ขยายมาตรการคว่ำบาตรเพชรรัสเซียจากอินทรีสู่หมีขาว

Sep 17, 2024
337 views
0 share

        สหรัฐอเมริกานั้น เป็นหนึ่งในตลาดผู้บริโภคเพชรที่สำคัญของโลก รวมทั้งยังเป็นประเทศผู้นำในกลุ่ม G7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) ที่ริเริ่มออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในหลายมิติ รวมทั้งการห้ามนำเข้าเพชรจากรัสเซียอย่างเป็นรูปธรรม ทว่าที่ผ่านมายังมีประเด็นคลุมเครือที่ไม่ชัดเจนบางประการในการบังคับใช้ 

        ล่าสุดนั้น สำนักงานควบคุมทรัพย์สินในต่างประเทศ (Office of. Foreign Assets Control: OFAC) ภายใต้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศรายชื่อบริษัทเพชรรัสเซีย 2 แห่ง คือ บริษัท Kristall ผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ของรัสเซีย ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alrosa โดย Kristall มีกำลังการผลิตเจียระไนเพชรมากกว่า 200,000 กะรัตต่อปี และบริษัท Miuz Diamonds ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องประดับเพชรรายใหญ่อันดับ 2 ของรัสเซีย โดยมีความเชี่ยวชาญด้านการเจียระไนเพชรขนาดใหญ่ เพิ่มลงในบัญชี Specially Designated Nationals (SDN) หรือบัญชีบุคคลหรือหน่วยงานที่อยู่ในประเทศที่ถูกจับตามองเป็นการพิเศษ 

        มาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตรบุคคลและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียกว่า 400 ราย ทั้งที่ตั้งอยู่ในและนอกประเทศรัสเซีย โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายห่วงโซ่อุปทานและช่องทางการชำระเงินของอุตสาหกรรมทางทหารรัสเซีย

 

ภาพเพชรเจียระไนโดยบริษัท Kristall จาก https://rapaport.com/

        นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว OFAC ยังได้สร้างความชัดเจนเกี่ยวกับใบอนุญาตการนำเข้าเครื่องประดับเพชรและเพชรเม็ดจากแหล่งที่มาในรัสเซีย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ใบอนุญาตทั่วไปเลขที่ 103 อนุญาตให้นำเข้าเครื่องประดับเพชรที่อยู่นอกรัสเซียก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2567

2. ใบอนุญาตทั่วไปเลขที่ 104 เกี่ยวกับเพชรเม็ดที่ไม่ใช่เพื่ออุตสาหกรรม

            - กรณีเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไปที่อยู่นอกรัสเซียก่อน 1 มีนาคม 2567 สามารถนำเข้าได้

            - กรณีเพชรขนาด 0.50-1 กะรัต ที่อยู่นอกรัสเซียก่อน 1 กันยายน 2567 สามารถนำเข้าได้

        แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการชี้แจงเพิ่มเติมว่าผู้นำเข้าจะต้องแสดงหลักฐานยืนยันตำแหน่งที่อยู่ของสินค้าตามวันที่กำหนดหรือไม่

        มาตรการใหม่นี้ช่วยให้ความชัดเจนเพิ่มเติมจากการคว่ำบาตรครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบันสหรัฐฯ ห้ามนำเข้าเพชรที่มีแหล่งกำเนิดจากรัสเซียขนาด 1 กะรัตขึ้นไป รวมถึงเพชรที่ผ่านการตัดหรือเจียระไนในประเทศอื่น และจะขยายข้อจำกัดไปถึงเพชรขนาด 0.50 กะรัตขึ้นไป ในวันที่ 1 กันยายน 2567

        อย่างไรก็ตาม การผ่อนปรนมาตรการนำเข้าเพชรรัสเซียครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการสร้างสมดุลระหว่างการคว่ำบาตรรัสเซียและการลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเพชรในประเทศ ขณะที่ยังมีคำถามที่ตามมา เช่น วิธีการพิสูจน์แหล่งที่มาของเพชรตามวันที่กำหนด ซึ่งอาจส่งผลต่อการนำมาตรการนี้ไปปฏิบัติจริงในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเพชรจำเป็นต้องติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดและปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างราบรื่นต่อไป



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

กันยายน 2567


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2024. US Adds Alrosa-Owned Manufacturer Kristall to Sanctions List. [Online]. Available at: https://rapaport.com/news/us-adds-alrosa-owned-manufacturer-kristall-to-sanctions-list/. (Retrieved August 28,2024).
2) Rapaport. 2024. US OKs Importing Some ‘Grandfathered’ Russian Diamonds. [Online]. Available at: https://rapaport.com/news/us-oks-importing-some-grandfathered-russian-diamonds/. (Retrieved August 27,2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ขยายมาตรการคว่ำบาตรเพชรรัสเซียจากอินทรีสู่หมีขาว

