จับตาคู่แข่ง: ทิศทางการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดสหรัฐฯ ภายใต้แรงกดดันด้านภาษี

May 20, 2025
181 views
0 share

        สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยและหลายประเทศ แต่เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศปรับภาษีนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทุกประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10% โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 ถึง 9 กรกฎาคม 2568 ส่งผลให้ผู้ส่งออกต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อัตราภาษีนำเข้าจะเป็นเท่าใด ยังต้องรอผลการเจรจาในช่วง 90 วันนี้

คู่แข่งของไทยในสหรัฐฯ

จากสถิติของ Global Trade Atlas พบว่าในปี 2567 สหรัฐฯ นำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ด้วยมูลค่า 73,171.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้าจากสวิตเซอร์แลนด์มากที่สุด (สัดส่วน 17.72%) รองลงมาคือ อินเดีย (สัดส่วน 15.82%) แอฟริกาใต้ (สัดส่วน 10.75%) แคนาดา (สัดส่วน 7.57%) และอิสราเอล (สัดส่วน 5.89%) นำเข้าจากไทยในอันดับที่ 12 (สัดส่วน 2.49%) และนำเข้าจากจีนในอันดับที่ 13 (สัดส่วน 2.37%)

สำหรับสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ มีดังนี้

           

        ในปัจจุบันสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าเครื่องประดับเงินจากไทย อินเดีย และอิตาลี ในอัตรา 15% – 23.5% จีน 42.5%-51% และฮ่องกง 35%-43.5%

            

        
        เครื่องประดับทองจากอินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และไทย ส่งไปยังสหรัฐฯ เสียภาษีนำเข้าในอัตรา 15%-17% ส่วนจีน 42.5%-44.5% ฮ่องกง 35% - 43.51% 
            
            
            สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าพลอยเนื้อแข็งเจียระไนจากไทย สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และโคลอมเบียในอัตรา 10% ส่วนจีน 37.5% ฮ่องกง 30% 
              
            
            พลอยเนื้ออ่อนเจียระไนจากไทย อิสราเอล อินเดีย และเยอรมนี ไปยังสหรัฐฯ มีอัตราภาษีนำเข้า 10%-20.5% จีนเสียภาษี 37.5%-48% ส่วนฮ่องกง 30% - 40.5%
            
        อัตราภาษีนำเข้าดังกล่าวข้างต้นมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2568 ซึ่งในระหว่างช่วงเดือนนี้ประเทศต่างๆ กำลังเจรจาเพื่อขอลดอัตราภาษีนำเข้า แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเมื่อเจรจราเสร็จสิ้นแล้ว จะมีอัตราภาษีนำเข้าเป็นเท่าไหร่ ผู้ประกอบการไทยจึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

สรุปผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

    1. ในระยะสั้นไทยและคู่แข่งถูกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 10% ในขณะที่จีนและฮ่องกงถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 30% ซึ่งไทยจะได้เปรียบจีนและฮ่องกง อย่างไรก็ตาม ฮ่องกงไม่ได้เป็นคู่แข่งของไทย แต่เป็นหนึ่งในผู้กระจายสินค้าจากไทยไปยังสหรัฐฯ ในทางอ้อม อาจทำไทยส่งออกไปยังฮ่องกงได้ลดลง เพราะสินค้าจากฮ่องกงเข้าไปยังสหรัฐฯ มีราคาแพงขึ้น ขณะเดียวกันการส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐฯ จะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักในช่วงนี้ แต่ราคาที่สูงขึ้น 10% ก็อาจจะส่งผลต่อกลุ่มที่มีความอ่อนไหวทางด้านราคา อาจทำให้ผู้บริโภคสหรัฐฯ บางส่วนลดการบริโภค และผู้นำเข้ารายเล็กก็อาจต้องลดการนำเข้าสินค้าจากไทยลงบ้าง
    2. หากพ้นเดือนกรกฎาคมแล้วประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะคู่แข่งไทย ได้รับอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าไทย ก็จะทำให้ไทยเสียเปรียบ และอาจมีบริษัทเครื่องประดับรายใหญ่ย้ายฐานการผลิตจากไทยไปประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าได้ เช่น หากเวียดนาม และศรีลังกา ซึ่งมีแรงงานที่สามารถพัฒนาฝีมือได้ และหากมีอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าไทยมาก ประกอบกับรัฐบาลมีโนยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ ก็จะดึงดูดบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ย้ายฐานการผลิตหรือหันไปเลือกประเทศเหล่านี้เป็นแหล่งผลิตเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ แทน
    3. ผู้ผลิตเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีในสหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าวัตถุดิบเช่นทองคำและแพลทินัมจะปลอดภาษีนำเข้า แต่อัญมณีทั้งเพชรและพลอยสีมีอัตราภาษีนำเข้าสูง ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมากขึ้น ผู้ผลิตสหรัฐฯ ก็น่าจะใช้อัญมณีเป็นส่วนประกอบลดลง หรือหันไปใช้อัญมณีสังเคราะห์ที่ผลิตได้ในห้องแล็ปในประเทศแทน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยโดยตรงในฐานะผู้ส่งออกพลอยสีรายใหญ่ไปยังตลาดสหรัฐฯ 
    4. เครื่องประดับสำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศมีภาษีศุลกากรที่สูงมาก ทำให้สินค้าที่นำเข้าเหล่านี้มีราคาแพงขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้เครื่องประดับที่ผลิตในสหรัฐฯ มีข้อได้เปรียบด้านราคา อาจทำให้ผู้ค้าปลีกหันไปซื้อจากผู้ผลิตเครื่องประดับในสหรัฐฯ แทน ก็น่าจะลดการนำเข้าเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทองจากไทยและประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราภาษีนำเข้าสูงลง
        นอกจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ราคาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับพุ่งสูงจนกระทบต่อความต้องการของตลาดแล้ว ปัจจัยอื่นอย่างอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะกับสินค้าฟุ่มเฟือย ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งวางแผนรับมือความเปลี่ยนแปลง ด้วยการปรับกลยุทธ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นที่มีศักยภาพ เพื่อกระจายความเสี่ยงและรักษาความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในระยะยาว

จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
20 พฤษภาคม 2568




เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


จับตาคู่แข่ง: ทิศทางการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดสหรัฐฯ ภายใต้แรงกดดันด้านภาษี

May 20, 2025
181 views
0 share

        สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยและหลายประเทศ แต่เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศปรับภาษีนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทุกประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10% โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 ถึง 9 กรกฎาคม 2568 ส่งผลให้ผู้ส่งออกต้องจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว อัตราภาษีนำเข้าจะเป็นเท่าใด ยังต้องรอผลการเจรจาในช่วง 90 วันนี้

คู่แข่งของไทยในสหรัฐฯ

จากสถิติของ Global Trade Atlas พบว่าในปี 2567 สหรัฐฯ นำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ด้วยมูลค่า 73,171.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนำเข้าจากสวิตเซอร์แลนด์มากที่สุด (สัดส่วน 17.72%) รองลงมาคือ อินเดีย (สัดส่วน 15.82%) แอฟริกาใต้ (สัดส่วน 10.75%) แคนาดา (สัดส่วน 7.57%) และอิสราเอล (สัดส่วน 5.89%) นำเข้าจากไทยในอันดับที่ 12 (สัดส่วน 2.49%) และนำเข้าจากจีนในอันดับที่ 13 (สัดส่วน 2.37%)

สำหรับสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ มีดังนี้

           

        ในปัจจุบันสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าเครื่องประดับเงินจากไทย อินเดีย และอิตาลี ในอัตรา 15% – 23.5% จีน 42.5%-51% และฮ่องกง 35%-43.5%

            

        
        เครื่องประดับทองจากอินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และไทย ส่งไปยังสหรัฐฯ เสียภาษีนำเข้าในอัตรา 15%-17% ส่วนจีน 42.5%-44.5% ฮ่องกง 35% - 43.51% 
            
            
            สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าพลอยเนื้อแข็งเจียระไนจากไทย สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และโคลอมเบียในอัตรา 10% ส่วนจีน 37.5% ฮ่องกง 30% 
              
            
            พลอยเนื้ออ่อนเจียระไนจากไทย อิสราเอล อินเดีย และเยอรมนี ไปยังสหรัฐฯ มีอัตราภาษีนำเข้า 10%-20.5% จีนเสียภาษี 37.5%-48% ส่วนฮ่องกง 30% - 40.5%
            
