ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ทิศทางการค้าอัญมณี Big 4 หลังโลกฟื้นตัวจากโควิด-19

Feb 21, 2022
4418 views
4 shares

                อัญมณี Big 4 ได้แก่ เพชร ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต เป็นอัญมณีที่มีประวัติการค้ามาหลายพันปี จนถึงปัจจุบันก็ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาอัญมณีทั้งปวง โดยผู้คนมักซื้อไว้เพื่อสะสมเป็นมรดกตกทอด เป็นของขวัญ ของแต่งงาน และลงทุนเพื่อการเก็งกำไรในระยะยาว และแม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดค้าอัญมณีโลกจะชะลอตัวลง จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่แนวโน้มตลาดอัญมณี Big 4 ยังคงสดใส โดย Future Market Insights คาดว่ายอดขายอัญมณี Big 4 ในตลาดโลกระหว่างปี 2021 – 2031 อันประกอบด้วย อัญมณีเพชรแฟนซี อัญมณีทับทิม อัญมณีไพลิน และอัญมณีมรกต จะเติบโตเฉลี่ย 5.7% ต่อปี

เพชร

            หากย้อนหลังไปในช่วงปี 2017 – 2019 พบว่าการผลิตอัญมณีเพชรก้อนลดลงราว 5%1  ต่อปี เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็เป็นปัจจัยสำคัญกดดันเพิ่มเติมให้ผู้ผลิตลดการผลิตอัญมณีเพชรลง เพราะผู้บริโภคชะลอการบริโภคเพชรลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อผู้ผลิตเพชรเจียระไนซึ่งมีปัญหาอัญมณีเพชรล้นสต็อกจากปี 2019 ทำให้ซื้ออัญมณีเพชรก้อนมาเจียระไนลดลง เพื่อระบายอัญมณีเพชรเจียระไนที่ค้างอยู่ในสต็อกออกไปก่อน การผลิตเพชรก้อนทั่วโลกในปี 2020 (ปริมาณการผลิต 111 ล้านกะรัต) จึงลดลงมากถึง 20%2  เมื่อเทียบกับปี 2019 

อัญมณี Big 4

ที่มาภาพ: www.naturaldiamonds.com

            เนื่องจากในปี 2020 ผู้ค้าอัญมณีเพชรเจียระไนมีอัญมณีเพชรเจียระไนล้นสต็อก ในขณะที่ความต้องการบริโภคเพชรลดลง ทำให้ราคาอัญมณีเพชรก้อนและเพชรเจียระไนลดลง 11% และ 3% ตามลำดับ และรายได้ตลอดห่วงโซ่อุปทานของเพชรทั่วโลกลดลง 15 – 33% อีกทั้งยอดขายอัญมณีและเครื่องประดับเพชรโลกลดลง 15% เนื่องด้วยข้อจำกัดการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ความต้องการจึงมีจำกัดเฉพาะคนในประเทศเท่านั้น

            อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกทยอยฟื้นตัวในปี 2021 หลายประเทศกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่แล้ว ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการบริโภคเพชรมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดผู้บริโภคเพชรรายใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย ส่งผลให้ตลาดค้าอัญมณีเพชรปรับตัวในทิศทางบวก แต่ในขณะเดียวกันผู้ผลิตอัญมณีเพชรรายใหญ่ของโลกทั้ง Alosa และ De Beers ต่างยังคงจำกัดปริมาณการผลิตและการขายเพชร ทำให้ราคาอัญมณีเพชรก้อนและอัญมณีเพชรเจียระไนในปีนี้พุ่งสูงขึ้น 5-20%3  ขึ้นอยู่กับขนาดของเพชร ซึ่งอัญมณีเพชรขนาดใหญ่ราคาปรับเพิ่มสูงกว่าขนาดเล็ก  

