ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

กระแสการเติบโตของ Functional Jewelry เครื่องประดับผสานเทคโนโลยี

Aug 10, 2022
5274 views
5 shares

            เครื่องประดับที่มีรูปแบบและจุดประสงค์ในการใช้งานที่หลากหลาย (Functional Jewelry) กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น เครื่องประดับเหล่านี้มีตั้งแต่เครื่องประดับตกแต่งร่างกายไปจนถึงสินค้าเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ (Wearable Technology) ซึ่งผสมผสานความงามและประโยชน์ใช้สอยเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นสินค้านำเทรนด์ที่เน้นดีไซน์อันทันสมัยตามกระแสแฟชั่นและสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันตามวิถีชีวิตรูปแบบใหม่

            Maia Adams ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านข้อมูลเชิงลึกในตลาดเครื่องประดับ Adorn Insight ให้ความเห็นว่า “ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจเครื่องประดับที่มีบทบาทด้านความงาม รวมถึงบทบาทรองในแง่การทำงานหรือตอบสนองจุดประสงค์อื่นนอกจากการประดับร่างกายเพียงอย่างเดียว”


Functional Jewelry กระแสมาแรง

            ท่ามกลางการเว้นระยะห่างทางสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในหลายมิติ รวมถึงสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งๆ ด้วย โดยในแวดวงเครื่องประดับนั้น ประโยชน์ใช้สอยของสินค้ากำลังเป็นกระแสมาแรงในขณะที่ผู้บริโภคยังคงมองหาเครื่องประดับหรืออุปกรณ์ตกแต่งร่างกายที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ในยุควิถีชีวิตใหม่ และการรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเครื่องประดับได้นำเสนอประโยชน์ใช้สอยผ่านมุมมองใหม่ด้วยการสร้างเครื่องประดับหน้ากากดีไซน์ทันสมัยขึ้นมา ขณะเดียวกันหลายแบรนด์เครื่องประดับหันมานำเสนอสายคล้องหน้ากากกันโควิด-19 กันมากขึ้น ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับแว่นกันแดดหรือใส่เป็นสร้อยคอหรือสร้อยข้อมือได้ด้วย

            เครื่องประดับที่มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลายหรือ Functional Jewelry จึงมีแนวคิดในการออกแบบ 2 แนวทางที่เกิดขึ้นคู่ขนานกันคือ การใส่ความเป็นเครื่องประดับลงไปในอุปกรณ์เพื่อการใช้งานซึ่งยังคงมีประโยชน์ใช้สอยเช่นเดิม และการออกแบบโดยอาศัยพื้นฐานจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เดิมอีกต่อไปแล้วและนำมาใช้เป็นเครื่องประดับเพื่อการตกแต่งร่างกาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตประจำวันทั้งในแง่สุขภาพ การสื่อสาร และประสิทธิภาพการทำงาน 

            นอกจากนี้ Functional Jewelry ยังรวมถึงชิ้นงานที่ปรับรูปแบบได้และนำมาใส่ได้หลายวิธี ซึ่งผู้ซื้อสามารถนำเครื่องประดับไปสวมใส่ได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น พาดลำตัวหรือติดไว้กับเข็มขัดและโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ที่หู ข้อมือ หรือคอเท่านั้น อาทิ เครื่องประดับเพชรคุณภาพสูงของแบรนด์ Boucheron คอลเลกชัน “Ruban Diamants” ซึ่งนำมาใช้เป็นสร้อยข้อมือ เข็มขัด หรือสร้อยคอก็ได้

            ในธุรกิจเครื่องประดับกระแสนี้มีมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผู้คนหันมาทำงานที่บ้านและประชุมสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ต่างหูจึงกลายเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หลายแบรนด์ต่างออกแบบคอลเลกชันต่างหูที่สามารถสวมใส่และใช้ประโยชน์ในการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นผลงานของนักออกแบบเครื่องประดับอย่าง Delfina Delettrez และ Suhani Parekh ที่ก้าวเข้าสู่ตลาดสินค้าเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ ด้วยการนำ AirPod มาประดับอัญมณีและสายสร้อยเพื่อสร้างต่างหูที่คล้องหูฟังนี้เอาไว้


