ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ผลักดันแนวทางการใช้คำศัพท์อัญมณีเกี่ยวกับเพชร สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค

Jan 20, 2021
3329 views
2 shares

        อัญมณีเพชร เพชรสังเคราะห์ และเพชรเลียนแบบเป็นผลิตภัณฑ์อัญมณที่มีความแตกต่างสำหรับตอบสนองความต้องการของตลาดต่างๆ ด้วยการนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างกัน ถึงแม้คำย่อและอักษรย่อที่ใช้เกี่ยวกับอัญมณีเพชรเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีในแวดวงเครื่องประดับ แต่ในหลายโอกาสการใช้คำที่ไม่ถูกต้องอาจสร้างความสับสนให้ทุกฝ่ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภค

        องค์กรชั้นนำเก้าแห่งในอุตสาหกรรมเพชร อัญมณได้แก่ AWDC, CIBJO, NDC, GJEPC, IDI, IDMA, RJC, WDC และ WFDB จึงได้ร่วมมือกับ National Association of Jewellers (NAJ) จัดทำแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร (Diamond Terminology Guideline) ขึ้นมาซึ่งมีรายละเอียดดังเนื้อหาด้านล่างของบทความนี้

        Lisa Levinson หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของ Natural Diamond Council (NDC) ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ผู้มีบทบาทสำคัญจากทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอัญมณเพชรได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้ จึงสะท้อนให้เห็นการยอมรับว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องกำหนด “ภาษาและคำศัพท์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน” เพื่อให้ทุกอย่างง่ายยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภค

        เธอได้สรุปเนื้อหาตามที่ระบุไว้ในแนวทางว่า “คำว่าอัญมณี ‘เพชร’หมายถึง อัญมณี ‘เพชรธรรมชาติ’ เสมอ ส่วนอัญมณีเพชรสังเคราะห์นั้นจะต้องเพิ่มคำขยายว่าอัญมณี ‘เพชรสังเคราะห์’ (synthetic diamond) อัญมณี ‘เพชรที่ผลิตในห้องปฏิบัติการ’ (laboratory-grown diamond) หรืออัญมณี ‘เพชรที่สร้างในห้องปฏิบัติการ’ (laboratory-created diamond)

        “วัสดุที่แตกต่างจากอัญมณีเพชรโดยสิ้นเชิง เช่น คิวบิกเซอร์โคเนียหรือแซปไฟร์ไร้สีนั้นควรเรียกว่าอัญมณี ‘เพชรเลียนแบบ’ (diamond simulant/imitation diamond) ทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อให้คนรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ตนกำลังจะซื้อคืออะไรและจะได้มั่นใจว่าซื้อได้ถูกต้อง

        “ที่ผ่านมาเคยมีความสับสนเรื่องคำศัพท์ในแง่ที่ว่าผู้บริโภคสับสนระหว่างอัญมณีเพชรกับอัญมณีเพชรสังเคราะห์ ผู้บริโภคจึงยากที่จะรู้ได้ว่าตัวเองกำลังซื้ออะไรอยู่ มีการใช้คำศัพท์ต่างๆ มากมายตั้งแต่อัญมณีเพชรวีแกน (vegan diamond) ไปจนถึงอัญมณีเพชรเลี้ยง (cultured diamond) และเมื่อทำการศึกษาเรื่องนี้ เราก็ได้พบว่าผู้บริโภคไม่รู้เลยว่าอัญมณีเพชรเหล่านี้ไม่ใช่อัญมณีเพชรธรรมชาติ

        แนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร และมีบทบาทมากยิ่งขึ้นอีกจากความก้าวหน้าในสหราชอาณาจักร โดยส่วนสำคัญมาจากผลงานของสมาคม NAJ ทางองค์กรประสบความสำเร็จในการยกระดับสถานะของเอกสารนี้ให้เป็น ‘คำแนะนำจากองค์กรภาครัฐหลัก’ (Primary Authority Advice) ซึ่งได้ผ่านการยืนยันและการยอมรับจากองค์กรมาตรฐานทางการค้าในตลาดสหราชอาณาจักร


        NAJ ดำเนินการผ่านความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐหลัก (Primary Authority Partnership) ซึ่งก็คือองค์กรมาตรฐานทางการค้าบัคกิงแฮมเชียร์และเซอร์รีย์ (Buckinghamshire and Surrey Trading Standards) เพื่อให้แนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรได้รับสถานะเป็น ‘คำแนะนำที่ผ่านการยืนยัน’ และมีบทบาทความสำคัญมากยิ่งขึ้น Gary Wroe ประธานของ NAJ กล่าวว่า ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือแนวทางดังกล่าวกลายเป็นเอกสารซึ่งผ่านการเห็นชอบ อีกทั้งสอดคล้องกับกระบวนการและข้อกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยรวม

        “เราได้วางโครงสร้างการบังคับใช้แนวทางนี้ในตลาดสหราชอาณาจักร ซึ่งไม่เพียงได้รับการยอมรับจากองค์กรการค้าและองค์กรมาตรฐานทางการค้า แต่ยังรวมถึงกลุ่มบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชรทั่วโลก ขั้นตอนนี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการใช้คำศัพท์ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นต่อผู้ขายของ NAJ มากยิ่งขึ้น และช่วยปกป้องผู้ขายที่ดำเนินงานอย่างถูกต้อง” เขาอธิบาย

        คำแนะนำที่ผ่านการยืนยันได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและคุ้มครองสมาชิก NAJ มากกว่าที่จะดำเนินการกับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎ

        กิจการที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางอาจได้รับการพิจารณาว่าละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หากลูกค้ามองว่ากิจการทำการขายอย่างไม่ถูกต้องหรือชี้นำให้ลูกค้าเข้าใจผิด เอกสารดังกล่าวยังอาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในชั้นศาลอีกด้วย

        ส่วนกิจการที่ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ผ่านการยืนยันขององค์กรมาตรฐานทางการค้าก็จะมั่นใจได้ว่าองค์กรมาตรฐานทางการค้าและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอื่นๆ ได้สนับสนุนและยอมรับว่าแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรมีความถูกต้อง ดังนั้นจึงช่วยปกป้องกิจการจากความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินการทางกฎหมาย

        การผลักดันแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรด้วยวิธีดังกล่าวค่อนข้างเป็นกรณีเฉพาะในตลาดสหราชอาณาจักร และสะท้อนให้เห็นถึงเหตุผลที่ตลาดนี้ได้รับการยกย่องจากองค์กรอัญมณีเพชรในระดับสากล

        Levinson จาก NDC เห็นด้วยว่าการปฏิบัติตามคำแนะนำที่ผ่านการยืนยันช่วยให้ผู้ขายได้รับการคุ้มครองอย่างชัดเจน “สหราชอาณาจักรได้สร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ซึ่งนับเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมอัญมณีเพชรธรรมชาติทั่วโลกราว 10 ล้านคน และเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อผู้บริโภคชาวอังกฤษในแง่การป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน

        การที่แนวทางนี้ได้รับการผลักดันโดย NAJ และองค์กรมาตรฐานทางการค้ายิ่งช่วยเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือ ในบางประเทศสถานการณ์ไม่เป็นเช่นนี้ และเมื่อผู้บริโภคไม่รู้ว่าตนเองกำลังซื้ออะไร สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือผู้บริโภคจะไม่ยอมซื้ออะไรเลย สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและกิจการร้านเครื่องประดับ

        หากผู้บริโภครู้สึกว่าตนเองมีความรู้หรือมีข้อมูลครบถ้วน การตัดสินใจก็จะเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น การซื้อเครื่องประดับอัญมณมักเป็นการซื้อครั้งสำคัญและเป็นการซื้อตามความรู้สึก ดังนั้นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้ขายคือการที่ผู้บริโภคไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังซื้ออะไรอยู่

        NDC พยายามให้ผู้ขายเครื่องประดับในสหราชอาณาจักรรับทราบเรื่องแนวทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และประสานงานกับสมาคมเครื่องประดับในตลาดต่างประเทศเพื่อเน้นย้ำข้อมูลดังกล่าว “เราคิดว่าผู้ขายเข้าใจว่าจำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะแนวทางนี้จะปกป้องผู้ขาย ตลอดจนปกป้องศรัทธาและความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีต่อผู้ขายด้วย ผู้ขายเครื่องประดับที่มีความรับผิดชอบย่อมต้องการทำสิ่งที่ถูกต้องและทำให้ทุกเรื่องง่ายยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภค

        “หากคุณลองพิจารณาอัญมณีเพชรธรรมชาติและอัญมณีเพชรที่สร้างในห้องปฏิบัติการ คุณจะพบว่าผลิตภัณฑ์สองชนิดนี้แตกต่างกัน ทั้งคู่ต่างมีคุณค่า แต่ก็เป็นคุณค่าที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีจุดขายที่แตกต่างกันมากด้วย งานของ NDC คือการให้ข้อมูลว่าอัญมณีเพชรธรรมชาติมีความพิเศษอย่างไร ขณะที่ผู้ผลิตอัญมณีเพชรสังเคราะห์ก็ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของตน แต่สิ่งสำคัญคือเราต่างต้องให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยและโปร่งใส”