อัญมณีเพชร

ที่มาภาพ: www.shopping.jubileediamond.co.th

            ความต้องการบริโภคอัญมณีเพชรที่เพิ่มขึ้นมาจากความต้องการเครื่องประดับเพชร4  ทั้งเพื่อเป็นแหวนหมั้น แหวนแต่งงาน ของขวัญที่มอบให้กับตนเองและคนสำคัญเนื่องในโอกาสต่างๆ และยังเป็นการลงทุนที่ดีอีกทางหนึ่งด้วย5  เพราะมูลค่าอัญมณีเพชรจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอัญมณีเพชรแท้มีปริมาณน้อยและหายาก จึงทำให้มีราคาสูง จากข้อมูลของ DG Diamant Gems ระบุว่า เพชรคุณภาพสูงขนาด 1 กะรัต หรือ 0.2 กรัม จะมีมูลค่าเทียบเท่าทองคำแท่ง 1 กิโลกรัม และแนะนำว่าควรลงทุนอัญมณีเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไป ทรงกลม (Round Brilliant Cut) สี D ถึง F และความสะอาด IF ถึง VVS2 6 

            จากสถิติราคาอัญมณีเพชรจะสังเกตได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 1960 จนถึงปี 2019 ราคาอัญมณีเพชรต่อกะรัตเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ7  และเมื่อพิจารณาจากสถิติราคาอัญมณีเพชรทรงกลม 1 กะรัต สี D ความสะอาด VVS2 ของ Rapaport ในปี 2020 อยู่ที่ 13,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในปี 2021 ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 13,400 ดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูงขึ้น 3.08% จากปี 2020 ยิ่งอัญมณีเพชรมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งให้ผลตอบแทนสูง โดย DG Diamant Gems ให้ข้อมูลว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอัญมณีเพชรขนาด 3 กะรัต ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 123% นอกจากนี้ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อัญมณีเพชรสีหายากยิ่งให้ผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะอัญมณีเพชรสีชมพูมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า 200% 


อัญมณีเพชรเจียระไน

            ปัจจุบันผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่าตลาดอัญมณีเพชรจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดย Bain & Company ได้คาดการณ์ว่าในปี 2022 – 2024 ความต้องการบริโภคอัญมณีเพชรจะฟื้นตัวจนถึงระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และจากปี 2023 – 2030 จะเติบโตได้ 2 – 3% ต่อปี และคาดว่าการผลิตอาจจะขยายตัวได้ถึงระดับ 2% ในช่วง 3 – 5 ปีข้างหน้า

ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต8   

            อัญมณีทับทิม แซปไฟร์ และมรกต หรือเรียกกันว่า “Big 3” เป็นพลอยเนื้อแข็งเจียระไนที่สวยงามและหายาก จึงมักเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดด้านปริมาณการผลิตที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวตลอดห่วงโซ่อุปทานอัญมณีพลอยสีของโลก เนื่องจากผู้ประกอบการเหมืองถูกบีบให้ลดการผลิตลง จากปัญหาด้านเศรษฐกิจและการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปริมาณวัตถุดิบอัญมณีพลอยก้อนที่ลดลงส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการตัดและเจียระไน9  ในหลายประเทศศูนย์กลางการผลิต เช่น ไทย ศรีลังกา ฯลฯ อีกทั้งงานแสดงสินค้าและงานประมูลพลอยสีสำคัญส่วนใหญ่ก็ถูกยกเลิกไปด้วย จนเป็นเหตุให้ราคาพลอยสี Big 3 คุณภาพสูงพุ่งขึ้นมากจากอุปทานที่ลดลง 

