ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โอกาสอันสดใสในธุรกิจเครื่องประดับอาเซียน

Oct 9, 2023
928 views
4 shares

        

ผู้ประกอบการเครื่องประดับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดการณ์ว่าธุรกิจจะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตข้างหน้า ด้วยแผนการที่กลับมาเดินหน้าอีกครั้งในการเปลี่ยนภูมิภาคอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับระดับสากล

        ประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ยังคงเติบโตและฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความท้าทายด้านเศรษฐกิจมหภาคและภูมิรัฐศาสตร์ ข้อมูลจาก International Monetary Fund แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอาเซียน เติบโตขึ้นร้อยละ 5.7 ในปี 2022 จากการกลับมาเปิดตลาดและเปิดพรมแดนอีกครั้ง

        ที่งาน ASEAN Summit ครั้งที่ 42 ในอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 ทางกลุ่มประเทศได้เผยว่าเศรษฐกิจของอาเซียนมีเป้าหมายการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ในปี 2023 และร้อยละ 5 ในปี 2024 ด้วยแรงผลักดันจากการบริโภคภายในประเทศ การส่งออก และการฟื้นตัวที่รวดเร็วในภาคการบริการ สุทธิพงษ์ ดํารงค์สกุล ประธานสมาคม ASEAN Gems and Jewellery Association (AGJA) ระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฐานที่ตั้งของผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่หลายรายในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ด้วยต้นทุนที่ต่ำในการดำเนินธุรกิจ แรงงานที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญด้านการผลิต และการมีประชากรอยู่ราว 680 ล้านคนทำให้ตลาดอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงมาก

        สุทธิพงษ์ระบุว่าภูมิภาคนี้ยังมีความได้เปรียบในด้านการจัดหาวัตถุดิบ ลอจิสติกส์ สถาบันฝึกอบรม และบริการด้านอัญมณีวิทยา อีกทั้งยังมีห้องปฏิบัติการซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอยู่ในภูมิภาคด้วย นอกจากเป็นประธานสมาคมแล้ว
สุทธิพงษ์ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี เจมโมโปลิส (Gemopolis) ในไทยซึ่งเป็นนิคมที่มุ่งเน้นด้านการผลิตเครื่องประดับโดยเฉพาะด้วยพื้นที่ราว 155 ไร่

        นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1990 เจมโมโปลิสได้ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศที่ต้องการตั้งโรงงานผลิตในไทย ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นี้เป็นที่ตั้งของผู้ผลิตกว่า 300 ราย โดยกว่าร้อยละ 95 เป็นผู้ผลิตต่างประเทศจากประเทศและภูมิภาคต่างๆ รวม 29 แห่ง ได้แก่ ยุโรป อินเดีย สหรัฐ จีน รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง
        
        เจมโมโปลิสยังคงขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงโอกาสที่น่าจับตามองในธุรกิจเครื่องประดับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางเจมโมโปลิสยังได้ก่อสร้างโครงการโซนปลอดภาษีขึ้นสองแห่งในพื้นที่ 15,000 ตารางเมตรสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กโดยเฉพาะ รวมถึงองค์กรขนาดใหญ่บางส่วน

        “พื้นที่นี้จะนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการค้าและเวิร์คช็อปด้วย ไม่ใช่แค่การผลิต” สุทธิพงษ์กล่าว “โซนใหม่ๆ จะแล้วเสร็จภายในปลายปี 2023 และนักลงทุนสามารถย้ายเข้ามาและเริ่มดำเนินงานได้ภายในเดือนมีนาคม 2024 โดยเราจะยังคงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง และบริการภายในเจมโมโปลิสอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกิจการที่เข้ามาใหม่”

        Ermin Siow ที่ปรึกษาของ Federation of Goldsmiths and Jewellers Association of Malaysia ก็ยืนยันเช่นกันถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของอาเซียนในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับโลก และมาเลเซียก็เป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้

