ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สำรวจตลาดอัญมณี: อุปสงค์แซปไฟร์พุ่ง...สวนอุปทานที่จำกัด

Jan 20, 2022
3334 views
6 shares

            อัญมณีแซปไฟร์เป็นสินค้ายอดนิยมในแวดวงอัญมณีและเครื่องประดับระดับสากลมายาวนาน ยิ่งเมื่อสี ‘Classic Blue’ ได้รับเลือกให้เป็นสีแห่งปีโดยสถาบัน Pantone Color Institute ในปี 2020 อัญมณีสีน้ำเงินที่หลายคนชื่นชอบนี้ก็ยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นและมีผู้ซื้อที่มองหาอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แหล่งพลอยใหม่ๆ น่าจะช่วยให้ตลาดอัญมณ๊แซปไฟร์คึกคักยิ่งขึ้นอีก

            อัญมณีแซปไฟร์ถือเป็นหนึ่งในอัญมณีซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลก โดยอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพสูงมักอยู่ในกลุ่มสี “Peacock Blue” หรือเฉดสีน้ำเงินโรยัลที่ดูนุ่มนวลคล้ายสีคอของนกยูง

อัญมณีแซปไฟร์

สร้อยคอประดับอัญมณีแซปไฟร์สี Peacock Blue ในงานประมูลของ Christie’s

            แต่เดิมแคว้นแคชเมียร์ ประเทศอินเดียเป็นแหล่งผลิตอัญมณีแซปไฟร์ซึ่งมีมูลค่าสูงเนื่องจากความหายาก ตามมาด้วยเมียนมา ศรีลังกา มาดากัสการ์ ออสเตรเลีย และรัฐมอนทานา สหรัฐอเมริกา ตามข้อมูลจาก Suhail Salahudeen ที่ปรึกษาด้านอัญมณีของ Star Lanka Co Ltd ในประเทศไทย

            Anthony Brooke ประธานแพลตฟอร์มการค้าอัญมณี Gembridge กล่าวว่า ในบรรดาจุดหมายปลายทางเหล่านี้ มาดากัสการ์กลายเป็นแหล่งผลิตอัญมณีแซปไฟร์ที่สำคัญโดยมีการส่งไปเจียระไนที่ศรีลังกา ทั้งนี้เนื่องจากอัญมณีจากเหมืองต่างๆ ในแคชเมียร์เริ่มหมดลง ขณะที่การทำเหมืองในเมียนมาก็ยังมีจำกัด แซปไฟร์จากมาดากัสการ์จึงได้รับความสนใจในแวดวงการค้าอัญมณีมากขึ้นเรื่อยๆ

ธุรกิจอัญมณีแซปไฟร์

            Armil Sammoon ประธานของ Sapphire Capital Group และตัวแทนประจำศรีลังกาของ International Colored Gemstone Association อธิบายว่า อัญมณีแซปไฟร์จำนวนมากที่พบในศรีลังกามีสีที่นุ่มนวลคล้ายอัญมณีแซปไฟร์จากแคชเมียร์ นอกจากนี้เรายังพบอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพดีได้ในไนจีเรีย แคเมอรูน เอธิโอเปีย รวันดา และไทย

            Brooke ระบุว่าอัญมณีเพื่อการลงทุนซึ่งส่วนใหญ่มาจากแคชเมียร์นั้นเป็นสินค้าคงคลังที่มีอยู่เดิมและมักไม่ค่อยพบตามงานประมูล

อัญมณีสสีน้ำเงิน แซปไฟร์

แหวนแซปไฟร์แคชเมียร์ ในงานประมูลของ Christie’s


            อัญมณีแซปไฟร์คุณภาพสูงยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดระหว่างช่วงการระบาด Fung Chiang รองประธานและผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเครื่องประดับที่ Christie’s ประจำเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าแนวโน้มนี้เห็นได้ชัดจากการขายแหวนอัญมณีแซปไฟร์แคชเมียร์ 14.70 กะรัตที่ราคา 10.32 ล้านเหรียญฮ่องกง (ราว 1.32 ล้านเหรียญสหรัฐ) ที่ Christie’s ฮ่องกงเมื่อไม่นานมานี้