            จากการศึกษาของ MVI Marketing ที่เผยแพร่เมื่อต้นปี 2021 ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับแท้ในสหรัฐฯ จำนวน 1,100 คน และสัมภาษณ์ผู้ค้าและผู้ผลิตอัญมณีเครื่องประดับ 100 คน พบว่าลูกค้ากว่า 93% ชื่นชอบการซื้อทับทิม แซปไฟร์ และมรกตมากที่สุดในกลุ่มพลอยสี และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มคู่แต่งงานก็เลือกใช้อัญมณีและเครื่องประดับตกแต่งพลอยสี Big 3 เพิ่มมากขึ้น โดยความต้องการแหวนหมั้นพลอยสีเพิ่มมากกว่า 30% และผู้ค้าปลีกก็เสนอขายอัญมณีและเครื่องประดับตกแต่งพลอยสีที่ใช้ในงานแต่งงานเพิ่มขึ้น 15% ความนิยมพลอยสีที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการสวมใส่ของบรรดาผู้มีชื่อเสียง อาทิ ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ ที่สวมแหวนหมั้นแซปไฟร์สีน้ำเงิน 12 กะรัต แหวนเพชรประดับมรกตขนาด 2.88 กะรัตของแจ๊กเกอลีน เคนเนดี สวมใส่ในงานแต่งงาน และเจสสิก้า ซิมป์สัน ที่ได้สวมแหวนหมั้นเพชรประดับทับทิมสีเลือดนกของเมียนมาขนาด 4-5 กะรัต

การประมูลอัญมณี

แหวนหมั้นแซปไฟร์สีน้ำเงิน 12 กะรัตของดัชเชสแห่งเคมบริดจ์

ที่มาภาพ: www.hellomagazine.com/


            โดยปกติอัญมณีทับทิม แซปไฟร์ และมรกต มีราคาแพงกว่าอัญมณีชนิดอื่นๆ อีกทั้งด้วยความสวยงามและหายาก จึงทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้รับความนิยมจากบรรดานักลงทุนที่หันมาถือครองอัญมณีธรรมชาติคุณภาพสูงในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกันมากขึ้น เห็นได้จากงานประมูลออนไลน์ของ Sotheby's ในเดือนเมษายน 2020 “Tutti Frutti” สร้อยข้อมืออัญมณีเพชรประดับทับทิม แซปไฟร์สีน้ำเงิน และมรกตของ Cartier ได้ถูกประมูลไปในราคา 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นราคาสูงที่สุดสำหรับการประมูลอัญมณีออนไลน์ หรือการประมูลของ Christie's Magnificent Jewels ที่เจนีวา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2020 มรกตหลายชิ้นขายได้ราคาสูงกว่าที่ประมาณการไว้กว่า 3 เท่า เช่น แหวนมรกตโคลอมเบียที่ปรับปรุงความใสเล็กน้อยขนาด 6.5 กะรัต ถูกประมูลไปด้วยราคา 117,318 ดอลลาร์สหรัฐ จากที่ประมาณไว้ 22,343 - 33,515 ดอลลาร์สหรัฐ  

การค้าอัญมณี

สร้อยข้อมือ“Tutti Frutti”

ที่มาภาพ: www.forbes.com


ราคาทับทิม:

            ทับทิมคุณภาพสูงไม่ปรับปรุงคุณภาพเป็นที่นิยมลงทุนมากที่สุด โดยเฉพาะอัญมณีทับทิมสีแดงเลือดนกของเมียนมา นับเป็นพลอยสีที่หายากมากและมีมูลค่าสูงที่สุด จากข้อมูลราคาของ Gemworld10  สำหรับทับทิมเมียนมา คุณภาพดีที่สุดไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพขนาด 2 กะรัต ในปี 2016 ราคาอยู่ที่ 36,000 ดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2021 ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 47,500 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2016 เกือบ 32% ซึ่งทับทิมที่มีคุณภาพดีที่สุดมีมูลค่าสูงสุดได้ถึงกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต11  ส่วนทับทิมคุณภาพดีจากแหล่งอื่น เช่น มาดากัสการ์ โมซัมบิก และแทนซาเนีย ก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาราคาทับทิมปรับเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า

การค้าอัญมณี

แหวนทับทิมเมียนมา “The Sunrise Ruby”

ที่มาภาพ: www.gemrockauctions.com


ราคาแซปไฟร์:

            แซปไฟร์ที่ได้รับความนิยมมากคือ แซปไฟร์สีน้ำเงิน โดยแซปไฟร์แคชเมียร์ (อินเดีย) นั้นถือว่าเป็นอัญมณีหายากและมีค่ามากที่สุดเพราะไม่มีการขุดค้นแร่ใหม่มานานกว่าศตวรรษแล้ว รองลงมาคือแซปไฟร์จากเมียนมา ศรีลังกา (ซีลอน) และมาดากัสการ์ รวมถึงแซปไฟร์แฟนซี สีเหลือง ชมพู และพัดพารัดชาก็เป็นที่นิยมมากขึ้น 

