ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ก้าวไปให้ไกลกว่าเพียงแค่การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

Apr 30, 2024
848 views
1 share

        จากรายงานพิเศษของคณะกรรมการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของสมาพันธ์เครื่องประดับโลก หรือ CIBJO ที่มี John Mulligan เป็นประธานระบุว่า Responsible Sourcing Blue Book ของ CIBJO และคู่มือนโยบายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง Responsible Sourcing Toolkit จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่กระชับและชัดเจนว่าด้วยวิธีการปรับปรุงและดำเนินการเพื่อความมั่นใจในเรื่องจริยธรรมและความรับผิดชอบของห่วงโซ่อุปทานให้กับสมาชิก CIBJO และอุตสาหกรรมเครื่องประดับในวงกว้าง

        แนวปฏิบัติของอุตสาหกรรมทั้งหมดครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบการในวงกว้างที่ดำเนินการในพื้นที่และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การตอบสนองและผลจากการลงมือปฏิบัติของบริษัทต่างๆ จึงต่างกันอย่างมากเช่นกัน นอกจากนี้ ความหลากหลายอย่างยิ่งด้านวัตถุดิบ ห่วงโซ่อุปทาน และไลน์สินค้าที่เป็นส่วนหนึ่งอุตสาหกรรมเครื่องประดับโลก รวมทั้งมาตรวัด ศักยภาพ และทรัพยากรของแต่ละบริษัท ย่อมส่งผลให้การดำเนินการนโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบมีแนวทางที่หลากหลาย ตลอดจนมีระดับความเข้มข้นและรายละเอียดแตกต่างกันออกไป

        แนวทางปฏิบัติของ CIBJO บ่งบอกอย่างชัดเจนว่านี่เป็น การเดินทาง และเป็นการเดินทางที่ภาคส่วนต่างๆ ต้องลงมือปฏิบัติโดยจะเพิกเฉยหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้

        นอกจากนี้ ยังต้องยอมรับว่าระดับความคาดหวังและการตรวจสอบที่ใช้กับผู้นำอุตสาหกรรมตลอดจนห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับจะบังคับให้ต้องตอบสนองต่อความท้าทายต่างๆ ที่หลากหลายยิ่งกว่าเดิม โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และบริษัทต่างๆ ในทุกภาคส่วนต้องพิจารณาว่าจะยังอยู่ในการแข่งขันท่ามกลางความเสี่ยงด้านระบบและความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างได้อย่างไร

ความคาดหวังและโอกาส

        การระบาดของโควิด-19 ถูกนำไปอ้างในฐานะแรงเสริมของกระแสที่กำลังขยายตัวอยู่ในหมู่ผู้บริโภค นั่นคือ เทรนด์การจับจ่ายใช้สอยและความภักดีต่อแบรนด์ที่เป็นไปตามประเด็นด้านความยั่งยืนและการตอบสนองขององค์กรต่อปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

        จากการสำรวจถึงทัศนคติต่อประเด็นต่างๆ ช่วงก่อนและหลังการระบาดของโควิด-19 ของ Deloitte ในกลุ่มตัวอย่าง 10,000 คนใน 6 ประเทศ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคมีทัศนคติแบบ “นักกิจกรรม” เพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกเขาต้องการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงจากผู้นำธุรกิจและบริษัทต่างๆ   ในทำนองเดียวกัน การวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคในปัจจุบันคาดหวังให้แบรนด์ดำเนินการเชิงรุกในแนวทางที่ก่อนหน้านี้เคยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ  

สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับผู้ผลิตสินค้าหรูที่ผลิตจากวัตถุดิบ ไม่ว่าเราจะเชื่อว่าความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นสัญลักษณ์มีความสำคัญหรือเป็นแก่นแท้ในชีวิตของเรามากแค่ไหน เหมือนที่เราใช้เครื่องประดับแสดงออก เราไม่อาจแยกสิ่งเหล่านี้ออกมาจากภัยคุกคามเร่งด่วนต่างๆ ที่ส่งผลมากขึ้นต่อเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทั่วโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความยากจน และความไม่เท่าเทียม เนื่องจากตลาดอาศัยการจับจ่ายที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างดี อุตสาหกรรมเครื่องประดับอาจต้องเพิ่มความพยายามมากกว่าแค่แสดงให้เห็นว่าได้ดำเนินการอย่างแข็งขันในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บริษัทต่างๆ ไม่เพียงต้องพิจารณาว่ากิจการของตนจะลดผลกระทบทางลบซึ่งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ต้องนำเสนอวิธีการมีส่วนร่วมในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับโลกและประชาชนด้วย

