ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมในอุตสาหกรรมอัญมณี

Dec 17, 2021
2459 views
0 share

นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 เป็นต้นมา การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทิ้งร่อยรอยความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีในหลายประเทศทั่วโลก ในขณะนี้สถานการณ์การระบาดก็ยังคงส่งผลกระทบทั้งต่ออุตสาหกรรมและตลาดค้าอัญมณีโดยเฉพาะพลอยสี

            อุปทานของพลอยก้อนชะลอตัวลงในปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยระงับการเดินทางไปยังเหมืองและศูนย์กลางการเจียระไนต่างๆ ผู้ประกอบการเหมืองจึงถูกบีบให้ลดปริมาณการผลิตลง เพราะไม่สามารถระบายพลอยที่มีอยู่ในสต็อกออกขายได้ สุดท้ายจึงทำให้ปริมาณวัตถุดิบอัญมณีที่เข้าสู่ตลาดเกิดการชะลอตัว

อัญมณีพลอยสี

ที่มาภาพ: www.elitetraveler.com/shopping-lifestyle/jewelry/best-ruby-jewelry-july

            ในอุตสาหกรรมพลอยสีการผลิตพลอยก้อนราวร้อยละ 80 มาจากผู้ประกอบการเหมืองท้องถิ่นและเหมืองขนาดเล็ก (ASM) ดังนั้นการชะลอตัวของวัตถุดิบเพราะการระบาดของโรคโควิด-19 จึงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พึ่งพาการทำเหมืองในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน

            ผลกระทบลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับศูนย์กลางการเจียระไนอัญมณีเช่นกัน เนื่องจากการขาดแคลนพลอยก้อน อีกทั้งยังมีข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผู้เดินทางเข้าไปยังประเทศแหล่งวัตถุดิบต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม

            ในด้านการค้าอัญมณี CIBJO ตระหนักถึงผลกระทบที่กล่าวมานี้เมื่อสังเกตเห็นว่าพลอยสีบางชนิดหายไปจากการผลิตเครื่องประดับอัญมณี ในที่สุดสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะนำไปสู่ความผันผวนของราคาอัญมณีอย่างไม่ต้องสงสัย

การระงับและการกลับมาของงานแสดงสินค้า

            งานแสดงสินค้านานาชาติส่วนใหญ่ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับถูกยกเลิกไปในช่วงปี 2020 มีเพียงไม่กี่งานเท่านั้นที่ยังมีการจัดขึ้น เช่น งาน VOICES Show โดย Italian Exhibition Group เมื่อเดือนกันยายน 2020 ซึ่งแม้จะยังคงดำเนินการจัดงานแต่ก็ลดขนาดลง

            เมื่อเดือนมิถุนายน 2021 งานแสดงสินค้าจำนวนหนึ่งกลับมาจัดอีกครั้ง แต่เนื่องจากกฎระเบียบของทางการและข้อกำหนดด้านสาธารณสุข ประกอบกับความไม่แน่นอนในการเดินทางระหว่างประเทศ และข้อบังคับเรื่องการกักตัวในบางประเทศ การจัดงานแสดงสินค้าส่วนใหญ่จึงมีข้อจำกัดทำให้มีเพียงลูกค้าภายในประเทศที่สามารถเข้าร่วมงานได้เท่านั้น

            งานสัปดาห์แสดงสินค้า JCK Las Vegas 2021 ในลาสเวกัสได้จัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2021 ซึ่งช้ากว่าช่วงเวลาเดิมที่เคยจัดเกือบสามเดือน เนื่องจากผู้ประกอบการที่จะแสดงสินค้าและผู้ซื้อต่างชาติจำนวนไม่น้อยไม่สามารถเดินทางเข้ามายังสหรัฐอเมริกาได้ และแม้บรรยากาศในงานโดยรวมจะมีความคึกคัก แต่มีลักษณะเหมือนงานแสดงสินค้าภายในประเทศเสียมากกว่า

            งาน AGTA GemFair Denver จัดขึ้นในรัฐโคโลราโดเมื่อเดือนกันยายน 2021 และ Italian Exhibition Group ได้จัดงาน VicenzaOra Show อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 แพร่ระบาด นับเป็นผู้จัดงานแสดงสินค้ารายแรกของยุโรปที่เปิดรับผู้ร่วมงานจากต่างประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่าพวกเขาต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว ส่วนงานแสดงสินค้า Hong Kong September Fair ก็ได้จัดขึ้นในเดือนกันยายน 2021 เช่นกัน แต่เพราะข้อบังคับเรื่องการกักตัว จึงทำให้แทบจะไม่มีผู้ประกอบการต่างชาติเข้าร่วมงานเลย

