มาตรการคว่ำบาตรเพชรรัสเซีย จากมกราคมสู่กันยายน 2567

Mar 8, 2024
328 views
0 share
หมวดหมู่: Government Policy and Regulation

        นับเป็นเวลาสองปีแล้วจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้ปะทุขึ้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากประเทศขั้วตรงข้ามในการคว่ำบาตรสินค้าและบริการจากรัสเซีย ซึ่งผลกระทบดังกล่าวส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องตามมา ไม่เพียงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดรอยร้าว ยังส่งผลทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมาเป็นลูกโซ่อีกด้วย โดยความตกลงของประเทศในกลุ่ม G7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) และสหภาพยุโรป (EU) ได้ออกมาตรการห้ามนำเข้าเพชรจากรัสเซียในรูปแบบที่เข้มงวดมากขึ้นนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นมา

        ด้วยข้อตกลงร่วมกันของกลุ่ม G7 และประเทศสมาชิกใน EU ที่มีผลบังคับใช้ในปีนี้นั้น ครอบคลุมทั้งเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ รวมทั้งสินค้าที่อยู่ในพิกัด 7113 (เครื่องประดับ) 7114 (เครื่องทองหรือเครื่องเงิน) 711590 (ของอื่นๆ ทำหรือหุ้มติดด้วยโลหะมีค่าที่มีเพชรรวมอยู่ด้วย) 711620 (ของทำด้วยรัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ ทั้งจากธรรมชาติ สังเคราะห์ หรือทำขึ้นใหม่ ที่มีเพชรรวมอยู่ด้วย) และ 9101 (นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก และประเภทอื่นๆ ที่มีเพชรรวมอยู่ด้วย) โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ 

        1. ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ห้ามนำเข้า ซื้อขาย หรือโอน เพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์และรายการอื่นๆ ข้างต้น ที่มีถิ่นกำเนิดหรือส่งออกจากรัสเซีย

        2. ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2567 ห้ามนำเข้าเพชรธรรมชาติจากรัสเซีย รวมทั้งที่ได้ผ่านการเจียระไนในประเทศที่สาม ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไป

        3. ตั้งแต่ 1 กันยายน 2567 ห้ามนำเข้าเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ รวมทั้งในพิกัดข้างต้น ที่ได้ผ่านกระบวนการในประเทศที่สาม ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 0.5 กะรัตหรือ 0.1 กรัมขึ้นไป


ภาพจาก https://rapaport.com/analysis/diamond-industry-implements-tighter-controls/

        ซึ่งกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าเพชรของสหภาพยุโรปนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ยอมรับการใช้ใบรับรองของ Kimberley Process (KP) เป็นหลักฐานแสดงประเทศแหล่งกำเนิดสำหรับการนำเข้าเพชรก้อน  ส่วนตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม การนำเข้าเพชรในรายการที่กำหนด จะถูกส่งผ่านไปตรวจสอบที่สำนักงานในเมือง

        แอนต์เวิร์ป เบลเยียม เพื่อให้ได้ใบรับรองตามข้อกำหนดของ G7 หรือสามารถใช้ใบรับรอง KP เป็นหลักฐานแสดงประเทศแหล่งกำเนิดได้ หากไม่มีการผสมเพชรรัสเซียกับแหล่งอื่น นอกจากนี้ ผู้นำเข้าต้องจัดทำเอกสารข้อมูลเบื้องต้นประกอบด้วย แหล่งเหมืองต้นกำเนิด ชื่อผู้ซื้อและผู้ขาย พิกัดศุลกากร จำนวนพัสดุในการขนส่ง น้ำหนักกะรัตของเพชร มูลค่าของเพชร สถานที่นำเข้า ส่งออก และเส้นทางการขนส่งตลอดวงจรของเพชรก่อนเข้ามาที่สหภาพยุโรป ส่วนเพชรเจียระไนต้องมีเอกสารรับรองแบบรับรองตนเองของผู้ประกอบการเพื่อยืนยันว่าไม่มีเพชรจากรัสเซีย ในส่วนนี้อาจรวมถึงใบขนสินค้า ใบรายการสินค้า ใบรับรองการตรวจสอบจากแล็ป 

        แต่ทั้งนี้ ในบทข้อบังคับแนะนำให้ผู้นำเข้าใช้วิธีการตรวจสอบด้วยการส่งไปเมืองแอนต์เวิร์ปในช่วงใกล้สิ้นสุดระยะ 2 ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2567 เพราะตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 จะยอมรับใบรับรองแหล่งกำเนิดของ Kimberley Process กรณีมีแหล่งที่มาเดียวกันในการขนส่งนั้นๆ หรือกรณีมีที่มาจากหลายแหล่งจะยอมรับใบรับรองจากกลุ่ม De Beers เท่านั้น เพราะ De Beers ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหมืองเพชรในรัสเซีย

        ขณะที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มสมาคมในอุตสาหกรรมเพชรอย่าง World Federation of Diamond Bourses (WFDB), World Diamond Council (WDC), India’s Gem and Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) และ International Diamond Manufacturers Association (IDMA) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงกลุ่ม G7 และสหภาพยุโรป เพื่อให้ทบทวนมาตรการดังกล่าว เนื่องจากเป็นการทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มในการส่งเพชรไปตรวจสอบและใช้เวลาเพิ่มขึ้น สร้างความเสียเปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะในกลุ่มเหมืองขนาดเล็กที่ไม่มีเงินทุนมากพอ ทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาคอขวดห่วงโซ่อุปทานจากการรวมศูนย์กลางการตรวจสอบไว้ที่แอนต์เวิร์ป เบลเยียม เพียงแห่งเดียว และก่อให้เกิดความได้เปรียบแก่ผู้ค้าบางรายซึ่งไม่เป็นธรรมต่อทั้งตลาดอุตสาหกรรมเพชรทั่วโลก 



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

มีนาคม 2567


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2024. Diamond Industry Gears Up for Tighter Controls. [Online]. Available at: https://rapaport.com/analysis/diamond-industry-implements-tighter-controls/. (Retrieved March 4,2024).
2) Rapaport. 2024. Industry Groups Voice Concerns over G7’s Russian Sanctions Plan. [Online]. Available at: https://rapaport.com/news/industry-groups-voice-concerns-over-g7s-russian-sanctions-plan/. (Retrieved March 4,2024).
3) Rapaport. 2023. How EU Sanctions on Russian Diamonds May Work. [Online]. Available at: https://rapaport.com/news/how-eu-sanctions-on-russian-diamonds-may-work/. (Retrieved March 5,2024).
4) RESTRICTIONS ON DIAMONDS. [Online]. Available at: https://finance.ec.europa.eu/system/files/2023-12/faqs-sanctions-russia-diamonds_en.pdf. (Retrieved March 4,2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


มาตรการคว่ำบาตรเพชรรัสเซีย จากมกราคมสู่กันยายน 2567

Mar 8, 2024
328 views
0 share
หมวดหมู่: Government Policy and Regulation

        นับเป็นเวลาสองปีแล้วจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้ปะทุขึ้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาจากประเทศขั้วตรงข้ามในการคว่ำบาตรสินค้าและบริการจากรัสเซีย ซึ่งผลกระทบดังกล่าวส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องตามมา ไม่เพียงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดรอยร้าว ยังส่งผลทางเศรษฐกิจต่อเนื่องมาเป็นลูกโซ่อีกด้วย โดยความตกลงของประเทศในกลุ่ม G7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) และสหภาพยุโรป (EU) ได้ออกมาตรการห้ามนำเข้าเพชรจากรัสเซียในรูปแบบที่เข้มงวดมากขึ้นนับตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นมา

        ด้วยข้อตกลงร่วมกันของกลุ่ม G7 และประเทศสมาชิกใน EU ที่มีผลบังคับใช้ในปีนี้นั้น ครอบคลุมทั้งเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ รวมทั้งสินค้าที่อยู่ในพิกัด 7113 (เครื่องประดับ) 7114 (เครื่องทองหรือเครื่องเงิน) 711590 (ของอื่นๆ ทำหรือหุ้มติดด้วยโลหะมีค่าที่มีเพชรรวมอยู่ด้วย) 711620 (ของทำด้วยรัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติ ทั้งจากธรรมชาติ สังเคราะห์ หรือทำขึ้นใหม่ ที่มีเพชรรวมอยู่ด้วย) และ 9101 (นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก และประเภทอื่นๆ ที่มีเพชรรวมอยู่ด้วย) โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ 

        1. ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ห้ามนำเข้า ซื้อขาย หรือโอน เพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์และรายการอื่นๆ ข้างต้น ที่มีถิ่นกำเนิดหรือส่งออกจากรัสเซีย

        2. ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2567 ห้ามนำเข้าเพชรธรรมชาติจากรัสเซีย รวมทั้งที่ได้ผ่านการเจียระไนในประเทศที่สาม ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไป

        3. ตั้งแต่ 1 กันยายน 2567 ห้ามนำเข้าเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ รวมทั้งในพิกัดข้างต้น ที่ได้ผ่านกระบวนการในประเทศที่สาม ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 0.5 กะรัตหรือ 0.1 กรัมขึ้นไป