การทำเช่นนี้นับเป็นโอกาสด้วยเช่นกัน เพราะแบรนด์และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้และความยั่งยืนอย่างชัดเจน และสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีแนวโน้มที่จะเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะในด้านการสร้างความภักดีของลูกค้า การมีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการรับมือกับฤติการณ์ต่างๆ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณค่าของแบรนด์


ที่มาภาพ:  www.cibjo.org

นอกจากนี้ ยังมีโอกาสมากขึ้นในการสร้างผลกระทบที่ดีเมื่อเราพิจารณาถึงธรรมชาติของห่วงโซ่อุปทานของโลหะมีค่าและอัญมณี และมองไปยังอุตสาหกรรมต้นน้ำที่เป็นแหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิตเครื่องประดับชั้นนำที่มีความรับผิดชอบตระหนักมานานแล้วว่าห่วงโซ่คุณค่าของตนมักเกิดจากเขตเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำและเปราะบาง ซึ่งทรัพยากรและศักยภาพของรัฐบาลมักมีจำกัดและสภาพแวดล้อมสังคมการเมืองมีความไม่แน่นอนสูง

บางตลาดมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงวัตถุดิบจากพื้นที่เสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม หากบริษัทผู้ผลิตเครื่องประดับและสินค้าหรูแสดงถึงการตระหนักถึงผลกระทบที่กว้างขึ้น และหาวิธีการให้ความช่วยเหลือสูงสุด พวกเขาก็ไม่ควรหันหลังให้กับกลุ่มผู้เปราะบางในประเทศกำลังพัฒนาและพื้นที่ชายแดน บริษัทที่มีความรับผิดชอบสามารถสนับสนุนรวมทั้งกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้เกิดขึ้นในพื้นที่และชุมชนที่มีความท้าทาย และแสดงข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนและรวดเร็วถึงผลประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท้องถิ่นได้

คุณค่าและวัตถุประสงค์ที่กว้างขึ้น

        โชคดีที่มีหลักฐานหนักแน่นมากขึ้นว่าผู้นำอุตสาหกรรมทั้งเครื่องประดับและโลหะมีค่ารวมถึงอัญมณีมีความใส่ใจมากขึ้นต่อบทบาทและความรับผิดชอบในพื้นที่และประเทศที่อาจต้องดิ้นรนในการดูแลความเป็นอยู่และสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ อุตสาหกรรมทองและเพชรได้พัฒนาเรื่องนี้อย่างจริงจังในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยการที่ผู้นำอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่าเข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างคุณค่าและการกระจายคุณค่าที่กว้างขึ้น ธุรกิจเหล่านี้ทำงานเชิงรุกมากขึ้นในการหาแนวทางมีส่วนร่วมในผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นมากขึ้น มากกว่ายอดขายโลหะมีค่าและอัญมณี หรือแค่ในตลาดและไลน์สินค้าใดโดยเฉพาะ

คำถามว่าด้วยวิธีการสื่อสารและแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์และคุณค่าที่กว้างขึ้นของบริษัทหรือแบรนด์ มักได้รับคำตอบโดยการอ้างอิง Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ในขณะที่เป้าหมายทั้ง 17 ข้อนี้ หรือ “พิมพ์เขียวร่วมเพื่อสันติภาพและความมั่งคั่งสำหรับผู้คนและโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต” ถูกพัฒนาขึ้นโดยมุ่งกระตุ้นให้ภาครัฐกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ด้านสังคมและสภาพแวดล้อมในวงกว้าง เป้าหมายเหล่านี้ช่วยให้บริษัทมีกรอบอย่างกว้างๆ ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับ SDGs อีกทั้งยังกำหนดตัวชี้วัดเฉพาะให้กับธุรกิจต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้วัดประเมินและอธิบายความก้าวหน้าได้  

ด้วยความตระหนักถึงบทบาทของบริษัทเอกชนและธุรกิจต่อการผลักดันความก้าวหน้าในประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน UN Global Compact ได้นำเสนอกรอบการทำงานอิงหลักการสำหรับธุรกิจต่างๆ โดยมุ่งไปที่ความใส่ใจขององค์กรในหลักการ 10 ข้อเพื่อผลักดันการลงมือดำเนินการเรื่อง SDGs ที่ครอบคลุมประเด็นหลักของสิทธิมนุษยชน แรงงาน สภาพแวดล้อม และการต่อต้านคอรัปชั่น

