ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

จาก ASEAN สู่ RCEP ขยายโอกาสหรือเพิ่มคู่แข่ง

Dec 24, 2021
5862 views
3 shares

           การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ คือการที่ประเทศสมาชิกตกลงที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการรวมกลุ่มของประเทศที่มีอาณาเขตที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดกันหรืออยู่ในภูมิภาคเดียวกัน หรือแม้แต่การรวมกลุ่มระหว่างประเทศที่อยู่ห่างไกลกันก็ได้ โดยล้วนมีจุดประสงค์หลักเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ลดข้อจำกัดระหว่างกัน และรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

            การค้าระหว่างประเทศมีวิวัฒนาการต่อเนื่องมายาวนานจากการค้าในอดีต จากรูปแบบทางการค้าที่ไม่ซับซ้อนและมีวงจำกัดก็ขยายตัวมากขึ้น กระทั่งทุกประเทศสามารถขยายขอบข่ายการทำการค้าระหว่างกันได้อย่างไม่จำกัด แต่ทว่าเมื่อการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แต่ละประเทศจึงมีการกำหนดมาตรการทางการค้าทั้งมาตรการทางภาษี (Tariff Measures) และมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) ซึ่งทำให้การค้าระหว่างประเทศขาดความเป็นธรรมและขัดกับหลักการค้าเสรีขององค์การการค้าโลกหรือ WTO จึงมีการเจรจาการค้าทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีระหว่างประเทศต่างๆ เกิดขึ้น เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าที่มีระหว่างกันและขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ 


"การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นการขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ 
       ลดข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกัน และสามารถสร้างอำนาจต่อรองต่อประเทศนอกกลุ่มได้อีกด้วย"
          
  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ได้แก่ สหภาพยุโรป (European Union : EU) เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา(Free Trade Area of the Americas : FTAA) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement : NAFTA) กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (Southern Common Market : หรือภาษาสเปน MERCOSUR) กลุ่มประชาคมแอนดีน (Andean Community หรือภาษาสเปน Comunidad Andina : CAN) เขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา (African Continental Free Trade Area : AfCFTA) สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) 
            รวมทั้งความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2020 จะกลายเป็นข้อตกลงทางการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อมีการบังคับใช้ โดยคาดว่าจะมีการเริ่มใช้ในภายในปี 2021 นี้ เมื่อประเทศในอาเซียนอย่างน้อย 6 ประเทศ และ 3 ประเทศที่ไม่ใช่อาเซียนให้สัตยาบันแล้ว
            เมื่อพิจารณาจากภาพการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1948-2021 พบว่า มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่ช่วงปี 1990 เป็นต้นมา เนื่องจากช่วงนี้นานาประเทศมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ทำให้มีการเจรจาทั้งข้อตกลงด้านสินค้าและข้อตกลงด้านบริการเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน ความตกลงการค้าระดับภูมิภาค (Regional Trade Agreements : RTAs) ที่มีผลบังคับใช้ มีจำนวน 351 ข้อตกลง (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2021 จาก WTO) 
อัณมณีและเครื่องประดับ
ภาพการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1948-2021 จาก http://rtais.wto.org

ไทยกับอาเซียน 
            หนึ่งในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญใกล้ชิดกับไทยและถือเป็นกลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่งในโลกนั้นคือ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1967 โดยประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งมีจุดมุ่งหวังในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพื่อสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาค ในปี 1992 ได้พัฒนาเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อส่งเสริมการค้าในอาเซียนให้เป็นไปอย่างเสรีและลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน ต่อมาในปี 2015 ประเทศสมาชิกได้ยกระดับความร่วมมือสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ที่ประกอบด้วยความร่วมมือใน 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) 

