ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การฟื้นตัวและเติบโตของอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2567

Feb 27, 2024
5024 views
1 share

        ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเห็นว่า ในปี 2567 อุตสาหกรรมนี้จะปรับตัวในทางบวก โดยธุรกิจมีโอกาสเติบโตจากการขยายตัวของความต้องการในตลาดและเสถียรภาพของราคา

        ในปี 2567 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับหลายส่วนมีแนวโน้มที่จะพัฒนาในเชิงบวกท่ามกลางความไม่แน่นอนต่างๆ โดยคาดการณ์ว่าราคาสินค้าจะมีเสถียรภาพในขณะที่อุปสงค์และอุปทานเองก็จะมีความสมดุล เนื่องจากระดับการบริโภคเข้าสู่สภาวะปกติ หรือมีแนวโน้มที่อาจจะขยายตัวได้ด้วย


        เทคโนโลยีและความยั่งยืนจะยังคงมีอิทธิพลต่อโอกาสของเครื่องประดับแท้ โดยบริษัทต่างๆ พากันพัฒนาการดำเนินงานและแนวปฏิบัติทางธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป

        ขณะเดียวกันเครื่องประดับหรูอาจกลายเป็นผู้นำในตลาด โดยผู้ผลิตเครื่องประดับและผู้ค้าอัญมณีระดับไฮเอนด์เห็นว่า ความต้องการเครื่องประดับของนักออกแบบระดับบนและเครื่องประดับเพื่อการลงทุนจะยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง

        ในรายงาน State of Fashion 2024 ของ McKinsey & Co ระบุว่า ผู้บริโภคจะใช้จ่ายรายจ่ายไม่ประจำของพวกเขาไปกับการซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ไว้ใจได้ โดยจะเป็นผลดีต่อสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีความคงทนซึ่งหมายรวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับด้วย เนื่องจากผู้ซื้อตระหนักดีถึงมูลค่าจากการลงทุนในช่วงเวลาแห่งความผันผวน

         ตลาดเครื่องประดับที่มีสีสันสดใสมีแนวโน้มเติบโตได้ดี เช่นเดียวกับตลาดพลอยสีที่เชื่อกันว่า สีสันจะกระตุ้นชีวิตชีวาและแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในภาพรวม

         ผู้ซื้อมีแนวโน้มที่จะพุ่งเป้าไปที่อัญมณีสีพีชในโทนอบอุ่นและสดใส ซึ่ง Pantone Color Institute เลือกให้เป็นสีแห่งปี 2567 โดย “Peach Fuzz” เป็นสีโทนอุ่นที่สื่อถึงความเห็นอกเห็นใจ ความมีน้ำใจ ความเป็นหนึ่งเดียว และความสง่างามอันเรียบง่าย นอกจากนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ของความห่วงใยและการแบ่งปัน รวมทั้งความเป็นชุมชนและความร่วมมืออีกด้วย

         ทองสีกุหลาบ อำพัน มุกเมโล แพดพารัดชา มอร์แกไนต์ ไฟร์โอปอล แมนดารินการ์เนต สเปสซาร์ไทต์ และมูนสโตน สีพีช เป็นตัวอย่างอัญมณีซึ่งได้รับความสนใจในการออกแบบเครื่องประดับสี Peach Fuzz

         สำหรับอุตสาหกรรมเพชรยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง เนื่องจากตลาดคาดที่จะได้เห็นพัฒนาการเชิงบวกในเดือนมกราคมนี้ หลังจากที่ได้รับอานิสงส์จากการที่อินเดียระงับการนำเข้าเพชรเพื่อบรรเทาภาวะเพชรล้นตลาด และการที่ เดอ เบียร์ส ยินยอมให้ Sightholders ของตนเลื่อนเวลาการซื้อเพชรดิบออกไป

         เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเพชรสีแฟนซีและที่มองเห็นโอกาสอันสดใสในปี 2567 จากความต้องการสินค้าคุณภาพเยี่ยมที่มีอย่างต่อเนื่อง

