ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

พลอยสีบนเส้นทางที่จรัสแสง

Mar 29, 2024
1133 views
0 share

                ระดับราคาของพลอยสีและสถานการณ์การค้าที่มีแนวโน้มทรงตัวในปี 2567 ทำให้อุตสาหกรรมพลอยสีมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความต้องการซื้อในตลาดที่ห่วงใยประเด็นทางสังคม ขณะเดียวกันก็พยายามเอาชนะใจผู้บริโภควัยหนุ่มสาวไปพร้อมๆ กัน

                ปัจจัยที่จะช่วยสร้างรูปแบบภูมิทัศน์ทางการค้าของธุรกิจพลอยสีในตลาดโลกหลังวิกฤติโควิด-19 ได้แก่ ระดับราคา อุปทานวัตถุดิบ การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ และผู้บริโภครุ่นต่อไป

                ทั้งนี้ ความต้องการพลอยสีสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติโรคระบาด เนื่องจากตลาดหันไปให้ความสนใจในสีสันต่างๆ หลังจากที่ต้องตกอยู่ในบรรยากาศอันแสนหดหู่ในช่วงที่ผ่านมา

        ความต้องการที่สูงกอปรกับการหยุดชะงักของอุปทานในตลาดทำให้ราคาพลอยสีที่ได้รับความนิยมพุ่งทะยานตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2565 และต่อเนื่องไปในปี 2566 โดยผู้ผลิตและผู้ค้ายังคงยืนกรานในระดับราคาพลอยในมือของตนแม้ตลาดจะมีความลังเลเพราะราคาที่พุ่งขึ้นอย่างมาก

        แม้ว่าในปี 2566 งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลกจะกลับมาจัดกันแล้ว แต่จากราคาสินค้าที่สูง ทำให้การค้าชะลอตัวและผู้ซื้อที่เป็นผู้ประกอบการพากันซื้อสินค้าอย่างระมัดระวัง โดยส่วนใหญ่ต้องการเพียงแค่หาสินค้าตามคำสั่งซื้อมากกว่าที่จะสต๊อกสินค้าเอาไว้

        แต่ในช่วงปีสิ้นปี 2566 ตลาดเริ่มทรงตัวท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ โดยคาดว่าในปี 2567 การค้าจะออกตัวได้ดี

        S A Ali จาก United Colour Stone ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เห็นว่า ความต้องการทับทิมและแซปไฟร์ยังคงมีสูง แต่พลอยสีอื่นๆ เช่น อะความารีน เซอร์คอน แทนซาไนต์ ชะลอตัวเล็กน้อยตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม ธุรกิจมีทีท่าจะกลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้งตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2567

        Damien Cody ประธานของ International Colored Gemstone Association (ICA) เห็นพ้องกัน พร้อมชี้ว่า ผู้บริโภคน่าจะมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไปจนถึงสิ้นปี 2566 แต่ตลาดระดับบนสุดยังคงคึกคัก โดยมีความต้องการซื้อและระดับราคาสินค้าที่สูงซึ่งยืนยันได้จากผลการประมูลและรายงานยอดขาย 

การเติบโตของตลาด

        ตัวชี้วัดทั้งหมดต่างชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมพลอยสีในปี 2567 จะเติบโตได้สูง ราคาพลอยสีมีแนวโน้มยืนอยู่ในระดับใหม่หลังวิกฤติโควิด-19

        Cody สังเกตเห็นความต้องการอย่างต่อเนื่องที่มีต่อพลอยสีคุณภาพดีในงานแสดงสินค้าสำคัญๆ ช่วงท้ายปี 2566 เศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะช่วยกระตุ้นการซื้อขายเนื่องจากผู้ค้าปลีกเริ่มที่จะเติมสต๊อกสินค้าก่อนจะมีความต้องการของผู้บริโภคในตลาด 

        ในส่วนของโอกาสในตลาดนั้น Cody คาดว่าจะได้เห็นการฟื้นตัวของตลาดจีน อีกทั้งการซื้อเครื่องประดับให้กับตนเองของผู้หญิงจีนที่มีส่วนแบ่งสูงถึงเกือบร้อยละ 80 ในตลาดพลอยสีเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เช่นเดียวกับการขายเครื่องประดับออนไลน์ที่มาแรงและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนที่ยอดขายออนไลน์บน Xiaohongshu (Little Red Book) และ Weibo ต่างมีมูลค่ามหาศาล 

