อนาคตอัญมณีและเครื่องประดับไทยในกรอบ BIMSTEC

Aug 16, 2023
1661 views
1 share

        BIMSTEC (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) หรือที่เรียกว่า ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ เป็นการรวมตัวของ 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมา ศรีลังกา บังกลาเทศ อินเดีย ภูฏาน และเนปาล มีจำนวนประชากรรวมกันกว่า 1,800 ล้านคนหรือร้อยละ 23 ของประชากรโลก และมี GDP รวมกันกว่า 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

        ความคืบหน้าล่าสุดคือ หอการค้าอินเดีย (Indian Chamber of Commerce – ICC) โดยการสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศอินเดียได้จัดประชุม BIMSTEC Business Conclave 2023 เมื่อวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2566 ณ เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างเครือข่ายให้แก่ภาคเอกชน-ภาคธุรกิจของ BIMSTEC และส่งเสริมให้ BIMSTEC มีพลวัตเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในการประชุมครั้งนี้ได้จัดให้มี Forum เกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ (the BIMSTEC Gems & Jewellery Forum) ซึ่งมีกูรูจากกลุ่มประเทศ BIMSTEC รวมถึงไทยเข้าร่วมพูดคุยให้ความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในส่วนของไทยนั้นมีคุณชายพงษ์ นิยมกิจ คณะอนุกรรมการตลาดของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และอุปนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี เป็นตัวแทนเข้าร่วมพูดคุยใน Forum นี้

สาระสำคัญของ Forum อัญมณีและเครื่องประดับ

        สำหรับสาระสำคัญของ Forum ได้มีการเสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจ เช่น สมาชิกใน BIMSTEC มีแรงงานที่ได้รับการฝึกอบรมและได้รับความรู้ในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับตลอดเวลา ควรมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาทักษะแรงงานร่วมกัน ประเทศสมาชิก BIMSTEC ควรกำหนดตลาดใหม่ที่เป็นไปได้ในการขยายสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปตลาดเหล่านั้น รวมถึงการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพื่อเข้าถึงฐานผู้บริโภคในวงกว้างมากขึ้น และการออกมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยให้การค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างประเทศสมาชิก BIMSTEC ง่ายและคล่องตัวมากขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมการเติบโตทางการค้า ลดอุปสรรค และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

        ในส่วนของคุณชายพงษ์ ได้นำเสนอข้อคิดเห็นต่อการขยายการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยกับในกลุ่มประเทศ BIMSTEC ที่สำคัญได้แก่ อินเดียเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในกลุ่ม BIMSTEC และอินเดียเป็นแหล่งค้าเพชรให้ไทย หากอินเดียจะให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ กับไทยเหมือนยูเออี ก็จะทำให้การค้าระหว่างไทยกับอินเดียสามารถเเพิ่มขึ้นได้อีก ทางด้านการค้าวัตถุดิบพบว่า ศรีลังกามีข้อจำกัดในการเพิ่มมูลค่าพลอยก้อนโดยการเผาและเจียระไน ก่อนส่งออกไปขายในต่างประเทศ จึงขอให้ลดข้อจำกัด หรือกำหนดโควต้าให้บริษัทจดทะเบียนส่งออกพลอยก้อนบางส่วนมายังประเทศในกลุ่มได้ และไทยก็อาจแลกเปลี่ยนให้ความร่วมมือที่ไทยมีความเชี่ยวชาญให้กับศรีลังกาได้ เช่น การพัฒนาบุคลากรในการตรวจสอบอัญมณี การเจียระไน การออกแบบ และการผลิตเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนเมียนมาเป็นแหล่งจำหน่ายทับทิมสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย หากเมียนมาสามารถเปิดการค้าขายปกติ จะทำให้การค้าขายพลอยสีระหว่างไทยกับเมียนมากลับมามากขึ้น รวมถึงได้เสนอให้มีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค การเข้าตลาด ตลอดจนแนะนำพันธมิตรท้องถิ่นที่ดีให้กับนักธุรกิจต่างชาติก็จะทำให้ขยายการค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างกันได้มากขึ้น