            Salahudeen ระบุว่าความต้องการอัญมณีแซปไฟร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาท่ามกลางปริมาณอุปทานที่จำกัดและราคาที่สูง ความต้องการอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพปานกลางนั้นมีมากที่สุดในจีน ขณะที่ตลาดสหรัฐนิยมอัญมณีแซปไฟร์ที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน ส่วนอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพสูงสุดนั้นมักขายได้ในยุโรป

            อุปทานยังคงเป็นประเด็นสำคัญในวงกว้าง ปัจจุบันอัญมณีแซปไฟร์ส่วนใหญ่มาจากศรีลังกา โดยอัญมณีแซปไฟร์ขนาดใหญ่ 10 ถึง 20 กะรัตจำนวนมากขุดมาจากที่นั่น “ถ้าเป็นอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพเชิงพาณิชย์ ตลาดยังคงพึ่งพลอยจากไนจีเรียเป็นหลัก” Brooke ระบุ “มีการขุดอัญมณีแซปไฟร์จากมาดากัสการ์ทั้งในระดับเชิงพาณิชย์ ระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับสูงกว่านั้น แต่การจัดส่งต้องหยุดชะงักไปในช่วงโควิด อัญมณีแซปไฟร์เชิงพาณิชย์จำนวนมากไม่ได้เดินทางไปถึงศรีลังกาซึ่งเป็นแหล่งแปรรูปอัญมณีพลอย”

            นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตจากเมียนมาก็ยังน้อยมาก Andrey Kornilov กรรมการผู้จัดการของ Gem Matrix กล่าวว่าหลายประเทศใช้กฎหมายห้ามทำการค้าอัญมณีจากเมียนมา ทำให้ผู้ซื้อลดความสนใจในสินค้ากลุ่มนี้

            Rupak Sen ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอัญมณี Fura Gems กล่าวว่า ปริมาณการผลิตอัญมณีแซปไฟร์จากออสเตรเลียในช่วงปีที่ผ่านมาน่าจะช่วยเข้ามาเสริมคลังสินค้าในตลาดได้ “Fura ผลิตอัญมณีแซปไฟร์กว่า 6 ล้านกะรัตในปี 2021 และวางแผนที่จะผลิตกว่า 8 ล้านกะรัตในปี 2022 โดยอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินจะมีสัดส่วนมากพอสมควรในปริมาณการผลิตโดยรวม” 

            Fura Gems ร่วมกับบริษัทตัวแทนและที่ปรึกษาด้านเพชร Bonas Group ได้จัดงานประมูลอัญมณีแซปไฟร์ออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในกรุงเทพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 โดยนำเสนออัญมณีคุณภาพสูงถึงปานกลางจำนวนมากในสีต่างๆ เช่น น้ำเงิน น้ำเงินเขียว เขียว เหลือง และหลากสี (Parti-Colour) โดยมีบริษัทราว 30 - 35 แห่งจากไทย ศรีลังกา อินเดีย และตะวันออกกลางเข้าร่วมงานประมูลครั้งนี้

ตลาดอัญมณีแซปไฟร์

อัญมณีแซปไฟร์ดิบสีน้ำเงินจากเหมืองในออสเตรเลียของบริษัท Fura Gems


ความนิยมของผู้ซื้อ

            Brooke กล่าวว่ายุโรปยังคงซื้ออัญมณีแซปไฟร์จากผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น แคชเมียร์ เมียนมา และศรีลังกา ขณะที่สหรัฐหันไปซื้ออัญมณีแซปไฟร์เชิงพาณิชย์และอัญมณีแซปไฟร์ขนาดมาตรฐานปริมาณมากๆ เป็นส่วนใหญ่

            Chiang จาก Christie’s ประจำเอเชียแปซิฟิกพบว่าผู้ซื้อจากจีนเพิ่มขึ้น ขณะที่ Sammoon ระบุว่าผู้ซื้ออินเดียหันมาสนใจอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินขนาด 5 - 25 กะรัตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ

            Kornilov จาก Gem Matrix กล่าวว่าสีเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในเอเชีย พร้อมเสริมว่าประเทศในเอเชียมักสนใจอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินโรยัลและสีน้ำเงินคอร์นฟลาวเวอร์จากศรีลังกา