            ตามข้อมูลจาก Siow มาเลเซียผลิตเครื่องประดับทองล้วนเป็นหลัก โดยคิดเป็นร้อยละ 80 ของการผลิตเครื่องประดับทั้งหมด ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 เป็นเครื่องประดับทอง 22 กะรัต นอกจากนี้ มาเลเซียยังได้ผลิตเครื่องประดับอัญมณีโดยใช้เพชร แซปไฟร์ ทับทิม มรกต มุก และหยก

        มาเลเซียส่งออกเครื่องประดับส่วนใหญ่ที่ผลิตได้ไปยังตะวันออกกลาง สิงคโปร์ และฮ่องกง ในปีนี้คาดกันว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของมาเลเซียจะเติบโตร้อยละ 5 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาดมาเลเซีย นอกจากนี้ มาเลเซียยังไม่เก็บภาษีสินค้าและบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรนำเข้าสำหรับสินค้ากลุ่มทองคำและเครื่องประดับอีกด้วย

        “มาเลเซียเป็นตลาดเครื่องประดับที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ในอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เรามีความเป็นมิตรกับภาคธุรกิจแต่ตลาดยังมีขนาดเล็ก เราจึงต้องมองหาพันธมิตรที่เหมาะสมเพื่อการสร้างความสำเร็จ” Siow เสริม “ทางสมาคมยังได้จัดงานแสดงเครื่องประดับ 2-3 ครั้งต่อปีเพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ซื้อที่สนใจได้ทำความรู้จักกับตลาดมาเลเซียด้วย”

        ในขณะที่ฟิลิปปินส์ก็นำเสนอโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากตลาดเครื่องประดับภายในประเทศที่กำลังเติบโต

        Mila Florencio ประธานของ The Guild of Philippine Jewelry Inc ระบุว่า การทำงานกับพันธมิตรที่เหมาะสมเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในธุรกิจเครื่องประดับของฟิลิปปินส์ เธอเสริมว่าอุตสาหกรรมภายในประเทศประสบปัญหาจากการสูญเสียแรงงานที่มีทักษะไปให้กับภาคอุตสาหกรรมในตะวันออกกลางและจีน “มีโอกาสสำหรับผู้จัดหาจากต่างประเทศในการร่วมงานกับบริษัทฟิลิปปินส์เพื่อนำสินค้าเข้ามาขาย เพราะฟิลิปปินส์มีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่” Florencio กล่าวในงานสัมมนาที่จัดขึ้นระหว่างงาน Jewellery & Gem ASIA Bangkok (JGAB) ครั้งแรกในเดือนเมษายน 2023

การกลับมาของ AGJA

        มีการรื้อฟื้นความพยายามที่จะเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพด้านการออกแบบ ผลิต และส่งออกเครื่องประดับ ตลอดจนการผลิตพลอยสี โดยผู้นำหลักในการดำเนินการนี้คือ AGJA ซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่กำลังเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

        กลุ่มประเทศอาเซียนประกอบด้วยบรูไน กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ในขณะที่ AGJA นั้นรวมสมาชิกจากญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ตุรกี ฮ่องกง อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เข้ามาด้วย

        AGJA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2018 โดยมีแนวทางและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมความเชี่ยวชาญด้าน OEM (Original Equipment
Manufacturer)/ODM (Original Design Manufacturer) ของผู้ประกอบการด้านเครื่องประดับในอาเซียน

    ทว่าทางกลุ่มกลับต้องชะลอแผนการไว้ก่อนเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงักไปพร้อมกับการเดินทางและการค้า สุทธิพงษ์ระบุว่าถึงตอนนี้ AGJA กำลังกลับมาดำเนินงานอีกครั้งหลังจากหยุดพักไปสามปี
    
        Siow เผยว่า AGJA ได้เปิดตัวใหม่ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่งาน Bangkok Gems & Jewelry Fair ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