        Clement Sabbagh อดีตประธาน ICA ระบุว่า ทับทิม แซปไฟร์ และมรกตคุณภาพสูง สีระดับปานกลางและระดับดีที่สุดเป็นที่นิยมมากในปี 2566 และมีแนวโน้มจะเป็นที่ต้องการต่อเนื่องในปี 2567 พาราอิบาทัวร์มาลีนก็จะได้รับความนิยม และมีราคาสูง เพราะพลอยที่มีคุณภาพดีมีปริมาณจำกัด ส่วนพลอยประเภทอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในตลาด ได้แก่ สปิเนล โอปอล ซาโวไรต์ และซานตา มาเรีย อะความารีน


การไหลเข้าของวัตถุดิบ

        มีการคาดการณ์ว่าผลผลิตพลอยสีบางชนิดจากเหมืองจะเพิ่มขึ้น และช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนวัตถุดิบที่ส่งผลให้ราคาพลอยสีพุ่งสูง

        Pia Tonna จาก Fuli Gemstones ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเพอริโด กล่าวว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนินการทำเหมืองโดยคาดว่าจะเริ่มนำสินค้าเข้าสู่ตลาดในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และตั้งเป้าที่จะผลิตเพอริโดให้ได้ร้อยละ 64.5 ของปริมาณวัตถุดิบทั่วโลก

        Sean Gilbertson ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Gemfields มั่นใจว่า หากไม่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือความไม่สงบทางภูมิรัฐศาสตร์แล้ว ตลาดน่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและการค้าก็น่าจะไปได้ดีในปี 2567 โดยในปีที่ผ่านมานั้น บริษัทฯ มีผลประกอบการที่ดีจากราคาพลอยสีที่พุ่งสูง แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ “ที่ดีที่สุด” ที่เคยทำไว้ได้เมื่อปี 2565 ก็ตาม 

ความคาดหวังของผู้บริโภค

        การค้าพลอยสีก็มุ่งเป้าไปที่ความยั่งยืนซึ่งส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยผู้บริโภคที่มีความตระหนักทางสังคมด้วย

        Cody มองว่าเสียงเรียกร้องเรื่องความโปร่งใสเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญที่อุตสาหกรรมต้องเผชิญ การมีห่วงโซ่อุปทานที่โปร่งใสทุกขั้นตอนจากเหมืองถึงตลาดเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากราวร้อยละ 80 ของพลอยสีมาจากการทำเหมืองโดยคนงานเหมืองรายย่อยในพื้นที่ห่างไกล 

        นอกจากนี้ อุตสาหกรรมพลอยสียังก่อให้เกิดปริมาณก๊าซคาร์บอนในกระบวนการผลิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังมีการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนต่างๆ อีกด้วย 


ประเด็นเรื่องแหล่งที่มา

        ภาคอุตสาหกรรมได้พยายามที่จะจัดการกับความกังวลเรื่องแหล่งที่มา ความสามารถในการตรวจสอบที่มา และความโปร่งใส

        ห้องปฎิบัติการตรวจสอบอัญมณีของ ICA ได้นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับใบรับรองอัญมณีและแหล่งกำเนิด โดยในการรายงานผลสามารถจัดทำข้อมูลอัตลักษณ์แบบดิจิทัลและให้ข้อมูลเส้นทางที่ตรวจสอบได้ตั้งแต่แหล่งกำเนิดของอัญมณีไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้

        ขณะที่ Daniel Nyfeler จากห้องปฎิบัติการตรวจสอบอัญมณี Gübelin ระบุว่า ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม Provenance Proof มีข้อมูลของพลอยสีจำนวน 8 ล้านรายการจากกว่า 700 บริษัท โดยแพลตฟอร์มนี้ให้บริการได้ตั้งแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ไปจนถึงระดับคนงานในเหมืองขนาดเล็ก ขอเพียงมีสมาร์ทโฟนสำหรับใช้ลงทะเบียน จากนั้นก็ถ่ายรูปและป้อนข้อมูล เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในการใช้แพลตฟอร์มนี้อีกด้วย

        อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่า ผู้ประกอบการระดับกลางน้ำก็ยังไม่เข้าใจและยังไม่ยอมรับการตรวจสอบอย่างเต็มที่ หรืออาจยังไม่ได้รับแรงกดดันที่มากพอจากแบรนด์ต่างๆ ในการจัดหาสินค้าที่สามารถตรวจสอบได้ ขณะที่แบรนด์เครื่องประดับเองก็อาจไม่รู้ว่าในตลาดมีจำนวนอัญมณีที่ตรวจสอบแหล่งที่มาได้อยู่มากน้อยเพียงไร 

แนวปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ

ในการประชุม CIBJO Congress เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Sean Gilbertson จาก Gemfields ได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการปลายน้ำมุ่งเน้นที่ “เหมืองต้นกำเนิด” มากกว่า “ประเทศต้นกำเนิด” เพื่อกระตุ้นการตรวจสอบแหล่งที่มาได้ พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ธนาคารแห่งชาติโมซัมบิคระบุว่า ก่อนที่จะมีการประมูลทับทิมของ Gemfield ทับทิมได้ถูกลักลอบนำออกนอกประเทศหรือแจ้งมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้แอฟริกาสูญเสียรายได้หลายพันล้านเหรียญสหรัฐ

        ขณะที่ Jenna White จาก Colorado School of Mines เปิดเผยว่า คนงานเหมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่ในพื้นที่ทำเหมืองที่สำคัญในแอฟริกาต้องการราคาที่ยุติธรรมสำหรับอัญมณีของพวกเขา แทนที่จะเป็นการบริจาค อีกทั้งเห็นว่า โมเดลการฝึกงานให้แก่แรงงานในประเทศแหล่งผลิตนั้นได้ผลดีในแง่การพัฒนาทักษะ แต่ไม่ควรคาดหวังว่า ผู้ฝึกงานนั้นจะมีทักษะตามมาตรฐานนานาชาติหลังจากผ่านการฝึกเพียงไม่นาน

ลูกค้ารุ่นต่อไป

        อีกหนึ่งบททดสอบที่สำคัญและนับเป็นโอกาสสำหรับตลาดพลอยสีคือ การ  บ่มเพาะความต้องการในกลุ่มผู้บริโภคหนุ่มสาว

        Damien Cody เห็นว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับต้องการสร้างและรักษาความมั่นใจของผู้บริโภคในระดับสูง โดยมีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว การเล่าเรื่องราวจะเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการขายสินค้านี้ เพราะผู้ซื้อไม่ได้จดจำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและตัวเลขต่างๆ เท่านั้น สินค้าแต่ละชิ้นล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงควรสร้างสรรค์เรื่องราวที่ดึงดูดความสนใจแล้วอาศัยโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย 

        ในส่วนของ Richard W. Hughes ผู้ก่อตั้ง Lotus Gemology แสดงทัศนะไว้ว่า นอกเหนือจากการมุ่งเน้นที่การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบและการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนแล้ว การเปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องพลอยสีอาจช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึกในหมู่ผู้บริโภคได้ โดย Lotus Gemology ได้บอกเล่าเรื่องราวเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความงดงามน่าเหลือเชื่อของอัญมณีแทนที่จะมุ่งความสนใจแต่เรื่องปริมาณและคำอธิบายทางเทคนิค เพื่อช่วยดึงดูดใจผู้บริโภคและสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับสินค้า 

        เงื่อนไขใหม่ๆ ในตลาดและความคาดหวังของผู้บริโภคทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการดำเนินธุรกิจหลังวิกฤติโควิด-19 การที่จะทำให้อุตสาหกรรมขยายตัวและพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นต้องอาศัยความทุ่มเทและรับผิดชอบร่วมกันของทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว


แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

มีนาคม 2567




ข้อมูลอ้างอิง


อ้างอิงเนื้อหาและภาพประกอบจาก JNA. 2024. "Glittering Road Ahead For Coloured Gemstones." [Online] Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/25618/020724-Glittering-road-ahead-for-coloured-gemstones (Retrieved February 13, 2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

