษจากโลหะหนักอาทิ สารปรอทที่เกิดจากการทำเหมืองทองคำด้วย


เครื่องประดับจากโลหะเงินรีไซเคิลแบรนด์ Pandora

        แบรนด์ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องประดับแต่งงาน Brilliant Earth เน้นการสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันเครื่องประดับของทางแบรนด์ใช้ทองรีไซเคิลคิดเป็น 93% และใช้โลหะเงินรีไซเคิล 99.8% การใช้ประโยชน์จากโลหะมีค่าในชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นส่วนสำคัญในโครงการจัดหาวัตถุดิบของแบรนด์นี้

        สำหรับแบรนด์สหราชอาณาจักรอีกรายอย่าง Lylie ซึ่งผลิตเครื่องประดับที่เน้นความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2017 มองว่าความยั่งยืนและความสวยงามนั้นไม่จำเป็นต้องแยกจากกัน บริษัทนี้ใช้ทองคำและโลหะรีไซเคิลจากเครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วมาผลิตเป็นเครื่องประดับเพื่อลดต้นทุนจากทองคำ นอกจากนี้ ยังให้บริการซื้อคืนทองคำและเครื่องประดับเก่าให้กับลูกค้า เพื่อแลกเป็นเครดิตสำหรับซื้อเครื่องประดับชิ้นใหม่จากทางแบรนด์ได้ ทั้งนี้ ทองคำที่แบรนด์ Lylie ใช้ในการผลิตสินค้ากว่า 30% นั้น มาจากการซื้อคืนทองคำและเครื่องประดับเก่า และการรีไซเคิลทองคำจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งทำให้แบรนด์สามารถลดราคาต้นทุนทองคำได้กว่า 30% เมื่อเทียบกับราคาตลาด

        ปัจจุบันมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 16% ที่ได้รับการรีไซเคิล ขณะที่ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีอยู่มหาศาล ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเสมือนเหมืองทองที่ซ่อนตัวอยู่ เพราะปริมาณทองคำในขยะอิเล็กทรอนิกส์มีสูงกว่าการขุดสินแร่ทองคำในเหมืองถึง 100 เท่า ฉะนั้น ผู้ผลิตเครื่องประดับควรหันมาใช้โลหะมีค่ารีไซเคิลในการผลิตเครื่องประดับกันมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจต่อแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และมุ่งเน้นความยั่งยืนในธุรกิจ


จัดทำโดย นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2023. Trash to Treasure: The Brands Turning Used Materials into Jewelry. [Online]. Available at https://rapaport.com/magazine-article/1-trash-to-treasure/.
2) Fast Company. 2022. This new Pandora jewelry collection uses 100% recycled gold and silver (and lab-grown diamonds). [Online]. Available at https://www.fastcompany.com/90779168/new-pandora-jewelry-recycled-gold-silver-lab-grown-diamonds?partner=rss&utm_source=rss&utm_medium=feed&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss.
3) Fast Company. 2020. The world’s largest jewelry maker commits to using 100% recycled silver and gold. [Online]. Available at https://www.fastcompany.com/90512610/the-worlds-largest-jewelry-maker-commits-to-using-100-recycled-silver-and-gold?partner=rss&utm_source=rss&utm_medium=feed&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970