อัญมณีและ RCEP
            การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น ทำให้มีการลดข้อจำกัดทางภาษีและไม่ใช่ภาษีระหว่างกันในสินค้าและบริการ เพิ่มความสะดวกในการเข้าไปลงทุนของแต่ละประเทศสมาชิก รวมทั้งมีข้อตกลงในการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะหรือกลุ่มวิชาชีพ เรียกว่า “ข้อตกลงยอมรับร่วม” (Mutual Recognition Arrangement : MRA)1  ใน 8 วิชาชีพ ทั้งยังมีโครงการนำร่องรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในสินค้าและบริการ 12 สาขา เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยเน้นการใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก มีการแบ่งประเทศผู้รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ตามความสามารถ และความโดดเด่นแต่ละประเทศ โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในแต่ละสาขา ดังนี้
อุตสาหกรรมอัญมณี
เงื่อนไขการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในข้อตกลงทางการค้า ASEAN
            การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้กรอบความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA)2  สินค้าจะต้องผลิตได้ถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) โดยการใช้สิทธิพิเศษของสินค้าหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ จะต้องอยู่ในเกณฑ์ข้อบังคับตามกฎทั่วไป (General Rule: GR) 3 ประการ คือ
            1. สินค้าถูกผลิตขึ้นทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออก (Wholly Obtained: WO) 
            2. สินค้าต้องมีการใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาคอาเซียน (Regional Value Content: RVC) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของราคา FOB (Free On Board คือ มูลค่าของสินค้า ณ ท่าเรือต้นทาง ซึ่งรวมค่าขนส่งจนถึงท่าเรือหรือสถานที่สุดท้ายสำหรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ)
            3. มีการแปรสภาพอย่างเพียงพอโดยการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรระหว่าง “วัตถุดิบนำเข้า” กับ “สินค้าที่ส่งออก” ในระดับ 2 หลัก (Change of Chapter : CC) เฉพาะพิกัด 7102.10 (เพชรก้อน) 7102.21 (เพชรก้อนที่ใช้ในอุตสาหกรรม) 7102.31 (เพชรก้อนที่ไม่ใช้ในทางอุตสาหกรรม) และ 7103.10 (พลอยก้อน) ในระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading : CTH) หรือในระดับ 6 หลัก (Change of Tariff Subheading : CTSH
            ผู้ส่งออกที่ต้องการได้รับสิทธิในกรอบ ASEAN สามารถใช้หลักฐานในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ ATIGA ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-Form D) แบบที่ 2 หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form D) แบบกระดาษ กรมการค้าต่างประเทศจะออกให้ก็ต่อเมื่อมีเหตุขัดข้องทางระบบหรือเหตุสุดวิสัยอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถออก e-Form D ได้ และแบบที่ 3 คำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Origin Declaration) ภายใต้ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN Wide Self-Certification : AWSC) ซึ่งต้องเป็นผู้ส่งออกที่ได้รับการรับรอง (Certified Exporter: CE) จะต้องผ่านการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศเท่านั้น

"การใช้สิทธิประโยชน์ในกรอบ ASEAN ใช้เอกสาร Form D 
ในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเช่นเดียวกันทุกประเทศสมาชิ "

ประโยชน์ที่ไทยได้รับจาการรวมกลุ่มอาเซียน

อัญมณีและเครื่องประดับ
ไทยกับ RCEP
            ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เป็นข้อตกลงทางการค้าที่พัฒนามาจากแนวคิด ASEAN+3 (ประเทศอาเซียนร่วมกับจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) และ ASEAN+6 (ประเทศอาเซียนร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกใน AEC Blueprint ทั้งนี้ ความตกลง RCEP จะเป็นการขยายและต่อยอดจากข้อตกลง FTA ของประเทศในอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ให้มาอยู่ภายใต้ข้อตกลงเดียวกัน โดย RCEP เป็นข้อตกลงทางการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากครอบคลุมประชากรในประเทศสมาชิกกว่า 2.2 พันล้านคน หรือราว 30% ของประชากรโลก มีขนาด GDP รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30% ของ GDP โลก 


"ความตกลง RCEP จะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2022 จากการที่
ประเทศในอาเซียน 6 ประเทศ (บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม) 
และ 3 ประเทศที่ไม่ใช่อาเซียน (จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย) ได้ให้สัตยาบันแล้ว 
เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2022"