พลอยสีบนเส้นทางที่จรัสแสง

Mar 29, 2024
1133 views
0 share

                ระดับราคาของพลอยสีและสถานการณ์การค้าที่มีแนวโน้มทรงตัวในปี 2567 ทำให้อุตสาหกรรมพลอยสีมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความต้องการซื้อในตลาดที่ห่วงใยประเด็นทางสังคม ขณะเดียวกันก็พยายามเอาชนะใจผู้บริโภควัยหนุ่มสาวไปพร้อมๆ กัน

                ปัจจัยที่จะช่วยสร้างรูปแบบภูมิทัศน์ทางการค้าของธุรกิจพลอยสีในตลาดโลกหลังวิกฤติโควิด-19 ได้แก่ ระดับราคา อุปทานวัตถุดิบ การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ และผู้บริโภครุ่นต่อไป

                ทั้งนี้ ความต้องการพลอยสีสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติโรคระบาด เนื่องจากตลาดหันไปให้ความสนใจในสีสันต่างๆ หลังจากที่ต้องตกอยู่ในบรรยากาศอันแสนหดหู่ในช่วงที่ผ่านมา

        ความต้องการที่สูงกอปรกับการหยุดชะงักของอุปทานในตลาดทำให้ราคาพลอยสีที่ได้รับความนิยมพุ่งทะยานตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2565 และต่อเนื่องไปในปี 2566 โดยผู้ผลิตและผู้ค้ายังคงยืนกรานในระดับราคาพลอยในมือของตนแม้ตลาดจะมีความลังเลเพราะราคาที่พุ่งขึ้นอย่างมาก

        แม้ว่าในปี 2566 งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลกจะกลับมาจัดกันแล้ว แต่จากราคาสินค้าที่สูง ทำให้การค้าชะลอตัวและผู้ซื้อที่เป็นผู้ประกอบการพากันซื้อสินค้าอย่างระมัดระวัง โดยส่วนใหญ่ต้องการเพียงแค่หาสินค้าตามคำสั่งซื้อมากกว่าที่จะสต๊อกสินค้าเอาไว้

        แต่ในช่วงปีสิ้นปี 2566 ตลาดเริ่มทรงตัวท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ โดยคาดว่าในปี 2567 การค้าจะออกตัวได้ดี

        S A Ali จาก United Colour Stone ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ เห็นว่า ความต้องการทับทิมและแซปไฟร์ยังคงมีสูง แต่พลอยสีอื่นๆ เช่น อะความารีน เซอร์คอน แทนซาไนต์ ชะลอตัวเล็กน้อยตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม ธุรกิจมีทีท่าจะกลับมาเติบโตได้ดีอีกครั้งตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2567

        Damien Cody ประธานของ International Colored Gemstone Association (ICA) เห็นพ้องกัน พร้อมชี้ว่า ผู้บริโภคน่าจะมีความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยที่สูงขึ้นไปจนถึงสิ้นปี 2566 แต่ตลาดระดับบนสุดยังคงคึกคัก โดยมีความต้องการซื้อและระดับราคาสินค้าที่สูงซึ่งยืนยันได้จากผลการประมูลและรายงานยอดขาย 

การเติบโตของตลาด

        ตัวชี้วัดทั้งหมดต่างชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมพลอยสีในปี 2567 จะเติบโตได้สูง ราคาพลอยสีมีแนวโน้มยืนอยู่ในระดับใหม่หลังวิกฤติโควิด-19

        Cody สังเกตเห็นความต้องการอย่างต่อเนื่องที่มีต่อพลอยสีคุณภาพดีในงานแสดงสินค้าสำคัญๆ ช่วงท้ายปี 2566 เศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะช่วยกระตุ้นการซื้อขายเนื่องจากผู้ค้าปลีกเริ่มที่จะเติมสต๊อกสินค้าก่อนจะมีความต้องการของผู้บริโภคในตลาด 

        ในส่วนของโอกาสในตลาดนั้น Cody คาดว่าจะได้เห็นการฟื้นตัวของตลาดจีน อีกทั้งการซื้อเครื่องประดับให้กับตนเองของผู้หญิงจีนที่มีส่วนแบ่งสูงถึงเกือบร้อยละ 80 ในตลาดพลอยสีเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เช่นเดียวกับการขายเครื่องประดับออนไลน์ที่มาแรงและเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนที่ยอดขายออนไลน์บน Xiaohongshu (Little Red Book) และ Weibo ต่างมีมูลค่ามหาศาล 

