Faith Marketing สู่เครื่องประดับสายมู

Jul 18, 2022
2434 views
1 share

            ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นสถานการณ์โควิด-19 ได้เข้ามาทำให้การใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าจะมีการนำเทคโลโลยีมาใช้เพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ นั่นคือ ผู้คนเผชิญปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา ก่อให้เกิดความเครียดสะสม หรือปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในคนทั่วโลก ทำให้ผู้คนโหยหาบางสิ่งที่จะช่วยให้เกิดการบรรเทาเยียวยาจิตใจในรูปแบบที่ต่างกันออกไป ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเครื่องราง ของขลัง สิ่งนำโชค หรือของตกแต่งที่ช่วยจรรโลงความรู้สึก

            เครื่องรางของขลังหรือวัตถุมงคล เป็นวัฒนธรรมความเชื่อที่อยู่คู่อารยธรรมโบราณทั่วโลกมาช้านาน เช่นเดียวกับในบ้านเราที่สภาพสังคม เศรษฐกิจ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการได้ จึงก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่น มีการไขว่คว้าหาที่พึ่งให้กับชีวิต ดังที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้เปิดเผยข้อมูลงานวิจัย “Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น” พบว่า คนไทยกว่า 52 ล้านคนมีความเชื่อเรื่องของโชคลาง โดยความเชื่อเรื่องโชคลาง 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.พยากรณ์ โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี 2. พระเครื่อง วัตถุมงคล 3. สีมงคล 4.  ตัวเลขมงคล 5. เรื่องเหนือธรรมชาติ จึงเป็นช่องทางให้นักการตลาดหันมาทำตลาดโดยใช้เรื่องความเชื่อความศรัทธา (Faith Marketing) เข้ามาดึงดูดความสนใจและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งเกิดการทำตลาดเครื่องประดับสายมูขึ้นมากมายในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์สินค้า ด้วยการออกแบบให้มีความทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากขึ้น ด้วยการทำให้กลายเป็นทั้งเครื่องรางที่มีความขลังแต่สามารถสวมใส่ได้เช่นเดียวกับเครื่องประดับในชีวิตประจำวัน


เมื่อเราคิดถึงเครื่องรางของขลังที่มีความคิวท์ มีดีไซน์ที่ดูเป็นมิตรในการพกพา สามารถใช้เป็นของตกแต่งหรือเครื่องประดับ แดนอาทิตย์อุทัยอย่างญี่ปุ่นคงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกที่เราต้องนึกถึง

            Omamori (おまもりหรือ 御守) นั้น เป็นเครื่องรางที่มีความหมายว่า ปกป้อง คุ้มครอง ซึ่งมีลักษณะทั่วไปคือ ถุงผ้าเล็กๆ ขนาดพกพาที่มีสีต่างๆ จัดทำเป็นลวดลายหลากสีสัน โดยสามารถซื้อหาได้ทั่วไปตามศาลเจ้าชินโต วัดพุทธทั่วประเทศญี่ปุ่น หรือแม้แต่จากตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งโอมาโมริแต่ละอันจะช่วยในแต่ละเรื่องแตกต่างกันไป เช่น ด้านโชคลาภ สุขภาพ ความรัก การเดินทาง เป็นต้น

            แม้ว่าเครื่องรางในแบบเดิมนั้น จะเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงทำให้เครื่องรางในหลายสถานที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ทันสมัยและสามารถเป็นได้มากกว่าเครื่องรางที่พกติดตัว อย่างเช่น Kan-musubi ของศาลเจ้า Asagaya Shinmeigu ในโตเกียว เป็นเครื่องรางที่ถูกถักทอขึ้นเป็นสร้อยข้อมือหลากสีสัน โดยบางสีที่ผลิตขึ้นมีจำหน่ายเฉพาะในบางช่วงเวลาเท่านั้น

 