            RCEP ไม่เพียงแต่เป็นข้อตกลงด้านการค้าสินค้าและบริการ หรือการลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษีเท่านั้น แต่ RCEP ยังมีกฎเกณฑ์ที่ครอบคลุมการเปิดเสรีในเชิงลึก คือ การขยายความตกลงไปจนถึงเรื่องการลงทุน การบริการ และการเปิดกว้างในประเด็นการค้ายุคปัจจุบัน เช่น การแข่งขันทางการค้า การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐสมาชิก การอํานวยความสะดวกในการค้ายุคใหม่ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ความโปร่งใสของกฎระเบียบ นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการเชิงกว้าง คือ การเปิดรับสมาชิกต่างๆ ที่สนใจสมัครเข้าร่วมในความตกลงอีกด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีมิติที่ลึกกว่ากรอบความตกลงอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ขณะที่หลายประเทศในข้อตกลง RCEP นี้ คาดหวังว่าข้อตกลงดังกล่าวจะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้กลับมาเติบโตได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
            จึงอาจกล่าวได้ว่า RCEP ส่งผลต่อการค้าและการลงทุนของไทย สรุปได้ 4 ประการ ดังนี้
            1. RCEP เป็นข้อตกลงที่เปิดกว้างและมีมาตรฐานด้านต่างๆ สูง ซึ่งจะสร้างโอกาสให้สินค้าไทยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงในการพัฒนามาตรฐานสินค้าและบริการให้สูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเจรจาข้อตกลงทางการค้าที่มีมาตรฐานสูงในกรอบอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป (EU) และสหราชอาณาจักร (UK)
            2. RCEP ช่วยสร้างสมดุลการค้าและการลงทุนในฝั่งตะวันตกและตะวันออกของโลก โดยมีจีนเป็นแกนนำความตกลงทำให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก ช่วยคานอิทธิพลชาติตะวันตกที่มีต่อประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน เพราะเป็นการรวมกลุ่มความตกลงทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
            3. RCEP จะกลายเป็นกลุ่มการค้าที่มีห่วงโซ่การผลิตที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตและการค้าในซีกโลกตะวันออก ด้วยจุดเด่นของกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origins) ทำให้เราสามารถสะสมถิ่นกำเนิดได้เพิ่มขึ้นจาก 10 ประเทศอาเซียน เป็น 15 ประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการไทยและผู้บริโภคไทยได้ประโยชน์จากการเข้าถึงสินค้า บริการ วัตถุดิบ ราคาถูก คุณภาพดี ได้จาก 15 ประเทศในเอเชียและโอเชียเนีย
            4. ลดความยุ่งยากซับซ้อนในการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า รวมทั้งรูปแบบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่มีการใช้แตกต่างกัน เช่น ความตกลงกรอบ ASEAN ใช้ Form D ความตกลง ASEAN-จีน ใช้ Form E ความตกลง ASEAN-ญี่ปุ่น ใช้ Form AI เป็นต้น ให้มาอยู่ในรูปแบบเดียวกันทั้ง 15 ประเทศ

เงื่อนไขการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในข้อตกลงทางการค้า ASEAN เปรียบเทียบ RCEP 

            การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากข้อตกลงนี้เมื่อมีผลบังคับใช้ สามารถใช้หลักเกณฑ์ตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ข้อใดข้อหนึ่ง ใน 3 ข้อ แต่สำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมีบางรายการต้องใช้เกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะตามที่กำหนดไว้ มีรายละเอียดดังตาราง

ตารางสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับบางรายการที่มีเกณฑ์เฉพาะเจาะจงในการได้ถิ่นกำเนิดสินค้า
จากอัญมณี Asean สู่ RCEP
อัญมณีและเครื่องประดับ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ในกรอบ ASEAN และ RCEP
            นอกจากสิทธิประโยชน์และความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการขยายขอบเขตการค้าให้เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยสามารถพิจารณาการค้าในกรอบ ASEAN และ RCEP ได้ดังนี้

ขยายโอกาสอุตสาหกรรมอัญมณี
ASEAN