        Levinson เสนอว่าสหราชอาณาจักรอาจเป็นมาตรฐานสำหรับการนำแนวทางนี้ไปใช้ทั่วโลก “สหราชอาณาจักรมีความเข้มแข็งในเรื่องนี้ซึ่งเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวม การที่แนวทางการใช้คำศัพท์กลายเป็นคำแนะนำที่ผ่านการยืนยันช่วยมอบผลสำเร็จอันน่าทึ่ง นับเป็นพัฒนาการเชิงบวกอย่างแท้จริงและเป็นการก้าวไปข้างหน้าซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกฝ่่าย”

คำอธิบายแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร

National Association of Jewellers (NAJ) ได้ร่วมมือกับองค์กรชั้นนำเก้าแห่งในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชร (ได้แก่ AWDC, CIBJO, NDC, GJEPC, IDI, IDMA, RJC, WDC และ WFDB) รับรองแนวทางนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร และผู้ค้าทุกรายในภาคอุตสาหกรรมได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่ายว่าด้วยคำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร อัญมณีเพชรสังเคราะห์ และอัญมณีเพชรเลียนแบบ เพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสูด

แนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร เป็นเอกสารที่ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจอัญมณเพชรและเครื่องประดับสามารถใช้อ้างอิงเมื่อต้องการกล่าวถึงอัญมณีเพชรและอัญมณีเพชรสังเคราะห์ ทั้งนี้โดยเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสองแหล่งด้วยกันคือ ISO 18323 Standard (“เครื่องประดับ – ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชร”) และ CIBJO Diamond Blue Book  


คำนิยาม

        อัญมณีเพชร เป็นแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คำว่า “เพชร” หมายถึงอัญมณีเพชรธรรมชาติเสมอ

        อัญมณีเพชรสังเคราะห์ (synthetic diamond) คือ สิ่งที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นให้มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับอัญมณีเพชร

        อัญมณีเพชรเลียนแบบ (imitation diamond/diamond simulant) เป็นสิ่งที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบรูปลักษณ์ภายนอกของอัญมณีเพชร แต่ไม่ได้มีองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ หรือโครงสร้างเช่นเดียวกับอัญมณีเพชร

        อัญมณ เป็นแร่ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติและเรานำมาใช้ในเครื่องประดับด้วยเหตุผลด้านความสวยงาม ความหายาก และมูลค่าในตัวของมันเอง

คำศัพท์

        เมื่อกล่าวถึงอัญมณีเพชรสังเคราะห์

          - เมื่อกล่าวถึงอัญมณีเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำขยายที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ “สังเคราะห์” (synthetic) “ผลิตโดยห้องปฏิบัติการ” (laboratory-grown) หรือ “สร้างโดยห้องปฏิบัติการ” (laboratory-created)

          - อย่าใช้คำย่อ เช่น “ผลิตโดยแล็บ” (lab-grown) และ “สร้างโดยแล็บ” (lab-created)

          - อย่าใช้คำดังต่อไปนี้ “เพชรเลี้ยง” (cultured diamonds) และ “เพชรเพาะ” (cultivated diamonds) เนื่องจาก “เลี้ยง” และ “เพาะ” ใช้สำหรับกล่าวถึงสินค้าอัญมณอินทรีย์เท่านั้น 

          - อย่าใช้คำดังต่อไปนี้ “จริง” (real) “แท้” (genuine) “มีค่า” (precious) “ขนานแท้” (authentic) และ “ธรรมชาติ” (natural) เพราะคำดังกล่าวใช้สำหรับแร่และอัญมณีจากธรรมชาติเท่านั้น

        คำว่า “เพชร” มีความหมายว่าเป็นวัสดุจากธรรมชาติตามนิยามของคำอยู่แล้ว ดังนั้น จึงควรใช้คำว่า “เพชร” โดยไม่ต้องมีคำขยาย แต่ถ้าต้องการแยกให้แตกต่างจากเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำว่า “เพชรธรรมชาติ” (natural diamond) ซึ่งให้ความหมายเทียบเท่ากัน

        ไม่ใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความสับสน อย่าง คำว่า ธรรมชาติ กับเพชรที่ปรับปรุงคุณภาพ อาทิ “เพชรปรับปรุงคุณภาพจากธรรมชาติ” (natural treated diamonds) และ “เพชรธรรมชาติปรับปรุงคุณภาพ” (treated natural diamond) ให้ใช้แค่ “เพชรปรับปรุงคุณภาพ” (treated diamond) เท่านั้น

ควรปฏิบัติตามแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรในโอกาสใดบ้าง

