ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับญี่ปุ่น ท่ามกลางคลื่นลมทางเศรษฐกิจ

Jun 10, 2024
363 views
0 share
หมวดหมู่: Marketing

        ในช่วงปลายเมษายนที่ผ่านมา ข่าวค่าเงินเยนอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 34 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นข่าวที่สร้างความหวั่นวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจของแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งมี GDP สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี (ตามข้อมูลล่าสุด ณ เมษายน 2567 ของ IMF) จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในตลาดผู้บริโภคที่สำคัญของอัญมณีและเครื่องประดับด้วย

        วันที่ 29 เมษายน ในระหว่างวันค่าเงินเยนร่วงลงไปถึงระดับ 160 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นระดับที่อ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2533 ที่เคยอยู่ในระดับ 157.71 ซึ่งการอ่อนค่าของเงินเยนนั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงปี 2565 เป็นต้นมา แม้ว่าจะเป็นประโยชน์เป็นปัจจัยหนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลกันมาเที่ยวเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่อาจเข้ามามีส่วนพยุงเศรษฐกิจได้ ก่อให้เกิดความกังวลใจต่อผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง 

        ล่าสุดทางการญี่ปุ่นได้ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้หดตัวลง 2% เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 1.2-1.5% สาเหตุนั้นมาจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการ ทั้งการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออก ล้วนลดลง 2.7%, 3.2% และ 18.7% ตามลำดับ เช่นเดียวกับการเปิดเผยตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ระบุว่า ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ราคาสินค้าได้ปรับขึ้นถึงจำนวน 728 รายการ จนส่งผลให้อัตราค่าจ้างที่แท้จริง ซึ่งเป็นดัชนีวัดกำลังซื้อของภาคครัวเรือนในเดือนมีนาคม 2567 ปรับตัวลดลง 2.5% ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 24 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ญี่ปุ่นประสบกับภาวะฟองสบู่แตก 

 

ภาพจาก https://www.finnomena.com

        แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายประการ ทั้งการลดภาษี เงินอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค การแจกเงินให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการปรับขึ้นค่าจ้าง 5.28% ซึ่งเป็นการปรับสูงที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) หวังว่า การปรับเพิ่มขึ้นนี้จะช่วยกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะในไตรมาส 3 และ 4 

        ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศผู้บริโภคอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของโลก ทั้งยังเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในอันดับที่ 11 ของปี 2566 ด้วยมูลค่า 231.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นอันดับที่ 10 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ด้วยมูลค่า 58.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องประดับทอง เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ที่สามารถเติบโตได้ 24.61%, 10.83%, 31.73% และ 28.69% ตามลำดับ 

        การบริโภคที่ลดลงย่อมกระทบต่อการนำเข้าสินค้าและบริการ รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การรักษาคุณภาพ ความประณีตในสินค้า ความใส่ใจผู้บริโภค ยังเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง และต้องอดทนในการยืนระยะท่ามกลางห้วงเวลาที่คลื่นลมทางเศรษฐกิจไม่เป็นใจ เพราะตลาดแดนอาทิตย์อุทัยนี้ยังเป็นตลาดที่มีทั้งจำนวนผู้บริโภคมากและกำลังซื้อสูงที่ไม่อาจละเลยได้


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

มิถุนายน 2567

ข้อมูลอ้างอิง


ข้อมูลอ้างอิง
1) Forbes India. 2024. The top 10 largest economies in the world in 2024. [Online]. Available at: https://www.forbesindia.com/article/explainers/top-10-largest-economies-in-the-world/86159/1. (Retrieved May 21,2024).
2) The Japan Times. 2024. Yen rebounds strongly after first slide past ¥160 since 1990. [Online]. Available at: https://www.japantimes.co.jp/business/2024/04/29/markets/yen-hits-160-to-the-dollar/. (Retrieved May 23,2024).
3) Japan's Q1 GDP shrinks annualized 2% on sluggish consumption. [Online]. Available at: https://asia.nikkei.com/Economy/Japan-s-Q1-GDP-shrinks-annualized-2-on-sluggish-consumption. (Retrieved May 24,2024).
4) Kyodo News. 2024. Japan firms offer 5.28% wage hike, biggest in over 30 years: survey. [Online]. Available at: https://english.kyodonews.net/news/2024/03/. (Retrieved May 24,2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับญี่ปุ่น ท่ามกลางคลื่นลมทางเศรษฐกิจ