            สำหรับอัญมณี มีการกำหนดการจัดงานแสดงสินค้าสำคัญในยุโรปอีก 2 งาน นั่นคือ Mineralientage & Gem World ซึ่งจัดขึ้นในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2021 และงาน GemGenève Jewellery and Gem Show ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พร้อมๆ กับการเปิดงาน 2021 Virtual CIBJO Congress ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา

อัญมณีพลอยสี

ที่มาภาพ: www.chaumet.com/en/our-maison/craftsmanship/coloured-gemstones

ความท้าทายในการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม

            ในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาด ได้มีการกลับมาหารือเรื่องลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมอัญมณีกับการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาความยั่งยืนและจริยธรรมของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานานกว่า 3 ปีอีกครั้ง

           พลอยสีปริมาณมหาศาลได้มาจากเหมืองแบบ ASM ซึ่งส่งต่อวัตถุดิบผ่านเครือข่ายการค้าอันซับซ้อนที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี แม้ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีพลอยสีจะมีความเปราะบางทางโครงสร้างมากที่สุดในบรรดาภาคส่วนต่างๆ ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ แต่ก็มีคนจำนวนหลายล้านคนพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมนี้ คนเหล่านี้จำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ด้อยพัฒนาและยากจนที่สุดในโลก ดังนั้นผลจาก Economic Disruption (เศรษฐกิจที่มีการสะดุดหยุดชะงักแล้วเปลี่ยนรูปแบบอย่างพลิกผัน) ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 เดือนที่ผ่านมาอาจจะส่งผลกระทบร้ายแรงแก่กลุ่มคนเหล่านี้

            ในฐานะสมาชิกของกระบวนการค้าอัญมณี CIBJO ไม่ต้องการให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องความรับผิดชอบและความใส่ใจต่อสังคม มีหลายครั้งที่เรารู้สึกเสียกำลังใจกับข้อกล่าวหาว่าเราพยายามรักษาการดำเนินธุรกิจพลอยสีแบบดั้งเดิม เพราะความเข้าใจผิดคิดว่าเราไม่เต็มใจยอมรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องห่วงโซ่อุปทาน

            เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เราตระหนักดีว่ามีแรงกดดันจากผู้บริโภค ซึ่งได้รับข่าวสารจากสื่อมากขึ้นเรื่องผลกระทบของการทำเหมืองต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในท้องถิ่น เรารู้สึกยินดีที่ผู้บริโภคอยากรู้ว่าอัญมณีมาจากที่ไหนและได้มาจากแหล่งที่มีจริยธรรมหรือไม่

ความไม่เท่าเทียมกันในการแข่งขัน

            การหาวิธีตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ประชาสังคม หน่วยงานกำกับดูแล และผู้ค้าปลีกเครื่องประดับรายใหญ่ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่เผลอตัดกลุ่มผู้บริสุทธิ์กลุ่มใหญ่ในอุตสาหกรรมออกไป เป็นปัญหาที่ยากลำบากมาโดยตลอด ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดวัฒนธรรมการคว่ำบาตร (Cancel Culture) ในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

            ความยากลำบากในการประกาศใช้ข้อปฏิบัติเพื่อความโปร่งใสในการจัดการห่วงโซ่อุปทานมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น เพราะความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสทางการแข่งขัน แรงกดดันต่อการค้าพลอยสีนั้นมีอยู่ในประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้วอย่างแพร่หลายมากกว่า แม้ว่าจะไม่ใช่ในทุกประเทศก็ตาม หมายความว่าผู้ซื้อพลอยดิบที่มาจากประเทศตะวันตกจะประสบปัญหามากขึ้นในการเจรจาซื้อขายกับผู้จัดหาวัตถุดิบ ซึ่งรู้สึกว่าการซื้อขายกับผู้ซื้อจากประเทศอื่นๆ ในโลกนั้นง่ายกว่า

            นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการทุจริตคอรัปชัน ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันในหลายประเทศที่มีการทำเหมือง บ่อยครั้งแทบจะซื้อขายกันไม่ได้ และประเด็นใหม่ที่พบมากคือ ผู้ค้าท้องถิ่นมีแนวโน้มที่จะเรียกร้องให้ชำระเงินในรูปของบิตคอยน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมรูปแบบดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อ