            ปกติแซปไฟร์คุณภาพดีขนาด 2 – 3 กะรัตจะมีราคาราว 1,600 – 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต จากข้อมูลราคาของ Gemworld สำหรับอัญมณีแซปไฟร์เมียนมาคุณภาพดีที่สุดไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพขนาด 2 กะรัต ในปี 2016 มีราคาราว 8,480 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021 มีราคาอยู่ที่ 8,750 ดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 3.18% จากปี 2016 ทั้งนี้ แซปไฟร์คุณภาพสูงอาจมีราคาได้สูงกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต12    

ราคามรกต:

            มรกตขนาดใหญ่ที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพซึ่งหาได้ยากมากเป็นที่ต้องการอย่างสูงในหมู่นักลงทุน โดยอัญมณีมรกตจากโคลอมเบียจะมีราคาแพงที่สุดในโลก เพราะมีสีเขียวสดค่อนข้างใส ถือเป็นสีที่สวยเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก รองลงมาคือมรกตบราซิล และแซมเบีย

            ปัจจุบันอัญมณีมรกตธรรมชาติมีราคาตั้งแต่ 200 ดอลลาร์สหรัฐไปจนถึง 18,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต ขึ้นอยู่กับคุณภาพและแหล่งกำเนิดของพลอยนั้น จากข้อมูลราคาของ Gemworld มรกตคุณภาพดีขนาดต่ำกว่า 8 กะรัตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อพิจารณามรกตขนาด 8 กะรัตในปี 2021 ราคาอยู่ที่ 9,500 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6% จากปี 2016 ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 8,750 ดอลลาร์สหรัฐ

ราคาอัญมณี

เครื่องประดับ Big 3: ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต

ที่มาภาพ: www.zadok.com/the-big-3-precious-gemstones/


จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าพลอยสีทั้ง 3 ชนิดมีราคาสูงมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และมีแนวโน้มมูลค่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต เพราะผลิตได้น้อยลง แต่มีความต้องการในตลาดสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพลอยสีคุณภาพสูงไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ 

แนวโน้มการค้าอัญมณี

            จากข้อมูลของ Cision PR Newswire ระบุว่าในปี 2020 การค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกมีมูลค่าราว 366,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 451,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 3.5% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่การดำรงธุรกิจให้ยังคงอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของผู้ซื้อในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

            1) การซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น

            ในอดีตผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับยังไม่สนใจทำการค้าออนไลน์อย่างจริงจัง แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้บีบให้ผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับต้องหันมาขายสินค้าออนไลน์เต็มตัว เพราะผู้ซื้อเกือบทั้งหมดหันมาซื้อสินค้าออนไลน์ ส่งผลให้ช่องทางอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงขึ้น จากข้อมูลของ Emarketer ระบุว่าในปี 2020 ยอดขายปลีกอีคอมเมิร์ซของโลกมีมูลค่า 4.213 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มสูงถึง 25.7% เมื่อเทียบกับปี 2019 และคาดว่าจะมีมูลค่าเป็น 7.385 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 

            จากรายงานของ Bain & Company ระบุว่า ในปี 2020 ยอดขายปลีกเพชรออนไลน์เพิ่มขึ้น 20% หรือจากรายงานของ Mastercard ระบุว่าในช่วงครึ่งแรกปี 2021 ตลาดสหรัฐฯ มียอดซื้อเครื่องประดับออนไลน์พุ่งสูงถึง 75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การค้าอีคอมเมิร์ซและการโต้ตอบลูกค้าออนไลน์ จะกลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้น