    หากผู้บริโภคและสังคมที่กว้างขึ้นเพิ่มข้อเรียกร้องกับบริษัทและแบรนด์ให้แสดงถึงความตระหนักและการตอบสนองต่อความท้าทายของโลก ธุรกิจทั้งหมดควรพัฒนาความเข้าใจที่เข้มข้นต่อกรอบการทำงานนี้ ขณะที่ประเด็นเรื่องสาระสำคัญและความน่าเชื่อถือย่อมมีผลกระทบต่อบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การไม่ดำเนินการขององค์กรหรือการล่าช้าจะทำให้สาธารณชนและผู้บริโภคมีความกังวลมากขึ้นเมื่อมีแรงกดดันและภาวะวิกฤติสะสมเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันเราอยู่ระยะกลางของสิ่งที่องค์การสหประชาชาติเรียกว่า Decade of Action ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การบรรลุการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในปี 2573 จุดสิ้นสุดของทศวรรษจะมีความสำคัญต่อวัตถุประสงค์ความยั่งยืนหลายข้อที่สำคัญ แต่ตอนนี้เป็นโอกาสสำคัญที่จะลงมือจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังแพร่ขยายออกไป การกระตุ้นการดำเนินการระยะใกล้และระยะกลางเพื่อเร่งความก้าวหน้าเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่งเมื่อนึกถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์และความเข้าใจของเราที่มีมากขึ้นในเรื่องจุดพลิกผันและความเสี่ยงแบบลูกโซ่ ยิ่งเพิ่มความเร่งด่วนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะ

CSR vs ESG vs ความยั่งยืน

        Environmental, Social, and Governance (ESG) และ Corporate Social Responsibility (CSR) มักจะถูกนำมาใช้สลับกันไปมาและมีความหมายซ้อนทับกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันมาก และวิธีการที่ทั้งสองคำถูกใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในการอธิบายถึงความมุ่งมั่นขององค์กรเรื่องความยั่งยืน โดยการตีความและการใช้จะมีความหมายโดยนัยถึงวิธีการวางกรอบและการจัดลำดับความสำคัญของแผนและการกระทำ เราแนะนำให้ผู้นำธุรกิจพิจารณาถึงความแตกต่างและตำแหน่งที่ได้วางองค์กรของตนไว้บนเส้นทางสู่ความยั่งยืน

        ทั้งนี้ CSR มักถูกเอ่ยถึงว่าเป็นการดำเนินการแบบอาสาสมัครและดูแลควบคุมเองเพื่อมุ่งไปสู่หรือแสดงถึงพฤติกรรมขององค์กรที่ก้าวหน้า มุ่งไปยังการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ และสร้างเสริมชื่อเสียงขององค์กร ขณะที่ ESG มุ่งไปที่เป้าหมายการดำเนินการเฉพาะ การวัด และหมุดหมาย โดยมีการกำหนดการตรวจสอบและกระบวนการเปิดเผย ส่วนความยั่งยืนครอบคลุมทั้ง CSR และ ESG

        ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ กระแสทั่วโลกหันไปหาการจัดลำดับความสำคัญจาก CSR ไปกลยุทธ์ ESG การทำให้ ESG เป็นเรื่องการเมืองเมื่อเร็วๆ นี้ ในบางประเทศโดยเฉพาะในแวดวงการลงทุน ได้ทำให้องค์กรจำนวนไม่น้อยขยายจุดสนใจเรื่องความยั่งยืนและธุรกิจที่มีความรับผิดชอบให้กว้างขึ้น

เช่นเดียวกัน ความกังวลที่มีมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้เป้าหมายเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนไม่ถูกต้องเพื่อการตลาดเพียงผิวเผินและการส่งเสริมการขายได้ทำให้การดำเนินการขององค์กรถูกปฏิเสธและเรียกว่าเป็น “การฟอกเขียวธุรกิจ” (Green-washing/SDG-washing) อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปหลักที่เราได้จากเทรนด์ที่ครอบเราไว้ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษก่อนก็คือบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาบูรณาการเป้าหมายความยั่งยืนและการปฏิบัติเข้ากับแผนหลักของธุรกิจ และสามารถแสดงถึงผลกระทบในรูปแบบที่น่าเชื่อถือ โปร่งใส และมีความสม่ำเสมอ

ความก้าวหน้าและแรงกระตุ้น

        อุตสาหกรรมเครื่องประดับได้ดำเนินก้าวสำคัญเพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อเทรนด์เหล่านี้ ขณะเดียวกันก็มีความมั่นใจในความสามารถของตนมากขึ้นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและมีส่วนร่วมในความก้าวหน้าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่กว้างขึ้น สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นในโครงการของอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและครอบคลุมอย่างกว้างขวาง