AirPod Jewelry ของดีไซเนอร์ Delfina Delettrez และ Suhani Parekh


            ดีไซเนอร์ชาวเดนมาร์ก Vibe Harsløf ออกแบบเครื่องประดับชุบทอง 18 กะรัตสวมครอบบนหูฟัง AirPod เพื่อเพิ่มลูกเล่นและความน่าสนใจ โดยอิงกระแสแฟชั่นและเน้นรูปลักษณ์ความสวยงาม 


AirPod Jewelry ของดีไซเนอร์ Vibe Harsløf

            ฉะนั้น เห็นได้ว่าเทคโนโลยีได้สอดประสานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนยุคใหม่ที่มองหาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของความงามและประโยชน์ใช้สอยท่ามกลางโลกดิจิทัลที่รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง รูปแบบวิถีชีวิตใหม่ๆ ตลอดจนวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเมือง เครื่องประดับที่เพิ่มฟังก์ชันการทำงานด้านเทคโนโลยีจึงช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี

            ตัวอย่างเช่น นักออกแบบเครื่องประดับจากนิวยอร์ก Brent Neale Winston ได้สร้างสรรค์จี้ “Secret Keeper” ซึ่งมีรูปทรงยาวคล้ายท่อและทำหน้าที่เก็บบันทึกหรือเก็บความลับต่างๆ ได้ด้วย

            ขณะเดียวกันเครื่องประดับไข่มุกแบบคลาสสิกก็ได้รับการดัดแปลงด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ไข่มุกได้ทำหน้าที่เป็นล็อกเก็ตดิจิทัลและเครื่องเก็บความทรงจำอันมีค่าใน Momento PearlTM by Galatea: Jewelry by Artist และ Memotime Collection โดย Gyso Pearls & Jewellery Ltd นวัตกรรมไข่มุกทั้งสองรูปแบบนี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารระยะใกล้ (NFC) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถบันทึกเสียง ภาพถ่าย วิดีโอ และไฟล์ หรือแม้กระทั่งเล่นเกมหรือเปิดเพลงได้ เพราะไข่มุกแต่ละเม็ดมีเอกลักษณ์เฉพาะ การเพิ่มฟังก์ชันการทำงานด้านเทคโนโลยีให้สามารถเก็บความทรงจำและข้อความไว้ในนั้นยิ่งทำให้เครื่องประดับมีคุณค่าและมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น


เครื่องประดับไข่มุก Momento PearlTM by Galatea

            นอกจากนี้ เครื่องประดับที่ผสมผสานอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มเติมฟังก์ชันต่างๆ หรือที่เรียกว่า ‘Smart Jewelry’ ซึ่งสามารถแสดงผลการแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟนและติดตามข้อมูลด้านสุขภาพ หรือพัฒนาดีไซน์ผสานการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็มีการออกแบบวางจำหน่ายเข้าสู่ตลาดกันมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่องประดับชุด Leaf Urban ของ Bellabeat เป็นจี้รูปใบไม้ที่ประดับด้วยเงินหรือสเตนเลสสตีลชุบทองสีกุหลาบ ที่สามารถใส่เป็นสร้อยข้อมือหรือสร้อยคอก็ได้ ซึ่งผสานอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ช่วยติดตามกิจกรรมประจำวันของผู้สวมใส่ เช่น จำนวนก้าวเดิน การเผาผลาญแคลอรี รูปแบบการนอน และสุขอนามัยการเจริญพันธุ์

เครื่องประดับชุด Leaf Urban ของ Bellabeat

            เนื่องจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ในตลาดได้รับการออกแบบมาไม่ดีนักและขาดความงาม นักออกแบบจึงเปลี่ยนทัศนคติในการออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่โดยคำนึงถึงแง่มุมทางวัฒนธรรม สังคม และจริยธรรม รวมทั้งผสมผสานจุดประสงค์ในการใช้งานและความงามเข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องประดับผสานเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถสวมใส่ได้ง่ายทั้งในแง่ขนาดและน้ำหนัก มีความทนทาน และเหมาะสมในการใช้งานได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เครื่องประดับ “Quietude” โดยนักออกแบบ Patrizia Marti ซึ่งดีไซน์เครื่องประดับที่ช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินรับรู้เสียงได้ 