   AGJA กำลังเตรียมมองหาการสนับสนุนจากจีน โดยทางกลุ่มตั้งเป้าหมายที่จะเข้าร่วมงาน China International Import Expo ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในเดือนพฤศจิกายนโดย Shanghai Gems and Jade Exchange

        นอกจากนี้ Siow ระบุว่า AGJA ยังได้วางแผนที่จะติดต่อกับ Dubai Multi Commodities Centre ซึ่งก่อนหน้านี้ได้แสดงความสนใจที่จะเป็นผู้จัดงานประชุมประจำปีของ AGJA ขึ้นที่ดูไบ โดยการประชุมนี้เป็นส่วนสำคัญในโครงการของทางสมาคม

      “กิจกรรมที่ได้วางแผนไว้เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกลับมาของเรา” สุทธิพงษ์กล่าว “เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องจัดกิจกรรมให้สมาชิกของเราได้มารวมตัวกันและพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรายอื่นๆ ในธุรกิจนี้” 

ความเข้มแข็งระดับภูมิภาค

        วัตถุประสงค์หลักข้อหนึ่งของ AGJA คือการขับเคลื่อนโครงการด้านการออกแบบและการสร้างแบรนด์เพื่อยกระดับธุรกิจเครื่องประดับของอาเซียนขึ้นไปอีกขั้น

        สุทธิพงษ์กล่าวว่า “การเปลี่ยนจาก OEM ไปเป็น ODM เป็นองค์ประกอบสำคัญของความพยายามที่จะพัฒนาธุรกิจเครื่องประดับในอาเซียนให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น การสร้างแบรนด์และการออกแบบโดยมุ่งเน้นไปยังตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นแนวทางแห่งอนาคต และเป็นทิศทางที่เรากำลังมุ่งหน้าไป”

        เขายังเน้นถึงบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของจีนในการผลักดันศักยภาพการเติบโตของอาเซียน จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมีมูลค่าการค้าแบบทวิภาคีอยู่ที่ 669,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 29 ตามข้อมูลจาก World Economic Forum

        Simon Chan ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ China Gems & Jade Exchange กล่าวระหว่างการขึ้นพูดที่งาน JGAB 2023 ว่า โอกาสในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างอาเซียนและจีนยังอาจเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีก ตัวเลข GDP ของจีนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 นั้นสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในขณะที่ยอดขายปลีกเครื่องประดับในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ธุรกิจพลอยสีก็มีแนวโน้มที่ดีในจีนเช่นกันด้วย

        แรงเสริมจากความต้องการต่อเนื่องในกลุ่มทับทิม แซปไฟร์ และมรกต “อัญมณีและเครื่องประดับพัฒนาจากการเป็นของขวัญมีระดับสำหรับคนที่คุณรักไปเป็นตัวเลือกในการลงทุน” Chan เผย

        สุทธิพงษ์เผยว่า AGJA กำลังมองหาการสนับสนุนจากจีนในด้านการค้าและเทคโนโลยี ส่วน Siow กล่าวว่า สมาชิกอาเซียนก็อาจได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องประดับของจีน

        “จีนนำหน้าตลาดส่วนใหญ่ในแง่การผลิตเครื่องประดับทองล้วน ในอดีตเรามักมองว่าอิตาลีหรือตุรกีเป็นผู้นำด้านนี้ แต่ปัจจุบันจีนก็ได้สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับเช่นกัน โดยมีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงและยังเป็นผู้นำด้านการส่งออกด้วย” Siow ระบุ

        ในอนาคตข้างหน้า AGJA จะผลักดันระบบการเก็บภาษีแบบรวมศูนย์และการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาค สุทธิพงษ์กล่าวว่าทางสมาคมจะเป็นตัวแทนให้สมาชิกในการเจรจาการค้าระดับทวิภาคีและการสนทนาแลกเปลี่ยนกับภาครัฐเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดกลุ่มเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์นี้