โอกาสของสินค้าหรู

         รายงานของ Bain & Co ระบุว่า ตลาดสินค้าหรูทั่วโลกในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวจนแตะ 1.5 ล้านล้านยูโร (ราว 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ 8 - 10% จากปี 2565 โดยในส่วนของตลาดเครื่องประดับนั้น มูลค่าการค้าอาจขยับขึ้นไปถึง 3 หมื่นล้านยูโร (เกือบ 3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ด้วยแรงเสริมจากความต้องการซื้อเพื่อการลงทุนท่ามกลางความผันผวน

         Bain & Co. ยังชี้ว่า ในปี 2567 สินค้าหรูประเภทของใช้ส่วนตัว ซึ่งรวมถึงเครื่องประดับและนาฬิกา อาจปรับตัวขึ้นในอัตราไม่สูงนักเนื่องจากสภาวะความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อ โดยจะขยายตัวจากปี 2566 ในระดับต่ำถึงปานกลางด้วยตัวเลขเพียงหลักเดียว

          ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนในอุตสาหกรรมฯ เห็นว่ายอดขายอัญมณีและเครื่องประดับคุณภาพสูงจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ผู้ซื้อจะเลือกเครื่องประดับที่มีสีสันสดใส ผู้ผลิตเครื่องประดับจะนำเสนอสินค้าที่ทันสมัยและมีสีสันหลากหลายมากขึ้น จึงคาดว่าพลอยสีจะขยายตัวได้เป็นอย่างดีในปีนี้และปีต่อไป

         ทั้งนี้ ความนิยมในอัญมณีและเครื่องประดับคุณภาพเยี่ยมจะนำไปสู่ความต้องการที่สูงขึ้นในบริการตรวจวิเคราะห์อัญมณีอีกทางหนึ่งด้วย 


เทคโนโลยี ความยั่งยืน และความโปร่งใส

        การเติบโตของโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีส่งผลให้ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ รวมทั้งโอกาสในการทำธุรกิจ เนื่องจากการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาจได้รับอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย ผู้ผลิตสินค้าจึงจำเป็นต้องตามให้ทันกระแส และแสวงหาโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างเท่าทัน

         ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็ยังให้ความใส่ใจต่อความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต ดังนั้น ในปี 2567 Responsible Jewellery Council จึงจะกำหนดมาตรฐานเพชรสังเคราะห์ (Lab-Grown Diamond) ขึ้นเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อให้การผลิตเพชรชนิดนี้มีมาตรฐานเดียวกัน

ประกายเพชรเจิดจรัส

        ภาคอุตสาหกรรมเพชรมองว่า ในช่วงต้นปี 2567 มีแนวโน้มมองเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในตลาด โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สต๊อกเพชรเจียระไนแล้วทั่วโลกหดตัวลง และราคาเพชรธรรมชาติขยับตัวขึ้น โดยเป็นผลจากการที่อินเดียตัดสินใจระงับการนำเข้าเพชรเป็นเวลาสองเดือนเพื่อช่วยลดปริมาณเพชรในตลาด และการที่เดอ เบียร์ส ยอมให้บรรดา Sightholders เลื่อนกำหนดเวลาการซื้อเพชรก้อนออกไป

        อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ตลาดยังคงต้องจับตาดู นั่นก็คือ ผลกระทบจากมติของกลุ่มประเทศ G7 ที่แบนการนำเข้าเพชรที่มาจากเหมืองหรือผ่านกระบวนการผลิตในรัสเซียเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 และห้ามนำเข้าเพชรจากรัสเซียที่ผ่านการเจียระไนในประเทศที่สามตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

         ในส่วนของการค้าเพชรสีแฟนซีนั้น ตลาดยังคงมีความต้องการอย่างสูงเนื่องจากเป็นสินค้าที่หายากและมีปริมาณน้อย อีกทั้งราคาเพชรสีแฟนซีโดยปกติมักมีเสถียรภาพ โดยปัจจุบันเพชรสีส้มในเฉดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สีส้มสด สีส้มเข้ม สีฟักทอง หรือเฉดสีกลางๆ และสีพาสเทล กำลังมาแรงในตลาดนอกเหนือจากเพชรสีเหลือง ชมพู และฟ้าที่ได้รับความนิยมมาตลอด