ที่มาภาพ: https://www.nanis.it/

การขยายตลาดและการปรับตัวของไทย

        คุณชายพงษ์ ได้ให้มุมมองโอกาสของการขยายตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปยังกลุ่มสมาชิกของ BIMSTEC โดยกล่าวว่า ตลาดที่ไทยควรให้ความสำคัญเร่งรุกบุกตลาดคือ อินเดีย ตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากและกำลังซื้อสูงขึ้น แม้จะมีกำลังซื้อเพียง 10% หรือประมาณ 130 ล้านคน ก็ยังมากกว่าประชากรไทยถึง 2 เท่าตัว จึงเป็นโอกาสของไทยอย่างมาก โดยเฉพาะพลอยสีของไทย เป็นที่ยอมรับในตลาดอินเดีย และชาวอินเดียมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการส่งออกพลอยสีและเครื่องประดับพลอยสีไปยังอินเดีย


คุณชายพงษ์ นิยมกิจ

        ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยมีความพร้อมและเข้มแข็งอยู่แล้ว แต่การเข้าไปเจาะตลาดอินเดียมีความยากพอสมควร คงต้องพึ่งพาภาครัฐในการนำพาผู้ประกอบการไทยไป วิธีที่ดีที่สุดคือขอให้ช่วยจัด Business Matching แนะนำผู้ประกอบการท้องถิ่นศักยภาพของอินเดีย รวมถึงเชิญผู้ประกอบการอินเดียมาทำ Business Matching ในไทยในงานแสดงสินค้าอย่างบางกอกเจมส์ เป็นต้น 

        นอกจากนี้ หลายประเทศสมาชิกใน BIMSTEC มีความโดดเด่นคล้ายกันคือเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของโลก โดยอินเดียเป็นแหล่งผลิตและค้าเพชรเจียระไน ส่วนไทย เมียนมา และศรีลังกา เป็นแหล่งค้าพลอยสี หากกลุ่มประเทศเหล่านี้ร่วมมือกันในหลากหลายมิติ จะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาดโลก ทำให้การค้าวัตถุดิบในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น

        คุณชายพงษ์ ยังได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า ในกรอบ BIMSTEC ถ้าทุกประเทศให้ความร่วมมือกันทางด้านการตลาดอย่างจริงจัง รวมถึงการลดกำแพงทั้งภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างกัน จะทำให้การค้าอัญมณีและเครื่องประดับในกลุ่ม BIMSTEC มีโอกาสเติบโตได้มากทั้งในกลุ่มสมาชิกและในตลาดโลก คุณชายพงษ์ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการและเทรดเดอร์ในกลุ่ม BIMSTEC มาร่วมงานบางกอกเจมส์ (Bangkok Gems & Jewelry Fair 2023) และงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี ประจำปี 2566 (International Chanthaburi Gems and Jewelry Festival 2023) ระหว่างวันที่ 7-11 ธันวาคม 2566 ด้วยหวังว่าจะทำให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยเจาะตลาดอินเดียรวมถึงในกลุ่มประเทศ BIMSTEC ได้มากขึ้นในอนาคต

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในกลุ่ม BIMSTEC จะทำให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยมีโอกาสเติบโตได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดอินเดีย ซึ่งมีศักยภาพและยอมรับสินค้าไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว รวมถึงไทยยังมีโอกาสเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบสำคัญของโลกอย่างเมียนมาและศรีลังกาได้สะดวกมากขึ้น ก็น่าจะช่วยส่งเสริมให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่ม BIMSTEC และตลาดโลกในอนาคตได้ไม่ยาก 


จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)



เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อนาคตอัญมณีและเครื่องประดับไทยในกรอบ BIMSTEC