ต้องใช้วิธีการที่แตกต่าง

            อัญมณีที่ยังไม่เจียระไนในอุตสาหกรรมเครื่องประดับล้วนอยู่ในมือของบริษัทใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ราย เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเพชรและโลหะมีค่าต่างๆ ดังนั้นการดำเนินการตามระบบตรวจสอบเช่นเดียวกับ Responsible Jewellery Council นั้นจึงทำได้ง่ายกว่ามาก

            แต่ในกรณีอุตสาหกรรมพลอยสีนั้น มีการทำเหมืองแบบอุตสาหกรรมไม่ถึงร้อยละ 20 และห่วงโซ่อุปทานกระจัดกระจาย ไม่เป็นกลุ่มก้อนมาช้านาน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบังคับให้นำแนวทางธุรกิจระบบใหม่มาใช้ สิ่งที่ผู้คนเข้าใจคือให้ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมทางธุรกิจแบบยึดที่มั่นซึ่งมีมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว 

            หาก CIBJO พยายามที่จะบังคับใช้ระบบที่ให้คุณค่าทางจริยธรรมโดยไม่นำคำนึงถึงมุมมองและความคิดเห็นของคนในพื้นที่ เราอาจจะถูกมองว่ากำลังใช้การบังคับเช่นเดียวกับยุคล่าอาณานิคม ซึ่งไม่เป็นผลดีมากนัก

อัญมณีพลอยดิบ

ที่มาภาพ: www.hempenjewellers.com/ coloured-stones/

            เราควรพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้การจัดหาวัตถุดิบของเราเป็นไปอย่างมีจริยธรรมมากที่สุด แต่ความซับซ้อนของการทำเหมืองพื้นบ้านนั้นทำให้เราต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมในแบบที่แตกต่างไปบ้าง

วิธีการแบบองค์รวมในการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม

            ความก้าวหน้าที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้จากการดำเนินโครงการต่างๆ ในพื้นที่ที่มีการทำเหมือง ซึ่งรวมถึงการพูดคุยกับชุมชนที่อาศัยในพื้นที่โดยไม่จำกัดอยู่แค่ผู้ทำเหมืองเท่านั้น โครงการดังกล่าวควรช่วยส่งเสริมพัฒนาประชาชนในพื้นที่ โดยให้โอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งจะมีความยั่งยืนแม้ในยามที่ทรัพยากรวัตถุดิบลดลง เหตุที่คนท้องถิ่นไม่ไว้ใจใคร เพราะพวกเขาได้รับรู้ถึงประสบการณ์อันขมขื่นของประชาชนในพื้นที่อื่น ซึ่งเมื่อทรัพยากรหมดไป คนที่เข้ามาหาผลประโยชน์ก็จากไปอย่างรวดเร็วพอๆ กับตอนที่เข้ามา

            ในการสร้างห่วงโซ่อุปทานอย่างมีจริยธรรมนั้น เราต้องมองอย่างรอบด้าน และเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภค เราต้องตอบสนองความคาดหวังของผู้ที่อยู่ปลายสุดของห่วงโซ่อุปทาน และชุมชนในศูนย์การเจียระไนพลอยสีด้วยเช่นกัน แนวทางชึ่งคำนึงถึงประชาชนท้องถิ่นอย่างเต็มที่เป็นสิ่งเดียวที่จะนำไปสู่โครงการการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนได้

            แต่เราไม่สามารถดูแลจัดการโครงการนี้จากระยะไกลได้ เราจึงต้องอาศัยผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ดังนั้นจึงต้องหาบุคลากรในเขตเหมืองที่มีความรู้ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างถ่องแท้ และสมัครใจที่จะอยู่ในพื้นที่เพื่อทำงานในระยะยาว

            แบบแผนในลักษณะดังกล่าวนี้มีอยู่บ้างแล้วในอุตสาหกรรมอัญมณี และเวลาจะพิสูจน์ว่าวิธีการนี้ประสบความสำเร็จเพียงใด

อัญมณีพลอยสี

ที่มาภาพ: www.gemsstore.shop

การรวบรวมข้อปฏิบัติสำหรับการเปิดเผยข้อมูล

            Coloured Stone Commission Steering Committee ได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไข Gemstone Blue Book เพื่อเตรียมการสำหรับ 2021 Virtual CIBJO Congress และกำลังจัดทำรายการอัญมณีใน Clause 8, Annex C ซึ่งแก้ไขโดยสมาชิกของ Gemmological Commission