Sep 17, 2024
337 views
0 share

        สหรัฐอเมริกานั้น เป็นหนึ่งในตลาดผู้บริโภคเพชรที่สำคัญของโลก รวมทั้งยังเป็นประเทศผู้นำในกลุ่ม G7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) ที่ริเริ่มออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียในหลายมิติ รวมทั้งการห้ามนำเข้าเพชรจากรัสเซียอย่างเป็นรูปธรรม ทว่าที่ผ่านมายังมีประเด็นคลุมเครือที่ไม่ชัดเจนบางประการในการบังคับใช้ 

        ล่าสุดนั้น สำนักงานควบคุมทรัพย์สินในต่างประเทศ (Office of. Foreign Assets Control: OFAC) ภายใต้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศรายชื่อบริษัทเพชรรัสเซีย 2 แห่ง คือ บริษัท Kristall ผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ของรัสเซีย ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alrosa โดย Kristall มีกำลังการผลิตเจียระไนเพชรมากกว่า 200,000 กะรัตต่อปี และบริษัท Miuz Diamonds ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องประดับเพชรรายใหญ่อันดับ 2 ของรัสเซีย โดยมีความเชี่ยวชาญด้านการเจียระไนเพชรขนาดใหญ่ เพิ่มลงในบัญชี Specially Designated Nationals (SDN) หรือบัญชีบุคคลหรือหน่วยงานที่อยู่ในประเทศที่ถูกจับตามองเป็นการพิเศษ 

        มาตรการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการคว่ำบาตรบุคคลและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียกว่า 400 ราย ทั้งที่ตั้งอยู่ในและนอกประเทศรัสเซีย โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายห่วงโซ่อุปทานและช่องทางการชำระเงินของอุตสาหกรรมทางทหารรัสเซีย

 

ภาพเพชรเจียระไนโดยบริษัท Kristall จาก https://rapaport.com/

        นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว OFAC ยังได้สร้างความชัดเจนเกี่ยวกับใบอนุญาตการนำเข้าเครื่องประดับเพชรและเพชรเม็ดจากแหล่งที่มาในรัสเซีย โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ใบอนุญาตทั่วไปเลขที่ 103 อนุญาตให้นำเข้าเครื่องประดับเพชรที่อยู่นอกรัสเซียก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2567

2. ใบอนุญาตทั่วไปเลขที่ 104 เกี่ยวกับเพชรเม็ดที่ไม่ใช่เพื่ออุตสาหกรรม

            - กรณีเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไปที่อยู่นอกรัสเซียก่อน 1 มีนาคม 2567 สามารถนำเข้าได้

            - กรณีเพชรขนาด 0.50-1 กะรัต ที่อยู่นอกรัสเซียก่อน 1 กันยายน 2567 สามารถนำเข้าได้

        แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการชี้แจงเพิ่มเติมว่าผู้นำเข้าจะต้องแสดงหลักฐานยืนยันตำแหน่งที่อยู่ของสินค้าตามวันที่กำหนดหรือไม่

        มาตรการใหม่นี้ช่วยให้ความชัดเจนเพิ่มเติมจากการคว่ำบาตรครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา โดยปัจจุบันสหรัฐฯ ห้ามนำเข้าเพชรที่มีแหล่งกำเนิดจากรัสเซียขนาด 1 กะรัตขึ้นไป รวมถึงเพชรที่ผ่านการตัดหรือเจียระไนในประเทศอื่น และจะขยายข้อจำกัดไปถึงเพชรขนาด 0.50 กะรัตขึ้นไป ในวันที่ 1 กันยายน 2567

        อย่างไรก็ตาม การผ่อนปรนมาตรการนำเข้าเพชรรัสเซียครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการสร้างสมดุลระหว่างการคว่ำบาตรรัสเซียและการลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเพชรในประเทศ ขณะที่ยังมีคำถามที่ตามมา เช่น วิธีการพิสูจน์แหล่งที่มาของเพชรตามวันที่กำหนด ซึ่งอาจส่งผลต่อการนำมาตรการนี้ไปปฏิบัติจริงในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเพชรจำเป็นต้องติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดและปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างราบรื่นต่อไป



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

กันยายน 2567


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2024. US Adds Alrosa-Owned Manufacturer Kristall to Sanctions List. [Online]. Available at: https://rapaport.com/news/us-adds-alrosa-owned-manufacturer-kristall-to-sanctions-list/. (Retrieved August 28,2024).
2) Rapaport. 2024. US OKs Importing Some ‘Grandfathered’ Russian Diamonds. [Online]. Available at: https://rapaport.com/news/us-oks-importing-some-grandfathered-russian-diamonds/. (Retrieved August 27,2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970