        ผู้บริหารของ NAJ, AWDC, CIBJO, NDC, GJEPC, IDI, IDMA, RJC, WDC และ WFDB แนะนำให้ผู้ค้า หน่วยงาน และองค์กรทุกแห่งในภาคอุตสาหกรรม ปฏิบัติตามแนวทางนี้ในเอกสาร เว็บไซต์ และช่องทางการสื่อสารทั้งหมดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการซื้อ ขาย และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเพชร เพชรสังเคราะห์ อัญมณ รายงานจากห้องปฏิบัติการอัญมณี เครื่องประดับเพชร และเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์

รู้หรือไม่

        ผู้ขายและผู้จัดหามีหน้าที่ต้องเปิดเผยลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ตนขายให้ชัดเจนและถูกต้อง ไม่ว่าจะมีผู้ขอข้อมูลนั้นหรือไม่ แนวทางที่ควรปฏิบัติคือต้องมีการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคก่อนการซื้อ เช่น แสดงข้อมูลบนเว็บไซต์พร้อมตัวผลิตภัณฑ์ รวมทั้งให้ข้อมูลผ่านคำพูดและการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรภายในร้าน

คำศัพท์ที่ยอมรับได้และมีคำจำกัดความชัดเจน

        อัญมณี เพชร คือแร่ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นคาร์บอนและมีผลึกเป็นโครงสร้างลูกบาศก์ไอโซเมตริก โดยมีความแข็งตามมาตราโมส์อยู่ที่ระดับ 10 ความโน้มถ่วงจำเพาะอยู่ที่ประมาณ 3.52 และค่าดัชนีหักเหอยู่ที่ประมาณ 2.42 เมื่อเกิดขึ้นตามธรรมชาติ คำว่าเพชรหมายความถึงเพชรธรรมชาติเท่านั้น

        อัญมณี เพชรสังเคราะห์ คือผลผลิตจากการประดิษฐ์ (เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น) และโดยหลักแล้วมีองค์ประกอบทางเคมี โครงสร้างผลึก และคุณสมบัติทางกายภาพ (รวมถึงคุณสมบัติทางแสง) เช่นเดียวกันกับเพชร

        เอัญมณีพชรเลียนแบบ คือผลิตภัณฑ์ (ธรรมชาติหรือประดิษฐ์) ที่เลียนแบบรูปลักษณ์ของเพชรแต่ไม่ได้มีองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ หรือโครงสร้างเช่นเดียวกับเพชร ตัวอย่างเช่น คิวบิกเซอร์โคเนีย มอยส์ซาไนต์ แซปไฟร์สีขาวใสหรือไร้สี และอิตเทรียมอะลูมิเนียมการ์เนต เพชรเลียนแบบยังอาจรวมถึงสิ่งที่ผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์หรืออัญมณชนิดอื่นแล้วเคลือบด้วยเพชรสังเคราะห์

สรุป

        คำว่าเพชรหมายถึงเพชรธรรมชาติโดยไม่ต้องขยายความ ดังนั้น การใช้คำว่าเพชรและเพชรสังเคราะห์จึงเพียงพอต่อการแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพชรทั้งสองประเภท และไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำว่า “ธรรมชาติ” มาขยายความอีก

คำเตือน

        ไม่ควรใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความสับสน เช่น “เพชรปรับปรุงคุณภาพจากธรรมชาติ” หรือ “เพชรธรรมชาติปรับปรุงคุณภาพ” ในกรณีนี้ให้ใช้ว่า “เพชรปรับปรุงคุณภาพ” ก็เพียงพอแล้ว แต่โปรดทราบด้วยว่ามีเพชรสังเคราะห์ที่ปรับปรุงคุณภาพอยู่ด้วยเช่นกัน

        ตัวอย่างคำที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ได้แก่ เพชรลูกผสมแท้ (real diamond hybrid) เพชรเลี้ยง (cultured diamond), เพชรวีแกน (vegan diamond), เพชร Type IIa, เพชร CVD, เพชร HPHT หรือเพชรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (eco-friendly diamond)

        ทั้งนี้ The United States Federal Trade Commission (FTC) ได้จัดทำแนวทางด้านคำศัพท์เกี่ยวกับเพชรที่แตกต่างจากนี้เล็กน้อย แต่แนวทางดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อเพชรที่ขายนอกสหรัฐอเมริกา


ข้อมูลอ้างอิง


1. “Diamond Terminology Guideline.” The National Association of Jewellers. (2020).
2. “The Diamond Terminology Guideline explained.” by Sam Lewis. Retrieved December 15, 2020 from https://www.professionaljeweller.com/feature-the-diamond-terminology-guideline-explained/.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ผลักดันแนวทางการใช้คำศัพท์อัญมณีเกี่ยวกับเพชร สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค

Jan 20, 2021
3329 views
2 shares

        อัญมณีเพชร เพชรสังเคราะห์ และเพชรเลียนแบบเป็นผลิตภัณฑ์อัญมณที่มีความแตกต่างสำหรับตอบสนองความต้องการของตลาดต่างๆ ด้วยการนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างกัน ถึงแม้คำย่อและอักษรย่อที่ใช้เกี่ยวกับอัญมณีเพชรเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีในแวดวงเครื่องประดับ แต่ในหลายโอกาสการใช้คำที่ไม่ถูกต้องอาจสร้างความสับสนให้ทุกฝ่ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภค

        องค์กรชั้นนำเก้าแห่งในอุตสาหกรรมเพชร อัญมณได้แก่ AWDC, CIBJO, NDC, GJEPC, IDI, IDMA, RJC, WDC และ WFDB จึงได้ร่วมมือกับ National Association of Jewellers (NAJ) จัดทำแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร (Diamond Terminology Guideline) ขึ้นมาซึ่งมีรายละเอียดดังเนื้อหาด้านล่างของบทความนี้

        Lisa Levinson หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของ Natural Diamond Council (NDC) ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า ผู้มีบทบาทสำคัญจากทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอัญมณเพชรได้เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนี้ จึงสะท้อนให้เห็นการยอมรับว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องกำหนด “ภาษาและคำศัพท์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน” เพื่อให้ทุกอย่างง่ายยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภค

        เธอได้สรุปเนื้อหาตามที่ระบุไว้ในแนวทางว่า “คำว่าอัญมณี ‘เพชร’หมายถึง อัญมณี ‘เพชรธรรมชาติ’ เสมอ ส่วนอัญมณีเพชรสังเคราะห์นั้นจะต้องเพิ่มคำขยายว่าอัญมณี ‘เพชรสังเคราะห์’ (synthetic diamond) อัญมณี ‘เพชรที่ผลิตในห้องปฏิบัติการ’ (laboratory-grown diamond) หรืออัญมณี ‘เพชรที่สร้างในห้องปฏิบัติการ’ (laboratory-created diamond)

        “วัสดุที่แตกต่างจากอัญมณีเพชรโดยสิ้นเชิง เช่น คิวบิกเซอร์โคเนียหรือแซปไฟร์ไร้สีนั้นควรเรียกว่าอัญมณี ‘เพชรเลียนแบบ’ (diamond simulant/imitation diamond) ทั้งหมดนี้มีเป้าหมายเพื่อให้คนรู้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ตนกำลังจะซื้อคืออะไรและจะได้มั่นใจว่าซื้อได้ถูกต้อง

        “ที่ผ่านมาเคยมีความสับสนเรื่องคำศัพท์ในแง่ที่ว่าผู้บริโภคสับสนระหว่างอัญมณีเพชรกับอัญมณีเพชรสังเคราะห์ ผู้บริโภคจึงยากที่จะรู้ได้ว่าตัวเองกำลังซื้ออะไรอยู่ มีการใช้คำศัพท์ต่างๆ มากมายตั้งแต่อัญมณีเพชรวีแกน (vegan diamond) ไปจนถึงอัญมณีเพชรเลี้ยง (cultured diamond) และเมื่อทำการศึกษาเรื่องนี้ เราก็ได้พบว่าผู้บริโภคไม่รู้เลยว่าอัญมณีเพชรเหล่านี้ไม่ใช่อัญมณีเพชรธรรมชาติ

        แนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กร และมีบทบาทมากยิ่งขึ้นอีกจากความก้าวหน้าในสหราชอาณาจักร โดยส่วนสำคัญมาจากผลงานของสมาคม NAJ ทางองค์กรประสบความสำเร็จในการยกระดับสถานะของเอกสารนี้ให้เป็น ‘คำแนะนำจากองค์กรภาครัฐหลัก’ (Primary Authority Advice) ซึ่งได้ผ่านการยืนยันและการยอมรับจากองค์กรมาตรฐานทางการค้าในตลาดสหราชอาณาจักร


        NAJ ดำเนินการผ่านความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐหลัก (Primary Authority Partnership) ซึ่งก็คือองค์กรมาตรฐานทางการค้าบัคกิงแฮมเชียร์และเซอร์รีย์ (Buckinghamshire and Surrey Trading Standards) เพื่อให้แนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรได้รับสถานะเป็น ‘คำแนะนำที่ผ่านการยืนยัน’ และมีบทบาทความสำคัญมากยิ่งขึ้น Gary Wroe ประธานของ NAJ กล่าวว่า ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือแนวทางดังกล่าวกลายเป็นเอกสารซึ่งผ่านการเห็นชอบ อีกทั้งสอดคล้องกับกระบวนการและข้อกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคโดยรวม

        “เราได้วางโครงสร้างการบังคับใช้แนวทางนี้ในตลาดสหราชอาณาจักร ซึ่งไม่เพียงได้รับการยอมรับจากองค์กรการค้าและองค์กรมาตรฐานทางการค้า แต่ยังรวมถึงกลุ่มบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชรทั่วโลก ขั้นตอนนี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านการใช้คำศัพท์ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นต่อผู้ขายของ NAJ มากยิ่งขึ้น และช่วยปกป้องผู้ขายที่ดำเนินงานอย่างถูกต้อง” เขาอธิบาย

        คำแนะนำที่ผ่านการยืนยันได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและคุ้มครองสมาชิก NAJ มากกว่าที่จะดำเนินการกับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎ

        กิจการที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทางอาจได้รับการพิจารณาว่าละเมิดกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หากลูกค้ามองว่ากิจการทำการขายอย่างไม่ถูกต้องหรือชี้นำให้ลูกค้าเข้าใจผิด เอกสารดังกล่าวยังอาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในชั้นศาลอีกด้วย

        ส่วนกิจการที่ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ผ่านการยืนยันขององค์กรมาตรฐานทางการค้าก็จะมั่นใจได้ว่าองค์กรมาตรฐานทางการค้าและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอื่นๆ ได้สนับสนุนและยอมรับว่าแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรมีความถูกต้อง ดังนั้นจึงช่วยปกป้องกิจการจากความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินการทางกฎหมาย

        การผลักดันแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรด้วยวิธีดังกล่าวค่อนข้างเป็นกรณีเฉพาะในตลาดสหราชอาณาจักร และสะท้อนให้เห็นถึงเหตุผลที่ตลาดนี้ได้รับการยกย่องจากองค์กรอัญมณีเพชรในระดับสากล

        Levinson จาก NDC เห็นด้วยว่าการปฏิบัติตามคำแนะนำที่ผ่านการยืนยันช่วยให้ผู้ขายได้รับการคุ้มครองอย่างชัดเจน “สหราชอาณาจักรได้สร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ซึ่งนับเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อคนทำงานในภาคอุตสาหกรรมอัญมณีเพชรธรรมชาติทั่วโลกราว 10 ล้านคน และเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อผู้บริโภคชาวอังกฤษในแง่การป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน

        การที่แนวทางนี้ได้รับการผลักดันโดย NAJ และองค์กรมาตรฐานทางการค้ายิ่งช่วยเพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือ ในบางประเทศสถานการณ์ไม่เป็นเช่นนี้ และเมื่อผู้บริโภคไม่รู้ว่าตนเองกำลังซื้ออะไร สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้คือผู้บริโภคจะไม่ยอมซื้ออะไรเลย สถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและกิจการร้านเครื่องประดับ

        หากผู้บริโภครู้สึกว่าตนเองมีความรู้หรือมีข้อมูลครบถ้วน การตัดสินใจก็จะเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น การซื้อเครื่องประดับอัญมณมักเป็นการซื้อครั้งสำคัญและเป็นการซื้อตามความรู้สึก ดังนั้นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้ขายคือการที่ผู้บริโภคไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังซื้ออะไรอยู่

        NDC พยายามให้ผู้ขายเครื่องประดับในสหราชอาณาจักรรับทราบเรื่องแนวทางให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และประสานงานกับสมาคมเครื่องประดับในตลาดต่างประเทศเพื่อเน้นย้ำข้อมูลดังกล่าว “เราคิดว่าผู้ขายเข้าใจว่าจำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะแนวทางนี้จะปกป้องผู้ขาย ตลอดจนปกป้องศรัทธาและความเชื่อมั่นที่ผู้บริโภคมีต่อผู้ขายด้วย ผู้ขายเครื่องประดับที่มีความรับผิดชอบย่อมต้องการทำสิ่งที่ถูกต้องและทำให้ทุกเรื่องง่ายยิ่งขึ้นสำหรับผู้บริโภค

        “หากคุณลองพิจารณาอัญมณีเพชรธรรมชาติและอัญมณีเพชรที่สร้างในห้องปฏิบัติการ คุณจะพบว่าผลิตภัณฑ์สองชนิดนี้แตกต่างกัน ทั้งคู่ต่างมีคุณค่า แต่ก็เป็นคุณค่าที่แตกต่างกัน รวมทั้งมีจุดขายที่แตกต่างกันมากด้วย งานของ NDC คือการให้ข้อมูลว่าอัญมณีเพชรธรรมชาติมีความพิเศษอย่างไร ขณะที่ผู้ผลิตอัญมณีเพชรสังเคราะห์ก็ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของตน แต่สิ่งสำคัญคือเราต่างต้องให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยและโปร่งใส”

