Infographic

ข้อมูลด้านอัญมณี

ปี 2566

หยก (Jade)

“หยก” คือชื่อที่ใช้เรียกหินซึ่งเป็นอัญมณีอันล้ำค่ามากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะชาวจีนถือว่าหยกเป็นเจ้าแห่งหินมีค่าทั้งมวล และเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากสวรรค์ เพราะนอกจากจะช่วยส่งเสริมโชคลาภ ความร่ำรวยแล้ว ยังช่วยในเรื่องสุขภาพเพื่อป้องกันเรื่องร้าย อุบัติเหตุและอุบัติภัยต่างๆ หยกจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ หยกเจไดต์ และหยกเนไฟรต์ โดยหยกเจไดต์ที่พบกันโดยทั่วไปมักมีสีเขียว นอกจากนี้ในธรรมชาติยังสามารถพบหยกเจไดต์สีอื่นได้อีก เช่น สีเหลือง ขาว ม่วง ส้ม น้ำตาล และดำแต่พบได้ในปริมาณไม่มากนัก ซึ่งแหล่งผลิตหยกที่สำคัญมีประเทศใดบ้าง การปรับปรุงคุณภาพหยกมีวิธีใดบ้าง หาคำตอบได้จากภาพ Infographic นี้

เพริดอต (Peridot)

“เพริดอต” หรือ “เพอริโด” (Peridot) คือชื่อของอัญมณีสีเขียวมะกอกซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของหลายๆ คน จัดเป็นพลอยอัญมณีเนื้ออ่อนที่มีค่าความแข็งราว 6.5 - 7 ตามโมห์สเกล เป็นอัญมณีประจำเดือนเกิดของผู้ที่เกิดเดือนสิงหาคม โดยมีแหล่งแร่ที่สำคัญ ได้แก่ เมียนมา จีน สหรัฐฯ ปากีสถาน ออสเตรเลีย ศรีลังกา บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น รายละเอียดพิจารณาได้จากภาพ Infographic นี้

สปิเนล (Spinel)

สปิเนล (Spinel) เป็นชื่อของกลุ่มแร่ออกไซด์ที่มีสูตรเคมีขั้นต้นเป็นแมกนีเซียมอลูมิเนียมอ๊อกไซต์ซึ่งจะมีสีต่างๆ จากการแทรกตัวเข้าไปแทนที่แมกนีเซียมจากธาตุต่างๆ เช่น โครเมียม, เหล็ก หรือโคบอล โดยเฉพาะสีแดง มีลักษณะคล้ายทับทิมมากจนถูกเรียกว่า "ทับทิมสปิเนล" ส่วนชนิดที่หายากในธรรมชาติ คือ รูปแบบที่ไม่มีสี (ใส) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสปิเนลจะมีเฉดสีหลากหลายทั้งสีชมพู สีกุหลาบ สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล สีดำ และสีม่วง

การ์เนต (Garnet)

“การ์เนต” มาจากภาษาละติน “Granatus” หรือ “Granatum” ความหมายว่า “เหมือนเมล็ด (Seed - Like)” เนื่องจากมักจะพบผลึกการ์เนตสีแดงฝังอยู่ในหินคล้ายกับเมล็ดของผล Pomegranate ซึ่งก็มีชื่อภาษาละตินว่า Malum Granatum นั่นเอง ในภาษาไทยจะเรียกพลอยชนิดนี้ว่า “โกเมน” ซึ่งมักจะหมายถึง การ์เนตสีแดง แต่แท้จริงแล้วโกเมน หรือการ์เนตไม่ได้หมายความเฉพาะสีแดงเสมอไป เนื่องจากในธรรมชาติพบการ์เนตได้หลากสีสันหลายชนิด

ควอตซ์ (Quartz)

ควอตซ์ (Quartz) มีรากศัพท์มาจากภาษาเยอรมันโบราณว่า “Quarz” ส่วนในประเทศไทยนั้นจะเรียกว่า “เขี้ยวหนุมาน” ควอตซ์ที่เรารู้จักกันดีก็เช่น Amethyst ควอตซ์สีม่วง Citrine ควอตซ์สีเหลือง Rose Quartz ควอตซ์สีชมพู Rock Crystal ควอตซ์ใสไม่มีสี เป็นต้น แล้วคุณสมบัติและลักษณะของควอตซ์เป็นอย่างไร ผลิตจากประเทศไหนได้บ้าง สามารถปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีการใด สามารถดูรายละเอียดได้จากภาพ

ทัวร์มาลีน (Tourmaline)

ทัวร์มาลีนเป็นเป็นพลอยที่มีสีสันมากที่สุดในบรรดาพลอยทุกชนิด แต่ละสีจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ทัวร์มาลีนที่มีสีแดงเหมือนทับทิม (Rubellite) จะมีคุณค่ามากที่สุด ส่วนทัวร์มาลีนสีเขียว (Verdelite) พบได้บ่อยที่สุด และถ้าหากว่าเป็นสีเขียวเหมือนมรกตจะมีคุณค่ามากขึ้น ตามปกติแล้วผลึกทัวร์มาลีนแต่ละก้อนจะมีอยู่หลายเฉดสีหรือหลายสีปนกัน ทัวร์มาลีนจากบราซิลมักจะมีสองสี ด้านในของผลึกจะมีสีแดง ส่วนด้านนอกจะมีสีเขียว ดูแล้ววาวคล้ายกับลูกแตงโมผ่าซีก และมักจะเรียกชื่อตามลักษณะนี้ว่า Watermelon Tourmaline ในทางกลับกันทัวร์มาลีนจากประเทศแอฟริกาใต้นั้นด้านในจะมีสีเขียวและด้านนอกจะมีสีแดง

ปี 2565

เบริล (Beryl)

หากถามกันว่ารู้จักพลอยเบริลไหม น้อยคนนักที่จะรู้จักชื่อนี้ แต่หากเป็น มรกต (Emerald) อะความารีน (Aquamarine) ก็จะรู้จักกันมากขึ้น อัญมณีทั้งสองชนิดเป็นแร่เบริลเหมือนกัน ต่างกันที่ธาตุให้สี ซึ่งเบริลบริสุทธิ์ไร้สี เมื่อมีธาตุให้สีเจือในโครงสร้างจึงทำให้เบริลมีสีได้หลากสี เบริลจึงมีชื่อทางการค้าแยกตามสีนั่นเอง

หลักการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเพชรสังเคราะห์

ปัจจุบันเพชรสังเคราะห์ได้รับความนิยมจากกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นจึงมีส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ขายเพชรควรให้ข้อมูลและระบุถึงข้อความเกี่ยวกับเพชรสังเคราะห์อย่างชัดเจนและถูกต้อง อ่านรายละเอียดได้จากภาพนี้

หลักการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับเพชร

การระบุถึงเพชรแท้ซึ่งแตกต่างจากเพชรสังเคราะห์ควรใช้อย่างไร ผู้ขายควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับเพชรอย่างชัดเจนและถูกต้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค อ่านรายละเอียดได้จากภาพนี้

เพชร (Diamond)

เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ มีค่าความแข็งเท่ากับ 10 เพชรมีหลายสี โดยสีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ ในการประเมินคุณภาพเพชรจะใช้หลักการ 4C ซึ่งมีอะไรบ้างดูรายละเอียดได้จากภาพนี้

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970