            หลังจากที่มีการขอให้ Coloured Stone Commision รวบรวมข้อปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีระหว่างงาน CIBJO Congress ครั้งที่ผ่านมาเมื่อปี 2019 ขณะนี้ Blue Book แบ่งการเปิดเผยข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ

            ระดับแรก คือ General Disclosure ครอบคลุมถึงการปรับปรุงคุณภาพแบบดั้งเดิม เช่น การปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนในคอรันดัม และการแช่น้ำมันในมรกต สำหรับการเปิดเผยข้อมูลวิธีการเหล่านี้ในปัจจุบันยังสามารถใช้วิธีแจ้งข้อมูลโดยรวมได้ โดยการระบุข้อความ เช่น “แซปไฟร์โดยทั่วไปมักผ่านการเผา” หรือ “มรกตโดยทั่วไปมักจะมีการแช่น้ำมัน”

            ระดับสอง เป็นเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอื่นๆ ต้องใช้ Specific Disclosure และต้องบรรยายข้อมูลอย่างละเอียดให้ลูกค้าทราบในขณะที่ทำการขาย

            ระดับที่สาม ว่าด้วยการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งยังไม่สามารถตรวจหาได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน การปรับปรุงคุณภาพดังกล่าว เช่น Includse Heating ในอะความารีน และการฉายรังสีในทัวร์มาลีน เพื่อปรับปรุงสี การปรับปรุงคุณภาพดังกล่าวควรมีการเปิดเผยข้อมูล แต่เนื่องจากยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการที่มากพอ การระบุระดับในการเปิดเผยข้อมูลที่ต้องปฏิบัติตามจึงทำได้ยาก

            ปัจจุบันอุตสาหกรรมโดยรวมเห็นตรงกันว่า เราควรมีแนวปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลการปรับปรุงคุณภาพทั้งหมดเพียงหนึ่งเดียว และแนวปฏิบัติดังกล่าวควรมีรายละเอียดที่ระบุว่าแท้จริงแล้วอัญมณีนั้นๆ ได้รับการปรับปรุงคุณภาพใด ข้อปฏิบัตินี้ต้องนำไปใช้กับอัญมณีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอัญมณีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด รวมไปถึงอัญมณีที่มีมูลค่าสูงและอัญมณีขนาดเล็กสำหรับตกแต่งเครื่องประดับแฟชั่น

            เป้าหมายของเราคือให้ข้อมูลแก่ผู้ซื้ออย่างชัดเจนและถูกต้องมากที่สุด แต่ไม่บังคับใช้การเปิดเผยข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งจะกระทบต่อการค้าเครื่องประดับ

            อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือการไม่เพิ่มภาระให้กับผู้ค้ามากจนเกินไปด้วยการตรวจสอบที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะกับสินค้าราคาต่ำ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบอาจสูงกว่ามูลค่าของอัญมณี อาจเป็นเรื่องยากที่จะหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับทั้งตลาด ไม่ใช่แค่สินค้าระดับบน (High-end) ซึ่งปกติมักจะขายพลอยพร้อมกับใบรับรองจากห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีอยู่แล้ว


ที่มาภาพ: www.weddingtimesmagazine.com

            ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาร้านค้าเครื่องประดับบางรายก็เริ่มจัดทำระบบของตนเองในการเรียกชื่อการปรับปรุงคุณภาพที่ตนเองยอมรับ และตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ กับผู้จัดหาวัตถุดิบ โดยมาตรฐานดังกล่าวที่ใช้มักแตกต่างกัน ลักษณะเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงความยากลำบากในการกำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไปในการเปิดเผยข้อมูลอัญมณีทั้งหมดสำหรับผู้ค้าอัญมณี

            Coloured Stone Commission ได้จัดทำแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกได้อ้างอิงมาตรฐานและข้อบังคับ Blue Book แบบเรียลไทม์ ซึ่งจะสามารถใช้แอปพลิเคชันนี้ได้ในเร็วๆ นี้


ข้อมูลอ้างอิง


Cibjo. 2021. Cibjo Special Report 2021: Coloured Stone Special report. [Online]. Available at www.cibjo.org/wp-content/uploads/2021/11/CIBJO-Congress-Special-Report-Coloured-Stones-press-release-photo.png. (Retrieved November 8, 2021).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมในอุตสาหกรรมอัญมณี

Dec 17, 2021
2459 views
0 share

นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 เป็นต้นมา การระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทิ้งร่อยรอยความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีในหลายประเทศทั่วโลก ในขณะนี้สถานการณ์การระบาดก็ยังคงส่งผลกระทบทั้งต่ออุตสาหกรรมและตลาดค้าอัญมณีโดยเฉพาะพลอยสี