        Clement Sabbagh อดีตประธาน ICA ระบุว่า ทับทิม แซปไฟร์ และมรกตคุณภาพสูง สีระดับปานกลางและระดับดีที่สุดเป็นที่นิยมมากในปี 2566 และมีแนวโน้มจะเป็นที่ต้องการต่อเนื่องในปี 2567 พาราอิบาทัวร์มาลีนก็จะได้รับความนิยม และมีราคาสูง เพราะพลอยที่มีคุณภาพดีมีปริมาณจำกัด ส่วนพลอยประเภทอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในตลาด ได้แก่ สปิเนล โอปอล ซาโวไรต์ และซานตา มาเรีย อะความารีน


การไหลเข้าของวัตถุดิบ

        มีการคาดการณ์ว่าผลผลิตพลอยสีบางชนิดจากเหมืองจะเพิ่มขึ้น และช่วยบรรเทาภาวะขาดแคลนวัตถุดิบที่ส่งผลให้ราคาพลอยสีพุ่งสูง

        Pia Tonna จาก Fuli Gemstones ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเพอริโด กล่าวว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างดำเนินการทำเหมืองโดยคาดว่าจะเริ่มนำสินค้าเข้าสู่ตลาดในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และตั้งเป้าที่จะผลิตเพอริโดให้ได้ร้อยละ 64.5 ของปริมาณวัตถุดิบทั่วโลก

        Sean Gilbertson ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Gemfields มั่นใจว่า หากไม่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือความไม่สงบทางภูมิรัฐศาสตร์แล้ว ตลาดน่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและการค้าก็น่าจะไปได้ดีในปี 2567 โดยในปีที่ผ่านมานั้น บริษัทฯ มีผลประกอบการที่ดีจากราคาพลอยสีที่พุ่งสูง แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าระดับ “ที่ดีที่สุด” ที่เคยทำไว้ได้เมื่อปี 2565 ก็ตาม 

ความคาดหวังของผู้บริโภค

        การค้าพลอยสีก็มุ่งเป้าไปที่ความยั่งยืนซึ่งส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยผู้บริโภคที่มีความตระหนักทางสังคมด้วย

        Cody มองว่าเสียงเรียกร้องเรื่องความโปร่งใสเป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญที่อุตสาหกรรมต้องเผชิญ การมีห่วงโซ่อุปทานที่โปร่งใสทุกขั้นตอนจากเหมืองถึงตลาดเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เนื่องจากราวร้อยละ 80 ของพลอยสีมาจากการทำเหมืองโดยคนงานเหมืองรายย่อยในพื้นที่ห่างไกล 

        นอกจากนี้ อุตสาหกรรมพลอยสียังก่อให้เกิดปริมาณก๊าซคาร์บอนในกระบวนการผลิตเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังมีการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนต่างๆ อีกด้วย 


ประเด็นเรื่องแหล่งที่มา

        ภาคอุตสาหกรรมได้พยายามที่จะจัดการกับความกังวลเรื่องแหล่งที่มา ความสามารถในการตรวจสอบที่มา และความโปร่งใส

        ห้องปฎิบัติการตรวจสอบอัญมณีของ ICA ได้นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับใบรับรองอัญมณีและแหล่งกำเนิด โดยในการรายงานผลสามารถจัดทำข้อมูลอัตลักษณ์แบบดิจิทัลและให้ข้อมูลเส้นทางที่ตรวจสอบได้ตั้งแต่แหล่งกำเนิดของอัญมณีไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้

        ขณะที่ Daniel Nyfeler จากห้องปฎิบัติการตรวจสอบอัญมณี Gübelin ระบุว่า ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม Provenance Proof มีข้อมูลของพลอยสีจำนวน 8 ล้านรายการจากกว่า 700 บริษัท โดยแพลตฟอร์มนี้ให้บริการได้ตั้งแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ไปจนถึงระดับคนงานในเหมืองขนาดเล็ก ขอเพียงมีสมาร์ทโฟนสำหรับใช้ลงทะเบียน จากนั้นก็ถ่ายรูปและป้อนข้อมูล เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในการใช้แพลตฟอร์มนี้อีกด้วย

        อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่า ผู้ประกอบการระดับกลางน้ำก็ยังไม่เข้าใจและยังไม่ยอมรับการตรวจสอบอย่างเต็มที่ หรืออาจยังไม่ได้รับแรงกดดันที่มากพอจากแบรนด์ต่างๆ ในการจัดหาสินค้าที่สามารถตรวจสอบได้ ขณะที่แบรนด์เครื่องประดับเองก็อาจไม่รู้ว่าในตลาดมีจำนวนอัญมณีที่ตรวจสอบแหล่งที่มาได้อยู่มากน้อยเพียงไร 

แนวปฏิบัติด้วยความรับผิดชอบ

ในการประชุม CIBJO Congress เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Sean Gilbertson จาก Gemfields ได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการปลายน้ำมุ่งเน้นที่ “เหมืองต้นกำเนิด” มากกว่า “ประเทศต้นกำเนิด” เพื่อกระตุ้นการตรวจสอบแหล่งที่มาได้ พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ธนาคารแห่งชาติโมซัมบิคระบุว่า ก่อนที่จะมีการประมูลทับทิมของ Gemfield ทับทิมได้ถูกลักลอบนำออกนอกประเทศหรือแจ้งมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้แอฟริกาสูญเสียรายได้หลายพันล้านเหรียญสหรัฐ

        ขณะที่ Jenna White จาก Colorado School of Mines เปิดเผยว่า คนงานเหมืองท้องถิ่นส่วนใหญ่ในพื้นที่ทำเหมืองที่สำคัญในแอฟริกาต้องการราคาที่ยุติธรรมสำหรับอัญมณีของพวกเขา แทนที่จะเป็นการบริจาค อีกทั้งเห็นว่า โมเดลการฝึกงานให้แก่แรงงานในประเทศแหล่งผลิตนั้นได้ผลดีในแง่การพัฒนาทักษะ แต่ไม่ควรคาดหวังว่า ผู้ฝึกงานนั้นจะมีทักษะตามมาตรฐานนานาชาติหลังจากผ่านการฝึกเพียงไม่นาน

ลูกค้ารุ่นต่อไป

        อีกหนึ่งบททดสอบที่สำคัญและนับเป็นโอกาสสำหรับตลาดพลอยสีคือ การ  บ่มเพาะความต้องการในกลุ่มผู้บริโภคหนุ่มสาว

        Damien Cody เห็นว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับต้องการสร้างและรักษาความมั่นใจของผู้บริโภคในระดับสูง โดยมีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เป็นกลุ่มคนหนุ่มสาว การเล่าเรื่องราวจะเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการขายสินค้านี้ เพราะผู้ซื้อไม่ได้จดจำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและตัวเลขต่างๆ เท่านั้น สินค้าแต่ละชิ้นล้วนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงควรสร้างสรรค์เรื่องราวที่ดึงดูดความสนใจแล้วอาศัยโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย 

        ในส่วนของ Richard W. Hughes ผู้ก่อตั้ง Lotus Gemology แสดงทัศนะไว้ว่า นอกเหนือจากการมุ่งเน้นที่การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบและการดำเนินการเพื่อความยั่งยืนแล้ว การเปลี่ยนวิธีการเล่าเรื่องพลอยสีอาจช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึกในหมู่ผู้บริโภคได้ โดย Lotus Gemology ได้บอกเล่าเรื่องราวเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความงดงามน่าเหลือเชื่อของอัญมณีแทนที่จะมุ่งความสนใจแต่เรื่องปริมาณและคำอธิบายทางเทคนิค เพื่อช่วยดึงดูดใจผู้บริโภคและสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับสินค้า 

        เงื่อนไขใหม่ๆ ในตลาดและความคาดหวังของผู้บริโภคทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการดำเนินธุรกิจหลังวิกฤติโควิด-19 การที่จะทำให้อุตสาหกรรมขยายตัวและพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นต้องอาศัยความทุ่มเทและรับผิดชอบร่วมกันของทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว


แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

มีนาคม 2567




ข้อมูลอ้างอิง


อ้างอิงเนื้อหาและภาพประกอบจาก JNA. 2024. "Glittering Road Ahead For Coloured Gemstones." [Online] Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/25618/020724-Glittering-road-ahead-for-coloured-gemstones (Retrieved February 13, 2024).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site