       ตามความเห็นของ Siow ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในอาเซียนมีแนวโน้มในทางที่ดีจากความต้องการต่อเนื่องในกลุ่มเครื่องประดับคุณภาพสูง ความปรารถนาที่จะได้เป็นเจ้าของเครื่องประดับหรูเติบโตขึ้นมาตลอดในช่วงระหว่างการเกิดโรคระบาดและหลังจากนั้น เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดต้องการที่จะเฉลิมฉลองกับผู้คนและโอกาสต่างๆ

        Le Yen ผู้อำนวยการทั่วไปของ Vietnam Gemstone Jewelry & Art Crafts Association International Trade Center เห็นตรงกัน โดยเสริมว่าผู้ซื้อเริ่มหันไปหาอัญมณีและเครื่องประดับระดับคุณภาพสูงในช่วงโรคระบาด “จากประสบการณ์ เราพบว่าความต้องการเครื่องประดับราคาแพงเพิ่มสูงขึ้นแม้ในช่วงเวลาที่ท้าทาย ก็เพราะเครื่องประดับเหล่านี้มักถูกมองว่ามีไว้เพื่อการลงทุน” เธอกล่าวต่อ

        สุทธิพงษ์ระบุว่า การที่จีนกลับมาเปิดประเทศจะส่งผลดีต่ออาเซียน “กำลังซื้อของผู้ซื้อชาวจีนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม Gen Z ผู้บริโภคกลุ่มนี้เริ่มซื้อเครื่องประดับกันมากขึ้น และเราก็สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ได้”




ข้อมูลอ้างอิง


JNA. 2023. Glowing opportunities in ASEAN jewellery industry. [Online]. Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/25238/071223-Glowing-opportunities-in-ASEAN-jewellery-industry.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โอกาสอันสดใสในธุรกิจเครื่องประดับอาเซียน

Oct 9, 2023
928 views
4 shares

        

ผู้ประกอบการเครื่องประดับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดการณ์ว่าธุรกิจจะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตข้างหน้า ด้วยแผนการที่กลับมาเดินหน้าอีกครั้งในการเปลี่ยนภูมิภาคอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับระดับสากล

        ประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) ยังคงเติบโตและฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความท้าทายด้านเศรษฐกิจมหภาคและภูมิรัฐศาสตร์ ข้อมูลจาก International Monetary Fund แสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอาเซียน เติบโตขึ้นร้อยละ 5.7 ในปี 2022 จากการกลับมาเปิดตลาดและเปิดพรมแดนอีกครั้ง

        ที่งาน ASEAN Summit ครั้งที่ 42 ในอินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 ทางกลุ่มประเทศได้เผยว่าเศรษฐกิจของอาเซียนมีเป้าหมายการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ในปี 2023 และร้อยละ 5 ในปี 2024 ด้วยแรงผลักดันจากการบริโภคภายในประเทศ การส่งออก และการฟื้นตัวที่รวดเร็วในภาคการบริการ สุทธิพงษ์ ดํารงค์สกุล ประธานสมาคม ASEAN Gems and Jewellery Association (AGJA) ระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นฐานที่ตั้งของผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่หลายรายในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ด้วยต้นทุนที่ต่ำในการดำเนินธุรกิจ แรงงานที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญด้านการผลิต และการมีประชากรอยู่ราว 680 ล้านคนทำให้ตลาดอาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงมาก

        สุทธิพงษ์ระบุว่าภูมิภาคนี้ยังมีความได้เปรียบในด้านการจัดหาวัตถุดิบ ลอจิสติกส์ สถาบันฝึกอบรม และบริการด้านอัญมณีวิทยา อีกทั้งยังมีห้องปฏิบัติการซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอยู่ในภูมิภาคด้วย นอกจากเป็นประธานสมาคมแล้ว
สุทธิพงษ์ยังเป็นกรรมการผู้จัดการของนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี เจมโมโปลิส (Gemopolis) ในไทยซึ่งเป็นนิคมที่มุ่งเน้นด้านการผลิตเครื่องประดับโดยเฉพาะด้วยพื้นที่ราว 155 ไร่

        นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1990 เจมโมโปลิสได้ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศที่ต้องการตั้งโรงงานผลิตในไทย ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นี้เป็นที่ตั้งของผู้ผลิตกว่า 300 ราย โดยกว่าร้อยละ 95 เป็นผู้ผลิตต่างประเทศจากประเทศและภูมิภาคต่างๆ รวม 29 แห่ง ได้แก่ ยุโรป อินเดีย สหรัฐ จีน รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง
        
        เจมโมโปลิสยังคงขยายตัวเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงโอกาสที่น่าจับตามองในธุรกิจเครื่องประดับของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางเจมโมโปลิสยังได้ก่อสร้างโครงการโซนปลอดภาษีขึ้นสองแห่งในพื้นที่ 15,000 ตารางเมตรสำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กโดยเฉพาะ รวมถึงองค์กรขนาดใหญ่บางส่วน

        “พื้นที่นี้จะนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการค้าและเวิร์คช็อปด้วย ไม่ใช่แค่การผลิต” สุทธิพงษ์กล่าว “โซนใหม่ๆ จะแล้วเสร็จภายในปลายปี 2023 และนักลงทุนสามารถย้ายเข้ามาและเริ่มดำเนินงานได้ภายในเดือนมีนาคม 2024 โดยเราจะยังคงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง และบริการภายในเจมโมโปลิสอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกิจการที่เข้ามาใหม่”

        Ermin Siow ที่ปรึกษาของ Federation of Goldsmiths and Jewellers Association of Malaysia ก็ยืนยันเช่นกันถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของอาเซียนในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับโลก และมาเลเซียก็เป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคนี้

            ตามข้อมูลจาก Siow มาเลเซียผลิตเครื่องประดับทองล้วนเป็นหลัก โดยคิดเป็นร้อยละ 80 ของการผลิตเครื่องประดับทั้งหมด ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 เป็นเครื่องประดับทอง 22 กะรัต นอกจากนี้ มาเลเซียยังได้ผลิตเครื่องประดับอัญมณีโดยใช้เพชร แซปไฟร์ ทับทิม มรกต มุก และหยก

        มาเลเซียส่งออกเครื่องประดับส่วนใหญ่ที่ผลิตได้ไปยังตะวันออกกลาง สิงคโปร์ และฮ่องกง ในปีนี้คาดกันว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของมาเลเซียจะเติบโตร้อยละ 5 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาดมาเลเซีย นอกจากนี้ มาเลเซียยังไม่เก็บภาษีสินค้าและบริการ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และอากรนำเข้าสำหรับสินค้ากลุ่มทองคำและเครื่องประดับอีกด้วย

        “มาเลเซียเป็นตลาดเครื่องประดับที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ในอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย เรามีความเป็นมิตรกับภาคธุรกิจแต่ตลาดยังมีขนาดเล็ก เราจึงต้องมองหาพันธมิตรที่เหมาะสมเพื่อการสร้างความสำเร็จ” Siow เสริม “ทางสมาคมยังได้จัดงานแสดงเครื่องประดับ 2-3 ครั้งต่อปีเพื่อเป็นช่องทางให้ผู้ซื้อที่สนใจได้ทำความรู้จักกับตลาดมาเลเซียด้วย”

        ในขณะที่ฟิลิปปินส์ก็นำเสนอโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากตลาดเครื่องประดับภายในประเทศที่กำลังเติบโต

