ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Oct 27, 2021
2923 views
5 shares

            ท่ามกลางการแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดภาวะเร่งการเปลี่ยนแปลงขึ้นแก่ชีวิตประจำวัน ของทุกคน ทั้งการใช้ชีวิตแบบ New Normal หรือการเร่งเข้าสู่ Digital Age เร็วขึ้น นอกจากนี้ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้พลังงานรูปแบบใหม่ ผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอ โรคระบาด หรือปัญหาขยะและมลพิษ สิ่งเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อทั้งสังคมโลกและระบบเศรษฐกิจ แนวคิดการปรับสมดุลเพื่อสร้างความยั่งยืนจึงเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ 

แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

            แต่เดิมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการตอบสนองการบริโภคนั้น มีการใช้โครงสร้างเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) คือ การนำทรัพยากรมาใช้ให้ได้มากที่สุดเพื่อผลิตสินค้าและบริการให้ได้สูงสุด หรือการผลิต ใช้ แล้วทิ้ง (Make Use Dispose) ทำให้ของเหลือใช้และสินค้าที่ไม่ใช้แล้วถูกทิ้งเป็นขยะที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจแบบเส้นตรงจึงส่งผลกระทบต่อโลก ก่อให้เกิดปัญหาของเสียและมลพิษต่อโลกใบนี้ สิ่งเหล่านี้จึงนำมาสู่การทบทวนแนวคิดในการสร้างสมดุลด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดอัตราการเกิดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด ส่งเสริมให้มีการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติ ซึ่งแนวคิดนี้ตกผลึกกลายเป็นวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ วันที่ 25 สิงหาคม 2015 โดยมีตัวแทนจาก 193 ประเทศ ให้การรับรองเพื่อให้ประเทศต่างๆ นําไปปฏิบัติให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ไว้ 17 เป้าหมาย และกลายเป็นแนวทางร่วมกันของเกือบทุกประเทศทั่วโลกในการใช้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศ 

อุตสาหกรรมอัญมณี

            SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย ได้แก่ ขจัดความยากจน (SDG1) ขจัดความหิวโหย (SDG2) สุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี (SDG3) คุณภาพทางการศึกษา (SDG4) ความเท่าเทียมทางเพศ (SDG5) น้ำสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี (SDG6) พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน (SDG7) การงานที่เหมาะสมและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (SDG8) อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน (SDG9) ลดความเหลื่อมล้ำ (SDG10) เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (SDG11) การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG12) รับมือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (SDG13) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเล (SDG14) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศทางบก (SDG15) ส่งเสริมสันติภาพ ความยุติธรรม (SDG16) และความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (SDG17) ที่มา : https://www.npc-se.co.th

            จากเป้าหมายหลักทั้ง 17 ข้อ ดังกล่าว ทำให้แต่ละภาคส่วนทั้งระดับมหภาคและจุลภาคมีการนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของตน ตัวอย่างเช่น การสร้างเมืองสีเขียว (Green City) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสม เน้นการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน สร้างสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต โดยมีตัวอย่างเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา คือ 3 เมืองสีเขียวของโลกในปี 2021 (www.neutrinobursts.com)

            นโยบาย European Green Deal ของสหภาพยุโรปที่ครอบคลุมเป้าหมายทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็น 0 ภายในปี 2050 การเร่งจัดการปัญหาฟอกเขียว (Greenwashing) กับสินค้าติดฉลากสีเขียวที่จะต้องมีคุณสมบัติ “รักษ์โลก” อย่างแท้จริง การเน้นให้สินค้าใช้วัสดุที่สามารถซ่อมแซมได้ เพื่อแก้ไขวัฒนธรรมการใช้แล้วทิ้ง การปรับปรุงกฎหมายการออกแบบสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Design) กับสินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์ วัสดุพลาสติก เป็นต้น รวมทั้งเตรียมการจัดทำกฎหมายความรับผิดชอบต่อสังคม (Sustainable Corporate Governance) เพื่อควบคุมและตรวจสอบสินค้านำเข้าและผู้ผลิตให้มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่การผลิต 

            รวมถึงโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจด้วยองค์รวม 3 ประการ คือ B : Bio Economy คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า C : Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G : Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลก โดยโมเดลเศรษฐกิจนี้เป็นแนวคิดที่ประเทศไทยถือเป็นวาระแห่งชาติ ในการใช้เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ปี 2021-2026 เพื่อพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและบริการของท้องถิ่น

อุตสาหกรรมอัญมณี

         

แนวทางการนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

            ปัจจุบัน ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมทั้งการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) มาใช้กับการผลิตสินค้าและบริการในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน วัดปริมาณการใช้น้ำในการผลิตสินค้าและบริการ (Water Footprint) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม โดยแนวคิดดังกล่าวจะลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นภายในวัฏจักรของสินค้า ผลักดันให้มีการซ่อมแซม การฟื้นฟู การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การใช้ซ้ำ หรือแม้แต่การคิดใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการวัตถุดิบ ของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ตลอดทั้งวัฏจักรของสินค้าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้จะตอบตอบโจทย์ การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG 12) ของสหประชาชาติแล้ว ยังช่วยลดวัสดุเหลือใช้จากการผลิต ลดต้นทุน และสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 อัญมณีและอุตสาหกรรม

ภาพวัฏจักรในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จาก https://www.levinsources.com

            ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั้น มีการนำรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ตั้งแต่การออกแบบที่เป็นจุดตั้งต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ทั้งนี้ การออกแบบแบบดั้งเดิมมักคำนึงถึงความสวยงามของสินค้าและความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ทำให้ท้ายที่สุดเครื่องประดับเหล่านั้นจบลงด้วยวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการส่งต่อเป็นมรดกตกทอดหรือสามารถนำไปจำนำได้เท่านั้น หากแต่การออกแบบที่มีความยั่งยืน (Sustainable Design) นั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่การช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสินค้า เพราะเป็นการออกแบบที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าด้วยการลดการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปให้น้อยที่สุด คำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบที่มีความโปร่งใส เน้นการใช้เพชรพลอยจากแหล่งที่มีจริยธรรม มีกระบวนการผลิตที่เน้นควบคุมการสูญเสียทั้งด้านพลังงาน และการเกิดของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ให้น้อยที่สุด บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ และสินค้าขั้นสุดท้ายที่สามารถนำกลับมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบใหม่ได้ ซึ่งโลหะมีค่าที่ผ่านการรีไซเคิลปล่อยมลพิษน้อยกว่าการทำเหมืองโลหะมีค่าถึง 99% โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการเครื่องประดับแบรนด์ดังระดับโลกหลายรายที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางนี้


อัญมณีและเศรษฐกิจหมุนเวียนการออกแบบที่มีความยั่งยืนจะช่วยให้เครื่องประดับสามารถแปรรูป 

                         หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่โดยไม่เกิดความสูญเสียขึ้นในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับกับเศรษฐกิจหมุนเวียน         

        

อัญมณีและอุตสาหกรรมเครื่องประดับ


            แบรนด์เครื่องประดับคริสตัลชั้นนำของโลกจากออสเตรียรายนี้ มีแนวคิดการทำธุรกิจเพื่อส่วนรวมมาตั้งแต่ Daniel Swarovski ผู้ให้กำเนิดแบรนด์ เริ่มก่อตั้งโรงงานทำเครื่องประดับ ในเมือง Wattens ประเทศออสเตรีย ในปี 1895 เขาให้ความสำคัญกับคนรอบข้าง คนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง ช่างฝีมือ ไปจนถึงครอบครัวของคนเหล่านั้น เน้นการทำธุรกิจที่เป็นธรรมไม่กระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม กระทั่งเป็นหลัก 4P คือ

            People ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้วยการตั้งโรงเรียน Waterschool เพื่อส่งเสริมความรู้เด็กและเยาวชน รวมถึงครอบครัวของพวกเขาให้เรียนรู้ที่จะรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า การทำทรัพยากรน้ำให้สะอาด และกระบวนการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ 

