เทรนด์ผู้บริโภคสินค้าหรู หลังโควิด-19

May 18, 2020
1235 views
0 share

            การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปกว่า 210 ประเทศทั่วโลกนั้น นอกจากจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกแล้ว ได้เปลี่ยนวิถีในการดำเนินชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน หรือเรียกว่า New Normal อาทิ การออกกำลังกายที่บ้าน การสั่ง Food Delivery มารับประทานที่บ้านแทนการออกไปร้านอาหาร หรือการซื้อสินค้าออนไลน์สูงขึ้นมาก เป็นต้น ซึ่งเทรนด์พฤติกรรมการบริโภคสินค้าหรูหลังโควิด-19 คลี่คลาย มีดังนี้

การซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

          จากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้คนส่วนใหญ่จะต้องกักตัวอยู่บ้านและ Work From Home เพื่อรักษาระยะห่าง ลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิด จึงเป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ตลาดสินค้าหรูจะฟื้นตัว แต่จะเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคจะยังคงซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น ฉะนั้น ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญกับการทำการตลาดและการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน

            ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Essential Retail ได้รายงานว่ายอดขายสินค้าออนไลน์ของโลกในเดือนมีนาคม 2563 เพิ่มขึ้นสูงถึง 74% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยสินค้าตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น 97% รองลงมาเป็นสินค้า DIY อุปกรณ์ทำสวน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องประดับอัญมณี เพิ่มขึ้น 136%, 163%, 26.6% และ 29.7% ตามลำดับ



Digitalization จะมีบทบาทต่อผู้บริโภคเพิ่มขึ้น

          เทคโนโลยีดิจิทัลมีมานานแล้วแต่อาจไม่ได้ใช้กันอย่างจริงจัง แต่จากวิกฤติโควิด-19 บังคับให้คนต้องหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างจริงจัง ซึ่งหลังจากวิกฤติครั้งนี้ จะทำให้ดิจิทัลกลายเป็นความสำคัญหลักในการดำรงชีวิต และมีบทบาทอย่างมากต่อการเข้าถึงสินค้าของผู้บริโภค ฉะนั้น ผู้ประกอบการเครื่องประดับ
อัญมณีจึงจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ดิจิทัลในธุรกิจมากขึ้น เช่น ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบอัตโนมัติ (Automation) Blockchain และ 3D Printing เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการซื้อสินค้าให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น

สินค้ารักษ์โลกและยั่งยืนจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น



ภาพ: https://www.linkouture.com

            ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากโควิด-19 ผู้บริโภคก็จะระมัดระวังการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น และจะยิ่งให้ความสำคัญกับการซื้อเครื่องประดับแท้ที่ไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ เครื่องประดับที่ใช้โลหะรีไซเคิลหรืออัญมณีที่มีแหล่งที่มาที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

การสร้างความสัมพันธ์แบบมีจุดหมายร่วมระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค

          ผู้บริโภคทุกวันนี้ต่างมองหาแบรนด์หรือธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน (Purposeful brands) ต้องทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ หรือมีส่วนร่วมกับแบรนด์ในการช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมและโลกนี้ดีขึ้น การสนับสนุนแบรนด์เหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่ากำลังได้ทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคม ยกตัวอย่างแบรนด์เครื่องประดับหรูของโลกที่ประสบความสำเร็จ เช่น Tiffany&Co. ที่ตลอดห่วงโซ่การผลิตเครื่องประดับมีแหล่งที่มาที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการระดมทุนช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน ซึ่งการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ของผู้บริโภคจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นนับจากนี้เป็นต้นไป

การใช้จ่ายซื้อสินค้าหรูมีแนวโน้มลดลง

          สถานการณ์การระบาดของไวรัสที่เกิดขึ้นทำให้หลายบริษัทปิดตัวลงและผู้คนตกงานจำนวนมาก จึงทำให้กำลังซื้อลดลง ทั้งนี้ Bain & Company. ได้คาดการณ์ว่ายอดขายสินค้าหรูของโลกจะลดลงราว 25-30% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และตลาดสินค้าหรูทั่วโลกจะสูญเสียรายได้ราว 65,000-75,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ คาดว่าตลาดสินค้าหรูจะเริ่มฟื้นตัวในปี 2564 ฉะนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว เสนอขายสินค้าหรูในราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