            อุปทานของพลอยก้อนชะลอตัวลงในปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยระงับการเดินทางไปยังเหมืองและศูนย์กลางการเจียระไนต่างๆ ผู้ประกอบการเหมืองจึงถูกบีบให้ลดปริมาณการผลิตลง เพราะไม่สามารถระบายพลอยที่มีอยู่ในสต็อกออกขายได้ สุดท้ายจึงทำให้ปริมาณวัตถุดิบอัญมณีที่เข้าสู่ตลาดเกิดการชะลอตัว

อัญมณีพลอยสี

ที่มาภาพ: www.elitetraveler.com/shopping-lifestyle/jewelry/best-ruby-jewelry-july

            ในอุตสาหกรรมพลอยสีการผลิตพลอยก้อนราวร้อยละ 80 มาจากผู้ประกอบการเหมืองท้องถิ่นและเหมืองขนาดเล็ก (ASM) ดังนั้นการชะลอตัวของวัตถุดิบเพราะการระบาดของโรคโควิด-19 จึงส่งผลกระทบอย่างหนักต่อประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พึ่งพาการทำเหมืองในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน

            ผลกระทบลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับศูนย์กลางการเจียระไนอัญมณีเช่นกัน เนื่องจากการขาดแคลนพลอยก้อน อีกทั้งยังมีข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผู้เดินทางเข้าไปยังประเทศแหล่งวัตถุดิบต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม

            ในด้านการค้าอัญมณี CIBJO ตระหนักถึงผลกระทบที่กล่าวมานี้เมื่อสังเกตเห็นว่าพลอยสีบางชนิดหายไปจากการผลิตเครื่องประดับอัญมณี ในที่สุดสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะนำไปสู่ความผันผวนของราคาอัญมณีอย่างไม่ต้องสงสัย

การระงับและการกลับมาของงานแสดงสินค้า

            งานแสดงสินค้านานาชาติส่วนใหญ่ที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับถูกยกเลิกไปในช่วงปี 2020 มีเพียงไม่กี่งานเท่านั้นที่ยังมีการจัดขึ้น เช่น งาน VOICES Show โดย Italian Exhibition Group เมื่อเดือนกันยายน 2020 ซึ่งแม้จะยังคงดำเนินการจัดงานแต่ก็ลดขนาดลง

            เมื่อเดือนมิถุนายน 2021 งานแสดงสินค้าจำนวนหนึ่งกลับมาจัดอีกครั้ง แต่เนื่องจากกฎระเบียบของทางการและข้อกำหนดด้านสาธารณสุข ประกอบกับความไม่แน่นอนในการเดินทางระหว่างประเทศ และข้อบังคับเรื่องการกักตัวในบางประเทศ การจัดงานแสดงสินค้าส่วนใหญ่จึงมีข้อจำกัดทำให้มีเพียงลูกค้าภายในประเทศที่สามารถเข้าร่วมงานได้เท่านั้น

            งานสัปดาห์แสดงสินค้า JCK Las Vegas 2021 ในลาสเวกัสได้จัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2021 ซึ่งช้ากว่าช่วงเวลาเดิมที่เคยจัดเกือบสามเดือน เนื่องจากผู้ประกอบการที่จะแสดงสินค้าและผู้ซื้อต่างชาติจำนวนไม่น้อยไม่สามารถเดินทางเข้ามายังสหรัฐอเมริกาได้ และแม้บรรยากาศในงานโดยรวมจะมีความคึกคัก แต่มีลักษณะเหมือนงานแสดงสินค้าภายในประเทศเสียมากกว่า

            งาน AGTA GemFair Denver จัดขึ้นในรัฐโคโลราโดเมื่อเดือนกันยายน 2021 และ Italian Exhibition Group ได้จัดงาน VicenzaOra Show อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 แพร่ระบาด นับเป็นผู้จัดงานแสดงสินค้ารายแรกของยุโรปที่เปิดรับผู้ร่วมงานจากต่างประเทศ โดยมีเงื่อนไขว่าพวกเขาต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว ส่วนงานแสดงสินค้า Hong Kong September Fair ก็ได้จัดขึ้นในเดือนกันยายน 2021 เช่นกัน แต่เพราะข้อบังคับเรื่องการกักตัว จึงทำให้แทบจะไม่มีผู้ประกอบการต่างชาติเข้าร่วมงานเลย