เครื่องประดับ “Quietude” ของดีไซเนอร์ Patrizia Marti

            Leah Heiss นักออกแบบและนักวิจัยที่ RMIT University ในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ดีไซน์เข็มกลัดที่วัดความเหงาได้ด้วยการตรวจว่าผู้ใช้มีการพูดบ่อยครั้งเพียงใดเพื่อรับมือกับความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งช่วยในการจัดการกับภาวะเรื้อรังทางสุขภาพ เพิ่มความสามารถในการบำบัดอาการป่วยหรือติดตามสุขภาวะของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ โดยเน้นความสำคัญของการออกแบบในการสร้างสมดุลระหว่างความงามและประโยชน์ใช้สอยด้านการบำบัดซึ่งช่วยให้เครื่องประดับมีความหมายต่อผู้ใส่มากยิ่งขึ้น

เข็มกลัดวัดความเหงาของดีไซเนอร์ Leah Heiss

            ขณะที่ธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับก็เข้ามาร่วมกระแส Functional Jewelry ด้วยการออกแบบเครื่องประดับเพื่อการสวมใส่อย่างเช่น บริษัท Acer ผลิตลูกประคำ ส่วนบริษัทน้ำหอมจากฝรั่งเศส Diptyque ก็ได้เปิดตัวสร้อยข้อมือชาร์มที่มีกลิ่นหอม

โอกาสทางธุรกิจ

            Functional Jewelry เครื่องประดับที่ปรับเปลี่ยนได้และใช้งานได้หลากหลายไปจนถึงการผสมผสานกับอุปกรณ์เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนความงามในรูปแบบ ‘ความเก๋ไก๋ที่มีประโยชน์’ โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ผสมผสานอุปกรณ์เทคโนโลยีอาจเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างยอดขายจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ชาวมิลเลนเนียลไปจนถึงคนรุ่น Gen Z ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและใช้จ่ายกับอุปกรณ์เทคโนโลยีมากกว่าแต่ก่อน โดยคาดการณ์ว่ากลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z จะกลายเป็นผู้บริโภคสินค้าหรูหราในสัดส่วนถึงร้อยละ 45 ของตลาดโลกภายในปี 2025 อีกทั้งสินค้าหมวดนี้ไม่ขึ้นอยู่กับเพศและวัย โดยเป็นเครื่องประดับที่ไม่ระบุเพศ (Gender Neutral Jewelry) จึงได้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขับเคลื่อนแนวคิดเรื่องความเป็นกลางทางเพศอีกด้วย

            ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Adorn Insight ระบุว่า การผสานเทคโนโลยีเพื่อการใช้งานและเทคโนโลยีดิจิทัลลงในเครื่องประดับร่วมสมัยช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคหนุ่มสาว และในหมู่ผู้ซื้อที่เป็นผู้ใหญ่หรือมีอายุ 30-50 ปี นอกจากนี้ก็ยังมีผู้บริโภคที่สนใจแฟชั่นและคุ้นเคยกับเทคโนโลยีในวัย 50 ปีขึ้นไปอีกเป็นจำนวนมาก 

            ขณะเดียวกันผู้บริโภคยังมองหาสินค้าหรูหรารูปแบบใหม่ๆ ที่เหมาะกับทุกเพศ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และมีความหมายในตัวเอง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ชอบความทันสมัย อาทิ คนหนุ่มสาวในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน นิยมใส่เครื่องประดับตกแต่งเสริมฟังก์ชันเพื่อการใช้งาน เช่น สร้อยเข็มขัดประดับชาร์ม สายคล้องโทรศัพท์และแว่นกันแดด กระเป๋าใบจิ๋วประดับอัญมณีในรูปแบบของสร้อยคอ สร้อยข้อมือ เข็มขัด และเครื่องประดับพาดลำตัว ฉะนั้น กระแสเครื่องประดับเพื่อการใช้งานนั้นจึงไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี

            อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะผสานเครื่องประดับเพื่อการใช้งานเข้ากับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นมีอยู่มากมาย เพราะเทคโนโลยีจะช่วยเสริมคุณค่าของเครื่องประดับ และยกระดับจากอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่ไปเป็นสิ่งที่เติมเต็มอารมณ์ความรู้สึกของผู้สวมใส่ อาทิ อุปกรณ์ด้านสุขภาพ เห็นได้จากกระแสความสนใจด้านการตรวจวัดข้อมูลของตนเองและการให้บริการสุขภาพที่ตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคล เครื่องประดับเพื่อการใช้งานจึงมีศักยภาพในการให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้เกี่ยวกับการปรับปรุงสุขภาวะให้ดียิ่งขึ้น เพราะเครื่องประดับที่ผสานเทคโนโลยีช่วยให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ผลิต/บริษัทเครื่องประดับมีความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้นด้วย 

            ด้วยศักยภาพทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นของ Functional Jewelry เครื่องประดับเพื่อการใช้งานสามารถดึงดูดผู้ซื้อได้หลากหลายขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยเฉพาะด้าน และได้รับการพัฒนาเพื่อการสวมใส่ในชีวิตประจำวันให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กระแสนี้จะยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความซับซ้อนมากขึ้น และน่าจะกลายเป็นกระแสหลักในแวดวงธุรกิจเครื่องประดับ โดยเริ่มมีการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะผสานเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning ผนวกรวมเข้ากับเครื่องประดับประเภทนี้ ขณะที่อุปกรณ์เทคโนโลยีกำลังลดขนาดลงและแบ่งเป็นส่วนๆ มากขึ้น จึงช่วยให้ผู้ผลิตเครื่องประดับสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้เครื่องประดับได้โดยไม่ต้องแลกกับการสูญเสียความงามไป และช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตนำเสนอมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งในอนาคตอาจมีการร่วมงานกันมากขึ้นระหว่างบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่กับแบรนด์เครื่องประดับชั้นนำเพื่อนำความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายมาผสานเข้าด้วยกัน เพราะการผสานกับโลกดิจิทัลเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับคนยุคอนาคต 


ผู้เขียน: นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)



ข้อมูลอ้างอิง


1) Imore. 2022. Best Smart Jewelry 2022. [Online]. Available at: https://www.imore.com/best-smart-jewelry-high-tech-rings-necklaces-and-more. (Retrieved March 22, 2022)
2) Solitaire. 2021. Will ‘Smart Jewellery’ Stand The Test Of Time?. [Online]. Available at: https://gjepc.org/solitaire/will-smart-jewellery-stand-the-test-of-time/. (Retrieved March 22, 2022)
3) Tech Times. 2021. The Future of the Jewellery Industry: Trends & Insights. [Online]. Available at: https://www.techtimes.com/articles/258853/20210407/the-future-of-the-jewellery-industry-trends-insights.htm. (Retrieved March 1, 2022)
4) JNA. 2021. The rise of functional jewellery. [Online]. Available at: https://www.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24266. (Retrieved June 23, 2021)
5) Couple Lab. 2021. What is functional jewelry; different functional kind of jewelry. [Online]. Available at: https://couplelab.com.sg/what-is-functional-jewelry-different-functional-kind-of-jewelry/. (Retrieved March 1, 2022)
6) Bustle. 2017. 9 Multi-Functional Jewelry Pieces That Will Amaze You. [Online]. Available at: https://www.bustle.com/p/9-multi-functional-jewelry-pieces-that-do-more-than-just-spruce-up-your-outfit-38603. (Retrieved March 1, 2022)