โอกาสที่สดใสในอนาคต

         ตามความเห็นของ Daniel Nyfeler จาก Gübelin Gem Lab การเติบโตของตลาดพลอยสีทำให้เกิดความท้าทายยิ่งขึ้นสำหรับห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี โดยเฉพาะการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้ความร้อนอุณหภูมิต่ำในทับทิมและแซปไฟร์สีชมพูซึ่งในบางกรณีก็เป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีการใช้วิธีการอุดรอยแตกด้วยน้ำมันที่ไม่ได้ใช้เฉพาะในมรกตเท่านั้น แต่ยังใช้ในทับทิม สปิเนล และพาราอิบาทัวร์มาลีนบ่อยมากขึ้น ความโปร่งใสและการตรวจสอบแหล่งที่มาได้ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

        ความต้องการที่ขยับตัวสูงขึ้นของพลอยสีคุณภาพสูงและอัญมณีที่ตรวจสอบที่มาได้ รวมถึงผู้บริโภคสินค้าที่มีการศึกษาข้อมูลสินค้าเป็นอย่างดี อาจเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในปี 2567

         ทั้งนี้ บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจพลอยสีเห็นว่า อุตสาหกรรมพลอยสีจะเติบโตได้อย่างดีในปี 2567 พัฒนาการที่สำคัญในตลาด อาทิ การนำเข้าอัญมณีแบบไร้อุปสรรค และการกลับมาจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศต่างๆ จะช่วยกระตุ้นความต้องการพลอยสี โดยคาดว่า ผลผลิตพลอยบางชนิดจากเหมืองจะมีปริมาณมากขึ้น ระดับราคาจะคงที่ และผู้ประกอบการต้องเติมสินค้าคงคลังหากต้องการตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อที่คาดว่าจะสูงขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้ซื้อจากตลาดจีนที่ความต้องการซื้อเริ่มฟื้นตัวกลับมาแล้ว

การค้ามุก

        Jonathan Cheng จาก Rio Pearl ที่ตั้งอยู่ในฮ่องกง กล่าวว่า ในปี 2566 มุกทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นมุกน้ำจืด มุกตาฮิติ และมุกทะเลใต้ ล้วนมีมูลค่าสูงขึ้นจากความต้องการที่คึกคักและปริมาณสินค้าที่มีจำกัด ราคามุกได้มาถึงระดับที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้และผู้เลี้ยงมุกมีเงินทุนมากพอที่จะลงทุนเพิ่มเติมในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตโดยรวม โดยมีจีนเป็นตลาดสำคัญที่ลูกค้าต้องการมุกคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง

         สำหรับในปี 2567 คาดการณ์ว่า แนวโน้มนี้จะยังคงอยู่ เนื่องด้วยปริมาณสินค้าจากผู้ผลิตที่มีจำกัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น อาจได้เห็นความต้องการมุกคุณภาพดีในระดับที่สูงขึ้นตามไปด้วย


         แม้ว่าในภาพรวมของปี 2567 มีแนวโน้มที่ดี แต่ใช่ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจะผ่านพ้นจุดวิกฤติไปแล้วอย่างเต็มตัว จากการหารือในงาน 2023 CIBJO Congress ได้มุ่งเน้นไปที่ความท้าทายต่างๆ ที่ตลาดต้องเผชิญในการก้าวไปข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการคว่ำบาตรเพชรจากรัสเซียของกลุ่มประเทศ G7 การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ เพชรสังเคราะห์ ผลกระทบของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูงที่มีต่อความต้องการซื้อ และมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติของภาคอุตสาหกรรมฯ ล้วนเป็นข้อกังวลในอนาคต ดังนั้น ความร่วมแรงร่วมใจและการหารืออย่างต่อเนื่องจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กุมภาพันธ์ 2567


แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

กุมภาพันธ์ 2567





ข้อมูลอ้างอิง


JNA. 2024. "JEWELLERY TRADE: Growth and Recovery in 2024." [Online] Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/25594/010224-Jewellery-trade-Growth-and-recovery-in-2024 (Retrieved February 9, 2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การฟื้นตัวและเติบโตของอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2567