            Brooke ระบุว่าผู้ซื้อชาวจีนสนใจอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินแต่มักนิยมอัญมณีที่ไม่ผ่านการปรับปรุงด้วยความร้อน และกำลังกระจายความนิยมจากอัญมณีแซปไฟร์ศรีลังกาไปหาอัญมณีแซปไฟร์จากมาดากัสการ์ “ตลาดจีนไม่ต้องการอัญมณีแซปไฟร์ที่ผ่านการปรับปรุงด้วยความร้อน จึงเป็นเรื่องยากที่จะตอบสนองความต้องการได้อย่างสม่ำเสมอนอกเสียจากว่าผู้ซื้อจีนจะยอมซื้ออัญมณีที่มีรอยร้าว” 

ธุรกิจอัญมณีแซปไฟร์

อัญมณีแซปไฟร์สี Cornflower Blue จากมาดากัสการ์ของบริษัท Navneet Gems and Minerals


            ขณะเดียวกันประเทศเอเชียอื่นๆ ก็หันไปหาอัญมณีแซปไฟร์เมียนมาและศรีลังกา ขณะที่อัญมณีแซปไฟร์มาดากัสการ์ค่อยๆ เป็นที่ยอมรับในตลาดมากขึ้น

            “การรู้แหล่งที่มาเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำตลาดและอาจช่วยให้ตั้งราคาสูงขึ้นได้ เนื่องจากการจัดซื้ออัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินอย่างถูกต้องนั้นมีต้นทุนอยู่” Navneet Agarwal จากบริษัท Navneet Gems and Minerals ในไทย ได้ให้คำอธิบายไว้และมองว่าสหรัฐเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน

            อย่างไรก็ดี Salahudeen กล่าวว่าอัญมณีควรได้รับการตั้งราคาตามความงามไม่ใช่แหล่งที่มา พร้อมเสริมว่า “จริงอยู่ว่าอัญมณีแซปไฟร์จากแคชเมียร์นั้นหายาก แต่อัญมณีแซปไฟร์จากมาดากัสการ์ก็เป็นหนึ่งในอัญมณีที่สวยที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา”

โควิด-19 ส่งผลต่อการค้าอัญมณีพลอย

            Agarwal กล่าวว่าจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นในศรีลังการะยะหลังมานี้ส่งผลให้การทำเหมืองหยุดชะงักลงและส่งผลกระทบต่อตลาด Salahudeen ระบุว่าโควิด-19 ส่งผลต่ออุตสาหกรรมนี้เพียงสองสามเดือนเท่านั้นและการดำเนินธุรกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติรวมถึงอีคอมเมิร์ซด้วย เขาระบุว่าความต้องการกระเตื้องขึ้นเนื่องจากผู้ค้าจำนวนมากพยายามเติมสินค้าคงคลังอยู่ ขณะที่การจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าในภาคธุรกิจอัญมณีก็ได้ช่วยคงกระแสเอาไว้แม้จะเป็นกิจกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ก็ตาม

            Sammoon อธิบายว่ารัฐบาลใหม่ในศรีลังกากำลังทำงานกับสมาคมอัญมณีเพื่อจัดหาอัญมณีแซปไฟร์ก้อนกลุ่มใหม่เข้ามาสู่ตลาด เพราะการหาอัญมณีแซปไฟร์โดยตรงจากแหล่งผลิตสำคัญเดิมกลายเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง 

            Agarwal อธิบายว่าอัญมณีแซปไฟร์ก้อนมีจำนวนไม่มากและการเดินทางก็ยังคงมีข้อจำกัด ในขณะที่การทำธุรกิจส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยผู้ค้าชาวแอฟริกันที่เข้ามาติดต่อและขายอัญมณีก้อนให้ที่สำนักงานของบริษัท “ยอดขายก่อนช่วงโควิดไม่สูงนักเนื่องจากคนกำลังเก็บออมเงิน ในตอนนี้คนนำรายได้สุทธิมาใช้จ่ายกันมากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40” เขาเสริม