            เมื่อพิจารณาการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังประเทศอาเซียน 10 เดือนแรกของปี 2021 พบว่า ไทยส่งออกไปยังอาเซียนคิดเป็น 4.41% ของการส่งออกทั่วโลก มีประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีสัดส่วนการค้าในกลุ่มอาเซียนเท่ากับ 56.35%, 16.69% และ 12.99% ตามลำดับ 
            การส่งออกไปยังสิงคโปร์ มีมูลค่า 122.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสินค้าสำเร็จรูปที่สำคัญอย่างเครื่องประดับแพลทินัม เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม คิดเป็นสัดส่วนรวมกันมากกว่า 61% สินค้าที่สำคัญนอกจากนี้ ได้แก่ เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า ของทำด้วยไข่มุกและรัตนชาติ คิดเป็นสัดส่วน 20.27% และ 9.48% ตามลำดับ
            มาเลเซีย ตลาดอันดับที่ 2 ของไทยมีมูลค่าการส่งออก 36.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าสำเร็จรูปอย่างเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงินเป็นสินค้าหลักในตลาดนี้มีสัดส่วนถึง 68% 
            ขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังเวียดนามเท่ากับ 28.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปอย่างอัญมณีสังเคระห์ เพชรเจียระไน และโลหะเงิน ที่มีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 82%
ภาคี 5 ประเทศ
            การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังประเทศนอกกลุ่มอาเซียนตามกรอบ RCEP ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2021 คิดเป็น 9.74% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และจีน คิดเป็นสัดส่วนในกลุ่ม 5 ประเทศเท่ากับ 34.09%, 32.18% และ 23.63% ตามลำดับ
            การส่งออกไปยังญี่ปุ่น ตลาดอันดับที่ 1 มีมูลค่า 163.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม และเครื่องประดับเงิน ที่ครองสัดส่วน 54.73% สินค้าที่สำคัญนอกจากนี้ ได้แก่ เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และเพชรเจียระไน
            ขณะที่การส่งออกไปยังออสเตรเลีย มีมูลค่า 154.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสินค้าสำเร็จรูปอย่างเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับเทียม ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึง 81.70% เป็นสินค้าหลักในตลาดนี้
            ส่วนจีนซึ่งเป็นตลาดอันดับที่ 3 มีการส่งออก 113.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่สำคัญ คือ เครื่องประดับเงินที่มีสัดส่วนถึง 65.76% สินค้าสำคัญรองลงมา ได้แก่ ของทำด้วยไข่มุกและรัตนชาติ  พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเครื่องประดับเทียม ตามลำดับ  
            ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในกรอบความตกลง RCEP พบว่า ตลาดโดยรวมจะมีขนาดเท่ากับ 14.15% ของการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) โดยมีประเทศคู่ค้าหลัก 3 อันดับ คือ ญี่ปุ่น  ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ด้วยสัดส่วน 23.47%, 22.15% และ 17.56% ตามลำดับ 
            การขยายความร่วมมือจาก ASEAN สู่ RCEP แม้ว่าจะเป็นการสร้างโอกาสในหลายส่วนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถศึกษาเปรียบเทียบเพื่อวางแผนการซื้อขาย วางแผนการผลิต วางแผนหาจัดหาวัตถุดิบ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตจากประเทศสมาชิก 15 ประเทศ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด แต่ขณะเดียวกันการขยายตลาดที่จะเกิดขึ้นนี้ยังเป็นการเพิ่มคู่แข่งทางการค้าอีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากหลายประเทศอย่างจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่มีกำลังแรงงานจำนวนมากทั้งยังมีค่าแรงที่ถูก สินค้าจึงมีราคาไม่แพง ทำให้ลูกค้าเกิดทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น ดังนั้น ความตกลง RCEP ที่จะเริ่มใช้ในปี 2022 นี้ จึงเป็นโอกาสของผู้ที่เตรียมการแต่เป็นความเสี่ยงของผู้ที่ยังไม่เตรียมตัว แล้ววันนี้เราพร้อมแล้วหรือยัง     