Feb 27, 2024
5024 views
1 share

        ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเห็นว่า ในปี 2567 อุตสาหกรรมนี้จะปรับตัวในทางบวก โดยธุรกิจมีโอกาสเติบโตจากการขยายตัวของความต้องการในตลาดและเสถียรภาพของราคา

        ในปี 2567 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับหลายส่วนมีแนวโน้มที่จะพัฒนาในเชิงบวกท่ามกลางความไม่แน่นอนต่างๆ โดยคาดการณ์ว่าราคาสินค้าจะมีเสถียรภาพในขณะที่อุปสงค์และอุปทานเองก็จะมีความสมดุล เนื่องจากระดับการบริโภคเข้าสู่สภาวะปกติ หรือมีแนวโน้มที่อาจจะขยายตัวได้ด้วย


        เทคโนโลยีและความยั่งยืนจะยังคงมีอิทธิพลต่อโอกาสของเครื่องประดับแท้ โดยบริษัทต่างๆ พากันพัฒนาการดำเนินงานและแนวปฏิบัติทางธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป

        ขณะเดียวกันเครื่องประดับหรูอาจกลายเป็นผู้นำในตลาด โดยผู้ผลิตเครื่องประดับและผู้ค้าอัญมณีระดับไฮเอนด์เห็นว่า ความต้องการเครื่องประดับของนักออกแบบระดับบนและเครื่องประดับเพื่อการลงทุนจะยังคงมาแรงอย่างต่อเนื่อง

        ในรายงาน State of Fashion 2024 ของ McKinsey & Co ระบุว่า ผู้บริโภคจะใช้จ่ายรายจ่ายไม่ประจำของพวกเขาไปกับการซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ไว้ใจได้ โดยจะเป็นผลดีต่อสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีความคงทนซึ่งหมายรวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับด้วย เนื่องจากผู้ซื้อตระหนักดีถึงมูลค่าจากการลงทุนในช่วงเวลาแห่งความผันผวน

         ตลาดเครื่องประดับที่มีสีสันสดใสมีแนวโน้มเติบโตได้ดี เช่นเดียวกับตลาดพลอยสีที่เชื่อกันว่า สีสันจะกระตุ้นชีวิตชีวาและแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในช่วงที่มีความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในภาพรวม

         ผู้ซื้อมีแนวโน้มที่จะพุ่งเป้าไปที่อัญมณีสีพีชในโทนอบอุ่นและสดใส ซึ่ง Pantone Color Institute เลือกให้เป็นสีแห่งปี 2567 โดย “Peach Fuzz” เป็นสีโทนอุ่นที่สื่อถึงความเห็นอกเห็นใจ ความมีน้ำใจ ความเป็นหนึ่งเดียว และความสง่างามอันเรียบง่าย นอกจากนี้ ยังเป็นสัญลักษณ์ของความห่วงใยและการแบ่งปัน รวมทั้งความเป็นชุมชนและความร่วมมืออีกด้วย

         ทองสีกุหลาบ อำพัน มุกเมโล แพดพารัดชา มอร์แกไนต์ ไฟร์โอปอล แมนดารินการ์เนต สเปสซาร์ไทต์ และมูนสโตน สีพีช เป็นตัวอย่างอัญมณีซึ่งได้รับความสนใจในการออกแบบเครื่องประดับสี Peach Fuzz

         สำหรับอุตสาหกรรมเพชรยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง เนื่องจากตลาดคาดที่จะได้เห็นพัฒนาการเชิงบวกในเดือนมกราคมนี้ หลังจากที่ได้รับอานิสงส์จากการที่อินเดียระงับการนำเข้าเพชรเพื่อบรรเทาภาวะเพชรล้นตลาด และการที่ เดอ เบียร์ส ยินยอมให้ Sightholders ของตนเลื่อนเวลาการซื้อเพชรดิบออกไป

         เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเพชรสีแฟนซีและที่มองเห็นโอกาสอันสดใสในปี 2567 จากความต้องการสินค้าคุณภาพเยี่ยมที่มีอย่างต่อเนื่อง

