ราคาทองยังปรับตัวสูง กดดันแรงซื้อเครื่องประดับทอง

May 17, 2024
410 views
0 share

        ทองคำนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าในตัวเองมายาวนานและถือเป็นหนึ่งในการลงทุนทางเลือกที่ได้ผลตอบแทนดีที่สุดในยามเกิดวิกฤต ด้วยความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นหลายแห่ง ยิ่งทำให้นักลงทุนจำนวนมากหันมาให้ความสนใจทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี

        ล่าสุดสภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยข้อมูลว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้นั้น อุปทานของทองคำทั่วโลกลดลง 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเมื่อพิจารณาเฉพาะการบริโภคเครื่องประดับทอง พบว่า มีปริมาณ 479 ตัน ลดลง 2.02% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยประเทศผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดสองประเทศทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ (มีสัดส่วน 38.5%) และอินเดีย (มีสัดส่วน 19.9%) รวมสองประเทศคิดเป็นสัดส่วน 58.4% ของทั่วโลก มีการบริโภคลดลง 2.71% แต่เมื่อพิจารณารายประเทศ เห็นได้ว่า จีนมีการบริโภคลดลงตั้งแต่ช่วงหลังตรุษจีนจากราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การบริโภคลดลง 5.84% สวนทางกับอินเดียที่ได้แรงหนุนจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การบริโภคจึงเพิ่มขึ้น 3.92%

        ซึ่งการบริโภคเครื่องประดับทองที่ลดลงทั่วโลก มีลักษณะคล้ายกัน คือ มียอดเติบโตดีในสองเดือนแรกของปีนี้ แต่ถูกฉุดด้วยราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายกุมภาพันธ์ต่อเนื่องถึงเดือนมีนาคม โดยราคาทองคำในช่วงกลางเดือนมกราคมนั้นอยู่ที่ 2,011.75 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และลดลงในกลางเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 1,985.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แต่พลิกกลับมาเพิ่มสูงขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม ราคาอยู่ที่ 2,192.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และทำสถิติสูงสุดในวันที่ 12 เมษายน ซึ่งมีราคาปิดอยู่ที่ 2,401.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

 

ภาพจาก https://www.jpmorgan.com/

        โดยราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เป็นปัจจัยหลักที่กดดันการบริโภคเครื่องประดับทองในไตรมาส 2 ทั้งนี้ แม้ว่าราคาทองคำจะอยู่ในระดับสูงแล้ว แต่มีหลายปัจจัยที่ชี้ให้เห็นว่าราคายังมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อทองคำของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดวิกฤตความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน โดยไตรมาสแรกของปีนี้ธนาคารกลางของ 3 ประเทศแรกที่มีการซื้อสุทธิ คือ ตุรเคีย (30.12 ตัน) จีน (27.06 ตัน) และอินเดีย (18.51 ตัน) รวมทั้งแรงกดดันจากปัญหาเศรษฐกิจที่เผชิญต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่สามารถเข้าสู่เป้าหมาย 2% ยังเป็นปัจจัยหนุนการซื้อทองคำต่อไป 

        ซึ่งนักวิเคราะห์ในหลายสำนักคาดการณ์ด้วยการวิเคราะห์จากทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและกราฟทางเทคนิค พบว่า ราคาทองคำเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อในปีนี้และปีต่อไป

        ท่ามกลางช่วงเวลาที่ผันผวนนั้น โลหะมีค่าโดยเฉพาะทองคำมักให้ผลตอบแทนที่ดีและน่าสนใจกว่าสินทรัพย์ปกติที่มักแปรผันไปตามทิศทางของเศรษฐกิจ ด้วยปัจจัยที่ส่งผลในช่วงเวลานี้จึงทำให้ราคาของทองคำยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนล้วนมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนควรต้องศึกษาและระมัดระวังด้วยเช่นกัน



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

พฤษภาคม 2567


เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ราคาทองยังปรับตัวสูง กดดันแรงซื้อเครื่องประดับทอง