ข้อมูลอ้างอิง


1 MRA (Mutual Recognition Arrangement) คือ ข้อตกลงยอมรับร่วมกันของประเทศในอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือใน 8 กลุ่มวิชาชีพได้อย่างเสรี คือ 1. วิชาชีพด้านวิศวกรรม 2. วิชาชีพพยาบาล 3. วิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม 4. วิชาชีพเกี่ยวกับการสำรวจหรือนักสำรวจ 5. วิชาชีพบัญชี 6. วิชาชีพที่เกี่ยวกับทันตกรรม 7. วิชาชีพที่เกี่ยวกับการรักษาหรือการแพทย์ 8. การบริการและการท่องเที่ยว โดยจะอำนวยความสะดวกในขั้นตอนของการขอใบอนุญาตเท่านั้น แต่ยังไม่ยอมรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของแต่ละประเทศ ดังนั้น นักวิชาชีพต่างชาติยังจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือเงื่อนไขในการเข้าทำงานของแต่ละประเทศ
2 ATIGA (ASEAN Trade in Goods Agreement) เป็นความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ซึ่งนำมาใช้แทน CEPT Agreement ข้อตกลงเดิม โดย ATIGA มีความครอบคลุมประเด็นต่างๆ มากกว่า เช่น การลดภาษี มาตรการที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกทางการค้า กระบวนการศุลกากร มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และมาตรการเทคนิคที่เป็นอุปสรรคทางการค้า เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1) Regional Trade Agreements. From http://rtais.wto.org/UI/charts.aspx
2) เขตการค้าเสรีอาเซียน สืบค้นจาก https://www.dtn.go.th
3) เขตการค้าเสรีอาเซียน สืบค้นจาก https://www.dft.go.th
4) การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับประเด็นทางด้านแรงงาน สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th
5) กรอบความตกลงว่าด้วยการเปิดเสรีด้านการค้าภาคบริการ สืบค้นจาก https://www.itd.or.th
6) การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน http://www.customs.go.th
7) อาเซียนร่วม 5 ประเทศพันธมิตรลงนาม RCEP ข้อตกลงการค้าใหญ่ที่สุดในโลก สืบค้นจาก https://thaipublica.org
8) https://rcepsec.org/legal-text/
9) RCEP ไทยได้-เสียอะไรบ้างจากข้อตกลง RCEP. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/world/638532
10) https://www.accesstransports.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

จาก ASEAN สู่ RCEP ขยายโอกาสหรือเพิ่มคู่แข่ง

Dec 24, 2021
5862 views
3 shares

           การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ คือการที่ประเทศสมาชิกตกลงที่จะร่วมมือกันทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ โดยเป็นการรวมกลุ่มของประเทศที่มีอาณาเขตที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ติดกันหรืออยู่ในภูมิภาคเดียวกัน หรือแม้แต่การรวมกลุ่มระหว่างประเทศที่อยู่ห่างไกลกันก็ได้ โดยล้วนมีจุดประสงค์หลักเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ลดข้อจำกัดระหว่างกัน และรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