        อัตราภาษีนำเข้าดังกล่าวข้างต้นมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2568 ซึ่งในระหว่างช่วงเดือนนี้ประเทศต่างๆ กำลังเจรจาเพื่อขอลดอัตราภาษีนำเข้า แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเมื่อเจรจราเสร็จสิ้นแล้ว จะมีอัตราภาษีนำเข้าเป็นเท่าไหร่ ผู้ประกอบการไทยจึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

สรุปผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

    1. ในระยะสั้นไทยและคู่แข่งถูกเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้น 10% ในขณะที่จีนและฮ่องกงถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 30% ซึ่งไทยจะได้เปรียบจีนและฮ่องกง อย่างไรก็ตาม ฮ่องกงไม่ได้เป็นคู่แข่งของไทย แต่เป็นหนึ่งในผู้กระจายสินค้าจากไทยไปยังสหรัฐฯ ในทางอ้อม อาจทำไทยส่งออกไปยังฮ่องกงได้ลดลง เพราะสินค้าจากฮ่องกงเข้าไปยังสหรัฐฯ มีราคาแพงขึ้น ขณะเดียวกันการส่งออกจากไทยไปยังสหรัฐฯ จะยังไม่ได้รับผลกระทบมากนักในช่วงนี้ แต่ราคาที่สูงขึ้น 10% ก็อาจจะส่งผลต่อกลุ่มที่มีความอ่อนไหวทางด้านราคา อาจทำให้ผู้บริโภคสหรัฐฯ บางส่วนลดการบริโภค และผู้นำเข้ารายเล็กก็อาจต้องลดการนำเข้าสินค้าจากไทยลงบ้าง
    2. หากพ้นเดือนกรกฎาคมแล้วประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะคู่แข่งไทย ได้รับอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าไทย ก็จะทำให้ไทยเสียเปรียบ และอาจมีบริษัทเครื่องประดับรายใหญ่ย้ายฐานการผลิตจากไทยไปประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำกว่าได้ เช่น หากเวียดนาม และศรีลังกา ซึ่งมีแรงงานที่สามารถพัฒนาฝีมือได้ และหากมีอัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าไทยมาก ประกอบกับรัฐบาลมีโนยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ ก็จะดึงดูดบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ย้ายฐานการผลิตหรือหันไปเลือกประเทศเหล่านี้เป็นแหล่งผลิตเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ แทน
    3. ผู้ผลิตเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีในสหรัฐฯ จะต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าวัตถุดิบเช่นทองคำและแพลทินัมจะปลอดภาษีนำเข้า แต่อัญมณีทั้งเพชรและพลอยสีมีอัตราภาษีนำเข้าสูง ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมากขึ้น ผู้ผลิตสหรัฐฯ ก็น่าจะใช้อัญมณีเป็นส่วนประกอบลดลง หรือหันไปใช้อัญมณีสังเคราะห์ที่ผลิตได้ในห้องแล็ปในประเทศแทน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยโดยตรงในฐานะผู้ส่งออกพลอยสีรายใหญ่ไปยังตลาดสหรัฐฯ 
    4. เครื่องประดับสำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศมีภาษีศุลกากรที่สูงมาก ทำให้สินค้าที่นำเข้าเหล่านี้มีราคาแพงขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้เครื่องประดับที่ผลิตในสหรัฐฯ มีข้อได้เปรียบด้านราคา อาจทำให้ผู้ค้าปลีกหันไปซื้อจากผู้ผลิตเครื่องประดับในสหรัฐฯ แทน ก็น่าจะลดการนำเข้าเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทองจากไทยและประเทศอื่นๆ ที่มีอัตราภาษีนำเข้าสูงลง
        นอกจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้ราคาสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับพุ่งสูงจนกระทบต่อความต้องการของตลาดแล้ว ปัจจัยอื่นอย่างอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ก็ยิ่งทำให้ผู้บริโภคชาวอเมริกันใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะกับสินค้าฟุ่มเฟือย ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งวางแผนรับมือความเปลี่ยนแปลง ด้วยการปรับกลยุทธ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นที่มีศักยภาพ เพื่อกระจายความเสี่ยงและรักษาความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในระยะยาว

จัดทำโดย นางสาววาสนา สมเนตร์
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
20 พฤษภาคม 2568




เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970