            ขณะที่ Kornilov พบว่ายอดขายอัญมณีแซปไฟร์เชิงพาณิชย์ของบริษัทลดลงร้อยละ 20 ถึง 30 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด “การทำยอดขายในตลาดนี้ยากขึ้นเพราะผู้ผลิตอัญมณีส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งงานแสดงสินค้านานาชาติเพื่อหาผู้ซื้อรายใหม่ๆ ฝ่ายผู้ซื้อเองก็มีการคัดสรรผลิตภัณฑ์มากขึ้นในแง่ของประเภทและคุณภาพของอัญมณีแซปไฟร์” ส่งผลให้ตลาดอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพปานกลางถึงต่ำได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากกระบวนการกระจายสินค้าที่ช้าลง

อัญมณีแซปไฟร์

อัญมณีแซปไฟร์สี Royal Blue จากศรีลังกาของบริษัท Star Lanka


แนวโน้มความนิยมอัญมณีแซปไฟร์

            Kornilov กล่าวว่า โอกาสอันสดใสรออุตสาหกรรมอัญมณีแซปไฟร์อยู่ โดยระบุถึงแหล่งอัญมณีใหม่ๆ ในมาดากัสการ์ ศรีลังกา ตลอดจนพลอยก้อนจำนวนมากจากไนจีเรียและเอธิโอเปีย “แหล่งอัญมณีเหล่านี้อาจมีขนาดใหญ่กว่าที่คาดไว้และมีอัญมณีหลากหลายประเภท ซึ่งเราต่างรอคอยที่จะได้เห็นอัญมณีเหล่านี้ในตลาด” เขาเสริม

            เมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลง ผู้ค้าคาดหวังว่ายอดขายอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมจะกระเตื้องขึ้น Sen จาก Fura Gems ให้ความเห็นว่า “คนรุ่นมิลเลนเนียลหันมาซื้อเครื่องประดับพลอยสีกันมากขึ้น ผู้คนหันมาฉลองโอกาสสำคัญในชีวิตด้วยเครื่องประดับที่งดงาม และหวังว่าแนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไปตลอดทศวรรษนี้”

            Fura Gems มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนภาคธุรกิจผ่านโครงการ Fura Marketing Council “เราเชื่อมั่นว่าจะผลักดันอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินของออสเตรเลียให้เป็นที่ต้องการในระดับโลกได้ การมีอัญมณีเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและช่วยให้ผู้ค้าเล็งเห็นอนาคตของอัญมณีกลุ่มนี้ในระยะยาว ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้ค้าปลีกจะสั่งซื้อและขายอัญมณีแซปไฟร์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นด้วย” Sen กล่าว

            ผู้บริโภคกำลังหันมานิยมทางเลือกที่มีเอกลักษณ์นอกเหนือจากอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินแบบคลาสสิก โดยอัญมณีแซปไฟร์สีเขียวอมน้ำเงินและอัญมณีแซปไฟร์หลากสีซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากรัฐมอนทานา และออสเตรเลียได้กลายมาเป็นพลอยกลุ่มใหม่ที่ได้รับความนิยม ผู้ค้าเล็งเห็นอนาคตอันสดใสเมื่ออัญมณีจากเหมืองเหล่านี้สร้างผลตอบรับที่ดีในตลาด อัญมณีแซปไฟร์ทั้งสองสีนี้ผลิตได้ง่ายกว่าอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินมากโดยใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน การปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อให้ได้สีน้ำเงินอย่างที่ต้องการ ในขณะที่อัญมณีแซปไฟร์หลากสีนั้นใช้เวลาในการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนเพียงหนึ่งสัปดาห์เพื่อให้ได้สีสันที่หลากหลาย “แนวทางนี้น่าจะเป็นประโยชน์มากเพราะสามารถใช้วัตถุดิบพลอยก้อนแบบเดียวกันในการผลิตอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินและสีเขียวอมน้ำเงิน” Sen ระบุ

สำรวจตลาดอัญมณีแซปไฟร์

ความต้องการอัญมณีแซปไฟร์

อัญมณีเครื่องประดับตกแต่งแซปไฟร์สีน้ำเงิน ของบริษัท Lulwa Fine Jewelry




ข้อมูลอ้างอิง


JNA. November/December 2021. The Sapphire Effect. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/uploads/ebook/jna/2021/issue430_Nov2021/v2/.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สำรวจตลาดอัญมณี: อุปสงค์แซปไฟร์พุ่ง...สวนอุปทานที่จำกัด