            การค้าระหว่างประเทศมีวิวัฒนาการต่อเนื่องมายาวนานจากการค้าในอดีต จากรูปแบบทางการค้าที่ไม่ซับซ้อนและมีวงจำกัดก็ขยายตัวมากขึ้น กระทั่งทุกประเทศสามารถขยายขอบข่ายการทำการค้าระหว่างกันได้อย่างไม่จำกัด แต่ทว่าเมื่อการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แต่ละประเทศจึงมีการกำหนดมาตรการทางการค้าทั้งมาตรการทางภาษี (Tariff Measures) และมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures: NTMs) ซึ่งทำให้การค้าระหว่างประเทศขาดความเป็นธรรมและขัดกับหลักการค้าเสรีขององค์การการค้าโลกหรือ WTO จึงมีการเจรจาการค้าทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีระหว่างประเทศต่างๆ เกิดขึ้น เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าที่มีระหว่างกันและขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ 


"การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นการขยายความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ 
       ลดข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกัน และสามารถสร้างอำนาจต่อรองต่อประเทศนอกกลุ่มได้อีกด้วย"
          
  การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก ได้แก่ สหภาพยุโรป (European Union : EU) เขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา(Free Trade Area of the Americas : FTAA) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement : NAFTA) กลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (Southern Common Market : หรือภาษาสเปน MERCOSUR) กลุ่มประชาคมแอนดีน (Andean Community หรือภาษาสเปน Comunidad Andina : CAN) เขตการค้าเสรีทวีปแอฟริกา (African Continental Free Trade Area : AfCFTA) สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) 
            รวมทั้งความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2020 จะกลายเป็นข้อตกลงทางการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อมีการบังคับใช้ โดยคาดว่าจะมีการเริ่มใช้ในภายในปี 2021 นี้ เมื่อประเทศในอาเซียนอย่างน้อย 6 ประเทศ และ 3 ประเทศที่ไม่ใช่อาเซียนให้สัตยาบันแล้ว
            เมื่อพิจารณาจากภาพการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1948-2021 พบว่า มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับแต่ช่วงปี 1990 เป็นต้นมา เนื่องจากช่วงนี้นานาประเทศมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ทำให้มีการเจรจาทั้งข้อตกลงด้านสินค้าและข้อตกลงด้านบริการเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน ความตกลงการค้าระดับภูมิภาค (Regional Trade Agreements : RTAs) ที่มีผลบังคับใช้ มีจำนวน 351 ข้อตกลง (ข้อมูล ณ ธันวาคม 2021 จาก WTO) 
อัณมณีและเครื่องประดับ
ภาพการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 1948-2021 จาก http://rtais.wto.org

ไทยกับอาเซียน 
            หนึ่งในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญใกล้ชิดกับไทยและถือเป็นกลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่งในโลกนั้นคือ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 1967 โดยประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งมีจุดมุ่งหวังในการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เพื่อสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาค ในปี 1992 ได้พัฒนาเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เพื่อส่งเสริมการค้าในอาเซียนให้เป็นไปอย่างเสรีและลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน ต่อมาในปี 2015 ประเทศสมาชิกได้ยกระดับความร่วมมือสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) ที่ประกอบด้วยความร่วมมือใน 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) 

