Pent-up Demand ในจีน สร้างแรงผลักดันอุปสงค์เครื่องประดับทอง

Aug 23, 2023
1243 views
0 share

        ในช่วงที่ผ่านมาประเทศจีนต้องปิดประเทศตามมาตรการ Zero Covid ก่อนที่กลับมาเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบในต้นปี 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งจีนนั้นไม่เพียงเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง มีผู้บริโภคจำนวนมหาศาล ยังเป็นตลาดที่สำคัญของการบริโภคทองคำทั้งทองคำแท่งและเครื่องประดับทองรายใหญ่ของโลกด้วย 

        การกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งของจีนแผ่นดินใหญ่พบว่า การบริโภคทองคำนั้น ได้รับแรงผลักดันมาจาก Pent Up Demand* ในการบริโภคและการลงทุนในทองคำที่เพิ่มมากขึ้นจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก โดยข้อมูลจาก World Gold Council ระบุว่า ปริมาณอุปสงค์ทองคำทั่วโลกในไตรมาส 2 ของปี 2023 มีปริมาณ 920.7 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.49% แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะในส่วนของเครื่องประดับทอง พบว่า มีปริมาณ 475.9 ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.08% โดยจีนซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลก (มีสัดส่วน 27.78%) เติบโตเพิ่มขึ้น 28.16%  

        ความนิยมในเครื่องประดับทองคำแบบสไตล์โบราณ และเครื่องประดับทองที่ค่าความบริสุทธิ์ไม่เกิน 75% หรือ 18K ที่มีน้ำหนักเบา ทั้งแบบเครื่องทองลงยาหรือประดับพลอยสี กำลังเป็นที่นิยมในตลาดโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นชาวจีน ซึ่งการฟื้นตัวของตลาดเริ่มกลับมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 เนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศกลับมาเป็นปกติ โดยยอดขายของ Chow Tai Fook ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในจีนสามารถขยายตัวได้ 29.4% ในไตรมาสนี้ โดยแบรนด์ยังเห็นทิศทางการเติบโตของผู้บริโภคในช่วงหลังของปีนี้ที่จะมีช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองหลายงาน ตั้งแต่เทศกาลไหว้พระจันทร์ วันชาติจีนซึ่งเป็นวันหยุดยาว 7 วัน เทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่กระตุ้นยอดขายได้ดี

 

ภาพเครื่องประดับทอง จาก https://www.ft.com/content/ee881d38-b497-4c6a-a672-73c30723a510

        ขณะที่ LVMH อาณาจักรแบรนด์หรูระดับโลกที่มีแบรนด์เครื่องประดับในเครืออย่าง Bvlgari, Chaumet, Fred หรือ Tiffany & Co. ยังเปิดเผยว่า สามารถทำยอดขายในจีนได้เพิ่มขึ้น 17% ในไตรมาสแรกของปี 2023 ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 

        นอกจากนี้ Wang Lixin ประธานกรรมการบริหาร World Gold Council (ประเทศจีน) เห็นว่า ในครึ่งปีหลังนอกจากช่วงเทศกาลต่างๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภคยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จีนกำลังพิจารณา จะเข้ามาช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี รวมทั้งผลักดันให้การซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำและเครื่องประดับทองเติบโตได้ดีตามไปด้วย

        เศรษฐกิจในปี 2023 ทั่วโลกโดยรวมนั้น ยังคงอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัจจัยรุมเร้าหลายประการ แต่ยังมีตลาดในหลายประเทศยังมีการบริโภคสินค้าและบริการที่ยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการซื้อหาทองคำรวมทั้งเครื่องประดับทองเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นในฐานะสินทรัพย์ทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนได้ดียามเศรษฐกิจชะลอตัวลง 

-----------------------------------------------

* Pent-up Demand คือ การบริโภคสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคลดการจับจ่ายใช้สอยในช่วงก่อนหน้าจากเหตุการณ์บางอย่าง (ในกรณีนี้ คือ การปิดประเทศ) ทำให้มีการใช้จ่ายสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

ข้อมูลอ้างอิง


1) SHILPA DHAMIJA. 2023. Will China’s Pent-up Demand for Gold & Jewellery Continue to Drive Big Sales Through FY2024?. [Online]. Available at: https://gjepc.org/solitaire/will-chinas-pent-up-demand-for-gold-jewellery-continue-to-drive-big-sales-through-fy2024/. (Retrieved August 8,2023).
2) China Daily. 2023. Gold demand shines backed by policies, revived consumption. [Online]. Available at: https://www.chinadaily.com.cn/. (Retrieved August 9,2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