ตลาดสินค้าหรูในจีนจะฟื้นตัวก่อนใคร

          หลังจากที่จีนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ในเดือนมีนาคม ธุรกิจต่างๆ รวมถึงร้านค้าสินค้าหรูได้เริ่มทยอยเปิดดำเนินการอีกครั้ง ทั้งนี้ เว็บไซต์แฟชั่น WWD รายงานว่า หลังจากร้านค้าต่างๆ กลับมาเปิดวันแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563 หลังสิ้นสุดมาตรการล็อกดาวน์ Hermes แบรนด์แฟชั่นหรูจากฝรั่งเศสที่เปิดสาขาในเมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สามารถทำยอดขายได้ถึง 19 ล้านหยวน หรือราว 87.90 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นยอดขายภายในวันเดียวที่สูงที่สุดสำหรับร้านค้าร้านเดียวในจีน

            ทั้งนี้ จีนเป็นตลาดหลักสำหรับสินค้าหรู ชาวจีนใช้จ่ายซื้อสินค้าแบรนด์เนมคิดเป็นสัดส่วน 35% ของผู้ซื้อทั่วโลก และมีอัตราการเติบโตของตลาดในจีนมากถึง 90% ในปี 2562 พฤติกรรมผู้บริโภคได้ถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปจากโลกก่อนหน้าวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องทำความเข้าใจและปรับกลยุทธ์ให้ตามทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมกับเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสสำคัญในการ Transform ไปสู่ธุรกิจที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิง


1) 5 Consumer Trends to Look Out for Post-COVID-19. Retrieved 7 May, 2020 from https://www. nationaljeweler.com/majors/market-developments/8755-5-consumers-trend-to-look-out-for-post-covid-19.
2) Covid-19: Huge growth in eCommerce sales during March. Retrieved 7 May, 2020 from https://www. essentialretail. com/news/growth-ecommerce-sales-march/.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เทรนด์ผู้บริโภคสินค้าหรู หลังโควิด-19

May 18, 2020
1235 views
0 share

            การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปกว่า 210 ประเทศทั่วโลกนั้น นอกจากจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกแล้ว ได้เปลี่ยนวิถีในการดำเนินชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน หรือเรียกว่า New Normal อาทิ การออกกำลังกายที่บ้าน การสั่ง Food Delivery มารับประทานที่บ้านแทนการออกไปร้านอาหาร หรือการซื้อสินค้าออนไลน์สูงขึ้นมาก เป็นต้น ซึ่งเทรนด์พฤติกรรมการบริโภคสินค้าหรูหลังโควิด-19 คลี่คลาย มีดังนี้

การซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น

          จากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ผู้คนส่วนใหญ่จะต้องกักตัวอยู่บ้านและ Work From Home เพื่อรักษาระยะห่าง ลดโอกาสการติดเชื้อไวรัสโควิด จึงเป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ตลาดสินค้าหรูจะฟื้นตัว แต่จะเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภคจะยังคงซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น ฉะนั้น ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญกับการทำการตลาดและการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน

            ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Essential Retail ได้รายงานว่ายอดขายสินค้าออนไลน์ของโลกในเดือนมีนาคม 2563 เพิ่มขึ้นสูงถึง 74% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยสินค้าตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น 97% รองลงมาเป็นสินค้า DIY อุปกรณ์ทำสวน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องประดับอัญมณี เพิ่มขึ้น 136%, 163%, 26.6% และ 29.7% ตามลำดับ



Digitalization จะมีบทบาทต่อผู้บริโภคเพิ่มขึ้น

          เทคโนโลยีดิจิทัลมีมานานแล้วแต่อาจไม่ได้ใช้กันอย่างจริงจัง แต่จากวิกฤติโควิด-19 บังคับให้คนต้องหันมาใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างจริงจัง ซึ่งหลังจากวิกฤติครั้งนี้ จะทำให้ดิจิทัลกลายเป็นความสำคัญหลักในการดำรงชีวิต และมีบทบาทอย่างมากต่อการเข้าถึงสินค้าของผู้บริโภค ฉะนั้น ผู้ประกอบการเครื่องประดับ
อัญมณีจึงจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ดิจิทัลในธุรกิจมากขึ้น เช่น ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระบบอัตโนมัติ (Automation) Blockchain และ 3D Printing เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีในการซื้อสินค้าให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น

