ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เฮมาไทต์ อัญมณีแห่งเลือด

Oct 31, 2022
11811 views
7 shares

            “เฮมาไทต์” (Hematite) คือชื่อของแร่ชนิดหนึ่งที่มีเนื้อแน่นทึบแสง มีความแข็งระดับ 6.5 ตามโมห์สเกล มีความวาวคล้ายโลหะ (Metallic Luster) สีเทา-ดำ แต่เมื่อถูกบดเป็นผงหรือตัดแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กๆ กลับมีสีแดงเข้มอย่างน่าประหลาด ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อแร่ชนิดนี้ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า Heama แปลว่า โลหิต 

ผลึกเฮมาไทต์

ภาพจาก: Pinterest

            แร่ชนิดนี้เป็นที่รู้จักและถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหมู่มนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยมีหลักฐานจากการค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งได้รับการตรวจสอบและยืนยันแล้วว่าสีที่ใช้มีส่วนผสมของแร่เฮมาไทต์ นอกจากนี้ ยังพบได้จากภาพวาดและอักษรเฮียโรกลิฟฟิก (Hieroglyphic)* ซึ่งอยู่ตามผนังวิหารและภายในพิระมิดของอียิปต์อีกด้วย

เฮมาไทต์กับความเชื่อ

            นอกจากจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว เฮมาไทต์ยังมีสัมพันธ์กับวัฒนธรรม อารยธรรมและความเชื่อต่างๆ มากมายหลายยุคหลายสมัย ว่ากันว่าในยุครุ่งเรืองของนครบาบิโลน (ราว 1800 - 540 ปีก่อนคริสตกาล) นักรบของเมืองนี้จะพกเฮมาไทต์ไว้กับตัวเพื่อเป็นเครื่องรางที่จะนำความแข็งแกร่ง กล้าหาญ และพละกำลัง 

            ในยุคกลาง (ราว ค.ศ.5 – ค.ศ.15) เฮมาไทต์มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องรางนำโชคให้แก่เกษตรกร พวกเขาเชื่อว่ามันจะช่วยให้พืชผลทางการเกษตรเจริญงอกงามนำมาซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

            นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าเฮมาไทต์มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับเลือด เช่น ความดันโลหิต ช่วยห้ามเลือดและสมานบาดแผล ป้องกันอาการตกเลือดในสตรีจากการคลอดบุตร อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูร่างกายภายหลังจากการผ่าตัด เป็นต้น 


กำไลข้อมือทำจากทอง 18 กะรัตตกแต่งด้วยเฮมาไทต์รูปหัวเสือ

เครื่องประดับโดย: Cartier


เฮมาไทต์กับเครื่องประดับ

การนำเฮมาไทต์มาใช้ในชิ้นงานการออกแบบเครื่องประดับไม่ใช่เรื่องใหม่ ด้วยมันคือหนึ่งในอัญมณีที่ได้รับความนิยมนำมาแกะสลักเป็นเครื่องประดับคามิโอ (Cameo) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงในยุควิกตอเรีย

เข็มกลัดคามิโอแกะจากเฮมาไทต์

ภาพจาก: Pinterest


สร้อยคอทองคำ 18 กะรัตตกแต่งด้วยเพชรและเฮมาไทต์

เครื่องประดับโดย: Bvlgari


กระดุมข้อมือทองคำ 18 กะรัต ตกแต่งด้วยเฮมาไทต์

เครื่องประดับโดย: Tiffany & Co.

            สำหรับในประเทศไทยนั้นชื่อของเฮมาไทต์อาจไม่คุ้นหูเท่าใดนัก หากแต่มันเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในวงการเครื่องประดับสากลเป็นอย่างดี เพราะนอกจากระดับราคาที่จับต้องได้แล้ว สีดำยังเป็นสีที่ไม่เคยตกยุคไปจากวงการแฟชั่น นอกจากนี้ มันยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเครื่องประดับของคุณสุภาพบุรุษ อาทิ กระดุมข้อมือ (Cufflink) หรือเข็มกลัดติดเนคไท เป็นต้น


ข้อมูลอ้างอิง


*Hieroglyphic คือ อักษรภาพของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์เชื่อว่าอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนี้คือจารึกอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของพระวัจนะแห่งพระเจ้า
-------------------------------------------------------------
1. Jewels for Me. Hematite Meaning, Powers and History. Retrieved 20 September 2020 from https://www.jewelsforme.com/gem_and_jewelry_library/hematite
2. Sotheby’s. (10 September 2018). The A-Z of Jewelry: H is for Haematite. Retrieved 20 September 2020 from https://www.sothebys.com/en/articles/the-a-z-of-jewelry-h-is-for-haematite