Jun 10, 2024
363 views
0 share
หมวดหมู่: Marketing

        ในช่วงปลายเมษายนที่ผ่านมา ข่าวค่าเงินเยนอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 34 ปี เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นข่าวที่สร้างความหวั่นวิตกต่อภาวะเศรษฐกิจของแดนอาทิตย์อุทัย ซึ่งมี GDP สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน และเยอรมนี (ตามข้อมูลล่าสุด ณ เมษายน 2567 ของ IMF) จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในตลาดผู้บริโภคที่สำคัญของอัญมณีและเครื่องประดับด้วย

        วันที่ 29 เมษายน ในระหว่างวันค่าเงินเยนร่วงลงไปถึงระดับ 160 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นระดับที่อ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2533 ที่เคยอยู่ในระดับ 157.71 ซึ่งการอ่อนค่าของเงินเยนนั้นเริ่มตั้งแต่ช่วงปี 2565 เป็นต้นมา แม้ว่าจะเป็นประโยชน์เป็นปัจจัยหนุนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลกันมาเที่ยวเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่อาจเข้ามามีส่วนพยุงเศรษฐกิจได้ ก่อให้เกิดความกังวลใจต่อผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง 

        ล่าสุดทางการญี่ปุ่นได้ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้หดตัวลง 2% เมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 1.2-1.5% สาเหตุนั้นมาจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการ ทั้งการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออก ล้วนลดลง 2.7%, 3.2% และ 18.7% ตามลำดับ เช่นเดียวกับการเปิดเผยตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น ระบุว่า ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ราคาสินค้าได้ปรับขึ้นถึงจำนวน 728 รายการ จนส่งผลให้อัตราค่าจ้างที่แท้จริง ซึ่งเป็นดัชนีวัดกำลังซื้อของภาคครัวเรือนในเดือนมีนาคม 2567 ปรับตัวลดลง 2.5% ซึ่งนับเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 24 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งเป็นปีที่ญี่ปุ่นประสบกับภาวะฟองสบู่แตก 

 

ภาพจาก https://www.finnomena.com

        แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายประการ ทั้งการลดภาษี เงินอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค การแจกเงินให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ รวมทั้งการปรับขึ้นค่าจ้าง 5.28% ซึ่งเป็นการปรับสูงที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ โดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) หวังว่า การปรับเพิ่มขึ้นนี้จะช่วยกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะในไตรมาส 3 และ 4 

        ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศผู้บริโภคอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของโลก ทั้งยังเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยในอันดับที่ 11 ของปี 2566 ด้วยมูลค่า 231.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นอันดับที่ 10 ในไตรมาสแรกของปีนี้ ด้วยมูลค่า 58.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องประดับทอง เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า เพชรเจียระไน และเครื่องประดับเงิน ที่สามารถเติบโตได้ 24.61%, 10.83%, 31.73% และ 28.69% ตามลำดับ 

        การบริโภคที่ลดลงย่อมกระทบต่อการนำเข้าสินค้าและบริการ รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การรักษาคุณภาพ ความประณีตในสินค้า ความใส่ใจผู้บริโภค ยังเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง และต้องอดทนในการยืนระยะท่ามกลางห้วงเวลาที่คลื่นลมทางเศรษฐกิจไม่เป็นใจ เพราะตลาดแดนอาทิตย์อุทัยนี้ยังเป็นตลาดที่มีทั้งจำนวนผู้บริโภคมากและกำลังซื้อสูงที่ไม่อาจละเลยได้


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

มิถุนายน 2567

ข้อมูลอ้างอิง


ข้อมูลอ้างอิง
1) Forbes India. 2024. The top 10 largest economies in the world in 2024. [Online]. Available at: https://www.forbesindia.com/article/explainers/top-10-largest-economies-in-the-world/86159/1. (Retrieved May 21,2024).
2) The Japan Times. 2024. Yen rebounds strongly after first slide past ¥160 since 1990. [Online]. Available at: https://www.japantimes.co.jp/business/2024/04/29/markets/yen-hits-160-to-the-dollar/. (Retrieved May 23,2024).
3) Japan's Q1 GDP shrinks annualized 2% on sluggish consumption. [Online]. Available at: https://asia.nikkei.com/Economy/Japan-s-Q1-GDP-shrinks-annualized-2-on-sluggish-consumption. (Retrieved May 24,2024).
4) Kyodo News. 2024. Japan firms offer 5.28% wage hike, biggest in over 30 years: survey. [Online]. Available at: https://english.kyodonews.net/news/2024/03/. (Retrieved May 24,2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970