Jan 20, 2022
3334 views
6 shares

            อัญมณีแซปไฟร์เป็นสินค้ายอดนิยมในแวดวงอัญมณีและเครื่องประดับระดับสากลมายาวนาน ยิ่งเมื่อสี ‘Classic Blue’ ได้รับเลือกให้เป็นสีแห่งปีโดยสถาบัน Pantone Color Institute ในปี 2020 อัญมณีสีน้ำเงินที่หลายคนชื่นชอบนี้ก็ยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นและมีผู้ซื้อที่มองหาอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แหล่งพลอยใหม่ๆ น่าจะช่วยให้ตลาดอัญมณ๊แซปไฟร์คึกคักยิ่งขึ้นอีก

            อัญมณีแซปไฟร์ถือเป็นหนึ่งในอัญมณีซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดในโลก โดยอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพสูงมักอยู่ในกลุ่มสี “Peacock Blue” หรือเฉดสีน้ำเงินโรยัลที่ดูนุ่มนวลคล้ายสีคอของนกยูง

อัญมณีแซปไฟร์

สร้อยคอประดับอัญมณีแซปไฟร์สี Peacock Blue ในงานประมูลของ Christie’s

            แต่เดิมแคว้นแคชเมียร์ ประเทศอินเดียเป็นแหล่งผลิตอัญมณีแซปไฟร์ซึ่งมีมูลค่าสูงเนื่องจากความหายาก ตามมาด้วยเมียนมา ศรีลังกา มาดากัสการ์ ออสเตรเลีย และรัฐมอนทานา สหรัฐอเมริกา ตามข้อมูลจาก Suhail Salahudeen ที่ปรึกษาด้านอัญมณีของ Star Lanka Co Ltd ในประเทศไทย

            Anthony Brooke ประธานแพลตฟอร์มการค้าอัญมณี Gembridge กล่าวว่า ในบรรดาจุดหมายปลายทางเหล่านี้ มาดากัสการ์กลายเป็นแหล่งผลิตอัญมณีแซปไฟร์ที่สำคัญโดยมีการส่งไปเจียระไนที่ศรีลังกา ทั้งนี้เนื่องจากอัญมณีจากเหมืองต่างๆ ในแคชเมียร์เริ่มหมดลง ขณะที่การทำเหมืองในเมียนมาก็ยังมีจำกัด แซปไฟร์จากมาดากัสการ์จึงได้รับความสนใจในแวดวงการค้าอัญมณีมากขึ้นเรื่อยๆ

ธุรกิจอัญมณีแซปไฟร์

            Armil Sammoon ประธานของ Sapphire Capital Group และตัวแทนประจำศรีลังกาของ International Colored Gemstone Association อธิบายว่า อัญมณีแซปไฟร์จำนวนมากที่พบในศรีลังกามีสีที่นุ่มนวลคล้ายอัญมณีแซปไฟร์จากแคชเมียร์ นอกจากนี้เรายังพบอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพดีได้ในไนจีเรีย แคเมอรูน เอธิโอเปีย รวันดา และไทย

            Brooke ระบุว่าอัญมณีเพื่อการลงทุนซึ่งส่วนใหญ่มาจากแคชเมียร์นั้นเป็นสินค้าคงคลังที่มีอยู่เดิมและมักไม่ค่อยพบตามงานประมูล

อัญมณีสสีน้ำเงิน แซปไฟร์

แหวนแซปไฟร์แคชเมียร์ ในงานประมูลของ Christie’s


            อัญมณีแซปไฟร์คุณภาพสูงยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดระหว่างช่วงการระบาด Fung Chiang รองประธานและผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านเครื่องประดับที่ Christie’s ประจำเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าแนวโน้มนี้เห็นได้ชัดจากการขายแหวนอัญมณีแซปไฟร์แคชเมียร์ 14.70 กะรัตที่ราคา 10.32 ล้านเหรียญฮ่องกง (ราว 1.32 ล้านเหรียญสหรัฐ) ที่ Christie’s ฮ่องกงเมื่อไม่นานมานี้

            Salahudeen ระบุว่าความต้องการอัญมณีแซปไฟร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาท่ามกลางปริมาณอุปทานที่จำกัดและราคาที่สูง ความต้องการอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพปานกลางนั้นมีมากที่สุดในจีน ขณะที่ตลาดสหรัฐนิยมอัญมณีแซปไฟร์ที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน ส่วนอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพสูงสุดนั้นมักขายได้ในยุโรป