ภาพสร้อยข้อมือ Kan-musubi แบบต่างๆ จาก https://att-japan.net/th/archives/3896

            นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างศาลเจ้า Homangu Kamado ในจังหวัดฟุกุโอกะ ที่มีการออกแบบ Juyosho ศูนย์จำหน่ายเครื่องรางของศาลเจ้าขึ้นใหม่ในปี 2012 ให้ตัวอาคารมีความทันสมัยและความประณีตผสมผสานกันทั้งศิลปะสมัยใหม่และวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างน่าอัศจรรย์ เพื่อสร้างแรงดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเยี่ยมชม ไม่เพียงแต่ตัวอาคารเท่านั้น ที่นี่ยังมีเครื่องรางที่ขึ้นชื่อที่ทำมาจากด้ายแดงประดับด้วยชาร์มขนาดกระทัดรัด ซึ่งไม่เพียงสามารถนำมาพันรอบข้อมือหรือคล้องคอเป็นเครื่องประดับแล้ว ยังสามารถเลือกใช้เป็นที่คล้องโทรศัพท์ได้อีกด้วย




   ภาพอาคาร Juyosho จาก https://wonder-wall.com/project/288 และภาพเครื่องรางด้ายแดง จาก www.ana.co.jp

            การผสมผสานความเชื่อเข้ากับแฟชั่นนั้น ไม่เพียงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ยังเป็นการสร้างรูปลักษณ์สินค้าให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวให้สัมผัสถึงความเชื่อและวัฒนธรรมดั้งเดิมเพิ่มขึ้นได้อย่างกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันได้อีกด้วย  


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ


ข้อมูลอ้างอิง


1) Trends in Japan. 2022. CUTE GOOD-LUCK CHARMS TO CARRY WITH STYLE. [Online]. Available at: web-japan.org/trends/11_fashion/fas170202.html. (Retrieved June 15,2022).
2) Att.Japan. 2018. Omamori Good-luck Charms. [Online]. Available at: https://att-japan.net/th/archives/3896. (Retrieved June 16,2022).
3) Brand Age Online. 2565. Faith Marketing ความเชื่อ ศรัทธา และการตลาด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.brandage.com/article/24741/Faith-Marketing. (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


Faith Marketing สู่เครื่องประดับสายมู

Jul 18, 2022
2434 views
1 share

            ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นสถานการณ์โควิด-19 ได้เข้ามาทำให้การใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าจะมีการนำเทคโลโลยีมาใช้เพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ นั่นคือ ผู้คนเผชิญปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา ก่อให้เกิดความเครียดสะสม หรือปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในคนทั่วโลก ทำให้ผู้คนโหยหาบางสิ่งที่จะช่วยให้เกิดการบรรเทาเยียวยาจิตใจในรูปแบบที่ต่างกันออกไป ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเครื่องราง ของขลัง สิ่งนำโชค หรือของตกแต่งที่ช่วยจรรโลงความรู้สึก

            เครื่องรางของขลังหรือวัตถุมงคล เป็นวัฒนธรรมความเชื่อที่อยู่คู่อารยธรรมโบราณทั่วโลกมาช้านาน เช่นเดียวกับในบ้านเราที่สภาพสังคม เศรษฐกิจ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการได้ จึงก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่น มีการไขว่คว้าหาที่พึ่งให้กับชีวิต ดังที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ได้เปิดเผยข้อมูลงานวิจัย “Marketing in the Uncertain World การตลาดของคนอยู่เป็น” พบว่า คนไทยกว่า 52 ล้านคนมีความเชื่อเรื่องของโชคลาง โดยความเชื่อเรื่องโชคลาง 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.พยากรณ์ โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี 2. พระเครื่อง วัตถุมงคล 3. สีมงคล 4.  ตัวเลขมงคล 5. เรื่องเหนือธรรมชาติ จึงเป็นช่องทางให้นักการตลาดหันมาทำตลาดโดยใช้เรื่องความเชื่อความศรัทธา (Faith Marketing) เข้ามาดึงดูดความสนใจและการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งเกิดการทำตลาดเครื่องประดับสายมูขึ้นมากมายในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทั้งยังมีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์สินค้า ด้วยการออกแบบให้มีความทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้มากขึ้น ด้วยการทำให้กลายเป็นทั้งเครื่องรางที่มีความขลังแต่สามารถสวมใส่ได้เช่นเดียวกับเครื่องประดับในชีวิตประจำวัน