Aug 16, 2023
1661 views
1 share

        BIMSTEC (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation) หรือที่เรียกว่า ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ เป็นการรวมตัวของ 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมา ศรีลังกา บังกลาเทศ อินเดีย ภูฏาน และเนปาล มีจำนวนประชากรรวมกันกว่า 1,800 ล้านคนหรือร้อยละ 23 ของประชากรโลก และมี GDP รวมกันกว่า 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

        ความคืบหน้าล่าสุดคือ หอการค้าอินเดีย (Indian Chamber of Commerce – ICC) โดยการสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศอินเดียได้จัดประชุม BIMSTEC Business Conclave 2023 เมื่อวันที่ 12 – 15 มิถุนายน 2566 ณ เมืองโกลกาตา ประเทศอินเดีย ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสร้างเครือข่ายให้แก่ภาคเอกชน-ภาคธุรกิจของ BIMSTEC และส่งเสริมให้ BIMSTEC มีพลวัตเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยในการประชุมครั้งนี้ได้จัดให้มี Forum เกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ (the BIMSTEC Gems & Jewellery Forum) ซึ่งมีกูรูจากกลุ่มประเทศ BIMSTEC รวมถึงไทยเข้าร่วมพูดคุยให้ความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในส่วนของไทยนั้นมีคุณชายพงษ์ นิยมกิจ คณะอนุกรรมการตลาดของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และอุปนายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรี เป็นตัวแทนเข้าร่วมพูดคุยใน Forum นี้

สาระสำคัญของ Forum อัญมณีและเครื่องประดับ

        สำหรับสาระสำคัญของ Forum ได้มีการเสนอความคิดเห็นที่น่าสนใจ เช่น สมาชิกใน BIMSTEC มีแรงงานที่ได้รับการฝึกอบรมและได้รับความรู้ในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับตลอดเวลา ควรมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาทักษะแรงงานร่วมกัน ประเทศสมาชิก BIMSTEC ควรกำหนดตลาดใหม่ที่เป็นไปได้ในการขยายสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปตลาดเหล่านั้น รวมถึงการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เพื่อเข้าถึงฐานผู้บริโภคในวงกว้างมากขึ้น และการออกมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยให้การค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างประเทศสมาชิก BIMSTEC ง่ายและคล่องตัวมากขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมการเติบโตทางการค้า ลดอุปสรรค และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

        ในส่วนของคุณชายพงษ์ ได้นำเสนอข้อคิดเห็นต่อการขยายการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยกับในกลุ่มประเทศ BIMSTEC ที่สำคัญได้แก่ อินเดียเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในกลุ่ม BIMSTEC และอินเดียเป็นแหล่งค้าเพชรให้ไทย หากอินเดียจะให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ กับไทยเหมือนยูเออี ก็จะทำให้การค้าระหว่างไทยกับอินเดียสามารถเเพิ่มขึ้นได้อีก ทางด้านการค้าวัตถุดิบพบว่า ศรีลังกามีข้อจำกัดในการเพิ่มมูลค่าพลอยก้อนโดยการเผาและเจียระไน ก่อนส่งออกไปขายในต่างประเทศ จึงขอให้ลดข้อจำกัด หรือกำหนดโควต้าให้บริษัทจดทะเบียนส่งออกพลอยก้อนบางส่วนมายังประเทศในกลุ่มได้ และไทยก็อาจแลกเปลี่ยนให้ความร่วมมือที่ไทยมีความเชี่ยวชาญให้กับศรีลังกาได้ เช่น การพัฒนาบุคลากรในการตรวจสอบอัญมณี การเจียระไน การออกแบบ และการผลิตเครื่องประดับ เป็นต้น ส่วนเมียนมาเป็นแหล่งจำหน่ายทับทิมสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของไทย หากเมียนมาสามารถเปิดการค้าขายปกติ จะทำให้การค้าขายพลอยสีระหว่างไทยกับเมียนมากลับมามากขึ้น รวมถึงได้เสนอให้มีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค การเข้าตลาด ตลอดจนแนะนำพันธมิตรท้องถิ่นที่ดีให้กับนักธุรกิจต่างชาติก็จะทำให้ขยายการค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างกันได้มากขึ้น