            2) การค้นหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ

            ปัจจุบันผู้ซื้อมักต้องการความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่จะซื้อ โดยเฉพาะอัญมณีราคาแพง จึงมักค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ก่อนการตัดสินใจซื้อ ฉะนั้น การสื่อสารข้อมูลให้กับลูกค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยช่องทางที่นิยม ได้แก่ Instagram Facebook หรือ YouTube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์กระแสหลักที่นิยมใช้งานทั่วโลก

            3) การเติบโตของการบริโภคอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืน 

            ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่มีจริยธรรมและยั่งยืน นับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้ออัญมณีหรือเครื่องประดับของผู้บริโภคยุคใหม่มากขึ้น จากรายงาน Diamond Insight Report ครั้งที่ 8 ของ De Beers ในหัวข้อ “Sustainability: Shaping the Future of the Diamond Sector” ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคจำนวน 8,400 รายใน 7 ตลาดผู้บริโภคเพชรหลักของโลก อันประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี และแอฟริกาใต้ พบว่า ผู้บริโภคราว 60% พิจารณาปัจจัยความยั่งยืนก่อนการตัดสินใจซื้อ และอีกกว่า 80% ได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้างที่เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังพบว่า เครื่องประดับแท้ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อบ่อยเป็นอันดับที่ 3 รองจากอาหารและเสื้อผ้า โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านความยั่งยืนเป็นหลัก สำหรับเครื่องประดับเพชร การพิจารณาความยั่งยืนถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้บริโภคในทุกตลาดดังกล่าว

อัญมณีทับทิม อัญมณีแซปไฟร์ อัญมณีมรกต

แหวนมรกตและเพชรจากแหล่งที่มีจริยธรรมและความรับผิดชอบ

ที่มาภาพ: www.aylorandhart.com/us/


            ฉะนั้น ความต้องการบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนจึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะกลายเป็นกระแสหลักให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคตต้องปรับตัวในการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่สวยงาม ด้วยการใช้วัตถุดิบซึ่งมีแหล่งที่มาโปร่งใสและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

            กล่าวโดยสรุป การบริโภคอัญมณี Big 4 ในปี 2021 เป็นต้นไป มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ จากการขับเคลื่อนของกำลังซื้อในประเทศผู้บริโภคอัญมณีหลักของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป จีน และอินเดีย โดยผู้บริโภคมีแนวโน้มซื้ออัญมณีขนาดใหญ่มากขึ้น และแม้ว่าจะมีการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น แต่หากเป็นอัญมณีและเครื่องประดับราคาสูง ผู้บริโภคบางส่วนก็มักจะหาข้อมูลทางออนไลน์ก่อน แล้วจึงนัดร้านค้าปลีกเพื่อเข้าไปดูสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ฉะนั้น จึงยังคงต้องทำการตลาดออนไลน์และออนไซต์ควบคู่กันไป และควรเน้นการให้ข้อมูลความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับสินค้ามากขึ้น รวมถึงการมีใบรับรองคุณภาพอัญมณีจากห้องปฏิบัติการที่น่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และปรับตัวดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสร้างความเติบให้กับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับอย่างยั่งยืน  