            อุปทานยังคงเป็นประเด็นสำคัญในวงกว้าง ปัจจุบันอัญมณีแซปไฟร์ส่วนใหญ่มาจากศรีลังกา โดยอัญมณีแซปไฟร์ขนาดใหญ่ 10 ถึง 20 กะรัตจำนวนมากขุดมาจากที่นั่น “ถ้าเป็นอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพเชิงพาณิชย์ ตลาดยังคงพึ่งพลอยจากไนจีเรียเป็นหลัก” Brooke ระบุ “มีการขุดอัญมณีแซปไฟร์จากมาดากัสการ์ทั้งในระดับเชิงพาณิชย์ ระดับปานกลาง ไปจนถึงระดับสูงกว่านั้น แต่การจัดส่งต้องหยุดชะงักไปในช่วงโควิด อัญมณีแซปไฟร์เชิงพาณิชย์จำนวนมากไม่ได้เดินทางไปถึงศรีลังกาซึ่งเป็นแหล่งแปรรูปอัญมณีพลอย”

            นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตจากเมียนมาก็ยังน้อยมาก Andrey Kornilov กรรมการผู้จัดการของ Gem Matrix กล่าวว่าหลายประเทศใช้กฎหมายห้ามทำการค้าอัญมณีจากเมียนมา ทำให้ผู้ซื้อลดความสนใจในสินค้ากลุ่มนี้

            Rupak Sen ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตอัญมณี Fura Gems กล่าวว่า ปริมาณการผลิตอัญมณีแซปไฟร์จากออสเตรเลียในช่วงปีที่ผ่านมาน่าจะช่วยเข้ามาเสริมคลังสินค้าในตลาดได้ “Fura ผลิตอัญมณีแซปไฟร์กว่า 6 ล้านกะรัตในปี 2021 และวางแผนที่จะผลิตกว่า 8 ล้านกะรัตในปี 2022 โดยอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินจะมีสัดส่วนมากพอสมควรในปริมาณการผลิตโดยรวม” 

            Fura Gems ร่วมกับบริษัทตัวแทนและที่ปรึกษาด้านเพชร Bonas Group ได้จัดงานประมูลอัญมณีแซปไฟร์ออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในกรุงเทพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 โดยนำเสนออัญมณีคุณภาพสูงถึงปานกลางจำนวนมากในสีต่างๆ เช่น น้ำเงิน น้ำเงินเขียว เขียว เหลือง และหลากสี (Parti-Colour) โดยมีบริษัทราว 30 - 35 แห่งจากไทย ศรีลังกา อินเดีย และตะวันออกกลางเข้าร่วมงานประมูลครั้งนี้

ตลาดอัญมณีแซปไฟร์

อัญมณีแซปไฟร์ดิบสีน้ำเงินจากเหมืองในออสเตรเลียของบริษัท Fura Gems


ความนิยมของผู้ซื้อ

            Brooke กล่าวว่ายุโรปยังคงซื้ออัญมณีแซปไฟร์จากผู้ผลิตรายใหญ่ เช่น แคชเมียร์ เมียนมา และศรีลังกา ขณะที่สหรัฐหันไปซื้ออัญมณีแซปไฟร์เชิงพาณิชย์และอัญมณีแซปไฟร์ขนาดมาตรฐานปริมาณมากๆ เป็นส่วนใหญ่

            Chiang จาก Christie’s ประจำเอเชียแปซิฟิกพบว่าผู้ซื้อจากจีนเพิ่มขึ้น ขณะที่ Sammoon ระบุว่าผู้ซื้ออินเดียหันมาสนใจอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินขนาด 5 - 25 กะรัตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ

            Kornilov จาก Gem Matrix กล่าวว่าสีเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในเอเชีย พร้อมเสริมว่าประเทศในเอเชียมักสนใจอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินโรยัลและสีน้ำเงินคอร์นฟลาวเวอร์จากศรีลังกา