        Levinson เสนอว่าสหราชอาณาจักรอาจเป็นมาตรฐานสำหรับการนำแนวทางนี้ไปใช้ทั่วโลก “สหราชอาณาจักรมีความเข้มแข็งในเรื่องนี้ซึ่งเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวม การที่แนวทางการใช้คำศัพท์กลายเป็นคำแนะนำที่ผ่านการยืนยันช่วยมอบผลสำเร็จอันน่าทึ่ง นับเป็นพัฒนาการเชิงบวกอย่างแท้จริงและเป็นการก้าวไปข้างหน้าซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกฝ่่าย”

คำอธิบายแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร

National Association of Jewellers (NAJ) ได้ร่วมมือกับองค์กรชั้นนำเก้าแห่งในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชร (ได้แก่ AWDC, CIBJO, NDC, GJEPC, IDI, IDMA, RJC, WDC และ WFDB) รับรองแนวทางนี้ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้หน่วยงาน องค์กร และผู้ค้าทุกรายในภาคอุตสาหกรรมได้รับข้อมูลที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ง่ายว่าด้วยคำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร อัญมณีเพชรสังเคราะห์ และอัญมณีเพชรเลียนแบบ เพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสูด

แนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร เป็นเอกสารที่ช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจอัญมณเพชรและเครื่องประดับสามารถใช้อ้างอิงเมื่อต้องการกล่าวถึงอัญมณีเพชรและอัญมณีเพชรสังเคราะห์ ทั้งนี้โดยเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสองแหล่งด้วยกันคือ ISO 18323 Standard (“เครื่องประดับ – ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชร”) และ CIBJO Diamond Blue Book  


คำนิยาม

        อัญมณีเพชร เป็นแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ คำว่า “เพชร” หมายถึงอัญมณีเพชรธรรมชาติเสมอ

        อัญมณีเพชรสังเคราะห์ (synthetic diamond) คือ สิ่งที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นให้มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับอัญมณีเพชร

        อัญมณีเพชรเลียนแบบ (imitation diamond/diamond simulant) เป็นสิ่งที่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบรูปลักษณ์ภายนอกของอัญมณีเพชร แต่ไม่ได้มีองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ หรือโครงสร้างเช่นเดียวกับอัญมณีเพชร

        อัญมณ เป็นแร่ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติและเรานำมาใช้ในเครื่องประดับด้วยเหตุผลด้านความสวยงาม ความหายาก และมูลค่าในตัวของมันเอง

คำศัพท์

        เมื่อกล่าวถึงอัญมณีเพชรสังเคราะห์

          - เมื่อกล่าวถึงอัญมณีเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำขยายที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ “สังเคราะห์” (synthetic) “ผลิตโดยห้องปฏิบัติการ” (laboratory-grown) หรือ “สร้างโดยห้องปฏิบัติการ” (laboratory-created)

          - อย่าใช้คำย่อ เช่น “ผลิตโดยแล็บ” (lab-grown) และ “สร้างโดยแล็บ” (lab-created)

          - อย่าใช้คำดังต่อไปนี้ “เพชรเลี้ยง” (cultured diamonds) และ “เพชรเพาะ” (cultivated diamonds) เนื่องจาก “เลี้ยง” และ “เพาะ” ใช้สำหรับกล่าวถึงสินค้าอัญมณอินทรีย์เท่านั้น 

          - อย่าใช้คำดังต่อไปนี้ “จริง” (real) “แท้” (genuine) “มีค่า” (precious) “ขนานแท้” (authentic) และ “ธรรมชาติ” (natural) เพราะคำดังกล่าวใช้สำหรับแร่และอัญมณีจากธรรมชาติเท่านั้น

        คำว่า “เพชร” มีความหมายว่าเป็นวัสดุจากธรรมชาติตามนิยามของคำอยู่แล้ว ดังนั้น จึงควรใช้คำว่า “เพชร” โดยไม่ต้องมีคำขยาย แต่ถ้าต้องการแยกให้แตกต่างจากเพชรสังเคราะห์ ให้ใช้คำว่า “เพชรธรรมชาติ” (natural diamond) ซึ่งให้ความหมายเทียบเท่ากัน

        ไม่ใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความสับสน อย่าง คำว่า ธรรมชาติ กับเพชรที่ปรับปรุงคุณภาพ อาทิ “เพชรปรับปรุงคุณภาพจากธรรมชาติ” (natural treated diamonds) และ “เพชรธรรมชาติปรับปรุงคุณภาพ” (treated natural diamond) ให้ใช้แค่ “เพชรปรับปรุงคุณภาพ” (treated diamond) เท่านั้น

ควรปฏิบัติตามแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชรในโอกาสใดบ้าง