ข้อมูลอ้างอิง


1. www.statista.com. Jul 28, 2021. Global production of rough diamonds from 2005 to 2020. [Online]. Available at: www.statista.com/ statistics/274921/worldwide-production-of-rough-diamonds/. (Retrieved November 1, 2021).
2. ในปี 2020 บริษัทผู้ผลิตเพชรก้อนรายใหญ่ของโลกอย่าง ALROSA, De Beers, Rio Tinto ลดการผลิตเพชรก้อนลง 22%, 19.4% และ 14% ตามลำดับ
3. Deccan Chronicle. August 27,2021. Diamond prices go up as jewellery demand rises. [Online]. Available at: www.deccanchronicle.com/ business/market/270821/diamond-prices-go-up-as-jewellery-demand-rises.html. (Retrieved November 3, 2021).
4. ผู้บริโภคมีแนวโน้มซื้อเพชรขนาดใหญ่ขึ้น โดยผลการสำรวจผู้บริโภคในสหรัฐฯ ล่าสุดส่วนใหญ่ซื้อเพชรเฉลี่ย 1.22 กะรัต จากเดิมซื้อขนาด 1.05 กะรัต
5. เพชรเหมาะกับการลงทุนในระยะกลางถึงยาว (3 ปีขึ้นไป)
6. DIAMANT-GEMS. 2021. Investment diamonds: investing in diamonds. [Online]. Available at www.diamant-gems.com/en/ investment-diamonds-investing-in-diamonds/. (Retrieved November 5, 2021).
7. ในปี 2019 สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย มีอัตราเงินเฟ้อ 1.76%, 2.9% และ 4.6% ตามลำดับ
8. แหล่งผลิตทับทิมสำคัญของโลกได้แก่ โมซัมบิก เมียนมา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก แหล่งผลิตแซปไฟร์สำคัญของโลก ได้แก่ มาดากัสการ์ ศรีลังกา ประเทศในแถบแอฟริกาตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนมรกต ส่วนใหญ่ผลิตในโคลอมเบีย แซมเบีย และบราซิล
9. แหล่งเจียระไนทับทิมสำคัญที่สุดของโลกคือ ไทย แหล่งเจียระไนแซปไฟร์สำคัญของโลกส่วนใหญ่คือไทย รองลงมาเป็นศรีลังกา ส่วนแหล่งเจียระไนมรกตสำคัญที่สุดของโลกอยู่ในอินเดีย รองลงมาเป็นโคลอมเบีย
10. หน่วยงานที่ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดและราคาขายส่งอัญมณีในตลาดสหรัฐ โดยเผยแพร่ข้อมูลอุตสาหกรรมและราคาอัญมณีในวารสาร GEMGUIDE เพื่อเป็นแนวทางการซื้อขายอัญมณี
11. งานประมูลของ Sotheby’s ในปี 2015 แหวนทับทิมเมียนมา “The Sunrise Ruby” ขนาด 25.59 กะรัต ถูกประมูลไปด้วยราคาราว 30.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต นับเป็นทับทิมที่มีราคาสูงที่สุดในโลก
12. งานประมูลของ Sotheby’s ในปี 2014 แหวนแซปไฟร์แคชเมียร์ขนาด 27.54 กะรัต ได้ขายไปในราคา 5,984,474 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 22,000 ดอลลาร์ต่อกะรัต
-----------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง:
1) Ajediam. 2021. Historical Diamond Prices. [Online]. Available at https://ajediam.com/historical-diamond-prices# (Retrieved November 5, 2021).
2) Bain & Company. February 8, 2021. The Global Diamond Industry 2020-21. [Online]. Available at https://www.bain.com/insights/global-diamond-industry-2020-21/. (Retrieved November 1, 2021).
3) De Beers Group. 2021. DIAMOND INSIGHT REPORT 2021. [Online]. Available at www.debeersgroup.com/ reports/ insights/the-diamond-insight-report-2021. (Retrieved November 3, 2021).
4) High Life Living Luxury. October 19, 2021. Top Investment Gemstones. [Online]. Available at www.highlifelivingluxury.blogspot.com/2019/03/top-investment-gemstones.html. (Retrieved November 8, 2021).
5) Hubertjewelry. January 7, 2021. Investing in Color Gemstones, The New Trend [Online]. Available at www.hubertjewelry.com/investing-in-color-gemstones-the-new-trend/. (Retrieved November 10, 2021).
6) Jeweller. August 11, 2021. International Diamond Market Snapshot – August 2021. [Online]. Available at www. jewellermagazine.com/Article/9910/International-Diamond-Market-Snapshot-August-2021. (Retrieved November 5, 2021).
7) Jewellerynet. March 31, 2021. Rubies retain sparkle as favoured gem [Online]. Available at www.news. jewellerynet.com/en/jnanews/features/24198. (Retrieved November 5, 2021).
8) Nationaljeweler. November 12, 2020. ASM and the COVID-19 Impact. [Online]. Available at www.nationaljeweler. com/articles/6309-asm-and-the-covid-19-impact. (Retrieved November 5, 2021).
9) THE NATURAL GEM. 2021. Gemstones as an alternative investment. [Online]. Available at www.thenaturalgem. com/en/gemstones-as-an-investment/. (Retrieved November 5, 2021).
10) Valentin Magro. 2021. The Big Three Gemstones – Ruby, Sapphire, Emerald. [Online]. Available at www. valentinmagro.com/gemstones/big-three-gemstones-ruby-sapphire-emerald/. (Retrieved November 5, 2021).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ทิศทางการค้าอัญมณี Big 4 หลังโลกฟื้นตัวจากโควิด-19