            Brooke ระบุว่าผู้ซื้อชาวจีนสนใจอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินแต่มักนิยมอัญมณีที่ไม่ผ่านการปรับปรุงด้วยความร้อน และกำลังกระจายความนิยมจากอัญมณีแซปไฟร์ศรีลังกาไปหาอัญมณีแซปไฟร์จากมาดากัสการ์ “ตลาดจีนไม่ต้องการอัญมณีแซปไฟร์ที่ผ่านการปรับปรุงด้วยความร้อน จึงเป็นเรื่องยากที่จะตอบสนองความต้องการได้อย่างสม่ำเสมอนอกเสียจากว่าผู้ซื้อจีนจะยอมซื้ออัญมณีที่มีรอยร้าว” 

ธุรกิจอัญมณีแซปไฟร์

อัญมณีแซปไฟร์สี Cornflower Blue จากมาดากัสการ์ของบริษัท Navneet Gems and Minerals


            ขณะเดียวกันประเทศเอเชียอื่นๆ ก็หันไปหาอัญมณีแซปไฟร์เมียนมาและศรีลังกา ขณะที่อัญมณีแซปไฟร์มาดากัสการ์ค่อยๆ เป็นที่ยอมรับในตลาดมากขึ้น

            “การรู้แหล่งที่มาเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำตลาดและอาจช่วยให้ตั้งราคาสูงขึ้นได้ เนื่องจากการจัดซื้ออัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินอย่างถูกต้องนั้นมีต้นทุนอยู่” Navneet Agarwal จากบริษัท Navneet Gems and Minerals ในไทย ได้ให้คำอธิบายไว้และมองว่าสหรัฐเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน

            อย่างไรก็ดี Salahudeen กล่าวว่าอัญมณีควรได้รับการตั้งราคาตามความงามไม่ใช่แหล่งที่มา พร้อมเสริมว่า “จริงอยู่ว่าอัญมณีแซปไฟร์จากแคชเมียร์นั้นหายาก แต่อัญมณีแซปไฟร์จากมาดากัสการ์ก็เป็นหนึ่งในอัญมณีที่สวยที่สุดเท่าที่เคยเห็นมา”

โควิด-19 ส่งผลต่อการค้าอัญมณีพลอย

            Agarwal กล่าวว่าจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นในศรีลังการะยะหลังมานี้ส่งผลให้การทำเหมืองหยุดชะงักลงและส่งผลกระทบต่อตลาด Salahudeen ระบุว่าโควิด-19 ส่งผลต่ออุตสาหกรรมนี้เพียงสองสามเดือนเท่านั้นและการดำเนินธุรกิจเริ่มกลับมาเป็นปกติรวมถึงอีคอมเมิร์ซด้วย เขาระบุว่าความต้องการกระเตื้องขึ้นเนื่องจากผู้ค้าจำนวนมากพยายามเติมสินค้าคงคลังอยู่ ขณะที่การจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าในภาคธุรกิจอัญมณีก็ได้ช่วยคงกระแสเอาไว้แม้จะเป็นกิจกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ก็ตาม

            Sammoon อธิบายว่ารัฐบาลใหม่ในศรีลังกากำลังทำงานกับสมาคมอัญมณีเพื่อจัดหาอัญมณีแซปไฟร์ก้อนกลุ่มใหม่เข้ามาสู่ตลาด เพราะการหาอัญมณีแซปไฟร์โดยตรงจากแหล่งผลิตสำคัญเดิมกลายเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง 

            Agarwal อธิบายว่าอัญมณีแซปไฟร์ก้อนมีจำนวนไม่มากและการเดินทางก็ยังคงมีข้อจำกัด ในขณะที่การทำธุรกิจส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยผู้ค้าชาวแอฟริกันที่เข้ามาติดต่อและขายอัญมณีก้อนให้ที่สำนักงานของบริษัท “ยอดขายก่อนช่วงโควิดไม่สูงนักเนื่องจากคนกำลังเก็บออมเงิน ในตอนนี้คนนำรายได้สุทธิมาใช้จ่ายกันมากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40” เขาเสริม

