มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ ความท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Feb 21, 2025
2024 views
0 share

        หลังจากเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 ในวันที่ 20 มกราคม 2568 โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีกว่า 200 ฉบับ เพื่อผลักดันนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" (America First Trade Policy) โดยมีเป้าหมายหลักคือการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งแนวนโยบายดังกล่าวประกอบด้วยเสาหลักสำคัญ 4 ประการ คือ การสนับสนุนแนวทางชาตินิยม การปกป้องการค้าผ่านมาตรการภาษี การแยกตัวจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และแนวคิดที่ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

        ด้วยการออกแนวนโยบายเชิงรุกอย่างต่อเนื่องนับภายหลังการชนะการเลือกตั้งของประธานาธิบดีทรัมป์ โดยเฉพาะนโยบายด้านภาษี ไม่ว่าจะเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าแคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งต่อมาภายหลังการเจรจาระหว่างกันในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ เลื่อนการเก็บภาษีออกไป 30 วัน การเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มอีก 10% กับสินค้าทุกประเภท นับตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งทางการจีนตอบโต้กลับด้วยการประกาศเก็บภาษี 15% ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ และ 10% สำหรับน้ำมันดิบ เครื่องจักรทางการเกษตร และสินค้ารถยนต์บางประเภทที่ส่งมาจากสหรัฐฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ทรัมป์ได้ลงนามคำสั่งเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมนำเข้า 25% ซึ่งจะมีผลวันที่ 12 มีนาคมนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมเหล็กและอลูมิเนียมภายในประเทศ

        มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) เป็นแนวทางล่าสุดที่มีการหยิบยกขึ้นเพื่อนำมาใช้ มาตรการนี้จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าแต่ละประเภทรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับในอัตราเดียวกันกับประเทศต่างๆ ที่เรียกเก็บกับสหรัฐฯ โดย นาย Howard Lutnick ผู้ได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า มาตรการดังกล่าวน่าจะพร้อมบังคับใช้ได้เร็วที่สุดในวันที่ 2 เมษายน 2568 ซึ่งมาตรการภาษีดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ รวมถึงนักลงทุนและบริษัทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นวงกว้าง 

 

ภาพจาก https://www.nbcnews.com/

        ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่านโยบายดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดสงครามการค้าและความตึงเครียดทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีนซึ่งมีมูลค่าการค้ากับสหรัฐฯ สูงถึง 360 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ยืนยันว่านโยบายนี้จะช่วยปกป้องผลประโยชน์ของแรงงานและภาคอุตสาหกรรมชาวอเมริกัน

        สำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไปยังสหรัฐฯ (ไม่รวมทองคำ) นั้น ในปี 2567 มีมูลค่า 1,946.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.51% ซึ่งสินค้าส่งออกหลักอย่างเครื่องประดับทอง และเครื่องประดับเงิน ที่มีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 68 ได้สูงขึ้นร้อยละ 11.91 และร้อยละ 18.89 อีกทั้งสินค้าสำคัญอย่างพลอยเนื้อแข็งและเนื้ออ่อนเจียระไน เติบโตได้ร้อยละ 5.69 และร้อยละ 6.08 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกเพชรเจียระไน ลดลงร้อยละ 26.30

        ทั้งนี้ การกลับมาของประธานาธิบดีทรัมป์สมัยที่สองเริ่มสร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นกับภาคการค้าระหว่างประเทศเป็นวงกว้างและมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับก็ต้องได้รับผลกระทบตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดในสงครามการค้าที่เพิ่งเริ่มต้นครั้งนี้ 



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

กุมภาพันธ์ 2568


ข้อมูลอ้างอิง


1) Global News. 2025. Trump’s tariffs on steel, aluminum echo familiar playbook: A timeline. [Online]. Available at: https://globalnews.ca/news/11013889/donald-trump-tariffs-steel-aluminum-canada-nafta-cusma-timeline/. (Retrieved February 10,2025).
2) CBS News. 2025. Trump signs flurry of executive actions and memos on Day 1. [Online]. Available at: https://www.cbsnews.com/news/trump-energy-emergency-executive-orders-inflation/. (Retrieved February 11,2025).
3) The Newyork Times. 2025. Trump Says He’ll Rework Global Trading Relations With ‘Reciprocal’ Tariffs. [Online]. Available at: https://www.nytimes.com/2025/02/13/us/politics/trump-tariffs.html/. (Retrieved February 14,2025).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ ความท้าทายใหม่ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

Feb 21, 2025
2024 views
0 share

        หลังจากเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 ในวันที่ 20 มกราคม 2568 โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีกว่า 200 ฉบับ เพื่อผลักดันนโยบาย "อเมริกาต้องมาก่อน" (America First Trade Policy) โดยมีเป้าหมายหลักคือการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของสหรัฐฯ ซึ่งแนวนโยบายดังกล่าวประกอบด้วยเสาหลักสำคัญ 4 ประการ คือ การสนับสนุนแนวทางชาตินิยม การปกป้องการค้าผ่านมาตรการภาษี การแยกตัวจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และแนวคิดที่ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง

        ด้วยการออกแนวนโยบายเชิงรุกอย่างต่อเนื่องนับภายหลังการชนะการเลือกตั้งของประธานาธิบดีทรัมป์ โดยเฉพาะนโยบายด้านภาษี ไม่ว่าจะเก็บภาษีนำเข้า 25% จากสินค้าแคนาดาและเม็กซิโก ซึ่งต่อมาภายหลังการเจรจาระหว่างกันในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ เลื่อนการเก็บภาษีออกไป 30 วัน การเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากจีนเพิ่มอีก 10% กับสินค้าทุกประเภท นับตั้งแต่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งทางการจีนตอบโต้กลับด้วยการประกาศเก็บภาษี 15% ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ และ 10% สำหรับน้ำมันดิบ เครื่องจักรทางการเกษตร และสินค้ารถยนต์บางประเภทที่ส่งมาจากสหรัฐฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 ทรัมป์ได้ลงนามคำสั่งเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมนำเข้า 25% ซึ่งจะมีผลวันที่ 12 มีนาคมนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมเหล็กและอลูมิเนียมภายในประเทศ

        มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) เป็นแนวทางล่าสุดที่มีการหยิบยกขึ้นเพื่อนำมาใช้ มาตรการนี้จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าแต่ละประเภทรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับในอัตราเดียวกันกับประเทศต่างๆ ที่เรียกเก็บกับสหรัฐฯ โดย นาย Howard Lutnick ผู้ได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า มาตรการดังกล่าวน่าจะพร้อมบังคับใช้ได้เร็วที่สุดในวันที่ 2 เมษายน 2568 ซึ่งมาตรการภาษีดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ รวมถึงนักลงทุนและบริษัทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศเป็นวงกว้าง