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

กระแสการเติบโตของ Functional Jewelry เครื่องประดับผสานเทคโนโลยี

Aug 10, 2022
5274 views
5 shares

            เครื่องประดับที่มีรูปแบบและจุดประสงค์ในการใช้งานที่หลากหลาย (Functional Jewelry) กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น เครื่องประดับเหล่านี้มีตั้งแต่เครื่องประดับตกแต่งร่างกายไปจนถึงสินค้าเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ (Wearable Technology) ซึ่งผสมผสานความงามและประโยชน์ใช้สอยเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นสินค้านำเทรนด์ที่เน้นดีไซน์อันทันสมัยตามกระแสแฟชั่นและสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันตามวิถีชีวิตรูปแบบใหม่

            Maia Adams ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านข้อมูลเชิงลึกในตลาดเครื่องประดับ Adorn Insight ให้ความเห็นว่า “ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจเครื่องประดับที่มีบทบาทด้านความงาม รวมถึงบทบาทรองในแง่การทำงานหรือตอบสนองจุดประสงค์อื่นนอกจากการประดับร่างกายเพียงอย่างเดียว”


Functional Jewelry กระแสมาแรง

            ท่ามกลางการเว้นระยะห่างทางสังคมจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในหลายมิติ รวมถึงสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจากผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งๆ ด้วย โดยในแวดวงเครื่องประดับนั้น ประโยชน์ใช้สอยของสินค้ากำลังเป็นกระแสมาแรงในขณะที่ผู้บริโภคยังคงมองหาเครื่องประดับหรืออุปกรณ์ตกแต่งร่างกายที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ในยุควิถีชีวิตใหม่ และการรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตเครื่องประดับได้นำเสนอประโยชน์ใช้สอยผ่านมุมมองใหม่ด้วยการสร้างเครื่องประดับหน้ากากดีไซน์ทันสมัยขึ้นมา ขณะเดียวกันหลายแบรนด์เครื่องประดับหันมานำเสนอสายคล้องหน้ากากกันโควิด-19 กันมากขึ้น ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับแว่นกันแดดหรือใส่เป็นสร้อยคอหรือสร้อยข้อมือได้ด้วย

            เครื่องประดับที่มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลายหรือ Functional Jewelry จึงมีแนวคิดในการออกแบบ 2 แนวทางที่เกิดขึ้นคู่ขนานกันคือ การใส่ความเป็นเครื่องประดับลงไปในอุปกรณ์เพื่อการใช้งานซึ่งยังคงมีประโยชน์ใช้สอยเช่นเดิม และการออกแบบโดยอาศัยพื้นฐานจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่เดิมอีกต่อไปแล้วและนำมาใช้เป็นเครื่องประดับเพื่อการตกแต่งร่างกาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับการใช้ชีวิตประจำวันทั้งในแง่สุขภาพ การสื่อสาร และประสิทธิภาพการทำงาน 

            นอกจากนี้ Functional Jewelry ยังรวมถึงชิ้นงานที่ปรับรูปแบบได้และนำมาใส่ได้หลายวิธี ซึ่งผู้ซื้อสามารถนำเครื่องประดับไปสวมใส่ได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น เช่น พาดลำตัวหรือติดไว้กับเข็มขัดและโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ที่หู ข้อมือ หรือคอเท่านั้น อาทิ เครื่องประดับเพชรคุณภาพสูงของแบรนด์ Boucheron คอลเลกชัน “Ruban Diamants” ซึ่งนำมาใช้เป็นสร้อยข้อมือ เข็มขัด หรือสร้อยคอก็ได้

            ในธุรกิจเครื่องประดับกระแสนี้มีมาอย่างต่อเนื่อง หากแต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผู้คนหันมาทำงานที่บ้านและประชุมสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ต่างหูจึงกลายเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หลายแบรนด์ต่างออกแบบคอลเลกชันต่างหูที่สามารถสวมใส่และใช้ประโยชน์ในการทำงานได้ ไม่ว่าจะเป็นผลงานของนักออกแบบเครื่องประดับอย่าง Delfina Delettrez และ Suhani Parekh ที่ก้าวเข้าสู่ตลาดสินค้าเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ ด้วยการนำ AirPod มาประดับอัญมณีและสายสร้อยเพื่อสร้างต่างหูที่คล้องหูฟังนี้เอาไว้