            ขณะที่ Kornilov พบว่ายอดขายอัญมณีแซปไฟร์เชิงพาณิชย์ของบริษัทลดลงร้อยละ 20 ถึง 30 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด “การทำยอดขายในตลาดนี้ยากขึ้นเพราะผู้ผลิตอัญมณีส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งงานแสดงสินค้านานาชาติเพื่อหาผู้ซื้อรายใหม่ๆ ฝ่ายผู้ซื้อเองก็มีการคัดสรรผลิตภัณฑ์มากขึ้นในแง่ของประเภทและคุณภาพของอัญมณีแซปไฟร์” ส่งผลให้ตลาดอัญมณีแซปไฟร์คุณภาพปานกลางถึงต่ำได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากกระบวนการกระจายสินค้าที่ช้าลง

อัญมณีแซปไฟร์

อัญมณีแซปไฟร์สี Royal Blue จากศรีลังกาของบริษัท Star Lanka


แนวโน้มความนิยมอัญมณีแซปไฟร์

            Kornilov กล่าวว่า โอกาสอันสดใสรออุตสาหกรรมอัญมณีแซปไฟร์อยู่ โดยระบุถึงแหล่งอัญมณีใหม่ๆ ในมาดากัสการ์ ศรีลังกา ตลอดจนพลอยก้อนจำนวนมากจากไนจีเรียและเอธิโอเปีย “แหล่งอัญมณีเหล่านี้อาจมีขนาดใหญ่กว่าที่คาดไว้และมีอัญมณีหลากหลายประเภท ซึ่งเราต่างรอคอยที่จะได้เห็นอัญมณีเหล่านี้ในตลาด” เขาเสริม

            เมื่อสถานการณ์การระบาดผ่อนคลายลง ผู้ค้าคาดหวังว่ายอดขายอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวมจะกระเตื้องขึ้น Sen จาก Fura Gems ให้ความเห็นว่า “คนรุ่นมิลเลนเนียลหันมาซื้อเครื่องประดับพลอยสีกันมากขึ้น ผู้คนหันมาฉลองโอกาสสำคัญในชีวิตด้วยเครื่องประดับที่งดงาม และหวังว่าแนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไปตลอดทศวรรษนี้”

            Fura Gems มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนภาคธุรกิจผ่านโครงการ Fura Marketing Council “เราเชื่อมั่นว่าจะผลักดันอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินของออสเตรเลียให้เป็นที่ต้องการในระดับโลกได้ การมีอัญมณีเข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและช่วยให้ผู้ค้าเล็งเห็นอนาคตของอัญมณีกลุ่มนี้ในระยะยาว ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้ค้าปลีกจะสั่งซื้อและขายอัญมณีแซปไฟร์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นด้วย” Sen กล่าว

            ผู้บริโภคกำลังหันมานิยมทางเลือกที่มีเอกลักษณ์นอกเหนือจากอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินแบบคลาสสิก โดยอัญมณีแซปไฟร์สีเขียวอมน้ำเงินและอัญมณีแซปไฟร์หลากสีซึ่งส่วนใหญ่ผลิตจากรัฐมอนทานา และออสเตรเลียได้กลายมาเป็นพลอยกลุ่มใหม่ที่ได้รับความนิยม ผู้ค้าเล็งเห็นอนาคตอันสดใสเมื่ออัญมณีจากเหมืองเหล่านี้สร้างผลตอบรับที่ดีในตลาด อัญมณีแซปไฟร์ทั้งสองสีนี้ผลิตได้ง่ายกว่าอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินมากโดยใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน การปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อให้ได้สีน้ำเงินอย่างที่ต้องการ ในขณะที่อัญมณีแซปไฟร์หลากสีนั้นใช้เวลาในการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนเพียงหนึ่งสัปดาห์เพื่อให้ได้สีสันที่หลากหลาย “แนวทางนี้น่าจะเป็นประโยชน์มากเพราะสามารถใช้วัตถุดิบพลอยก้อนแบบเดียวกันในการผลิตอัญมณีแซปไฟร์สีน้ำเงินและสีเขียวอมน้ำเงิน” Sen ระบุ

สำรวจตลาดอัญมณีแซปไฟร์

ความต้องการอัญมณีแซปไฟร์

อัญมณีเครื่องประดับตกแต่งแซปไฟร์สีน้ำเงิน ของบริษัท Lulwa Fine Jewelry




ข้อมูลอ้างอิง


JNA. November/December 2021. The Sapphire Effect. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/uploads/ebook/jna/2021/issue430_Nov2021/v2/.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site