Feb 21, 2022
4418 views
4 shares

                อัญมณี Big 4 ได้แก่ เพชร ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต เป็นอัญมณีที่มีประวัติการค้ามาหลายพันปี จนถึงปัจจุบันก็ยังคงได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาอัญมณีทั้งปวง โดยผู้คนมักซื้อไว้เพื่อสะสมเป็นมรดกตกทอด เป็นของขวัญ ของแต่งงาน และลงทุนเพื่อการเก็งกำไรในระยะยาว และแม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ตลาดค้าอัญมณีโลกจะชะลอตัวลง จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่แนวโน้มตลาดอัญมณี Big 4 ยังคงสดใส โดย Future Market Insights คาดว่ายอดขายอัญมณี Big 4 ในตลาดโลกระหว่างปี 2021 – 2031 อันประกอบด้วย อัญมณีเพชรแฟนซี อัญมณีทับทิม อัญมณีไพลิน และอัญมณีมรกต จะเติบโตเฉลี่ย 5.7% ต่อปี

เพชร

            หากย้อนหลังไปในช่วงปี 2017 – 2019 พบว่าการผลิตอัญมณีเพชรก้อนลดลงราว 5%1  ต่อปี เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็เป็นปัจจัยสำคัญกดดันเพิ่มเติมให้ผู้ผลิตลดการผลิตอัญมณีเพชรลง เพราะผู้บริโภคชะลอการบริโภคเพชรลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อผู้ผลิตเพชรเจียระไนซึ่งมีปัญหาอัญมณีเพชรล้นสต็อกจากปี 2019 ทำให้ซื้ออัญมณีเพชรก้อนมาเจียระไนลดลง เพื่อระบายอัญมณีเพชรเจียระไนที่ค้างอยู่ในสต็อกออกไปก่อน การผลิตเพชรก้อนทั่วโลกในปี 2020 (ปริมาณการผลิต 111 ล้านกะรัต) จึงลดลงมากถึง 20%2  เมื่อเทียบกับปี 2019 

อัญมณี Big 4

ที่มาภาพ: www.naturaldiamonds.com

            เนื่องจากในปี 2020 ผู้ค้าอัญมณีเพชรเจียระไนมีอัญมณีเพชรเจียระไนล้นสต็อก ในขณะที่ความต้องการบริโภคเพชรลดลง ทำให้ราคาอัญมณีเพชรก้อนและเพชรเจียระไนลดลง 11% และ 3% ตามลำดับ และรายได้ตลอดห่วงโซ่อุปทานของเพชรทั่วโลกลดลง 15 – 33% อีกทั้งยอดขายอัญมณีและเครื่องประดับเพชรโลกลดลง 15% เนื่องด้วยข้อจำกัดการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ความต้องการจึงมีจำกัดเฉพาะคนในประเทศเท่านั้น

            อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกทยอยฟื้นตัวในปี 2021 หลายประเทศกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่แล้ว ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการบริโภคเพชรมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดผู้บริโภคเพชรรายใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย ส่งผลให้ตลาดค้าอัญมณีเพชรปรับตัวในทิศทางบวก แต่ในขณะเดียวกันผู้ผลิตอัญมณีเพชรรายใหญ่ของโลกทั้ง Alosa และ De Beers ต่างยังคงจำกัดปริมาณการผลิตและการขายเพชร ทำให้ราคาอัญมณีเพชรก้อนและอัญมณีเพชรเจียระไนในปีนี้พุ่งสูงขึ้น 5-20%3  ขึ้นอยู่กับขนาดของเพชร ซึ่งอัญมณีเพชรขนาดใหญ่ราคาปรับเพิ่มสูงกว่าขนาดเล็ก  