            Planet จัดทำระบบวัดผลกระทบของการผลิตที่ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ เพื่อนำมาบริหารจัดการการใช้พลังงานให้คุ้มค่าและควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานให้มีน้อยที่สุด 

            Product ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ Swarovski เลือกใช้คริสตัลและอัญมณีสังเคราะห์ที่ไม่ก่อให้เกิดการทำลายธรรมชาติ

            Philanthropy มีการก่อตั้งมูลนิธิ Swarovski Foundation เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างความเท่าเทียมทางเพศ การพัฒนาการศึกษา ตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

            ซึ่งแนวทางของ Swarovski สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติในข้อความเท่าเทียมทางเพศ (SDG5) น้ำสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี (SDG6) การงานที่เหมาะสมและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (SDG8) การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG12) รับมือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (SDG13) และความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (SDG17)


 อัญมณีและอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

            แบรนด์เครื่องประดับชั้นนำระดับโลกจากเดนมาร์กที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก มีการกำหนดแนวนโยบายการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบมาตั้งแต่เริ่มธุรกิจในปี 1982  ซึ่งมีแนวทางใน 6 ประเด็นหลัก คือ 

  • การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็น 0 ภายในปี 2025 ครอบคลุมทั้งโรงงานผลิต ศูนย์กระจายสินค้า และร้านสาขา รวมทั้งมีการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงานผลิต 
  • อัญมณีที่ใช้ในการผลิตเลือกใช้เพชรสังเคราะห์ (Cubic Zirconia : CZ) และแก้วคริสตัลที่มนุษย์ผลิตขึ้นเป็นหลัก หากเป็นพลอยสีธรรมชาติจะคัดเลือกจากแหล่งที่ตรวจสอบได้ มีที่มาชัดเจน รวมทั้งทองคำและโลหะเงินที่ใช้ต้องได้มาตรฐานตามที่สมาคมตลาดทองคำแห่งลอนดอน (London Bullion Market Association : LBMA) กำหนดไว้ 
  • เพิ่มการใช้ทองคำและเงินรีไซเคิลเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยภายในปี 2025 เครื่องประดับของ PANDORA จะผลิตโดยใช้ทองคำและเงินที่รีไซเคิลเท่านั้น 
  • สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในองค์กร ไม่มีการแบ่งแยก ในการว่าจ้าง เลื่อนขั้น หรือให้รางวัล คำนึงถึงคุณสมบัติ คุณความดี และพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาของเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส ด้วยการให้ทุนช่วยเหลือโครงการของ UNICEF ที่ดำเนินโครงการทั้งในบุรุนดี จีน กัวเตมาลา เนปาล และเซอร์เบีย 
  • ให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs)

            โดยตามแนวทางของ PANDORA มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติในข้อขจัดความยากจน (SDG1) คุณภาพทางการศึกษา (SDG4) ความเท่าเทียมทางเพศ (SDG5) พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน (SDG7) การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG12) รับมือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (SDG13) และความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (SDG17)

            นอกจากแบรนด์ดังระดับโลกดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว แม้แต่เว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ยอดนิยมอย่าง Etsy ที่เน้นขายสินค้าทำด้วยมือ ก็เป็นอีกแหล่งใหญ่ที่วางขายเครื่องประดับที่ใช้วัสดุรีไซเคิล หรือเครื่องประดับที่ใช้แนวทางความยั่งยืน ซึ่งมีสินค้าในหมวดนี้อยู่นับหมื่นรายการ รวมทั้งยังเป็นเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์แห่งแรกที่ใช้มาตรการ Carbon Offset (การนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ไปหักลบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในธุรกิจ เพื่อทำให้การลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นให้เป็น 0) สำหรับการขนส่งสินค้าทุกชิ้นที่จำหน่ายในเว็บไซต์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 จำนวนผู้ซื้อใน Etsy เพิ่มขึ้นจาก 46.35 ล้านคน เป็น 81.9 ล้านคนในปี 2020 โดยมีข้อมูลว่ากว่า 60% ผู้ซื้อค้นหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใน Etsy 