อัญมณีและ RCEP
            การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) นั้น ทำให้มีการลดข้อจำกัดทางภาษีและไม่ใช่ภาษีระหว่างกันในสินค้าและบริการ เพิ่มความสะดวกในการเข้าไปลงทุนของแต่ละประเทศสมาชิก รวมทั้งมีข้อตกลงในการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะหรือกลุ่มวิชาชีพ เรียกว่า “ข้อตกลงยอมรับร่วม” (Mutual Recognition Arrangement : MRA)1  ใน 8 วิชาชีพ ทั้งยังมีโครงการนำร่องรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในสินค้าและบริการ 12 สาขา เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยเน้นการใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก มีการแบ่งประเทศผู้รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ตามความสามารถ และความโดดเด่นแต่ละประเทศ โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในแต่ละสาขา ดังนี้
อุตสาหกรรมอัญมณี
เงื่อนไขการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในข้อตกลงทางการค้า ASEAN
            การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้กรอบความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA)2  สินค้าจะต้องผลิตได้ถูกต้องตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) โดยการใช้สิทธิพิเศษของสินค้าหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ จะต้องอยู่ในเกณฑ์ข้อบังคับตามกฎทั่วไป (General Rule: GR) 3 ประการ คือ
            1. สินค้าถูกผลิตขึ้นทั้งหมดในประเทศผู้ส่งออก (Wholly Obtained: WO) 
            2. สินค้าต้องมีการใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาคอาเซียน (Regional Value Content: RVC) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของราคา FOB (Free On Board คือ มูลค่าของสินค้า ณ ท่าเรือต้นทาง ซึ่งรวมค่าขนส่งจนถึงท่าเรือหรือสถานที่สุดท้ายสำหรับขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ)
            3. มีการแปรสภาพอย่างเพียงพอโดยการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรระหว่าง “วัตถุดิบนำเข้า” กับ “สินค้าที่ส่งออก” ในระดับ 2 หลัก (Change of Chapter : CC) เฉพาะพิกัด 7102.10 (เพชรก้อน) 7102.21 (เพชรก้อนที่ใช้ในอุตสาหกรรม) 7102.31 (เพชรก้อนที่ไม่ใช้ในทางอุตสาหกรรม) และ 7103.10 (พลอยก้อน) ในระดับ 4 หลัก (Change of Tariff Heading : CTH) หรือในระดับ 6 หลัก (Change of Tariff Subheading : CTSH
            ผู้ส่งออกที่ต้องการได้รับสิทธิในกรอบ ASEAN สามารถใช้หลักฐานในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ ATIGA ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบที่ 1 หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-Form D) แบบที่ 2 หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form D) แบบกระดาษ กรมการค้าต่างประเทศจะออกให้ก็ต่อเมื่อมีเหตุขัดข้องทางระบบหรือเหตุสุดวิสัยอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถออก e-Form D ได้ และแบบที่ 3 คำรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Origin Declaration) ภายใต้ระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน (ASEAN Wide Self-Certification : AWSC) ซึ่งต้องเป็นผู้ส่งออกที่ได้รับการรับรอง (Certified Exporter: CE) จะต้องผ่านการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศเท่านั้น

"การใช้สิทธิประโยชน์ในกรอบ ASEAN ใช้เอกสาร Form D 
ในการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเช่นเดียวกันทุกประเทศสมาชิ "

ประโยชน์ที่ไทยได้รับจาการรวมกลุ่มอาเซียน

อัญมณีและเครื่องประดับ
ไทยกับ RCEP
            ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจของภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) เป็นข้อตกลงทางการค้าที่พัฒนามาจากแนวคิด ASEAN+3 (ประเทศอาเซียนร่วมกับจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) และ ASEAN+6 (ประเทศอาเซียนร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกใน AEC Blueprint ทั้งนี้ ความตกลง RCEP จะเป็นการขยายและต่อยอดจากข้อตกลง FTA ของประเทศในอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ให้มาอยู่ภายใต้ข้อตกลงเดียวกัน โดย RCEP เป็นข้อตกลงทางการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากครอบคลุมประชากรในประเทศสมาชิกกว่า 2.2 พันล้านคน หรือราว 30% ของประชากรโลก มีขนาด GDP รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 30% ของ GDP โลก 


"ความตกลง RCEP จะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2022 จากการที่
ประเทศในอาเซียน 6 ประเทศ (บรูไน กัมพูชา ลาว สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม) 
และ 3 ประเทศที่ไม่ใช่อาเซียน (จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย) ได้ให้สัตยาบันแล้ว 
เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2022"

            RCEP ไม่เพียงแต่เป็นข้อตกลงด้านการค้าสินค้าและบริการ หรือการลดมาตรการกีดกันทางการค้าที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษีเท่านั้น แต่ RCEP ยังมีกฎเกณฑ์ที่ครอบคลุมการเปิดเสรีในเชิงลึก คือ การขยายความตกลงไปจนถึงเรื่องการลงทุน การบริการ และการเปิดกว้างในประเด็นการค้ายุคปัจจุบัน เช่น การแข่งขันทางการค้า การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐสมาชิก การอํานวยความสะดวกในการค้ายุคใหม่ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ความโปร่งใสของกฎระเบียบ นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการเชิงกว้าง คือ การเปิดรับสมาชิกต่างๆ ที่สนใจสมัครเข้าร่วมในความตกลงอีกด้วย ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีมิติที่ลึกกว่ากรอบความตกลงอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ขณะที่หลายประเทศในข้อตกลง RCEP นี้ คาดหวังว่าข้อตกลงดังกล่าวจะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้กลับมาเติบโตได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
            จึงอาจกล่าวได้ว่า RCEP ส่งผลต่อการค้าและการลงทุนของไทย สรุปได้ 4 ประการ ดังนี้
            1. RCEP เป็นข้อตกลงที่เปิดกว้างและมีมาตรฐานด้านต่างๆ สูง ซึ่งจะสร้างโอกาสให้สินค้าไทยใช้ประโยชน์จากข้อตกลงในการพัฒนามาตรฐานสินค้าและบริการให้สูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเจรจาข้อตกลงทางการค้าที่มีมาตรฐานสูงในกรอบอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป (EU) และสหราชอาณาจักร (UK)
            2. RCEP ช่วยสร้างสมดุลการค้าและการลงทุนในฝั่งตะวันตกและตะวันออกของโลก โดยมีจีนเป็นแกนนำความตกลงทำให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก ช่วยคานอิทธิพลชาติตะวันตกที่มีต่อประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน เพราะเป็นการรวมกลุ่มความตกลงทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก
            3. RCEP จะกลายเป็นกลุ่มการค้าที่มีห่วงโซ่การผลิตที่เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตและการค้าในซีกโลกตะวันออก ด้วยจุดเด่นของกฎแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origins) ทำให้เราสามารถสะสมถิ่นกำเนิดได้เพิ่มขึ้นจาก 10 ประเทศอาเซียน เป็น 15 ประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการไทยและผู้บริโภคไทยได้ประโยชน์จากการเข้าถึงสินค้า บริการ วัตถุดิบ ราคาถูก คุณภาพดี ได้จาก 15 ประเทศในเอเชียและโอเชียเนีย
            4. ลดความยุ่งยากซับซ้อนในการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า รวมทั้งรูปแบบหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่มีการใช้แตกต่างกัน เช่น ความตกลงกรอบ ASEAN ใช้ Form D ความตกลง ASEAN-จีน ใช้ Form E ความตกลง ASEAN-ญี่ปุ่น ใช้ Form AI เป็นต้น ให้มาอยู่ในรูปแบบเดียวกันทั้ง 15 ประเทศ