ตัวอย่างเช่น เมื่อปีก่อน Responsible Jewellery Council (RJC) ตอกย้ำความมุ่งหมายที่จะตั้งเป้าความสนใจของตน (และสมาชิกของตน) ในการจัดการเป้าหมายแรก 5 ข้อที่จะบรรลุ SDGs เฉพาะ ซึ่งระบุว่าเป็นห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับที่มีความเกี่ยวข้องสูงสุด ได้แก่ (1) ความเสมอภาคระหว่างเพศ (2) การมีงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (3) การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ (4) ปฏิบัติการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (5) สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันที่แข็งแกร่ง


   ที่มาภาพ:  www.cibjo.org

        The Watch and Jewellery Initiative 2030 (WJI2030) ที่รวมแบรนด์สินค้าหรูรายใหญ่จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน ได้ระบุจุดมุ่งหมายในการใช้ความเป็นผู้นำของ CEO และความร่วมมือของอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของภาคส่วนในเรื่อง ‘เสาหลักสำคัญ’ 3 ประการ ได้แก่ (1) สร้างความเหมาะสมและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (2) ดูแลรักษาทรัพยากร และ (3) นำหลักการความครอบคลุมมาใช้

        The Gold Industry Declaration of Responsibility & Sustainability Principles ได้รวบรวมสมาคมทองคำ 14 แห่งจากห่วงโซ่อุปทานทองคำทั้งหมดนับตั้งแต่เหมืองไปจนถึงตลาด (รวมถึง CIBJO, RJC และ WJI2030) เพื่อประกาศต่อสาธารณชนถึงคำมั่นสัญญาในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าใน 10 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ (2) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (3) สิทธิมนุษยชน (4) ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และความครอบคลุม (5) ชนพื้นเมืองและประชากรกลุ่มเปราะบาง (6) การรายงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (7) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (8) การทำให้การทำเหมืองแบบดั้งเดิม/เหมืองขนาดเล็กมีความเป็นมืออาชีพ (9) ความร่วมมือของทั้งอุตสาหกรรม และ (10) การรายงานความก้าวหน้า

        สมาพันธ์เครื่องประดับโลกได้ส่งสัญญาณถึงความมุ่งมั่นในการเพิ่มความตระหนักของสมาชิกและอุตสาหกรรมถึงผลที่ตามมาและการช่วยเหลือที่เป็นไปได้ทางสังคมและสิ่งแ  วดล้อม โดย Dr. Gaetano Cavalieri ประธานของ CIBJO ได้เน้นย้ำในการปราศัยครั้งล่าสุดต่อองค์การสหประชาชาติ  ว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะพัฒนาความเข้าใจทั้งอุตสาหกรรมว่าอุตสาหกรรมเครื่องประดับควรจัดหาทั้งโอกาสการพัฒนาด้านความยั่งยืนและสังคมในประเทศและภูมิภาคที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาศัยอยู่

        Dr. Cavalieri ยอมรับว่าความคาดหวังและการพิจารณาของผู้บริโภคและสังคมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และได้กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นสำคัญว่า “เรื่องนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นสิ่งจำเป็นทางศีลธรรมแต่ยังเป็นข้อบังคับทางธุรกิจ... รวมทั้งผู้บริโภคสินค้าเครื่องประดับไฮเอนด์มีแนวโน้มสูงที่จะเรียกร้องให้สินค้าที่พวกเขาซื้อแสดงถึงผลประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน”

        การละทิ้ง “ธุรกิจแบบเดิม” และปรับทิศทางให้บริษัทอีกครั้งเพื่อพิจารณาความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ที่กว้างขึ้น อาจน่าหวาดหวั่นในช่วงแรก หากผู้นำธุรกิจเครื่องประดับยังไม่เริ่มดำเนินการ ตอนนี้ถึงเวลาที่จะลงมือทำแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอให้สบายใจและมั่นใจได้ว่าคุณไม่ได้เดียวดาย เพราะตลอดการเดินทางของคุณจะมีเครื่องมือความยั่งยืนและข้อมูลอ้างอิงคอยเป็นเข็มทิศให้



แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

เมษายน 2567




เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ก้าวไปให้ไกลกว่าเพียงแค่การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ

Apr 30, 2024
848 views
1 share

        จากรายงานพิเศษของคณะกรรมการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของสมาพันธ์เครื่องประดับโลก หรือ CIBJO ที่มี John Mulligan เป็นประธานระบุว่า Responsible Sourcing Blue Book ของ CIBJO และคู่มือนโยบายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง Responsible Sourcing Toolkit จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่กระชับและชัดเจนว่าด้วยวิธีการปรับปรุงและดำเนินการเพื่อความมั่นใจในเรื่องจริยธรรมและความรับผิดชอบของห่วงโซ่อุปทานให้กับสมาชิก CIBJO และอุตสาหกรรมเครื่องประดับในวงกว้าง

        แนวปฏิบัติของอุตสาหกรรมทั้งหมดครอบคลุมกลุ่มผู้ประกอบการในวงกว้างที่ดำเนินการในพื้นที่และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การตอบสนองและผลจากการลงมือปฏิบัติของบริษัทต่างๆ จึงต่างกันอย่างมากเช่นกัน นอกจากนี้ ความหลากหลายอย่างยิ่งด้านวัตถุดิบ ห่วงโซ่อุปทาน และไลน์สินค้าที่เป็นส่วนหนึ่งอุตสาหกรรมเครื่องประดับโลก รวมทั้งมาตรวัด ศักยภาพ และทรัพยากรของแต่ละบริษัท ย่อมส่งผลให้การดำเนินการนโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบมีแนวทางที่หลากหลาย ตลอดจนมีระดับความเข้มข้นและรายละเอียดแตกต่างกันออกไป

        แนวทางปฏิบัติของ CIBJO บ่งบอกอย่างชัดเจนว่านี่เป็น การเดินทาง และเป็นการเดินทางที่ภาคส่วนต่างๆ ต้องลงมือปฏิบัติโดยจะเพิกเฉยหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้

        นอกจากนี้ ยังต้องยอมรับว่าระดับความคาดหวังและการตรวจสอบที่ใช้กับผู้นำอุตสาหกรรมตลอดจนห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับจะบังคับให้ต้องตอบสนองต่อความท้าทายต่างๆ ที่หลากหลายยิ่งกว่าเดิม โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และบริษัทต่างๆ ในทุกภาคส่วนต้องพิจารณาว่าจะยังอยู่ในการแข่งขันท่ามกลางความเสี่ยงด้านระบบและความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างได้อย่างไร

ความคาดหวังและโอกาส

        การระบาดของโควิด-19 ถูกนำไปอ้างในฐานะแรงเสริมของกระแสที่กำลังขยายตัวอยู่ในหมู่ผู้บริโภค นั่นคือ เทรนด์การจับจ่ายใช้สอยและความภักดีต่อแบรนด์ที่เป็นไปตามประเด็นด้านความยั่งยืนและการตอบสนองขององค์กรต่อปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

        จากการสำรวจถึงทัศนคติต่อประเด็นต่างๆ ช่วงก่อนและหลังการระบาดของโควิด-19 ของ Deloitte ในกลุ่มตัวอย่าง 10,000 คนใน 6 ประเทศ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคมีทัศนคติแบบ “นักกิจกรรม” เพิ่มขึ้น เนื่องจากพวกเขาต้องการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงจากผู้นำธุรกิจและบริษัทต่างๆ   ในทำนองเดียวกัน การวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคในปัจจุบันคาดหวังให้แบรนด์ดำเนินการเชิงรุกในแนวทางที่ก่อนหน้านี้เคยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ  

สิ่งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับผู้ผลิตสินค้าหรูที่ผลิตจากวัตถุดิบ ไม่ว่าเราจะเชื่อว่าความสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และความเป็นสัญลักษณ์มีความสำคัญหรือเป็นแก่นแท้ในชีวิตของเรามากแค่ไหน เหมือนที่เราใช้เครื่องประดับแสดงออก เราไม่อาจแยกสิ่งเหล่านี้ออกมาจากภัยคุกคามเร่งด่วนต่างๆ ที่ส่งผลมากขึ้นต่อเสถียรภาพและความเจริญเติบโตทั่วโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความยากจน และความไม่เท่าเทียม เนื่องจากตลาดอาศัยการจับจ่ายที่ผ่านการไตร่ตรองอย่างดี อุตสาหกรรมเครื่องประดับอาจต้องเพิ่มความพยายามมากกว่าแค่แสดงให้เห็นว่าได้ดำเนินการอย่างแข็งขันในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน บริษัทต่างๆ ไม่เพียงต้องพิจารณาว่ากิจการของตนจะลดผลกระทบทางลบซึ่งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ต้องนำเสนอวิธีการมีส่วนร่วมในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีให้กับโลกและประชาชนด้วย