อัญมณีและเครื่องประดับ

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ Etsy


            เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นแนวทางที่หลายประเทศทั่วโลกนำไปใช้และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่นำมาปรับใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจะทำให้ระบบนี้เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อสร้างความตระหนักรู้และปรับเปลี่ยนการบริโภคอย่างฟุ้งเฟ้อไปสู่การบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอและคงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน เพราะหากทรัพยากรในโลกหมดลง เราคงไม่สามารถหาโลกใบที่สองมาใช้แทนได้ ดังที่อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) บัน คี มูน เคยกล่าวเพื่อสร้างความตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรไว้ว่า “We don’t have plan B because there is no planet B”


ข้อมูลอ้างอิง


1) https://sdgs.un.org/goals.
2) https://pandoragroup.com/sustainability
3) https://www.swarovski.com/en-US/s-sustainability
4) https://www.statista.com/statistics/409375/etsy-active-buyers
5) The World’s 10 Greenest Cities of 2021. Retrieved July 1, 2021. From https://neutrinobursts.com
6) HOW CAN JEWELLERY BE CIRCULAR. Retrieved July 5, 2021. From https://www.levinsources.com
7) Expanding Our Sustainability Efforts. Retrieved July 15, 2021. From https://blog.etsy.com
8) เจาะยุทธศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถให้ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วย BCG Economy. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564 จาก www.salika.co/2021/05/03/bcg-economy-in-4-targets-industrial
9) เมื่อโลกต้องการโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ไทยจึงมี ‘BCG’ (Bio-Circular-Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติปี 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 จาก https://www.sdgmove.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Oct 27, 2021
2923 views
5 shares

            ท่ามกลางการแพร่ระบาดโควิด-19 ในปัจจุบัน ซึ่งก่อให้เกิดภาวะเร่งการเปลี่ยนแปลงขึ้นแก่ชีวิตประจำวัน ของทุกคน ทั้งการใช้ชีวิตแบบ New Normal หรือการเร่งเข้าสู่ Digital Age เร็วขึ้น นอกจากนี้ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้พลังงานรูปแบบใหม่ ผลผลิตทางการเกษตรไม่เพียงพอ โรคระบาด หรือปัญหาขยะและมลพิษ สิ่งเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อทั้งสังคมโลกและระบบเศรษฐกิจ แนวคิดการปรับสมดุลเพื่อสร้างความยั่งยืนจึงเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ 

แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

            แต่เดิมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการตอบสนองการบริโภคนั้น มีการใช้โครงสร้างเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) คือ การนำทรัพยากรมาใช้ให้ได้มากที่สุดเพื่อผลิตสินค้าและบริการให้ได้สูงสุด หรือการผลิต ใช้ แล้วทิ้ง (Make Use Dispose) ทำให้ของเหลือใช้และสินค้าที่ไม่ใช้แล้วถูกทิ้งเป็นขยะที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจแบบเส้นตรงจึงส่งผลกระทบต่อโลก ก่อให้เกิดปัญหาของเสียและมลพิษต่อโลกใบนี้ สิ่งเหล่านี้จึงนำมาสู่การทบทวนแนวคิดในการสร้างสมดุลด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ลดอัตราการเกิดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด ส่งเสริมให้มีการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาดเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคม เศรษฐกิจ และธรรมชาติ ซึ่งแนวคิดนี้ตกผลึกกลายเป็นวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ วันที่ 25 สิงหาคม 2015 โดยมีตัวแทนจาก 193 ประเทศ ให้การรับรองเพื่อให้ประเทศต่างๆ นําไปปฏิบัติให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ไว้ 17 เป้าหมาย และกลายเป็นแนวทางร่วมกันของเกือบทุกประเทศทั่วโลกในการใช้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศ 