Pent-up Demand ในจีน สร้างแรงผลักดันอุปสงค์เครื่องประดับทอง

Aug 23, 2023
1243 views
0 share

        ในช่วงที่ผ่านมาประเทศจีนต้องปิดประเทศตามมาตรการ Zero Covid ก่อนที่กลับมาเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบในต้นปี 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งจีนนั้นไม่เพียงเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูง มีผู้บริโภคจำนวนมหาศาล ยังเป็นตลาดที่สำคัญของการบริโภคทองคำทั้งทองคำแท่งและเครื่องประดับทองรายใหญ่ของโลกด้วย 

        การกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งของจีนแผ่นดินใหญ่พบว่า การบริโภคทองคำนั้น ได้รับแรงผลักดันมาจาก Pent Up Demand* ในการบริโภคและการลงทุนในทองคำที่เพิ่มมากขึ้นจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก โดยข้อมูลจาก World Gold Council ระบุว่า ปริมาณอุปสงค์ทองคำทั่วโลกในไตรมาส 2 ของปี 2023 มีปริมาณ 920.7 ตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.49% แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะในส่วนของเครื่องประดับทอง พบว่า มีปริมาณ 475.9 ตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.08% โดยจีนซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลก (มีสัดส่วน 27.78%) เติบโตเพิ่มขึ้น 28.16%  

        ความนิยมในเครื่องประดับทองคำแบบสไตล์โบราณ และเครื่องประดับทองที่ค่าความบริสุทธิ์ไม่เกิน 75% หรือ 18K ที่มีน้ำหนักเบา ทั้งแบบเครื่องทองลงยาหรือประดับพลอยสี กำลังเป็นที่นิยมในตลาดโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นชาวจีน ซึ่งการฟื้นตัวของตลาดเริ่มกลับมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2023 เนื่องจากการเดินทางระหว่างประเทศกลับมาเป็นปกติ โดยยอดขายของ Chow Tai Fook ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในจีนสามารถขยายตัวได้ 29.4% ในไตรมาสนี้ โดยแบรนด์ยังเห็นทิศทางการเติบโตของผู้บริโภคในช่วงหลังของปีนี้ที่จะมีช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองหลายงาน ตั้งแต่เทศกาลไหว้พระจันทร์ วันชาติจีนซึ่งเป็นวันหยุดยาว 7 วัน เทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่กระตุ้นยอดขายได้ดี

 

ภาพเครื่องประดับทอง จาก https://www.ft.com/content/ee881d38-b497-4c6a-a672-73c30723a510

        ขณะที่ LVMH อาณาจักรแบรนด์หรูระดับโลกที่มีแบรนด์เครื่องประดับในเครืออย่าง Bvlgari, Chaumet, Fred หรือ Tiffany & Co. ยังเปิดเผยว่า สามารถทำยอดขายในจีนได้เพิ่มขึ้น 17% ในไตรมาสแรกของปี 2023 ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ 

        นอกจากนี้ Wang Lixin ประธานกรรมการบริหาร World Gold Council (ประเทศจีน) เห็นว่า ในครึ่งปีหลังนอกจากช่วงเทศกาลต่างๆ ที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภคยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จีนกำลังพิจารณา จะเข้ามาช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี รวมทั้งผลักดันให้การซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำและเครื่องประดับทองเติบโตได้ดีตามไปด้วย

        เศรษฐกิจในปี 2023 ทั่วโลกโดยรวมนั้น ยังคงอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากปัจจัยรุมเร้าหลายประการ แต่ยังมีตลาดในหลายประเทศยังมีการบริโภคสินค้าและบริการที่ยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะการซื้อหาทองคำรวมทั้งเครื่องประดับทองเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นในฐานะสินทรัพย์ทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนได้ดียามเศรษฐกิจชะลอตัวลง 

-----------------------------------------------

* Pent-up Demand คือ การบริโภคสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้บริโภคลดการจับจ่ายใช้สอยในช่วงก่อนหน้าจากเหตุการณ์บางอย่าง (ในกรณีนี้ คือ การปิดประเทศ) ทำให้มีการใช้จ่ายสูงขึ้นกว่าช่วงปกติ


จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

ข้อมูลอ้างอิง


1) SHILPA DHAMIJA. 2023. Will China’s Pent-up Demand for Gold & Jewellery Continue to Drive Big Sales Through FY2024?. [Online]. Available at: https://gjepc.org/solitaire/will-chinas-pent-up-demand-for-gold-jewellery-continue-to-drive-big-sales-through-fy2024/. (Retrieved August 8,2023).
2) China Daily. 2023. Gold demand shines backed by policies, revived consumption. [Online]. Available at: https://www.chinadaily.com.cn/. (Retrieved August 9,2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970