May 17, 2024
410 views
0 share

        ทองคำนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าในตัวเองมายาวนานและถือเป็นหนึ่งในการลงทุนทางเลือกที่ได้ผลตอบแทนดีที่สุดในยามเกิดวิกฤต ด้วยความผันผวนของสภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นหลายแห่ง ยิ่งทำให้นักลงทุนจำนวนมากหันมาให้ความสนใจทองคำมากขึ้น เนื่องจากมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่จะช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี

        ล่าสุดสภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยข้อมูลว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้นั้น อุปทานของทองคำทั่วโลกลดลง 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเมื่อพิจารณาเฉพาะการบริโภคเครื่องประดับทอง พบว่า มีปริมาณ 479 ตัน ลดลง 2.02% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยประเทศผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดสองประเทศทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ (มีสัดส่วน 38.5%) และอินเดีย (มีสัดส่วน 19.9%) รวมสองประเทศคิดเป็นสัดส่วน 58.4% ของทั่วโลก มีการบริโภคลดลง 2.71% แต่เมื่อพิจารณารายประเทศ เห็นได้ว่า จีนมีการบริโภคลดลงตั้งแต่ช่วงหลังตรุษจีนจากราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้การบริโภคลดลง 5.84% สวนทางกับอินเดียที่ได้แรงหนุนจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น การบริโภคจึงเพิ่มขึ้น 3.92%

        ซึ่งการบริโภคเครื่องประดับทองที่ลดลงทั่วโลก มีลักษณะคล้ายกัน คือ มียอดเติบโตดีในสองเดือนแรกของปีนี้ แต่ถูกฉุดด้วยราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงปลายกุมภาพันธ์ต่อเนื่องถึงเดือนมีนาคม โดยราคาทองคำในช่วงกลางเดือนมกราคมนั้นอยู่ที่ 2,011.75 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และลดลงในกลางเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ระดับ 1,985.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แต่พลิกกลับมาเพิ่มสูงขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม ราคาอยู่ที่ 2,192.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และทำสถิติสูงสุดในวันที่ 12 เมษายน ซึ่งมีราคาปิดอยู่ที่ 2,401.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์

 

ภาพจาก https://www.jpmorgan.com/

        โดยราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เป็นปัจจัยหลักที่กดดันการบริโภคเครื่องประดับทองในไตรมาส 2 ทั้งนี้ แม้ว่าราคาทองคำจะอยู่ในระดับสูงแล้ว แต่มีหลายปัจจัยที่ชี้ให้เห็นว่าราคายังมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นต่อไปในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อทองคำของธนาคารกลางประเทศต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดวิกฤตความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน โดยไตรมาสแรกของปีนี้ธนาคารกลางของ 3 ประเทศแรกที่มีการซื้อสุทธิ คือ ตุรเคีย (30.12 ตัน) จีน (27.06 ตัน) และอินเดีย (18.51 ตัน) รวมทั้งแรงกดดันจากปัญหาเศรษฐกิจที่เผชิญต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่สามารถเข้าสู่เป้าหมาย 2% ยังเป็นปัจจัยหนุนการซื้อทองคำต่อไป 

        ซึ่งนักวิเคราะห์ในหลายสำนักคาดการณ์ด้วยการวิเคราะห์จากทั้งปัจจัยทางเศรษฐกิจและกราฟทางเทคนิค พบว่า ราคาทองคำเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อในปีนี้และปีต่อไป

        ท่ามกลางช่วงเวลาที่ผันผวนนั้น โลหะมีค่าโดยเฉพาะทองคำมักให้ผลตอบแทนที่ดีและน่าสนใจกว่าสินทรัพย์ปกติที่มักแปรผันไปตามทิศทางของเศรษฐกิจ ด้วยปัจจัยที่ส่งผลในช่วงเวลานี้จึงทำให้ราคาของทองคำยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนล้วนมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนควรต้องศึกษาและระมัดระวังด้วยเช่นกัน



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

พฤษภาคม 2567


เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970