โอกาสของสินค้าหรู

         รายงานของ Bain & Co ระบุว่า ตลาดสินค้าหรูทั่วโลกในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวจนแตะ 1.5 ล้านล้านยูโร (ราว 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ 8 - 10% จากปี 2565 โดยในส่วนของตลาดเครื่องประดับนั้น มูลค่าการค้าอาจขยับขึ้นไปถึง 3 หมื่นล้านยูโร (เกือบ 3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ) ด้วยแรงเสริมจากความต้องการซื้อเพื่อการลงทุนท่ามกลางความผันผวน

         Bain & Co. ยังชี้ว่า ในปี 2567 สินค้าหรูประเภทของใช้ส่วนตัว ซึ่งรวมถึงเครื่องประดับและนาฬิกา อาจปรับตัวขึ้นในอัตราไม่สูงนักเนื่องจากสภาวะความไม่แน่นอนที่ยืดเยื้อ โดยจะขยายตัวจากปี 2566 ในระดับต่ำถึงปานกลางด้วยตัวเลขเพียงหลักเดียว

          ขณะที่ผู้ประกอบการบางส่วนในอุตสาหกรรมฯ เห็นว่ายอดขายอัญมณีและเครื่องประดับคุณภาพสูงจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ผู้ซื้อจะเลือกเครื่องประดับที่มีสีสันสดใส ผู้ผลิตเครื่องประดับจะนำเสนอสินค้าที่ทันสมัยและมีสีสันหลากหลายมากขึ้น จึงคาดว่าพลอยสีจะขยายตัวได้เป็นอย่างดีในปีนี้และปีต่อไป

         ทั้งนี้ ความนิยมในอัญมณีและเครื่องประดับคุณภาพเยี่ยมจะนำไปสู่ความต้องการที่สูงขึ้นในบริการตรวจวิเคราะห์อัญมณีอีกทางหนึ่งด้วย 


เทคโนโลยี ความยั่งยืน และความโปร่งใส

        การเติบโตของโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีส่งผลให้ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ รวมทั้งโอกาสในการทำธุรกิจ เนื่องจากการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาจได้รับอิทธิพลจากสื่อโซเชียลมีเดีย ผู้ผลิตสินค้าจึงจำเป็นต้องตามให้ทันกระแส และแสวงหาโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างเท่าทัน

         ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็ยังให้ความใส่ใจต่อความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต ดังนั้น ในปี 2567 Responsible Jewellery Council จึงจะกำหนดมาตรฐานเพชรสังเคราะห์ (Lab-Grown Diamond) ขึ้นเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อให้การผลิตเพชรชนิดนี้มีมาตรฐานเดียวกัน

ประกายเพชรเจิดจรัส

        ภาคอุตสาหกรรมเพชรมองว่า ในช่วงต้นปี 2567 มีแนวโน้มมองเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในตลาด โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สต๊อกเพชรเจียระไนแล้วทั่วโลกหดตัวลง และราคาเพชรธรรมชาติขยับตัวขึ้น โดยเป็นผลจากการที่อินเดียตัดสินใจระงับการนำเข้าเพชรเป็นเวลาสองเดือนเพื่อช่วยลดปริมาณเพชรในตลาด และการที่เดอ เบียร์ส ยอมให้บรรดา Sightholders เลื่อนกำหนดเวลาการซื้อเพชรก้อนออกไป

        อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ตลาดยังคงต้องจับตาดู นั่นก็คือ ผลกระทบจากมติของกลุ่มประเทศ G7 ที่แบนการนำเข้าเพชรที่มาจากเหมืองหรือผ่านกระบวนการผลิตในรัสเซียเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 และห้ามนำเข้าเพชรจากรัสเซียที่ผ่านการเจียระไนในประเทศที่สามตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป

         ในส่วนของการค้าเพชรสีแฟนซีนั้น ตลาดยังคงมีความต้องการอย่างสูงเนื่องจากเป็นสินค้าที่หายากและมีปริมาณน้อย อีกทั้งราคาเพชรสีแฟนซีโดยปกติมักมีเสถียรภาพ โดยปัจจุบันเพชรสีส้มในเฉดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สีส้มสด สีส้มเข้ม สีฟักทอง หรือเฉดสีกลางๆ และสีพาสเทล กำลังมาแรงในตลาดนอกเหนือจากเพชรสีเหลือง ชมพู และฟ้าที่ได้รับความนิยมมาตลอด