        Mila Florencio ประธานของ The Guild of Philippine Jewelry Inc ระบุว่า การทำงานกับพันธมิตรที่เหมาะสมเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในธุรกิจเครื่องประดับของฟิลิปปินส์ เธอเสริมว่าอุตสาหกรรมภายในประเทศประสบปัญหาจากการสูญเสียแรงงานที่มีทักษะไปให้กับภาคอุตสาหกรรมในตะวันออกกลางและจีน “มีโอกาสสำหรับผู้จัดหาจากต่างประเทศในการร่วมงานกับบริษัทฟิลิปปินส์เพื่อนำสินค้าเข้ามาขาย เพราะฟิลิปปินส์มีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่” Florencio กล่าวในงานสัมมนาที่จัดขึ้นระหว่างงาน Jewellery & Gem ASIA Bangkok (JGAB) ครั้งแรกในเดือนเมษายน 2023

การกลับมาของ AGJA

        มีการรื้อฟื้นความพยายามที่จะเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพด้านการออกแบบ ผลิต และส่งออกเครื่องประดับ ตลอดจนการผลิตพลอยสี โดยผู้นำหลักในการดำเนินการนี้คือ AGJA ซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่กำลังเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

        กลุ่มประเทศอาเซียนประกอบด้วยบรูไน กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ในขณะที่ AGJA นั้นรวมสมาชิกจากญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ตุรกี ฮ่องกง อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เข้ามาด้วย

        AGJA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2018 โดยมีแนวทางและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ การสร้างแพลตฟอร์มเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมความเชี่ยวชาญด้าน OEM (Original Equipment
Manufacturer)/ODM (Original Design Manufacturer) ของผู้ประกอบการด้านเครื่องประดับในอาเซียน

    ทว่าทางกลุ่มกลับต้องชะลอแผนการไว้ก่อนเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงักไปพร้อมกับการเดินทางและการค้า สุทธิพงษ์ระบุว่าถึงตอนนี้ AGJA กำลังกลับมาดำเนินงานอีกครั้งหลังจากหยุดพักไปสามปี
    
        Siow เผยว่า AGJA ได้เปิดตัวใหม่ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่งาน Bangkok Gems & Jewelry Fair ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

   AGJA กำลังเตรียมมองหาการสนับสนุนจากจีน โดยทางกลุ่มตั้งเป้าหมายที่จะเข้าร่วมงาน China International Import Expo ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในเดือนพฤศจิกายนโดย Shanghai Gems and Jade Exchange

        นอกจากนี้ Siow ระบุว่า AGJA ยังได้วางแผนที่จะติดต่อกับ Dubai Multi Commodities Centre ซึ่งก่อนหน้านี้ได้แสดงความสนใจที่จะเป็นผู้จัดงานประชุมประจำปีของ AGJA ขึ้นที่ดูไบ โดยการประชุมนี้เป็นส่วนสำคัญในโครงการของทางสมาคม

      “กิจกรรมที่ได้วางแผนไว้เหล่านี้ล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกลับมาของเรา” สุทธิพงษ์กล่าว “เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องจัดกิจกรรมให้สมาชิกของเราได้มารวมตัวกันและพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรายอื่นๆ ในธุรกิจนี้” 

ความเข้มแข็งระดับภูมิภาค

        วัตถุประสงค์หลักข้อหนึ่งของ AGJA คือการขับเคลื่อนโครงการด้านการออกแบบและการสร้างแบรนด์เพื่อยกระดับธุรกิจเครื่องประดับของอาเซียนขึ้นไปอีกขั้น

        สุทธิพงษ์กล่าวว่า “การเปลี่ยนจาก OEM ไปเป็น ODM เป็นองค์ประกอบสำคัญของความพยายามที่จะพัฒนาธุรกิจเครื่องประดับในอาเซียนให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น การสร้างแบรนด์และการออกแบบโดยมุ่งเน้นไปยังตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นแนวทางแห่งอนาคต และเป็นทิศทางที่เรากำลังมุ่งหน้าไป”