        ผู้บริหารของ NAJ, AWDC, CIBJO, NDC, GJEPC, IDI, IDMA, RJC, WDC และ WFDB แนะนำให้ผู้ค้า หน่วยงาน และองค์กรทุกแห่งในภาคอุตสาหกรรม ปฏิบัติตามแนวทางนี้ในเอกสาร เว็บไซต์ และช่องทางการสื่อสารทั้งหมดที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการซื้อ ขาย และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเพชร เพชรสังเคราะห์ อัญมณ รายงานจากห้องปฏิบัติการอัญมณี เครื่องประดับเพชร และเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์

รู้หรือไม่

        ผู้ขายและผู้จัดหามีหน้าที่ต้องเปิดเผยลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ตนขายให้ชัดเจนและถูกต้อง ไม่ว่าจะมีผู้ขอข้อมูลนั้นหรือไม่ แนวทางที่ควรปฏิบัติคือต้องมีการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคก่อนการซื้อ เช่น แสดงข้อมูลบนเว็บไซต์พร้อมตัวผลิตภัณฑ์ รวมทั้งให้ข้อมูลผ่านคำพูดและการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรภายในร้าน

คำศัพท์ที่ยอมรับได้และมีคำจำกัดความชัดเจน

        อัญมณี เพชร คือแร่ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นคาร์บอนและมีผลึกเป็นโครงสร้างลูกบาศก์ไอโซเมตริก โดยมีความแข็งตามมาตราโมส์อยู่ที่ระดับ 10 ความโน้มถ่วงจำเพาะอยู่ที่ประมาณ 3.52 และค่าดัชนีหักเหอยู่ที่ประมาณ 2.42 เมื่อเกิดขึ้นตามธรรมชาติ คำว่าเพชรหมายความถึงเพชรธรรมชาติเท่านั้น

        อัญมณี เพชรสังเคราะห์ คือผลผลิตจากการประดิษฐ์ (เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น) และโดยหลักแล้วมีองค์ประกอบทางเคมี โครงสร้างผลึก และคุณสมบัติทางกายภาพ (รวมถึงคุณสมบัติทางแสง) เช่นเดียวกันกับเพชร

        เอัญมณีพชรเลียนแบบ คือผลิตภัณฑ์ (ธรรมชาติหรือประดิษฐ์) ที่เลียนแบบรูปลักษณ์ของเพชรแต่ไม่ได้มีองค์ประกอบทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ หรือโครงสร้างเช่นเดียวกับเพชร ตัวอย่างเช่น คิวบิกเซอร์โคเนีย มอยส์ซาไนต์ แซปไฟร์สีขาวใสหรือไร้สี และอิตเทรียมอะลูมิเนียมการ์เนต เพชรเลียนแบบยังอาจรวมถึงสิ่งที่ผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์หรืออัญมณชนิดอื่นแล้วเคลือบด้วยเพชรสังเคราะห์

สรุป

        คำว่าเพชรหมายถึงเพชรธรรมชาติโดยไม่ต้องขยายความ ดังนั้น การใช้คำว่าเพชรและเพชรสังเคราะห์จึงเพียงพอต่อการแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพชรทั้งสองประเภท และไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำว่า “ธรรมชาติ” มาขยายความอีก

คำเตือน

        ไม่ควรใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความสับสน เช่น “เพชรปรับปรุงคุณภาพจากธรรมชาติ” หรือ “เพชรธรรมชาติปรับปรุงคุณภาพ” ในกรณีนี้ให้ใช้ว่า “เพชรปรับปรุงคุณภาพ” ก็เพียงพอแล้ว แต่โปรดทราบด้วยว่ามีเพชรสังเคราะห์ที่ปรับปรุงคุณภาพอยู่ด้วยเช่นกัน

        ตัวอย่างคำที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ได้แก่ เพชรลูกผสมแท้ (real diamond hybrid) เพชรเลี้ยง (cultured diamond), เพชรวีแกน (vegan diamond), เพชร Type IIa, เพชร CVD, เพชร HPHT หรือเพชรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (eco-friendly diamond)

        ทั้งนี้ The United States Federal Trade Commission (FTC) ได้จัดทำแนวทางด้านคำศัพท์เกี่ยวกับเพชรที่แตกต่างจากนี้เล็กน้อย แต่แนวทางดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อเพชรที่ขายนอกสหรัฐอเมริกา


ข้อมูลอ้างอิง


1. “Diamond Terminology Guideline.” The National Association of Jewellers. (2020).
2. “The Diamond Terminology Guideline explained.” by Sam Lewis. Retrieved December 15, 2020 from https://www.professionaljeweller.com/feature-the-diamond-terminology-guideline-explained/.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site