เมื่อเราคิดถึงเครื่องรางของขลังที่มีความคิวท์ มีดีไซน์ที่ดูเป็นมิตรในการพกพา สามารถใช้เป็นของตกแต่งหรือเครื่องประดับ แดนอาทิตย์อุทัยอย่างญี่ปุ่นคงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกที่เราต้องนึกถึง

            Omamori (おまもりหรือ 御守) นั้น เป็นเครื่องรางที่มีความหมายว่า ปกป้อง คุ้มครอง ซึ่งมีลักษณะทั่วไปคือ ถุงผ้าเล็กๆ ขนาดพกพาที่มีสีต่างๆ จัดทำเป็นลวดลายหลากสีสัน โดยสามารถซื้อหาได้ทั่วไปตามศาลเจ้าชินโต วัดพุทธทั่วประเทศญี่ปุ่น หรือแม้แต่จากตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ ซึ่งโอมาโมริแต่ละอันจะช่วยในแต่ละเรื่องแตกต่างกันไป เช่น ด้านโชคลาภ สุขภาพ ความรัก การเดินทาง เป็นต้น

            แม้ว่าเครื่องรางในแบบเดิมนั้น จะเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง แต่ด้วยสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงทำให้เครื่องรางในหลายสถานที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ทันสมัยและสามารถเป็นได้มากกว่าเครื่องรางที่พกติดตัว อย่างเช่น Kan-musubi ของศาลเจ้า Asagaya Shinmeigu ในโตเกียว เป็นเครื่องรางที่ถูกถักทอขึ้นเป็นสร้อยข้อมือหลากสีสัน โดยบางสีที่ผลิตขึ้นมีจำหน่ายเฉพาะในบางช่วงเวลาเท่านั้น

 

ภาพสร้อยข้อมือ Kan-musubi แบบต่างๆ จาก https://att-japan.net/th/archives/3896

            นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างศาลเจ้า Homangu Kamado ในจังหวัดฟุกุโอกะ ที่มีการออกแบบ Juyosho ศูนย์จำหน่ายเครื่องรางของศาลเจ้าขึ้นใหม่ในปี 2012 ให้ตัวอาคารมีความทันสมัยและความประณีตผสมผสานกันทั้งศิลปะสมัยใหม่และวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างน่าอัศจรรย์ เพื่อสร้างแรงดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้ามาเยี่ยมชม ไม่เพียงแต่ตัวอาคารเท่านั้น ที่นี่ยังมีเครื่องรางที่ขึ้นชื่อที่ทำมาจากด้ายแดงประดับด้วยชาร์มขนาดกระทัดรัด ซึ่งไม่เพียงสามารถนำมาพันรอบข้อมือหรือคล้องคอเป็นเครื่องประดับแล้ว ยังสามารถเลือกใช้เป็นที่คล้องโทรศัพท์ได้อีกด้วย




   ภาพอาคาร Juyosho จาก https://wonder-wall.com/project/288 และภาพเครื่องรางด้ายแดง จาก www.ana.co.jp

            การผสมผสานความเชื่อเข้ากับแฟชั่นนั้น ไม่เพียงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ยังเป็นการสร้างรูปลักษณ์สินค้าให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ผ่านการบอกเล่าเรื่องราวให้สัมผัสถึงความเชื่อและวัฒนธรรมดั้งเดิมเพิ่มขึ้นได้อย่างกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันได้อีกด้วย  


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ


ข้อมูลอ้างอิง


1) Trends in Japan. 2022. CUTE GOOD-LUCK CHARMS TO CARRY WITH STYLE. [Online]. Available at: web-japan.org/trends/11_fashion/fas170202.html. (Retrieved June 15,2022).
2) Att.Japan. 2018. Omamori Good-luck Charms. [Online]. Available at: https://att-japan.net/th/archives/3896. (Retrieved June 16,2022).
3) Brand Age Online. 2565. Faith Marketing ความเชื่อ ศรัทธา และการตลาด. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.brandage.com/article/24741/Faith-Marketing. (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970