การทำเช่นนี้นับเป็นโอกาสด้วยเช่นกัน เพราะแบรนด์และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้และความยั่งยืนอย่างชัดเจน และสามารถแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีแนวโน้มที่จะเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะในด้านการสร้างความภักดีของลูกค้า การมีชื่อเสียงเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการรับมือกับฤติการณ์ต่างๆ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณค่าของแบรนด์


ที่มาภาพ:  www.cibjo.org

นอกจากนี้ ยังมีโอกาสมากขึ้นในการสร้างผลกระทบที่ดีเมื่อเราพิจารณาถึงธรรมชาติของห่วงโซ่อุปทานของโลหะมีค่าและอัญมณี และมองไปยังอุตสาหกรรมต้นน้ำที่เป็นแหล่งวัตถุดิบ ผู้ผลิตเครื่องประดับชั้นนำที่มีความรับผิดชอบตระหนักมานานแล้วว่าห่วงโซ่คุณค่าของตนมักเกิดจากเขตเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำและเปราะบาง ซึ่งทรัพยากรและศักยภาพของรัฐบาลมักมีจำกัดและสภาพแวดล้อมสังคมการเมืองมีความไม่แน่นอนสูง

บางตลาดมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงวัตถุดิบจากพื้นที่เสี่ยงสูง อย่างไรก็ตาม หากบริษัทผู้ผลิตเครื่องประดับและสินค้าหรูแสดงถึงการตระหนักถึงผลกระทบที่กว้างขึ้น และหาวิธีการให้ความช่วยเหลือสูงสุด พวกเขาก็ไม่ควรหันหลังให้กับกลุ่มผู้เปราะบางในประเทศกำลังพัฒนาและพื้นที่ชายแดน บริษัทที่มีความรับผิดชอบสามารถสนับสนุนรวมทั้งกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้เกิดขึ้นในพื้นที่และชุมชนที่มีความท้าทาย และแสดงข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนและรวดเร็วถึงผลประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียท้องถิ่นได้

คุณค่าและวัตถุประสงค์ที่กว้างขึ้น

        โชคดีที่มีหลักฐานหนักแน่นมากขึ้นว่าผู้นำอุตสาหกรรมทั้งเครื่องประดับและโลหะมีค่ารวมถึงอัญมณีมีความใส่ใจมากขึ้นต่อบทบาทและความรับผิดชอบในพื้นที่และประเทศที่อาจต้องดิ้นรนในการดูแลความเป็นอยู่และสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ อุตสาหกรรมทองและเพชรได้พัฒนาเรื่องนี้อย่างจริงจังในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยการที่ผู้นำอุตสาหกรรมแสดงให้เห็นว่าเข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างคุณค่าและการกระจายคุณค่าที่กว้างขึ้น ธุรกิจเหล่านี้ทำงานเชิงรุกมากขึ้นในการหาแนวทางมีส่วนร่วมในผลกระทบที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นมากขึ้น มากกว่ายอดขายโลหะมีค่าและอัญมณี หรือแค่ในตลาดและไลน์สินค้าใดโดยเฉพาะ

คำถามว่าด้วยวิธีการสื่อสารและแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์และคุณค่าที่กว้างขึ้นของบริษัทหรือแบรนด์ มักได้รับคำตอบโดยการอ้างอิง Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ในขณะที่เป้าหมายทั้ง 17 ข้อนี้ หรือ “พิมพ์เขียวร่วมเพื่อสันติภาพและความมั่งคั่งสำหรับผู้คนและโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต” ถูกพัฒนาขึ้นโดยมุ่งกระตุ้นให้ภาครัฐกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่คำนึงถึงวัตถุประสงค์ด้านสังคมและสภาพแวดล้อมในวงกว้าง เป้าหมายเหล่านี้ช่วยให้บริษัทมีกรอบอย่างกว้างๆ ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับ SDGs อีกทั้งยังกำหนดตัวชี้วัดเฉพาะให้กับธุรกิจต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้วัดประเมินและอธิบายความก้าวหน้าได้  

ด้วยความตระหนักถึงบทบาทของบริษัทเอกชนและธุรกิจต่อการผลักดันความก้าวหน้าในประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน UN Global Compact ได้นำเสนอกรอบการทำงานอิงหลักการสำหรับธุรกิจต่างๆ โดยมุ่งไปที่ความใส่ใจขององค์กรในหลักการ 10 ข้อเพื่อผลักดันการลงมือดำเนินการเรื่อง SDGs ที่ครอบคลุมประเด็นหลักของสิทธิมนุษยชน แรงงาน สภาพแวดล้อม และการต่อต้านคอรัปชั่น