ที่มาภาพ: https://www.nanis.it/

การขยายตลาดและการปรับตัวของไทย

        คุณชายพงษ์ ได้ให้มุมมองโอกาสของการขยายตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปยังกลุ่มสมาชิกของ BIMSTEC โดยกล่าวว่า ตลาดที่ไทยควรให้ความสำคัญเร่งรุกบุกตลาดคือ อินเดีย ตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากและกำลังซื้อสูงขึ้น แม้จะมีกำลังซื้อเพียง 10% หรือประมาณ 130 ล้านคน ก็ยังมากกว่าประชากรไทยถึง 2 เท่าตัว จึงเป็นโอกาสของไทยอย่างมาก โดยเฉพาะพลอยสีของไทย เป็นที่ยอมรับในตลาดอินเดีย และชาวอินเดียมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการส่งออกพลอยสีและเครื่องประดับพลอยสีไปยังอินเดีย


คุณชายพงษ์ นิยมกิจ

        ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยมีความพร้อมและเข้มแข็งอยู่แล้ว แต่การเข้าไปเจาะตลาดอินเดียมีความยากพอสมควร คงต้องพึ่งพาภาครัฐในการนำพาผู้ประกอบการไทยไป วิธีที่ดีที่สุดคือขอให้ช่วยจัด Business Matching แนะนำผู้ประกอบการท้องถิ่นศักยภาพของอินเดีย รวมถึงเชิญผู้ประกอบการอินเดียมาทำ Business Matching ในไทยในงานแสดงสินค้าอย่างบางกอกเจมส์ เป็นต้น 

        นอกจากนี้ หลายประเทศสมาชิกใน BIMSTEC มีความโดดเด่นคล้ายกันคือเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของโลก โดยอินเดียเป็นแหล่งผลิตและค้าเพชรเจียระไน ส่วนไทย เมียนมา และศรีลังกา เป็นแหล่งค้าพลอยสี หากกลุ่มประเทศเหล่านี้ร่วมมือกันในหลากหลายมิติ จะเป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองในตลาดโลก ทำให้การค้าวัตถุดิบในตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น

        คุณชายพงษ์ ยังได้ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า ในกรอบ BIMSTEC ถ้าทุกประเทศให้ความร่วมมือกันทางด้านการตลาดอย่างจริงจัง รวมถึงการลดกำแพงทั้งภาษีและมิใช่ภาษีระหว่างกัน จะทำให้การค้าอัญมณีและเครื่องประดับในกลุ่ม BIMSTEC มีโอกาสเติบโตได้มากทั้งในกลุ่มสมาชิกและในตลาดโลก คุณชายพงษ์ยังได้เชิญชวนผู้ประกอบการและเทรดเดอร์ในกลุ่ม BIMSTEC มาร่วมงานบางกอกเจมส์ (Bangkok Gems & Jewelry Fair 2023) และงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี ประจำปี 2566 (International Chanthaburi Gems and Jewelry Festival 2023) ระหว่างวันที่ 7-11 ธันวาคม 2566 ด้วยหวังว่าจะทำให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยเจาะตลาดอินเดียรวมถึงในกลุ่มประเทศ BIMSTEC ได้มากขึ้นในอนาคต

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในกลุ่ม BIMSTEC จะทำให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยมีโอกาสเติบโตได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดอินเดีย ซึ่งมีศักยภาพและยอมรับสินค้าไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว รวมถึงไทยยังมีโอกาสเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบสำคัญของโลกอย่างเมียนมาและศรีลังกาได้สะดวกมากขึ้น ก็น่าจะช่วยส่งเสริมให้อัญมณีและเครื่องประดับไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นในกลุ่ม BIMSTEC และตลาดโลกในอนาคตได้ไม่ยาก 


จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)



เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970