เพชรสังเคราะห์ กระแสแฟชั่นหรือความยั่งยืน

May 9, 2024
742 views
1 share

        ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพชรสังเคราะห์เติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลา จากเดิมในปี 2558 ที่มีสัดส่วนในตลาดเกือบเป็นศูนย์ มาสู่ปัจจุบันที่เพชรสังเคราะห์มีความนิยมแพร่หลายโดยมีสัดส่วนราว 20% ของตลาดเพชรทั่วโลก จากแรงผลักดันในประเด็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีที่มาโปร่งใส และราคาจับต้องได้ ทำให้เป็นที่ต้องการโดยเฉพาะในกลุ่มคนมิลเลนเนียลและเจน Z แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า แนวโน้มดังกล่าวกำลังจะลดน้อยลงไป

        ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนับเป็นประเด็นชูธงสำคัญของเพชรสังเคราะห์ ทั้งยังได้ดาราและเซเลบหลายคนที่พากันสวมใส่เครื่องประดับเพชรสังเคราะห์ ร่วมด้วยแบรนด์เครื่องประดับรายใหญ่เช่น De Beers และ Pandora ที่ลงมาร่วมแชร์ส่วนแบ่งด้วย ยิ่งเป็นแรงผลักดันเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้บริโภคมากขึ้นเป็นลำดับ กระทั่งในปี 2565 นับเป็นปีทองที่เพชรสังเคราะห์ โดยมูลค่าตลาดเพชรสังเคราะห์กระโดดขึ้นจาก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 เป็นเกือบหมื่นสองพันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 คิดเป็นการเติบโตสูงถึง 38% เมื่อเทียบกับปี 2564

        ทว่า Paul Zimnisky ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเพชรเริ่มมองเห็นจุดเปลี่ยนแปลงจากความรุ่งโรจน์ดังกล่าว ตั้งแต่หลังการคลายล็อคดาวน์และการทยอยฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้คนเริ่มมองเพชรสังเคราะห์ว่าไม่ทรงคุณค่าและเกลื่อนตลาด ต่างจากเพชรแท้ที่มีเอกลักษณ์ มีที่มาเรื่องราว และทรงคุณค่าผ่านกาลเวลา ทำให้มีการประเมินว่า ราคาเพชรสังเคราะห์ในปีนี้จะลดลงอีกราว 25% เนื่องจากอุปทานล้นตลาดขณะที่อุปสงค์ลดน้อยลง

        อีกเหตุผลหลักที่สนับสนุนความคิดเห็นดังกล่าว คือ ขาดหลักเกณฑ์ความโปร่งใสและกฎระเบียบที่ชัดเจนมากำกับ การโฆษณาว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรม ของผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์ ไม่มีมาตรฐานการตรวจสอบหรือการรับรองที่ชัดเจน ทั้งนี้ การผลิตเพชรสังเคราะห์ต้องมีการใช้พลังงานสูง ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์รายใหญ่ของโลกทั้งจีน (56%) และอินเดีย (15%) ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราว 71% ของกำลังผลิตทั่วโลกนั้น แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่นำมาใช้ส่วนใหญ่มาจากถ่านหินซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก

 

ภาพเพชรสังเคราะห์จาก https://osamboard.org/largest-lab-grown-diamond-manufacturers-in-the-world/

        นอกจากนี้ ราคาของเพชรสังเคราะห์ที่ลดลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับเพชรธรรมชาติ นับตั้งแต่ปี 2558 จากส่วนต่าง 10% เมื่อเทียบกับราคาเพชรธรรมชาติ กระทั่งปัจจุบันสามารถเห็นส่วนต่างได้ถึง 90% ซึ่ง Paul Zimnisky คาดการณ์ว่า ภายใน 5-10 ปีนี้ ราคาเพชรสังเคราะห์จะมีมูลค่าไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาเพชรธรรมชาติจะยังคงซื้อขายกันในหลักพันถึงหลักหมื่นดอลลาร์สหรัฐ 

        แม้ว่าเพชรสังเคราะห์ได้เข้ามาตีตลาดในอุตสาหกรรมเพชรอย่างต่อเนื่องหลายปี แต่เมื่อผู้บริโภคตระหนักถึงคุณค่าของเพชรมากขึ้น หลายคนจึงหันมาซื้อเพชรธรรมชาติมากขึ้นแม้จะได้ขนาดที่เล็กกว่า เพราะเพชรธรรมชาติมีเรื่องราวที่มาและสามารถทรงคุณค่าได้แม้ผ่านกาลเวลาไปหลายปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เพชรสังเคราะห์ไม่สามารถทดแทนได้



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

พฤษภาคม 2567












ข้อมูลอ้างอิง


1) Time of India. 2024. Are lab-grown diamonds going out of trend? [Online]. Available at: http://timesofindia.indiatimes.com/articleshow/. (Retrieved April 17,2024).
2) CNN. 2023. How 2023 became the year of the lab-grown diamond. [Online]. Available at: https://edition.cnn.com/style/lab-grown-diamonds-popularity-2023-bof/index.html. (Retrieved April 17 ,2024).
3) Osamboard. Largest Lab-grown Diamond Manufacturers In the world. [Online]. Available at: https://osamboard.org/largest-lab-grown-diamond-manufacturers-in-the-world/. (Retrieved April 17 ,2024).
4) Inc. 2024. Lab-Grown Diamonds Sway Gen-Z and Millennial Buyers, but Wreak Environmental Damage. [Online]. Available at: https://www.inc.com/associated-press/lab-grown-diamonds-sway-gen-z-millennial-buyers-but-wreak-environmental-damage.html

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เพชรสังเคราะห์ กระแสแฟชั่นหรือความยั่งยืน