    หากผู้บริโภคและสังคมที่กว้างขึ้นเพิ่มข้อเรียกร้องกับบริษัทและแบรนด์ให้แสดงถึงความตระหนักและการตอบสนองต่อความท้าทายของโลก ธุรกิจทั้งหมดควรพัฒนาความเข้าใจที่เข้มข้นต่อกรอบการทำงานนี้ ขณะที่ประเด็นเรื่องสาระสำคัญและความน่าเชื่อถือย่อมมีผลกระทบต่อบริษัทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การไม่ดำเนินการขององค์กรหรือการล่าช้าจะทำให้สาธารณชนและผู้บริโภคมีความกังวลมากขึ้นเมื่อมีแรงกดดันและภาวะวิกฤติสะสมเพิ่มขึ้น

ปัจจุบันเราอยู่ระยะกลางของสิ่งที่องค์การสหประชาชาติเรียกว่า Decade of Action ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การบรรลุการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในปี 2573 จุดสิ้นสุดของทศวรรษจะมีความสำคัญต่อวัตถุประสงค์ความยั่งยืนหลายข้อที่สำคัญ แต่ตอนนี้เป็นโอกาสสำคัญที่จะลงมือจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังแพร่ขยายออกไป การกระตุ้นการดำเนินการระยะใกล้และระยะกลางเพื่อเร่งความก้าวหน้าเป็นเรื่องเร่งด่วนอย่างยิ่งเมื่อนึกถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์และความเข้าใจของเราที่มีมากขึ้นในเรื่องจุดพลิกผันและความเสี่ยงแบบลูกโซ่ ยิ่งเพิ่มความเร่งด่วนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะ

CSR vs ESG vs ความยั่งยืน

        Environmental, Social, and Governance (ESG) และ Corporate Social Responsibility (CSR) มักจะถูกนำมาใช้สลับกันไปมาและมีความหมายซ้อนทับกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันมาก และวิธีการที่ทั้งสองคำถูกใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในการอธิบายถึงความมุ่งมั่นขององค์กรเรื่องความยั่งยืน โดยการตีความและการใช้จะมีความหมายโดยนัยถึงวิธีการวางกรอบและการจัดลำดับความสำคัญของแผนและการกระทำ เราแนะนำให้ผู้นำธุรกิจพิจารณาถึงความแตกต่างและตำแหน่งที่ได้วางองค์กรของตนไว้บนเส้นทางสู่ความยั่งยืน

        ทั้งนี้ CSR มักถูกเอ่ยถึงว่าเป็นการดำเนินการแบบอาสาสมัครและดูแลควบคุมเองเพื่อมุ่งไปสู่หรือแสดงถึงพฤติกรรมขององค์กรที่ก้าวหน้า มุ่งไปยังการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ และสร้างเสริมชื่อเสียงขององค์กร ขณะที่ ESG มุ่งไปที่เป้าหมายการดำเนินการเฉพาะ การวัด และหมุดหมาย โดยมีการกำหนดการตรวจสอบและกระบวนการเปิดเผย ส่วนความยั่งยืนครอบคลุมทั้ง CSR และ ESG

        ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ กระแสทั่วโลกหันไปหาการจัดลำดับความสำคัญจาก CSR ไปกลยุทธ์ ESG การทำให้ ESG เป็นเรื่องการเมืองเมื่อเร็วๆ นี้ ในบางประเทศโดยเฉพาะในแวดวงการลงทุน ได้ทำให้องค์กรจำนวนไม่น้อยขยายจุดสนใจเรื่องความยั่งยืนและธุรกิจที่มีความรับผิดชอบให้กว้างขึ้น

เช่นเดียวกัน ความกังวลที่มีมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้เป้าหมายเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนไม่ถูกต้องเพื่อการตลาดเพียงผิวเผินและการส่งเสริมการขายได้ทำให้การดำเนินการขององค์กรถูกปฏิเสธและเรียกว่าเป็น “การฟอกเขียวธุรกิจ” (Green-washing/SDG-washing) อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปหลักที่เราได้จากเทรนด์ที่ครอบเราไว้ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษก่อนก็คือบริษัทต่างๆ จำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาบูรณาการเป้าหมายความยั่งยืนและการปฏิบัติเข้ากับแผนหลักของธุรกิจ และสามารถแสดงถึงผลกระทบในรูปแบบที่น่าเชื่อถือ โปร่งใส และมีความสม่ำเสมอ