อุตสาหกรรมอัญมณี

            SDGs ทั้ง 17 เป้าหมาย ได้แก่ ขจัดความยากจน (SDG1) ขจัดความหิวโหย (SDG2) สุขภาพความเป็นอยู่ที่ดี (SDG3) คุณภาพทางการศึกษา (SDG4) ความเท่าเทียมทางเพศ (SDG5) น้ำสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี (SDG6) พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน (SDG7) การงานที่เหมาะสมและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (SDG8) อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน (SDG9) ลดความเหลื่อมล้ำ (SDG10) เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (SDG11) การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG12) รับมือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (SDG13) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเล (SDG14) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ระบบนิเวศทางบก (SDG15) ส่งเสริมสันติภาพ ความยุติธรรม (SDG16) และความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (SDG17) ที่มา : https://www.npc-se.co.th

            จากเป้าหมายหลักทั้ง 17 ข้อ ดังกล่าว ทำให้แต่ละภาคส่วนทั้งระดับมหภาคและจุลภาคมีการนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของตน ตัวอย่างเช่น การสร้างเมืองสีเขียว (Green City) เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสม เน้นการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน สร้างสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ให้เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต โดยมีตัวอย่างเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา คือ 3 เมืองสีเขียวของโลกในปี 2021 (www.neutrinobursts.com)

            นโยบาย European Green Deal ของสหภาพยุโรปที่ครอบคลุมเป้าหมายทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็น 0 ภายในปี 2050 การเร่งจัดการปัญหาฟอกเขียว (Greenwashing) กับสินค้าติดฉลากสีเขียวที่จะต้องมีคุณสมบัติ “รักษ์โลก” อย่างแท้จริง การเน้นให้สินค้าใช้วัสดุที่สามารถซ่อมแซมได้ เพื่อแก้ไขวัฒนธรรมการใช้แล้วทิ้ง การปรับปรุงกฎหมายการออกแบบสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Design) กับสินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์ วัสดุพลาสติก เป็นต้น รวมทั้งเตรียมการจัดทำกฎหมายความรับผิดชอบต่อสังคม (Sustainable Corporate Governance) เพื่อควบคุมและตรวจสอบสินค้านำเข้าและผู้ผลิตให้มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่การผลิต 

            รวมถึงโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจด้วยองค์รวม 3 ประการ คือ B : Bio Economy คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า C : Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G : Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลก โดยโมเดลเศรษฐกิจนี้เป็นแนวคิดที่ประเทศไทยถือเป็นวาระแห่งชาติ ในการใช้เป็นยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ปี 2021-2026 เพื่อพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมในการผลิตสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและบริการของท้องถิ่น

อุตสาหกรรมอัญมณี

         

แนวทางการนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

            ปัจจุบัน ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) รวมทั้งการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) มาใช้กับการผลิตสินค้าและบริการในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน วัดปริมาณการใช้น้ำในการผลิตสินค้าและบริการ (Water Footprint) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม โดยแนวคิดดังกล่าวจะลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นภายในวัฏจักรของสินค้า ผลักดันให้มีการซ่อมแซม การฟื้นฟู การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ การใช้ซ้ำ หรือแม้แต่การคิดใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการวัตถุดิบ ของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ตลอดทั้งวัฏจักรของสินค้าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้จะตอบตอบโจทย์ การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG 12) ของสหประชาชาติแล้ว ยังช่วยลดวัสดุเหลือใช้จากการผลิต ลดต้นทุน และสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 อัญมณีและอุตสาหกรรม

ภาพวัฏจักรในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จาก https://www.levinsources.com

            ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั้น มีการนำรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ ตั้งแต่การออกแบบที่เป็นจุดตั้งต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ทั้งนี้ การออกแบบแบบดั้งเดิมมักคำนึงถึงความสวยงามของสินค้าและความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ทำให้ท้ายที่สุดเครื่องประดับเหล่านั้นจบลงด้วยวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการส่งต่อเป็นมรดกตกทอดหรือสามารถนำไปจำนำได้เท่านั้น หากแต่การออกแบบที่มีความยั่งยืน (Sustainable Design) นั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่การช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสินค้า เพราะเป็นการออกแบบที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าด้วยการลดการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปให้น้อยที่สุด คำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบที่มีความโปร่งใส เน้นการใช้เพชรพลอยจากแหล่งที่มีจริยธรรม มีกระบวนการผลิตที่เน้นควบคุมการสูญเสียทั้งด้านพลังงาน และการเกิดของเสียหรือวัสดุเหลือใช้ให้น้อยที่สุด บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ และสินค้าขั้นสุดท้ายที่สามารถนำกลับมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบใหม่ได้ ซึ่งโลหะมีค่าที่ผ่านการรีไซเคิลปล่อยมลพิษน้อยกว่าการทำเหมืองโลหะมีค่าถึง 99% โดยปัจจุบันมีผู้ประกอบการเครื่องประดับแบรนด์ดังระดับโลกหลายรายที่ดำเนินธุรกิจภายใต้แนวทางนี้


อัญมณีและเศรษฐกิจหมุนเวียนการออกแบบที่มีความยั่งยืนจะช่วยให้เครื่องประดับสามารถแปรรูป 

                         หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่โดยไม่เกิดความสูญเสียขึ้นในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับกับเศรษฐกิจหมุนเวียน         

        

อัญมณีและอุตสาหกรรมเครื่องประดับ


            แบรนด์เครื่องประดับคริสตัลชั้นนำของโลกจากออสเตรียรายนี้ มีแนวคิดการทำธุรกิจเพื่อส่วนรวมมาตั้งแต่ Daniel Swarovski ผู้ให้กำเนิดแบรนด์ เริ่มก่อตั้งโรงงานทำเครื่องประดับ ในเมือง Wattens ประเทศออสเตรีย ในปี 1895 เขาให้ความสำคัญกับคนรอบข้าง คนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง ช่างฝีมือ ไปจนถึงครอบครัวของคนเหล่านั้น เน้นการทำธุรกิจที่เป็นธรรมไม่กระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม กระทั่งเป็นหลัก 4P คือ

            People ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ด้วยการตั้งโรงเรียน Waterschool เพื่อส่งเสริมความรู้เด็กและเยาวชน รวมถึงครอบครัวของพวกเขาให้เรียนรู้ที่จะรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า การทำทรัพยากรน้ำให้สะอาด และกระบวนการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ 

            Planet จัดทำระบบวัดผลกระทบของการผลิตที่ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ เพื่อนำมาบริหารจัดการการใช้พลังงานให้คุ้มค่าและควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานให้มีน้อยที่สุด 

            Product ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ Swarovski เลือกใช้คริสตัลและอัญมณีสังเคราะห์ที่ไม่ก่อให้เกิดการทำลายธรรมชาติ

            Philanthropy มีการก่อตั้งมูลนิธิ Swarovski Foundation เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างความเท่าเทียมทางเพศ การพัฒนาการศึกษา ตลอดจนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

            ซึ่งแนวทางของ Swarovski สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติในข้อความเท่าเทียมทางเพศ (SDG5) น้ำสะอาดและสุขาภิบาลที่ดี (SDG6) การงานที่เหมาะสมและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (SDG8) การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG12) รับมือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (SDG13) และความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (SDG17)


 อัญมณีและอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

            แบรนด์เครื่องประดับชั้นนำระดับโลกจากเดนมาร์กที่ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก มีการกำหนดแนวนโยบายการทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและมีความรับผิดชอบมาตั้งแต่เริ่มธุรกิจในปี 1982  ซึ่งมีแนวทางใน 6 ประเด็นหลัก คือ 

  • การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็น 0 ภายในปี 2025 ครอบคลุมทั้งโรงงานผลิต ศูนย์กระจายสินค้า และร้านสาขา รวมทั้งมีการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงานผลิต 
  • อัญมณีที่ใช้ในการผลิตเลือกใช้เพชรสังเคราะห์ (Cubic Zirconia : CZ) และแก้วคริสตัลที่มนุษย์ผลิตขึ้นเป็นหลัก หากเป็นพลอยสีธรรมชาติจะคัดเลือกจากแหล่งที่ตรวจสอบได้ มีที่มาชัดเจน รวมทั้งทองคำและโลหะเงินที่ใช้ต้องได้มาตรฐานตามที่สมาคมตลาดทองคำแห่งลอนดอน (London Bullion Market Association : LBMA) กำหนดไว้ 
  • เพิ่มการใช้ทองคำและเงินรีไซเคิลเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยภายในปี 2025 เครื่องประดับของ PANDORA จะผลิตโดยใช้ทองคำและเงินที่รีไซเคิลเท่านั้น 
  • สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในองค์กร ไม่มีการแบ่งแยก ในการว่าจ้าง เลื่อนขั้น หรือให้รางวัล คำนึงถึงคุณสมบัติ คุณความดี และพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาของเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส ด้วยการให้ทุนช่วยเหลือโครงการของ UNICEF ที่ดำเนินโครงการทั้งในบุรุนดี จีน กัวเตมาลา เนปาล และเซอร์เบีย 
  • ให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs)

            โดยตามแนวทางของ PANDORA มีความสอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติในข้อขจัดความยากจน (SDG1) คุณภาพทางการศึกษา (SDG4) ความเท่าเทียมทางเพศ (SDG5) พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน (SDG7) การผลิตและการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (SDG12) รับมือความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (SDG13) และความร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (SDG17)

            นอกจากแบรนด์ดังระดับโลกดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว แม้แต่เว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ยอดนิยมอย่าง Etsy ที่เน้นขายสินค้าทำด้วยมือ ก็เป็นอีกแหล่งใหญ่ที่วางขายเครื่องประดับที่ใช้วัสดุรีไซเคิล หรือเครื่องประดับที่ใช้แนวทางความยั่งยืน ซึ่งมีสินค้าในหมวดนี้อยู่นับหมื่นรายการ รวมทั้งยังเป็นเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์แห่งแรกที่ใช้มาตรการ Carbon Offset (การนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ไปหักลบกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในธุรกิจ เพื่อทำให้การลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นให้เป็น 0) สำหรับการขนส่งสินค้าทุกชิ้นที่จำหน่ายในเว็บไซต์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 จำนวนผู้ซื้อใน Etsy เพิ่มขึ้นจาก 46.35 ล้านคน เป็น 81.9 ล้านคนในปี 2020 โดยมีข้อมูลว่ากว่า 60% ผู้ซื้อค้นหาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใน Etsy 

อัญมณีและเครื่องประดับ

ตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ซื้อขายออนไลน์ Etsy


            เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นแนวทางที่หลายประเทศทั่วโลกนำไปใช้และสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี บนพื้นฐานของการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่นำมาปรับใช้ตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจะทำให้ระบบนี้เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อสร้างความตระหนักรู้และปรับเปลี่ยนการบริโภคอย่างฟุ้งเฟ้อไปสู่การบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอและคงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน เพราะหากทรัพยากรในโลกหมดลง เราคงไม่สามารถหาโลกใบที่สองมาใช้แทนได้ ดังที่อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (UN) บัน คี มูน เคยกล่าวเพื่อสร้างความตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรไว้ว่า “We don’t have plan B because there is no planet B”


ข้อมูลอ้างอิง


1) https://sdgs.un.org/goals.
2) https://pandoragroup.com/sustainability
3) https://www.swarovski.com/en-US/s-sustainability
4) https://www.statista.com/statistics/409375/etsy-active-buyers
5) The World’s 10 Greenest Cities of 2021. Retrieved July 1, 2021. From https://neutrinobursts.com
6) HOW CAN JEWELLERY BE CIRCULAR. Retrieved July 5, 2021. From https://www.levinsources.com
7) Expanding Our Sustainability Efforts. Retrieved July 15, 2021. From https://blog.etsy.com
8) เจาะยุทธศาสตร์ เพิ่มขีดความสามารถให้ 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วย BCG Economy. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564 จาก www.salika.co/2021/05/03/bcg-economy-in-4-targets-industrial
9) เมื่อโลกต้องการโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ไทยจึงมี ‘BCG’ (Bio-Circular-Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติปี 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 จาก https://www.sdgmove.com

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970