สินค้ารักษ์โลกและยั่งยืนจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น



ภาพ: https://www.linkouture.com

            ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสินค้าที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากโควิด-19 ผู้บริโภคก็จะระมัดระวังการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น และจะยิ่งให้ความสำคัญกับการซื้อเครื่องประดับแท้ที่ไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ เครื่องประดับที่ใช้โลหะรีไซเคิลหรืออัญมณีที่มีแหล่งที่มาที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

การสร้างความสัมพันธ์แบบมีจุดหมายร่วมระหว่างแบรนด์และผู้บริโภค

          ผู้บริโภคทุกวันนี้ต่างมองหาแบรนด์หรือธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน (Purposeful brands) ต้องทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ หรือมีส่วนร่วมกับแบรนด์ในการช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมและโลกนี้ดีขึ้น การสนับสนุนแบรนด์เหล่านี้จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่ากำลังได้ทำสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคม ยกตัวอย่างแบรนด์เครื่องประดับหรูของโลกที่ประสบความสำเร็จ เช่น Tiffany&Co. ที่ตลอดห่วงโซ่การผลิตเครื่องประดับมีแหล่งที่มาที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการระดมทุนช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน ซึ่งการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ของผู้บริโภคจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นนับจากนี้เป็นต้นไป

การใช้จ่ายซื้อสินค้าหรูมีแนวโน้มลดลง

          สถานการณ์การระบาดของไวรัสที่เกิดขึ้นทำให้หลายบริษัทปิดตัวลงและผู้คนตกงานจำนวนมาก จึงทำให้กำลังซื้อลดลง ทั้งนี้ Bain & Company. ได้คาดการณ์ว่ายอดขายสินค้าหรูของโลกจะลดลงราว 25-30% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และตลาดสินค้าหรูทั่วโลกจะสูญเสียรายได้ราว 65,000-75,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ คาดว่าตลาดสินค้าหรูจะเริ่มฟื้นตัวในปี 2564 ฉะนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว เสนอขายสินค้าหรูในราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

ตลาดสินค้าหรูในจีนจะฟื้นตัวก่อนใคร

          หลังจากที่จีนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ในเดือนมีนาคม ธุรกิจต่างๆ รวมถึงร้านค้าสินค้าหรูได้เริ่มทยอยเปิดดำเนินการอีกครั้ง ทั้งนี้ เว็บไซต์แฟชั่น WWD รายงานว่า หลังจากร้านค้าต่างๆ กลับมาเปิดวันแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563 หลังสิ้นสุดมาตรการล็อกดาวน์ Hermes แบรนด์แฟชั่นหรูจากฝรั่งเศสที่เปิดสาขาในเมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สามารถทำยอดขายได้ถึง 19 ล้านหยวน หรือราว 87.90 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นยอดขายภายในวันเดียวที่สูงที่สุดสำหรับร้านค้าร้านเดียวในจีน

            ทั้งนี้ จีนเป็นตลาดหลักสำหรับสินค้าหรู ชาวจีนใช้จ่ายซื้อสินค้าแบรนด์เนมคิดเป็นสัดส่วน 35% ของผู้ซื้อทั่วโลก และมีอัตราการเติบโตของตลาดในจีนมากถึง 90% ในปี 2562 พฤติกรรมผู้บริโภคได้ถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปจากโลกก่อนหน้าวิกฤตโควิด-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องทำความเข้าใจและปรับกลยุทธ์ให้ตามทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมกับเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสสำคัญในการ Transform ไปสู่ธุรกิจที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข้อมูลอ้างอิง


1) 5 Consumer Trends to Look Out for Post-COVID-19. Retrieved 7 May, 2020 from https://www. nationaljeweler.com/majors/market-developments/8755-5-consumers-trend-to-look-out-for-post-covid-19.
2) Covid-19: Huge growth in eCommerce sales during March. Retrieved 7 May, 2020 from https://www. essentialretail. com/news/growth-ecommerce-sales-march/.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970