ความก้าวหน้าและแรงกระตุ้น

        อุตสาหกรรมเครื่องประดับได้ดำเนินก้าวสำคัญเพื่อแสดงถึงความใส่ใจต่อเทรนด์เหล่านี้ ขณะเดียวกันก็มีความมั่นใจในความสามารถของตนมากขึ้นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงและมีส่วนร่วมในความก้าวหน้าทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่กว้างขึ้น สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นในโครงการของอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและครอบคลุมอย่างกว้างขวาง

ตัวอย่างเช่น เมื่อปีก่อน Responsible Jewellery Council (RJC) ตอกย้ำความมุ่งหมายที่จะตั้งเป้าความสนใจของตน (และสมาชิกของตน) ในการจัดการเป้าหมายแรก 5 ข้อที่จะบรรลุ SDGs เฉพาะ ซึ่งระบุว่าเป็นห่วงโซ่อุปทานเครื่องประดับที่มีความเกี่ยวข้องสูงสุด ได้แก่ (1) ความเสมอภาคระหว่างเพศ (2) การมีงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (3) การบริโภคและการผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ (4) ปฏิบัติการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (5) สันติภาพ ความยุติธรรม และสถาบันที่แข็งแกร่ง


   ที่มาภาพ:  www.cibjo.org

        The Watch and Jewellery Initiative 2030 (WJI2030) ที่รวมแบรนด์สินค้าหรูรายใหญ่จำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน ได้ระบุจุดมุ่งหมายในการใช้ความเป็นผู้นำของ CEO และความร่วมมือของอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าของภาคส่วนในเรื่อง ‘เสาหลักสำคัญ’ 3 ประการ ได้แก่ (1) สร้างความเหมาะสมและทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (2) ดูแลรักษาทรัพยากร และ (3) นำหลักการความครอบคลุมมาใช้

        The Gold Industry Declaration of Responsibility & Sustainability Principles ได้รวบรวมสมาคมทองคำ 14 แห่งจากห่วงโซ่อุปทานทองคำทั้งหมดนับตั้งแต่เหมืองไปจนถึงตลาด (รวมถึง CIBJO, RJC และ WJI2030) เพื่อประกาศต่อสาธารณชนถึงคำมั่นสัญญาในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าใน 10 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ (2) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (3) สิทธิมนุษยชน (4) ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และความครอบคลุม (5) ชนพื้นเมืองและประชากรกลุ่มเปราะบาง (6) การรายงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (7) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (8) การทำให้การทำเหมืองแบบดั้งเดิม/เหมืองขนาดเล็กมีความเป็นมืออาชีพ (9) ความร่วมมือของทั้งอุตสาหกรรม และ (10) การรายงานความก้าวหน้า

        สมาพันธ์เครื่องประดับโลกได้ส่งสัญญาณถึงความมุ่งมั่นในการเพิ่มความตระหนักของสมาชิกและอุตสาหกรรมถึงผลที่ตามมาและการช่วยเหลือที่เป็นไปได้ทางสังคมและสิ่งแ  วดล้อม โดย Dr. Gaetano Cavalieri ประธานของ CIBJO ได้เน้นย้ำในการปราศัยครั้งล่าสุดต่อองค์การสหประชาชาติ  ว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะพัฒนาความเข้าใจทั้งอุตสาหกรรมว่าอุตสาหกรรมเครื่องประดับควรจัดหาทั้งโอกาสการพัฒนาด้านความยั่งยืนและสังคมในประเทศและภูมิภาคที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาศัยอยู่

        Dr. Cavalieri ยอมรับว่าความคาดหวังและการพิจารณาของผู้บริโภคและสังคมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว และได้กล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นสำคัญว่า “เรื่องนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นสิ่งจำเป็นทางศีลธรรมแต่ยังเป็นข้อบังคับทางธุรกิจ... รวมทั้งผู้บริโภคสินค้าเครื่องประดับไฮเอนด์มีแนวโน้มสูงที่จะเรียกร้องให้สินค้าที่พวกเขาซื้อแสดงถึงผลประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน”

        การละทิ้ง “ธุรกิจแบบเดิม” และปรับทิศทางให้บริษัทอีกครั้งเพื่อพิจารณาความเสี่ยงและผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ที่กว้างขึ้น อาจน่าหวาดหวั่นในช่วงแรก หากผู้นำธุรกิจเครื่องประดับยังไม่เริ่มดำเนินการ ตอนนี้ถึงเวลาที่จะลงมือทำแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอให้สบายใจและมั่นใจได้ว่าคุณไม่ได้เดียวดาย เพราะตลอดการเดินทางของคุณจะมีเครื่องมือความยั่งยืนและข้อมูลอ้างอิงคอยเป็นเข็มทิศให้



แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

เมษายน 2567




เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site