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เฮมาไทต์ อัญมณีแห่งเลือด

Oct 31, 2022
11811 views
7 shares

            “เฮมาไทต์” (Hematite) คือชื่อของแร่ชนิดหนึ่งที่มีเนื้อแน่นทึบแสง มีความแข็งระดับ 6.5 ตามโมห์สเกล มีความวาวคล้ายโลหะ (Metallic Luster) สีเทา-ดำ แต่เมื่อถูกบดเป็นผงหรือตัดแบ่งออกเป็นชิ้นเล็กๆ กลับมีสีแดงเข้มอย่างน่าประหลาด ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของชื่อแร่ชนิดนี้ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า Heama แปลว่า โลหิต 

ผลึกเฮมาไทต์

ภาพจาก: Pinterest

            แร่ชนิดนี้เป็นที่รู้จักและถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหมู่มนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยมีหลักฐานจากการค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งได้รับการตรวจสอบและยืนยันแล้วว่าสีที่ใช้มีส่วนผสมของแร่เฮมาไทต์ นอกจากนี้ ยังพบได้จากภาพวาดและอักษรเฮียโรกลิฟฟิก (Hieroglyphic)* ซึ่งอยู่ตามผนังวิหารและภายในพิระมิดของอียิปต์อีกด้วย

เฮมาไทต์กับความเชื่อ

            นอกจากจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้ว เฮมาไทต์ยังมีสัมพันธ์กับวัฒนธรรม อารยธรรมและความเชื่อต่างๆ มากมายหลายยุคหลายสมัย ว่ากันว่าในยุครุ่งเรืองของนครบาบิโลน (ราว 1800 - 540 ปีก่อนคริสตกาล) นักรบของเมืองนี้จะพกเฮมาไทต์ไว้กับตัวเพื่อเป็นเครื่องรางที่จะนำความแข็งแกร่ง กล้าหาญ และพละกำลัง 

            ในยุคกลาง (ราว ค.ศ.5 – ค.ศ.15) เฮมาไทต์มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องรางนำโชคให้แก่เกษตรกร พวกเขาเชื่อว่ามันจะช่วยให้พืชผลทางการเกษตรเจริญงอกงามนำมาซึ่งผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

            นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่าเฮมาไทต์มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคโดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับเลือด เช่น ความดันโลหิต ช่วยห้ามเลือดและสมานบาดแผล ป้องกันอาการตกเลือดในสตรีจากการคลอดบุตร อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูร่างกายภายหลังจากการผ่าตัด เป็นต้น 


กำไลข้อมือทำจากทอง 18 กะรัตตกแต่งด้วยเฮมาไทต์รูปหัวเสือ

เครื่องประดับโดย: Cartier


เฮมาไทต์กับเครื่องประดับ

การนำเฮมาไทต์มาใช้ในชิ้นงานการออกแบบเครื่องประดับไม่ใช่เรื่องใหม่ ด้วยมันคือหนึ่งในอัญมณีที่ได้รับความนิยมนำมาแกะสลักเป็นเครื่องประดับคามิโอ (Cameo) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูงในยุควิกตอเรีย

เข็มกลัดคามิโอแกะจากเฮมาไทต์

ภาพจาก: Pinterest


สร้อยคอทองคำ 18 กะรัตตกแต่งด้วยเพชรและเฮมาไทต์

เครื่องประดับโดย: Bvlgari


กระดุมข้อมือทองคำ 18 กะรัต ตกแต่งด้วยเฮมาไทต์

เครื่องประดับโดย: Tiffany & Co.

            สำหรับในประเทศไทยนั้นชื่อของเฮมาไทต์อาจไม่คุ้นหูเท่าใดนัก หากแต่มันเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมในวงการเครื่องประดับสากลเป็นอย่างดี เพราะนอกจากระดับราคาที่จับต้องได้แล้ว สีดำยังเป็นสีที่ไม่เคยตกยุคไปจากวงการแฟชั่น นอกจากนี้ มันยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเครื่องประดับของคุณสุภาพบุรุษ อาทิ กระดุมข้อมือ (Cufflink) หรือเข็มกลัดติดเนคไท เป็นต้น


ข้อมูลอ้างอิง


*Hieroglyphic คือ อักษรภาพของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ชาวอียิปต์เชื่อว่าอักษรเฮียโรกลิฟฟิกนี้คือจารึกอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นตัวแทนของพระวัจนะแห่งพระเจ้า
-------------------------------------------------------------
1. Jewels for Me. Hematite Meaning, Powers and History. Retrieved 20 September 2020 from https://www.jewelsforme.com/gem_and_jewelry_library/hematite
2. Sotheby’s. (10 September 2018). The A-Z of Jewelry: H is for Haematite. Retrieved 20 September 2020 from https://www.sothebys.com/en/articles/the-a-z-of-jewelry-h-is-for-haematite

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site