AirPod Jewelry ของดีไซเนอร์ Delfina Delettrez และ Suhani Parekh


            ดีไซเนอร์ชาวเดนมาร์ก Vibe Harsløf ออกแบบเครื่องประดับชุบทอง 18 กะรัตสวมครอบบนหูฟัง AirPod เพื่อเพิ่มลูกเล่นและความน่าสนใจ โดยอิงกระแสแฟชั่นและเน้นรูปลักษณ์ความสวยงาม 


AirPod Jewelry ของดีไซเนอร์ Vibe Harsløf

            ฉะนั้น เห็นได้ว่าเทคโนโลยีได้สอดประสานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนยุคใหม่ที่มองหาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของความงามและประโยชน์ใช้สอยท่ามกลางโลกดิจิทัลที่รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง รูปแบบวิถีชีวิตใหม่ๆ ตลอดจนวิกฤติทางเศรษฐกิจและการเมือง เครื่องประดับที่เพิ่มฟังก์ชันการทำงานด้านเทคโนโลยีจึงช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี

            ตัวอย่างเช่น นักออกแบบเครื่องประดับจากนิวยอร์ก Brent Neale Winston ได้สร้างสรรค์จี้ “Secret Keeper” ซึ่งมีรูปทรงยาวคล้ายท่อและทำหน้าที่เก็บบันทึกหรือเก็บความลับต่างๆ ได้ด้วย

            ขณะเดียวกันเครื่องประดับไข่มุกแบบคลาสสิกก็ได้รับการดัดแปลงด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ไข่มุกได้ทำหน้าที่เป็นล็อกเก็ตดิจิทัลและเครื่องเก็บความทรงจำอันมีค่าใน Momento PearlTM by Galatea: Jewelry by Artist และ Memotime Collection โดย Gyso Pearls & Jewellery Ltd นวัตกรรมไข่มุกทั้งสองรูปแบบนี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารระยะใกล้ (NFC) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถบันทึกเสียง ภาพถ่าย วิดีโอ และไฟล์ หรือแม้กระทั่งเล่นเกมหรือเปิดเพลงได้ เพราะไข่มุกแต่ละเม็ดมีเอกลักษณ์เฉพาะ การเพิ่มฟังก์ชันการทำงานด้านเทคโนโลยีให้สามารถเก็บความทรงจำและข้อความไว้ในนั้นยิ่งทำให้เครื่องประดับมีคุณค่าและมีมูลค่ามากยิ่งขึ้น


เครื่องประดับไข่มุก Momento PearlTM by Galatea

            นอกจากนี้ เครื่องประดับที่ผสมผสานอุปกรณ์เทคโนโลยีเพิ่มเติมฟังก์ชันต่างๆ หรือที่เรียกว่า ‘Smart Jewelry’ ซึ่งสามารถแสดงผลการแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟนและติดตามข้อมูลด้านสุขภาพ หรือพัฒนาดีไซน์ผสานการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็มีการออกแบบวางจำหน่ายเข้าสู่ตลาดกันมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เครื่องประดับชุด Leaf Urban ของ Bellabeat เป็นจี้รูปใบไม้ที่ประดับด้วยเงินหรือสเตนเลสสตีลชุบทองสีกุหลาบ ที่สามารถใส่เป็นสร้อยข้อมือหรือสร้อยคอก็ได้ ซึ่งผสานอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่ช่วยติดตามกิจกรรมประจำวันของผู้สวมใส่ เช่น จำนวนก้าวเดิน การเผาผลาญแคลอรี รูปแบบการนอน และสุขอนามัยการเจริญพันธุ์

เครื่องประดับชุด Leaf Urban ของ Bellabeat

            เนื่องจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ส่วนใหญ่ในตลาดได้รับการออกแบบมาไม่ดีนักและขาดความงาม นักออกแบบจึงเปลี่ยนทัศนคติในการออกแบบอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่โดยคำนึงถึงแง่มุมทางวัฒนธรรม สังคม และจริยธรรม รวมทั้งผสมผสานจุดประสงค์ในการใช้งานและความงามเข้าด้วยกัน ทำให้เครื่องประดับผสานเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถสวมใส่ได้ง่ายทั้งในแง่ขนาดและน้ำหนัก มีความทนทาน และเหมาะสมในการใช้งานได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เครื่องประดับ “Quietude” โดยนักออกแบบ Patrizia Marti ซึ่งดีไซน์เครื่องประดับที่ช่วยให้ผู้พิการทางการได้ยินรับรู้เสียงได้ 