เงื่อนไขการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในข้อตกลงทางการค้า ASEAN เปรียบเทียบ RCEP 

            การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากข้อตกลงนี้เมื่อมีผลบังคับใช้ สามารถใช้หลักเกณฑ์ตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า ข้อใดข้อหนึ่ง ใน 3 ข้อ แต่สำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับมีบางรายการต้องใช้เกณฑ์การได้ถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะตามที่กำหนดไว้ มีรายละเอียดดังตาราง

ตารางสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับบางรายการที่มีเกณฑ์เฉพาะเจาะจงในการได้ถิ่นกำเนิดสินค้า
จากอัญมณี Asean สู่ RCEP
อัญมณีและเครื่องประดับ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ในกรอบ ASEAN และ RCEP
            นอกจากสิทธิประโยชน์และความร่วมมือด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นแล้ว ยังเป็นการขยายขอบเขตการค้าให้เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยสามารถพิจารณาการค้าในกรอบ ASEAN และ RCEP ได้ดังนี้

ขยายโอกาสอุตสาหกรรมอัญมณี
ASEAN
            เมื่อพิจารณาการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังประเทศอาเซียน 10 เดือนแรกของปี 2021 พบว่า ไทยส่งออกไปยังอาเซียนคิดเป็น 4.41% ของการส่งออกทั่วโลก มีประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีสัดส่วนการค้าในกลุ่มอาเซียนเท่ากับ 56.35%, 16.69% และ 12.99% ตามลำดับ 
            การส่งออกไปยังสิงคโปร์ มีมูลค่า 122.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสินค้าสำเร็จรูปที่สำคัญอย่างเครื่องประดับแพลทินัม เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม คิดเป็นสัดส่วนรวมกันมากกว่า 61% สินค้าที่สำคัญนอกจากนี้ ได้แก่ เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า ของทำด้วยไข่มุกและรัตนชาติ คิดเป็นสัดส่วน 20.27% และ 9.48% ตามลำดับ
            มาเลเซีย ตลาดอันดับที่ 2 ของไทยมีมูลค่าการส่งออก 36.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าสำเร็จรูปอย่างเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงินเป็นสินค้าหลักในตลาดนี้มีสัดส่วนถึง 68% 
            ขณะที่มูลค่าการส่งออกไปยังเวียดนามเท่ากับ 28.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าสำคัญเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปอย่างอัญมณีสังเคระห์ เพชรเจียระไน และโลหะเงิน ที่มีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 82%
ภาคี 5 ประเทศ
            การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) ไปยังประเทศนอกกลุ่มอาเซียนตามกรอบ RCEP ในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2021 คิดเป็น 9.74% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และจีน คิดเป็นสัดส่วนในกลุ่ม 5 ประเทศเท่ากับ 34.09%, 32.18% และ 23.63% ตามลำดับ
            การส่งออกไปยังญี่ปุ่น ตลาดอันดับที่ 1 มีมูลค่า 163.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสินค้าสำคัญได้แก่ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับแพลทินัม และเครื่องประดับเงิน ที่ครองสัดส่วน 54.73% สินค้าที่สำคัญนอกจากนี้ ได้แก่ เศษหรือของที่ใช้ไม่ได้ทำด้วยโลหะมีค่า และเพชรเจียระไน
            ขณะที่การส่งออกไปยังออสเตรเลีย มีมูลค่า 154.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสินค้าสำเร็จรูปอย่างเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับเทียม ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึง 81.70% เป็นสินค้าหลักในตลาดนี้
            ส่วนจีนซึ่งเป็นตลาดอันดับที่ 3 มีการส่งออก 113.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าที่สำคัญ คือ เครื่องประดับเงินที่มีสัดส่วนถึง 65.76% สินค้าสำคัญรองลงมา ได้แก่ ของทำด้วยไข่มุกและรัตนชาติ  พลอยเนื้อแข็งเจียระไน และเครื่องประดับเทียม ตามลำดับ  
            ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในกรอบความตกลง RCEP พบว่า ตลาดโดยรวมจะมีขนาดเท่ากับ 14.15% ของการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย (ไม่รวมทองคำ) โดยมีประเทศคู่ค้าหลัก 3 อันดับ คือ ญี่ปุ่น  ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ ด้วยสัดส่วน 23.47%, 22.15% และ 17.56% ตามลำดับ 
            การขยายความร่วมมือจาก ASEAN สู่ RCEP แม้ว่าจะเป็นการสร้างโอกาสในหลายส่วนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถศึกษาเปรียบเทียบเพื่อวางแผนการซื้อขาย วางแผนการผลิต วางแผนหาจัดหาวัตถุดิบ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตจากประเทศสมาชิก 15 ประเทศ เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด แต่ขณะเดียวกันการขยายตลาดที่จะเกิดขึ้นนี้ยังเป็นการเพิ่มคู่แข่งทางการค้าอีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากหลายประเทศอย่างจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม ที่มีกำลังแรงงานจำนวนมากทั้งยังมีค่าแรงที่ถูก สินค้าจึงมีราคาไม่แพง ทำให้ลูกค้าเกิดทางเลือกในการบริโภคมากขึ้น ดังนั้น ความตกลง RCEP ที่จะเริ่มใช้ในปี 2022 นี้ จึงเป็นโอกาสของผู้ที่เตรียมการแต่เป็นความเสี่ยงของผู้ที่ยังไม่เตรียมตัว แล้ววันนี้เราพร้อมแล้วหรือยัง     




ข้อมูลอ้างอิง


1 MRA (Mutual Recognition Arrangement) คือ ข้อตกลงยอมรับร่วมกันของประเทศในอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือใน 8 กลุ่มวิชาชีพได้อย่างเสรี คือ 1. วิชาชีพด้านวิศวกรรม 2. วิชาชีพพยาบาล 3. วิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม 4. วิชาชีพเกี่ยวกับการสำรวจหรือนักสำรวจ 5. วิชาชีพบัญชี 6. วิชาชีพที่เกี่ยวกับทันตกรรม 7. วิชาชีพที่เกี่ยวกับการรักษาหรือการแพทย์ 8. การบริการและการท่องเที่ยว โดยจะอำนวยความสะดวกในขั้นตอนของการขอใบอนุญาตเท่านั้น แต่ยังไม่ยอมรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของแต่ละประเทศ ดังนั้น นักวิชาชีพต่างชาติยังจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือเงื่อนไขในการเข้าทำงานของแต่ละประเทศ
2 ATIGA (ASEAN Trade in Goods Agreement) เป็นความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ซึ่งนำมาใช้แทน CEPT Agreement ข้อตกลงเดิม โดย ATIGA มีความครอบคลุมประเด็นต่างๆ มากกว่า เช่น การลดภาษี มาตรการที่มิใช่ภาษี การอำนวยความสะดวกทางการค้า กระบวนการศุลกากร มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และมาตรการเทคนิคที่เป็นอุปสรรคทางการค้า เป็นต้น
---------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1) Regional Trade Agreements. From http://rtais.wto.org/UI/charts.aspx
2) เขตการค้าเสรีอาเซียน สืบค้นจาก https://www.dtn.go.th
3) เขตการค้าเสรีอาเซียน สืบค้นจาก https://www.dft.go.th
4) การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับประเด็นทางด้านแรงงาน สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th
5) กรอบความตกลงว่าด้วยการเปิดเสรีด้านการค้าภาคบริการ สืบค้นจาก https://www.itd.or.th
6) การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียน http://www.customs.go.th
7) อาเซียนร่วม 5 ประเทศพันธมิตรลงนาม RCEP ข้อตกลงการค้าใหญ่ที่สุดในโลก สืบค้นจาก https://thaipublica.org
8) https://rcepsec.org/legal-text/
9) RCEP ไทยได้-เสียอะไรบ้างจากข้อตกลง RCEP. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/world/638532
10) https://www.accesstransports.com

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site