            สำหรับอัญมณี มีการกำหนดการจัดงานแสดงสินค้าสำคัญในยุโรปอีก 2 งาน นั่นคือ Mineralientage & Gem World ซึ่งจัดขึ้นในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2021 และงาน GemGenève Jewellery and Gem Show ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พร้อมๆ กับการเปิดงาน 2021 Virtual CIBJO Congress ในเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา

อัญมณีพลอยสี

ที่มาภาพ: www.chaumet.com/en/our-maison/craftsmanship/coloured-gemstones

ความท้าทายในการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม

            ในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาด ได้มีการกลับมาหารือเรื่องลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมอัญมณีกับการดำเนินมาตรการเพื่อรักษาความยั่งยืนและจริยธรรมของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมานานกว่า 3 ปีอีกครั้ง

           พลอยสีปริมาณมหาศาลได้มาจากเหมืองแบบ ASM ซึ่งส่งต่อวัตถุดิบผ่านเครือข่ายการค้าอันซับซ้อนที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายร้อยปี แม้ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีพลอยสีจะมีความเปราะบางทางโครงสร้างมากที่สุดในบรรดาภาคส่วนต่างๆ ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ แต่ก็มีคนจำนวนหลายล้านคนพึ่งพารายได้จากอุตสาหกรรมนี้ คนเหล่านี้จำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ด้อยพัฒนาและยากจนที่สุดในโลก ดังนั้นผลจาก Economic Disruption (เศรษฐกิจที่มีการสะดุดหยุดชะงักแล้วเปลี่ยนรูปแบบอย่างพลิกผัน) ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 เดือนที่ผ่านมาอาจจะส่งผลกระทบร้ายแรงแก่กลุ่มคนเหล่านี้

            ในฐานะสมาชิกของกระบวนการค้าอัญมณี CIBJO ไม่ต้องการให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องความรับผิดชอบและความใส่ใจต่อสังคม มีหลายครั้งที่เรารู้สึกเสียกำลังใจกับข้อกล่าวหาว่าเราพยายามรักษาการดำเนินธุรกิจพลอยสีแบบดั้งเดิม เพราะความเข้าใจผิดคิดว่าเราไม่เต็มใจยอมรับการปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องห่วงโซ่อุปทาน

            เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เราตระหนักดีว่ามีแรงกดดันจากผู้บริโภค ซึ่งได้รับข่าวสารจากสื่อมากขึ้นเรื่องผลกระทบของการทำเหมืองต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในท้องถิ่น เรารู้สึกยินดีที่ผู้บริโภคอยากรู้ว่าอัญมณีมาจากที่ไหนและได้มาจากแหล่งที่มีจริยธรรมหรือไม่

ความไม่เท่าเทียมกันในการแข่งขัน

            การหาวิธีตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ประชาสังคม หน่วยงานกำกับดูแล และผู้ค้าปลีกเครื่องประดับรายใหญ่ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่เผลอตัดกลุ่มผู้บริสุทธิ์กลุ่มใหญ่ในอุตสาหกรรมออกไป เป็นปัญหาที่ยากลำบากมาโดยตลอด ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดวัฒนธรรมการคว่ำบาตร (Cancel Culture) ในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

            ความยากลำบากในการประกาศใช้ข้อปฏิบัติเพื่อความโปร่งใสในการจัดการห่วงโซ่อุปทานมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น เพราะความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสทางการแข่งขัน แรงกดดันต่อการค้าพลอยสีนั้นมีอยู่ในประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้วอย่างแพร่หลายมากกว่า แม้ว่าจะไม่ใช่ในทุกประเทศก็ตาม หมายความว่าผู้ซื้อพลอยดิบที่มาจากประเทศตะวันตกจะประสบปัญหามากขึ้นในการเจรจาซื้อขายกับผู้จัดหาวัตถุดิบ ซึ่งรู้สึกว่าการซื้อขายกับผู้ซื้อจากประเทศอื่นๆ ในโลกนั้นง่ายกว่า

            นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการทุจริตคอรัปชัน ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันในหลายประเทศที่มีการทำเหมือง บ่อยครั้งแทบจะซื้อขายกันไม่ได้ และประเด็นใหม่ที่พบมากคือ ผู้ค้าท้องถิ่นมีแนวโน้มที่จะเรียกร้องให้ชำระเงินในรูปของบิตคอยน์เพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมรูปแบบดังกล่าวเป็นไปโดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อ