เครื่องประดับ “Quietude” ของดีไซเนอร์ Patrizia Marti

            Leah Heiss นักออกแบบและนักวิจัยที่ RMIT University ในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ดีไซน์เข็มกลัดที่วัดความเหงาได้ด้วยการตรวจว่าผู้ใช้มีการพูดบ่อยครั้งเพียงใดเพื่อรับมือกับความรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งช่วยในการจัดการกับภาวะเรื้อรังทางสุขภาพ เพิ่มความสามารถในการบำบัดอาการป่วยหรือติดตามสุขภาวะของผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ โดยเน้นความสำคัญของการออกแบบในการสร้างสมดุลระหว่างความงามและประโยชน์ใช้สอยด้านการบำบัดซึ่งช่วยให้เครื่องประดับมีความหมายต่อผู้ใส่มากยิ่งขึ้น

เข็มกลัดวัดความเหงาของดีไซเนอร์ Leah Heiss

            ขณะที่ธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับก็เข้ามาร่วมกระแส Functional Jewelry ด้วยการออกแบบเครื่องประดับเพื่อการสวมใส่อย่างเช่น บริษัท Acer ผลิตลูกประคำ ส่วนบริษัทน้ำหอมจากฝรั่งเศส Diptyque ก็ได้เปิดตัวสร้อยข้อมือชาร์มที่มีกลิ่นหอม

โอกาสทางธุรกิจ

            Functional Jewelry เครื่องประดับที่ปรับเปลี่ยนได้และใช้งานได้หลากหลายไปจนถึงการผสมผสานกับอุปกรณ์เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนความงามในรูปแบบ ‘ความเก๋ไก๋ที่มีประโยชน์’ โดยเฉพาะเครื่องประดับที่ผสมผสานอุปกรณ์เทคโนโลยีอาจเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างยอดขายจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ชาวมิลเลนเนียลไปจนถึงคนรุ่น Gen Z ที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและใช้จ่ายกับอุปกรณ์เทคโนโลยีมากกว่าแต่ก่อน โดยคาดการณ์ว่ากลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z จะกลายเป็นผู้บริโภคสินค้าหรูหราในสัดส่วนถึงร้อยละ 45 ของตลาดโลกภายในปี 2025 อีกทั้งสินค้าหมวดนี้ไม่ขึ้นอยู่กับเพศและวัย โดยเป็นเครื่องประดับที่ไม่ระบุเพศ (Gender Neutral Jewelry) จึงได้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขับเคลื่อนแนวคิดเรื่องความเป็นกลางทางเพศอีกด้วย

            ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Adorn Insight ระบุว่า การผสานเทคโนโลยีเพื่อการใช้งานและเทคโนโลยีดิจิทัลลงในเครื่องประดับร่วมสมัยช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคหนุ่มสาว และในหมู่ผู้ซื้อที่เป็นผู้ใหญ่หรือมีอายุ 30-50 ปี นอกจากนี้ก็ยังมีผู้บริโภคที่สนใจแฟชั่นและคุ้นเคยกับเทคโนโลยีในวัย 50 ปีขึ้นไปอีกเป็นจำนวนมาก 

            ขณะเดียวกันผู้บริโภคยังมองหาสินค้าหรูหรารูปแบบใหม่ๆ ที่เหมาะกับทุกเพศ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และมีความหมายในตัวเอง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ชอบความทันสมัย อาทิ คนหนุ่มสาวในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน นิยมใส่เครื่องประดับตกแต่งเสริมฟังก์ชันเพื่อการใช้งาน เช่น สร้อยเข็มขัดประดับชาร์ม สายคล้องโทรศัพท์และแว่นกันแดด กระเป๋าใบจิ๋วประดับอัญมณีในรูปแบบของสร้อยคอ สร้อยข้อมือ เข็มขัด และเครื่องประดับพาดลำตัว ฉะนั้น กระแสเครื่องประดับเพื่อการใช้งานนั้นจึงไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี

            อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะผสานเครื่องประดับเพื่อการใช้งานเข้ากับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นมีอยู่มากมาย เพราะเทคโนโลยีจะช่วยเสริมคุณค่าของเครื่องประดับ และยกระดับจากอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่ไปเป็นสิ่งที่เติมเต็มอารมณ์ความรู้สึกของผู้สวมใส่ อาทิ อุปกรณ์ด้านสุขภาพ เห็นได้จากกระแสความสนใจด้านการตรวจวัดข้อมูลของตนเองและการให้บริการสุขภาพที่ตรงตามความต้องการเฉพาะบุคคล เครื่องประดับเพื่อการใช้งานจึงมีศักยภาพในการให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้เกี่ยวกับการปรับปรุงสุขภาวะให้ดียิ่งขึ้น เพราะเครื่องประดับที่ผสานเทคโนโลยีช่วยให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ผลิต/บริษัทเครื่องประดับมีความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ได้ดียิ่งขึ้นด้วย 

            ด้วยศักยภาพทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นของ Functional Jewelry เครื่องประดับเพื่อการใช้งานสามารถดึงดูดผู้ซื้อได้หลากหลายขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยเฉพาะด้าน และได้รับการพัฒนาเพื่อการสวมใส่ในชีวิตประจำวันให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้กระแสนี้จะยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความซับซ้อนมากขึ้น และน่าจะกลายเป็นกระแสหลักในแวดวงธุรกิจเครื่องประดับ โดยเริ่มมีการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะผสานเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning ผนวกรวมเข้ากับเครื่องประดับประเภทนี้ ขณะที่อุปกรณ์เทคโนโลยีกำลังลดขนาดลงและแบ่งเป็นส่วนๆ มากขึ้น จึงช่วยให้ผู้ผลิตเครื่องประดับสามารถเพิ่มประโยชน์ใช้สอยให้เครื่องประดับได้โดยไม่ต้องแลกกับการสูญเสียความงามไป และช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตนำเสนอมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งในอนาคตอาจมีการร่วมงานกันมากขึ้นระหว่างบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่กับแบรนด์เครื่องประดับชั้นนำเพื่อนำความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่ายมาผสานเข้าด้วยกัน เพราะการผสานกับโลกดิจิทัลเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับคนยุคอนาคต 


ผู้เขียน: นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)



ข้อมูลอ้างอิง


1) Imore. 2022. Best Smart Jewelry 2022. [Online]. Available at: https://www.imore.com/best-smart-jewelry-high-tech-rings-necklaces-and-more. (Retrieved March 22, 2022)
2) Solitaire. 2021. Will ‘Smart Jewellery’ Stand The Test Of Time?. [Online]. Available at: https://gjepc.org/solitaire/will-smart-jewellery-stand-the-test-of-time/. (Retrieved March 22, 2022)
3) Tech Times. 2021. The Future of the Jewellery Industry: Trends & Insights. [Online]. Available at: https://www.techtimes.com/articles/258853/20210407/the-future-of-the-jewellery-industry-trends-insights.htm. (Retrieved March 1, 2022)
4) JNA. 2021. The rise of functional jewellery. [Online]. Available at: https://www.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24266. (Retrieved June 23, 2021)
5) Couple Lab. 2021. What is functional jewelry; different functional kind of jewelry. [Online]. Available at: https://couplelab.com.sg/what-is-functional-jewelry-different-functional-kind-of-jewelry/. (Retrieved March 1, 2022)
6) Bustle. 2017. 9 Multi-Functional Jewelry Pieces That Will Amaze You. [Online]. Available at: https://www.bustle.com/p/9-multi-functional-jewelry-pieces-that-do-more-than-just-spruce-up-your-outfit-38603. (Retrieved March 1, 2022)

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site