Infographic

ข้อมูลด้านอัญมณี

ปี 2566

ควอตซ์ (Quartz)

ควอตซ์ (Quartz) มีรากศัพท์มาจากภาษาเยอรมันโบราณว่า “Quarz” ส่วนในประเทศไทยนั้นจะเรียกว่า “เขี้ยวหนุมาน” ควอตซ์ที่เรารู้จักกันดีก็เช่น Amethyst ควอตซ์สีม่วง Citrine ควอตซ์สีเหลือง Rose Quartz ควอตซ์สีชมพู Rock Crystal ควอตซ์ใสไม่มีสี เป็นต้น แล้วคุณสมบัติและลักษณะของควอตซ์เป็นอย่างไร ผลิตจากประเทศไหนได้บ้าง สามารถปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีการใด สามารถดูรายละเอียดได้จากภาพ

ทัวร์มาลีน (Tourmaline)

ทัวร์มาลีนเป็นเป็นพลอยที่มีสีสันมากที่สุดในบรรดาพลอยทุกชนิด แต่ละสีจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ทัวร์มาลีนที่มีสีแดงเหมือนทับทิม (Rubellite) จะมีคุณค่ามากที่สุด ส่วนทัวร์มาลีนสีเขียว (Verdelite) พบได้บ่อยที่สุด และถ้าหากว่าเป็นสีเขียวเหมือนมรกตจะมีคุณค่ามากขึ้น ตามปกติแล้วผลึกทัวร์มาลีนแต่ละก้อนจะมีอยู่หลายเฉดสีหรือหลายสีปนกัน ทัวร์มาลีนจากบราซิลมักจะมีสองสี ด้านในของผลึกจะมีสีแดง ส่วนด้านนอกจะมีสีเขียว ดูแล้ววาวคล้ายกับลูกแตงโมผ่าซีก และมักจะเรียกชื่อตามลักษณะนี้ว่า Watermelon Tourmaline ในทางกลับกันทัวร์มาลีนจากประเทศแอฟริกาใต้นั้นด้านในจะมีสีเขียวและด้านนอกจะมีสีแดง

ปี 2565

เบริล (Beryl)

หากถามกันว่ารู้จักพลอยเบริลไหม น้อยคนนักที่จะรู้จักชื่อนี้ แต่หากเป็น มรกต (Emerald) อะความารีน (Aquamarine) ก็จะรู้จักกันมากขึ้น อัญมณีทั้งสองชนิดเป็นแร่เบริลเหมือนกัน ต่างกันที่ธาตุให้สี ซึ่งเบริลบริสุทธิ์ไร้สี เมื่อมีธาตุให้สีเจือในโครงสร้างจึงทำให้เบริลมีสีได้หลากสี เบริลจึงมีชื่อทางการค้าแยกตามสีนั่นเอง

หลักการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเพชรสังเคราะห์

ปัจจุบันเพชรสังเคราะห์ได้รับความนิยมจากกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นจึงมีส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ขายเพชรควรให้ข้อมูลและระบุถึงข้อความเกี่ยวกับเพชรสังเคราะห์อย่างชัดเจนและถูกต้อง อ่านรายละเอียดได้จากภาพนี้

หลักการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเพชร

การระบุถึงเพชรแท้ซึ่งแตกต่างจากเพชรสังเคราะห์ควรใช้อย่างไร ผู้ขายควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับเพชรอย่างชัดเจนและถูกต้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค อ่านรายละเอียดได้จากภาพนี้

เพชร (Diamond)

เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ มีค่าความแข็งเท่ากับ 10 เพชรมีหลายสี โดยสีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ ในการประเมินคุณภาพเพชรจะใช้หลักการ 4C ซึ่งมีอะไรบ้างดูรายละเอียดได้จากภาพนี้

คอรันดัม (Corundum)

พลอยตระกูลคอรันดัมมีหลักเกณฑ์การเรียกชื่อทางวิชาการอย่างง่ายๆ ตามสีที่ปรากฎ คือ หากมีสีแดงจะเรียกว่า ทับทิม (Ruby) แต่ถ้าสีอื่นๆ ยกเว้นสีแดงจะเรียกว่า แซปไฟร์ (Sapphire) โดยจะนำสีที่ปรากฏมาใช้ประกอบการเรียกชื่อเฉพาะของแซปไฟร์นั้นๆ เช่น แซปไฟร์สีน้ำเงิน (Blue Sapphire) ภาษาไทยมีชื่อเรียกคือ ไพลิน สำหรับแซปไฟร์สีเหลือง (Yellow Sapphire) เรียกว่า บุษราคัม และแซปไฟร์สีเขียว (Green Sapphire) เรียกว่า เขียวส่อง ในกรณีที่พลอยตระกูลนี้มีปรากฏการณ์ทางแสง เช่น มีดาว 6 แฉก เมื่อเจียระไนหลังเบี้ยหรือรูปโค้งหลังเต่า (Cabochon) จะเรียกชื่อโดยมีคำว่า สตาร์ กำกับอยู่ด้วย เช่น ทับทิมสตาร์ (Star Ruby) แซปไฟร์สตาร์ (Star Sapphire) เป็นต้น

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site