โอกาสที่สดใสในอนาคต

         ตามความเห็นของ Daniel Nyfeler จาก Gübelin Gem Lab การเติบโตของตลาดพลอยสีทำให้เกิดความท้าทายยิ่งขึ้นสำหรับห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี โดยเฉพาะการปรับปรุงคุณภาพโดยใช้ความร้อนอุณหภูมิต่ำในทับทิมและแซปไฟร์สีชมพูซึ่งในบางกรณีก็เป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีการใช้วิธีการอุดรอยแตกด้วยน้ำมันที่ไม่ได้ใช้เฉพาะในมรกตเท่านั้น แต่ยังใช้ในทับทิม สปิเนล และพาราอิบาทัวร์มาลีนบ่อยมากขึ้น ความโปร่งใสและการตรวจสอบแหล่งที่มาได้ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

        ความต้องการที่ขยับตัวสูงขึ้นของพลอยสีคุณภาพสูงและอัญมณีที่ตรวจสอบที่มาได้ รวมถึงผู้บริโภคสินค้าที่มีการศึกษาข้อมูลสินค้าเป็นอย่างดี อาจเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตในปี 2567

         ทั้งนี้ บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจพลอยสีเห็นว่า อุตสาหกรรมพลอยสีจะเติบโตได้อย่างดีในปี 2567 พัฒนาการที่สำคัญในตลาด อาทิ การนำเข้าอัญมณีแบบไร้อุปสรรค และการกลับมาจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศต่างๆ จะช่วยกระตุ้นความต้องการพลอยสี โดยคาดว่า ผลผลิตพลอยบางชนิดจากเหมืองจะมีปริมาณมากขึ้น ระดับราคาจะคงที่ และผู้ประกอบการต้องเติมสินค้าคงคลังหากต้องการตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อที่คาดว่าจะสูงขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้ซื้อจากตลาดจีนที่ความต้องการซื้อเริ่มฟื้นตัวกลับมาแล้ว

การค้ามุก

        Jonathan Cheng จาก Rio Pearl ที่ตั้งอยู่ในฮ่องกง กล่าวว่า ในปี 2566 มุกทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นมุกน้ำจืด มุกตาฮิติ และมุกทะเลใต้ ล้วนมีมูลค่าสูงขึ้นจากความต้องการที่คึกคักและปริมาณสินค้าที่มีจำกัด ราคามุกได้มาถึงระดับที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้และผู้เลี้ยงมุกมีเงินทุนมากพอที่จะลงทุนเพิ่มเติมในการปรับปรุงคุณภาพผลผลิตโดยรวม โดยมีจีนเป็นตลาดสำคัญที่ลูกค้าต้องการมุกคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง

         สำหรับในปี 2567 คาดการณ์ว่า แนวโน้มนี้จะยังคงอยู่ เนื่องด้วยปริมาณสินค้าจากผู้ผลิตที่มีจำกัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น อาจได้เห็นความต้องการมุกคุณภาพดีในระดับที่สูงขึ้นตามไปด้วย


         แม้ว่าในภาพรวมของปี 2567 มีแนวโน้มที่ดี แต่ใช่ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจะผ่านพ้นจุดวิกฤติไปแล้วอย่างเต็มตัว จากการหารือในงาน 2023 CIBJO Congress ได้มุ่งเน้นไปที่ความท้าทายต่างๆ ที่ตลาดต้องเผชิญในการก้าวไปข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการคว่ำบาตรเพชรจากรัสเซียของกลุ่มประเทศ G7 การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ เพชรสังเคราะห์ ผลกระทบของเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยสูงที่มีต่อความต้องการซื้อ และมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติของภาคอุตสาหกรรมฯ ล้วนเป็นข้อกังวลในอนาคต ดังนั้น ความร่วมแรงร่วมใจและการหารืออย่างต่อเนื่องจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กุมภาพันธ์ 2567


แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

กุมภาพันธ์ 2567





ข้อมูลอ้างอิง


JNA. 2024. "JEWELLERY TRADE: Growth and Recovery in 2024." [Online] Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/25594/010224-Jewellery-trade-Growth-and-recovery-in-2024 (Retrieved February 9, 2024).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site