ต้องใช้วิธีการที่แตกต่าง

            อัญมณีที่ยังไม่เจียระไนในอุตสาหกรรมเครื่องประดับล้วนอยู่ในมือของบริษัทใหญ่ๆ เพียงไม่กี่ราย เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมเพชรและโลหะมีค่าต่างๆ ดังนั้นการดำเนินการตามระบบตรวจสอบเช่นเดียวกับ Responsible Jewellery Council นั้นจึงทำได้ง่ายกว่ามาก

            แต่ในกรณีอุตสาหกรรมพลอยสีนั้น มีการทำเหมืองแบบอุตสาหกรรมไม่ถึงร้อยละ 20 และห่วงโซ่อุปทานกระจัดกระจาย ไม่เป็นกลุ่มก้อนมาช้านาน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบังคับให้นำแนวทางธุรกิจระบบใหม่มาใช้ สิ่งที่ผู้คนเข้าใจคือให้ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมทางธุรกิจแบบยึดที่มั่นซึ่งมีมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว 

            หาก CIBJO พยายามที่จะบังคับใช้ระบบที่ให้คุณค่าทางจริยธรรมโดยไม่นำคำนึงถึงมุมมองและความคิดเห็นของคนในพื้นที่ เราอาจจะถูกมองว่ากำลังใช้การบังคับเช่นเดียวกับยุคล่าอาณานิคม ซึ่งไม่เป็นผลดีมากนัก

อัญมณีพลอยดิบ

ที่มาภาพ: www.hempenjewellers.com/ coloured-stones/

            เราควรพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้การจัดหาวัตถุดิบของเราเป็นไปอย่างมีจริยธรรมมากที่สุด แต่ความซับซ้อนของการทำเหมืองพื้นบ้านนั้นทำให้เราต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมในแบบที่แตกต่างไปบ้าง

วิธีการแบบองค์รวมในการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรม

            ความก้าวหน้าที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้จากการดำเนินโครงการต่างๆ ในพื้นที่ที่มีการทำเหมือง ซึ่งรวมถึงการพูดคุยกับชุมชนที่อาศัยในพื้นที่โดยไม่จำกัดอยู่แค่ผู้ทำเหมืองเท่านั้น โครงการดังกล่าวควรช่วยส่งเสริมพัฒนาประชาชนในพื้นที่ โดยให้โอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งจะมีความยั่งยืนแม้ในยามที่ทรัพยากรวัตถุดิบลดลง เหตุที่คนท้องถิ่นไม่ไว้ใจใคร เพราะพวกเขาได้รับรู้ถึงประสบการณ์อันขมขื่นของประชาชนในพื้นที่อื่น ซึ่งเมื่อทรัพยากรหมดไป คนที่เข้ามาหาผลประโยชน์ก็จากไปอย่างรวดเร็วพอๆ กับตอนที่เข้ามา

            ในการสร้างห่วงโซ่อุปทานอย่างมีจริยธรรมนั้น เราต้องมองอย่างรอบด้าน และเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภค เราต้องตอบสนองความคาดหวังของผู้ที่อยู่ปลายสุดของห่วงโซ่อุปทาน และชุมชนในศูนย์การเจียระไนพลอยสีด้วยเช่นกัน แนวทางชึ่งคำนึงถึงประชาชนท้องถิ่นอย่างเต็มที่เป็นสิ่งเดียวที่จะนำไปสู่โครงการการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนได้

            แต่เราไม่สามารถดูแลจัดการโครงการนี้จากระยะไกลได้ เราจึงต้องอาศัยผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ดังนั้นจึงต้องหาบุคลากรในเขตเหมืองที่มีความรู้ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างถ่องแท้ และสมัครใจที่จะอยู่ในพื้นที่เพื่อทำงานในระยะยาว

            แบบแผนในลักษณะดังกล่าวนี้มีอยู่บ้างแล้วในอุตสาหกรรมอัญมณี และเวลาจะพิสูจน์ว่าวิธีการนี้ประสบความสำเร็จเพียงใด

อัญมณีพลอยสี

ที่มาภาพ: www.gemsstore.shop

การรวบรวมข้อปฏิบัติสำหรับการเปิดเผยข้อมูล

            Coloured Stone Commission Steering Committee ได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไข Gemstone Blue Book เพื่อเตรียมการสำหรับ 2021 Virtual CIBJO Congress และกำลังจัดทำรายการอัญมณีใน Clause 8, Annex C ซึ่งแก้ไขโดยสมาชิกของ Gemmological Commission