May 9, 2024
742 views
1 share

        ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพชรสังเคราะห์เติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดเวลา จากเดิมในปี 2558 ที่มีสัดส่วนในตลาดเกือบเป็นศูนย์ มาสู่ปัจจุบันที่เพชรสังเคราะห์มีความนิยมแพร่หลายโดยมีสัดส่วนราว 20% ของตลาดเพชรทั่วโลก จากแรงผลักดันในประเด็นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีที่มาโปร่งใส และราคาจับต้องได้ ทำให้เป็นที่ต้องการโดยเฉพาะในกลุ่มคนมิลเลนเนียลและเจน Z แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่า แนวโน้มดังกล่าวกำลังจะลดน้อยลงไป

        ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนับเป็นประเด็นชูธงสำคัญของเพชรสังเคราะห์ ทั้งยังได้ดาราและเซเลบหลายคนที่พากันสวมใส่เครื่องประดับเพชรสังเคราะห์ ร่วมด้วยแบรนด์เครื่องประดับรายใหญ่เช่น De Beers และ Pandora ที่ลงมาร่วมแชร์ส่วนแบ่งด้วย ยิ่งเป็นแรงผลักดันเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้บริโภคมากขึ้นเป็นลำดับ กระทั่งในปี 2565 นับเป็นปีทองที่เพชรสังเคราะห์ โดยมูลค่าตลาดเพชรสังเคราะห์กระโดดขึ้นจาก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2559 เป็นเกือบหมื่นสองพันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 คิดเป็นการเติบโตสูงถึง 38% เมื่อเทียบกับปี 2564

        ทว่า Paul Zimnisky ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเพชรเริ่มมองเห็นจุดเปลี่ยนแปลงจากความรุ่งโรจน์ดังกล่าว ตั้งแต่หลังการคลายล็อคดาวน์และการทยอยฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้คนเริ่มมองเพชรสังเคราะห์ว่าไม่ทรงคุณค่าและเกลื่อนตลาด ต่างจากเพชรแท้ที่มีเอกลักษณ์ มีที่มาเรื่องราว และทรงคุณค่าผ่านกาลเวลา ทำให้มีการประเมินว่า ราคาเพชรสังเคราะห์ในปีนี้จะลดลงอีกราว 25% เนื่องจากอุปทานล้นตลาดขณะที่อุปสงค์ลดน้อยลง

        อีกเหตุผลหลักที่สนับสนุนความคิดเห็นดังกล่าว คือ ขาดหลักเกณฑ์ความโปร่งใสและกฎระเบียบที่ชัดเจนมากำกับ การโฆษณาว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีจริยธรรม ของผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์ ไม่มีมาตรฐานการตรวจสอบหรือการรับรองที่ชัดเจน ทั้งนี้ การผลิตเพชรสังเคราะห์ต้องมีการใช้พลังงานสูง ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงผู้ผลิตเพชรสังเคราะห์รายใหญ่ของโลกทั้งจีน (56%) และอินเดีย (15%) ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราว 71% ของกำลังผลิตทั่วโลกนั้น แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่นำมาใช้ส่วนใหญ่มาจากถ่านหินซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณมาก

 

ภาพเพชรสังเคราะห์จาก https://osamboard.org/largest-lab-grown-diamond-manufacturers-in-the-world/

        นอกจากนี้ ราคาของเพชรสังเคราะห์ที่ลดลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับเพชรธรรมชาติ นับตั้งแต่ปี 2558 จากส่วนต่าง 10% เมื่อเทียบกับราคาเพชรธรรมชาติ กระทั่งปัจจุบันสามารถเห็นส่วนต่างได้ถึง 90% ซึ่ง Paul Zimnisky คาดการณ์ว่า ภายใน 5-10 ปีนี้ ราคาเพชรสังเคราะห์จะมีมูลค่าไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาเพชรธรรมชาติจะยังคงซื้อขายกันในหลักพันถึงหลักหมื่นดอลลาร์สหรัฐ 

        แม้ว่าเพชรสังเคราะห์ได้เข้ามาตีตลาดในอุตสาหกรรมเพชรอย่างต่อเนื่องหลายปี แต่เมื่อผู้บริโภคตระหนักถึงคุณค่าของเพชรมากขึ้น หลายคนจึงหันมาซื้อเพชรธรรมชาติมากขึ้นแม้จะได้ขนาดที่เล็กกว่า เพราะเพชรธรรมชาติมีเรื่องราวที่มาและสามารถทรงคุณค่าได้แม้ผ่านกาลเวลาไปหลายปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เพชรสังเคราะห์ไม่สามารถทดแทนได้



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

พฤษภาคม 2567












ข้อมูลอ้างอิง


1) Time of India. 2024. Are lab-grown diamonds going out of trend? [Online]. Available at: http://timesofindia.indiatimes.com/articleshow/. (Retrieved April 17,2024).
2) CNN. 2023. How 2023 became the year of the lab-grown diamond. [Online]. Available at: https://edition.cnn.com/style/lab-grown-diamonds-popularity-2023-bof/index.html. (Retrieved April 17 ,2024).
3) Osamboard. Largest Lab-grown Diamond Manufacturers In the world. [Online]. Available at: https://osamboard.org/largest-lab-grown-diamond-manufacturers-in-the-world/. (Retrieved April 17 ,2024).
4) Inc. 2024. Lab-Grown Diamonds Sway Gen-Z and Millennial Buyers, but Wreak Environmental Damage. [Online]. Available at: https://www.inc.com/associated-press/lab-grown-diamonds-sway-gen-z-millennial-buyers-but-wreak-environmental-damage.html

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970