ภาพจาก https://rapaport.com/analysis/diamond-industry-implements-tighter-controls/

        ซึ่งกระบวนการตรวจสอบการนำเข้าเพชรของสหภาพยุโรปนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ยอมรับการใช้ใบรับรองของ Kimberley Process (KP) เป็นหลักฐานแสดงประเทศแหล่งกำเนิดสำหรับการนำเข้าเพชรก้อน  ส่วนตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม การนำเข้าเพชรในรายการที่กำหนด จะถูกส่งผ่านไปตรวจสอบที่สำนักงานในเมือง

        แอนต์เวิร์ป เบลเยียม เพื่อให้ได้ใบรับรองตามข้อกำหนดของ G7 หรือสามารถใช้ใบรับรอง KP เป็นหลักฐานแสดงประเทศแหล่งกำเนิดได้ หากไม่มีการผสมเพชรรัสเซียกับแหล่งอื่น นอกจากนี้ ผู้นำเข้าต้องจัดทำเอกสารข้อมูลเบื้องต้นประกอบด้วย แหล่งเหมืองต้นกำเนิด ชื่อผู้ซื้อและผู้ขาย พิกัดศุลกากร จำนวนพัสดุในการขนส่ง น้ำหนักกะรัตของเพชร มูลค่าของเพชร สถานที่นำเข้า ส่งออก และเส้นทางการขนส่งตลอดวงจรของเพชรก่อนเข้ามาที่สหภาพยุโรป ส่วนเพชรเจียระไนต้องมีเอกสารรับรองแบบรับรองตนเองของผู้ประกอบการเพื่อยืนยันว่าไม่มีเพชรจากรัสเซีย ในส่วนนี้อาจรวมถึงใบขนสินค้า ใบรายการสินค้า ใบรับรองการตรวจสอบจากแล็ป 

        แต่ทั้งนี้ ในบทข้อบังคับแนะนำให้ผู้นำเข้าใช้วิธีการตรวจสอบด้วยการส่งไปเมืองแอนต์เวิร์ปในช่วงใกล้สิ้นสุดระยะ 2 ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2567 เพราะตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 จะยอมรับใบรับรองแหล่งกำเนิดของ Kimberley Process กรณีมีแหล่งที่มาเดียวกันในการขนส่งนั้นๆ หรือกรณีมีที่มาจากหลายแหล่งจะยอมรับใบรับรองจากกลุ่ม De Beers เท่านั้น เพราะ De Beers ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหมืองเพชรในรัสเซีย

        ขณะที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มสมาคมในอุตสาหกรรมเพชรอย่าง World Federation of Diamond Bourses (WFDB), World Diamond Council (WDC), India’s Gem and Jewellery Export Promotion Council (GJEPC) และ International Diamond Manufacturers Association (IDMA) ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงกลุ่ม G7 และสหภาพยุโรป เพื่อให้ทบทวนมาตรการดังกล่าว เนื่องจากเป็นการทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มในการส่งเพชรไปตรวจสอบและใช้เวลาเพิ่มขึ้น สร้างความเสียเปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะในกลุ่มเหมืองขนาดเล็กที่ไม่มีเงินทุนมากพอ ทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาคอขวดห่วงโซ่อุปทานจากการรวมศูนย์กลางการตรวจสอบไว้ที่แอนต์เวิร์ป เบลเยียม เพียงแห่งเดียว และก่อให้เกิดความได้เปรียบแก่ผู้ค้าบางรายซึ่งไม่เป็นธรรมต่อทั้งตลาดอุตสาหกรรมเพชรทั่วโลก 



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

มีนาคม 2567


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2024. Diamond Industry Gears Up for Tighter Controls. [Online]. Available at: https://rapaport.com/analysis/diamond-industry-implements-tighter-controls/. (Retrieved March 4,2024).
2) Rapaport. 2024. Industry Groups Voice Concerns over G7’s Russian Sanctions Plan. [Online]. Available at: https://rapaport.com/news/industry-groups-voice-concerns-over-g7s-russian-sanctions-plan/. (Retrieved March 4,2024).
3) Rapaport. 2023. How EU Sanctions on Russian Diamonds May Work. [Online]. Available at: https://rapaport.com/news/how-eu-sanctions-on-russian-diamonds-may-work/. (Retrieved March 5,2024).
4) RESTRICTIONS ON DIAMONDS. [Online]. Available at: https://finance.ec.europa.eu/system/files/2023-12/faqs-sanctions-russia-diamonds_en.pdf. (Retrieved March 4,2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970