            หลังจากที่มีการขอให้ Coloured Stone Commision รวบรวมข้อปฏิบัติการเปิดเผยข้อมูลการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีระหว่างงาน CIBJO Congress ครั้งที่ผ่านมาเมื่อปี 2019 ขณะนี้ Blue Book แบ่งการเปิดเผยข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ

            ระดับแรก คือ General Disclosure ครอบคลุมถึงการปรับปรุงคุณภาพแบบดั้งเดิม เช่น การปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนในคอรันดัม และการแช่น้ำมันในมรกต สำหรับการเปิดเผยข้อมูลวิธีการเหล่านี้ในปัจจุบันยังสามารถใช้วิธีแจ้งข้อมูลโดยรวมได้ โดยการระบุข้อความ เช่น “แซปไฟร์โดยทั่วไปมักผ่านการเผา” หรือ “มรกตโดยทั่วไปมักจะมีการแช่น้ำมัน”

            ระดับสอง เป็นเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอื่นๆ ต้องใช้ Specific Disclosure และต้องบรรยายข้อมูลอย่างละเอียดให้ลูกค้าทราบในขณะที่ทำการขาย

            ระดับที่สาม ว่าด้วยการปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งยังไม่สามารถตรวจหาได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน การปรับปรุงคุณภาพดังกล่าว เช่น Includse Heating ในอะความารีน และการฉายรังสีในทัวร์มาลีน เพื่อปรับปรุงสี การปรับปรุงคุณภาพดังกล่าวควรมีการเปิดเผยข้อมูล แต่เนื่องจากยังไม่มีกระบวนการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการที่มากพอ การระบุระดับในการเปิดเผยข้อมูลที่ต้องปฏิบัติตามจึงทำได้ยาก

            ปัจจุบันอุตสาหกรรมโดยรวมเห็นตรงกันว่า เราควรมีแนวปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลการปรับปรุงคุณภาพทั้งหมดเพียงหนึ่งเดียว และแนวปฏิบัติดังกล่าวควรมีรายละเอียดที่ระบุว่าแท้จริงแล้วอัญมณีนั้นๆ ได้รับการปรับปรุงคุณภาพใด ข้อปฏิบัตินี้ต้องนำไปใช้กับอัญมณีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอัญมณีขนาดใหญ่หรือเล็กเพียงใด รวมไปถึงอัญมณีที่มีมูลค่าสูงและอัญมณีขนาดเล็กสำหรับตกแต่งเครื่องประดับแฟชั่น

            เป้าหมายของเราคือให้ข้อมูลแก่ผู้ซื้ออย่างชัดเจนและถูกต้องมากที่สุด แต่ไม่บังคับใช้การเปิดเผยข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งจะกระทบต่อการค้าเครื่องประดับ

            อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือการไม่เพิ่มภาระให้กับผู้ค้ามากจนเกินไปด้วยการตรวจสอบที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะกับสินค้าราคาต่ำ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบอาจสูงกว่ามูลค่าของอัญมณี อาจเป็นเรื่องยากที่จะหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับทั้งตลาด ไม่ใช่แค่สินค้าระดับบน (High-end) ซึ่งปกติมักจะขายพลอยพร้อมกับใบรับรองจากห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีอยู่แล้ว


ที่มาภาพ: www.weddingtimesmagazine.com

            ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาร้านค้าเครื่องประดับบางรายก็เริ่มจัดทำระบบของตนเองในการเรียกชื่อการปรับปรุงคุณภาพที่ตนเองยอมรับ และตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ กับผู้จัดหาวัตถุดิบ โดยมาตรฐานดังกล่าวที่ใช้มักแตกต่างกัน ลักษณะเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงความยากลำบากในการกำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไปในการเปิดเผยข้อมูลอัญมณีทั้งหมดสำหรับผู้ค้าอัญมณี

            Coloured Stone Commission ได้จัดทำแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ซึ่งจะช่วยให้สมาชิกได้อ้างอิงมาตรฐานและข้อบังคับ Blue Book แบบเรียลไทม์ ซึ่งจะสามารถใช้แอปพลิเคชันนี้ได้ในเร็วๆ นี้


ข้อมูลอ้างอิง


Cibjo. 2021. Cibjo Special Report 2021: Coloured Stone Special report. [Online]. Available at www.cibjo.org/wp-content/uploads/2021/11/CIBJO-Congress-Special-Report-Coloured-Stones-press-release-photo.png. (Retrieved November 8, 2021).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970