        เขายังเน้นถึงบทบาทที่สำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของจีนในการผลักดันศักยภาพการเติบโตของอาเซียน จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของอาเซียน โดยมีมูลค่าการค้าแบบทวิภาคีอยู่ที่ 669,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2021 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 29 ตามข้อมูลจาก World Economic Forum

        Simon Chan ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ China Gems & Jade Exchange กล่าวระหว่างการขึ้นพูดที่งาน JGAB 2023 ว่า โอกาสในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างอาเซียนและจีนยังอาจเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีก ตัวเลข GDP ของจีนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 นั้นสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในขณะที่ยอดขายปลีกเครื่องประดับในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ธุรกิจพลอยสีก็มีแนวโน้มที่ดีในจีนเช่นกันด้วย

        แรงเสริมจากความต้องการต่อเนื่องในกลุ่มทับทิม แซปไฟร์ และมรกต “อัญมณีและเครื่องประดับพัฒนาจากการเป็นของขวัญมีระดับสำหรับคนที่คุณรักไปเป็นตัวเลือกในการลงทุน” Chan เผย

        สุทธิพงษ์เผยว่า AGJA กำลังมองหาการสนับสนุนจากจีนในด้านการค้าและเทคโนโลยี ส่วน Siow กล่าวว่า สมาชิกอาเซียนก็อาจได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องประดับของจีน

        “จีนนำหน้าตลาดส่วนใหญ่ในแง่การผลิตเครื่องประดับทองล้วน ในอดีตเรามักมองว่าอิตาลีหรือตุรกีเป็นผู้นำด้านนี้ แต่ปัจจุบันจีนก็ได้สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับเช่นกัน โดยมีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงและยังเป็นผู้นำด้านการส่งออกด้วย” Siow ระบุ

        ในอนาคตข้างหน้า AGJA จะผลักดันระบบการเก็บภาษีแบบรวมศูนย์และการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาค สุทธิพงษ์กล่าวว่าทางสมาคมจะเป็นตัวแทนให้สมาชิกในการเจรจาการค้าระดับทวิภาคีและการสนทนาแลกเปลี่ยนกับภาครัฐเพื่อช่วยผลักดันให้เกิดกลุ่มเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์นี้

       ตามความเห็นของ Siow ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในอาเซียนมีแนวโน้มในทางที่ดีจากความต้องการต่อเนื่องในกลุ่มเครื่องประดับคุณภาพสูง ความปรารถนาที่จะได้เป็นเจ้าของเครื่องประดับหรูเติบโตขึ้นมาตลอดในช่วงระหว่างการเกิดโรคระบาดและหลังจากนั้น เนื่องจากผู้บริโภคในตลาดต้องการที่จะเฉลิมฉลองกับผู้คนและโอกาสต่างๆ

        Le Yen ผู้อำนวยการทั่วไปของ Vietnam Gemstone Jewelry & Art Crafts Association International Trade Center เห็นตรงกัน โดยเสริมว่าผู้ซื้อเริ่มหันไปหาอัญมณีและเครื่องประดับระดับคุณภาพสูงในช่วงโรคระบาด “จากประสบการณ์ เราพบว่าความต้องการเครื่องประดับราคาแพงเพิ่มสูงขึ้นแม้ในช่วงเวลาที่ท้าทาย ก็เพราะเครื่องประดับเหล่านี้มักถูกมองว่ามีไว้เพื่อการลงทุน” เธอกล่าวต่อ

        สุทธิพงษ์ระบุว่า การที่จีนกลับมาเปิดประเทศจะส่งผลดีต่ออาเซียน “กำลังซื้อของผู้ซื้อชาวจีนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม Gen Z ผู้บริโภคกลุ่มนี้เริ่มซื้อเครื่องประดับกันมากขึ้น และเราก็สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ได้”




ข้อมูลอ้างอิง


JNA. 2023. Glowing opportunities in ASEAN jewellery industry. [Online]. Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/25238/071223-Glowing-opportunities-in-ASEAN-jewellery-industry.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970