อัญมณีเพชร

ที่มาภาพ: www.shopping.jubileediamond.co.th

            ความต้องการบริโภคอัญมณีเพชรที่เพิ่มขึ้นมาจากความต้องการเครื่องประดับเพชร4  ทั้งเพื่อเป็นแหวนหมั้น แหวนแต่งงาน ของขวัญที่มอบให้กับตนเองและคนสำคัญเนื่องในโอกาสต่างๆ และยังเป็นการลงทุนที่ดีอีกทางหนึ่งด้วย5  เพราะมูลค่าอัญมณีเพชรจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วยอัญมณีเพชรแท้มีปริมาณน้อยและหายาก จึงทำให้มีราคาสูง จากข้อมูลของ DG Diamant Gems ระบุว่า เพชรคุณภาพสูงขนาด 1 กะรัต หรือ 0.2 กรัม จะมีมูลค่าเทียบเท่าทองคำแท่ง 1 กิโลกรัม และแนะนำว่าควรลงทุนอัญมณีเพชรขนาด 1 กะรัตขึ้นไป ทรงกลม (Round Brilliant Cut) สี D ถึง F และความสะอาด IF ถึง VVS2 6 

            จากสถิติราคาอัญมณีเพชรจะสังเกตได้ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 1960 จนถึงปี 2019 ราคาอัญมณีเพชรต่อกะรัตเติบโตเฉลี่ย 14% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ7  และเมื่อพิจารณาจากสถิติราคาอัญมณีเพชรทรงกลม 1 กะรัต สี D ความสะอาด VVS2 ของ Rapaport ในปี 2020 อยู่ที่ 13,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในปี 2021 ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 13,400 ดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูงขึ้น 3.08% จากปี 2020 ยิ่งอัญมณีเพชรมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งให้ผลตอบแทนสูง โดย DG Diamant Gems ให้ข้อมูลว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอัญมณีเพชรขนาด 3 กะรัต ให้ผลตอบแทนดีที่สุด ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 123% นอกจากนี้ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา อัญมณีเพชรสีหายากยิ่งให้ผลตอบแทนสูง โดยเฉพาะอัญมณีเพชรสีชมพูมีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า 200% 


อัญมณีเพชรเจียระไน

            ปัจจุบันผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่าตลาดอัญมณีเพชรจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดย Bain & Company ได้คาดการณ์ว่าในปี 2022 – 2024 ความต้องการบริโภคอัญมณีเพชรจะฟื้นตัวจนถึงระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และจากปี 2023 – 2030 จะเติบโตได้ 2 – 3% ต่อปี และคาดว่าการผลิตอาจจะขยายตัวได้ถึงระดับ 2% ในช่วง 3 – 5 ปีข้างหน้า

ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต8   

            อัญมณีทับทิม แซปไฟร์ และมรกต หรือเรียกกันว่า “Big 3” เป็นพลอยเนื้อแข็งเจียระไนที่สวยงามและหายาก จึงมักเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดด้านปริมาณการผลิตที่ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวตลอดห่วงโซ่อุปทานอัญมณีพลอยสีของโลก เนื่องจากผู้ประกอบการเหมืองถูกบีบให้ลดการผลิตลง จากปัญหาด้านเศรษฐกิจและการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปริมาณวัตถุดิบอัญมณีพลอยก้อนที่ลดลงส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการตัดและเจียระไน9  ในหลายประเทศศูนย์กลางการผลิต เช่น ไทย ศรีลังกา ฯลฯ อีกทั้งงานแสดงสินค้าและงานประมูลพลอยสีสำคัญส่วนใหญ่ก็ถูกยกเลิกไปด้วย จนเป็นเหตุให้ราคาพลอยสี Big 3 คุณภาพสูงพุ่งขึ้นมากจากอุปทานที่ลดลง 

            จากการศึกษาของ MVI Marketing ที่เผยแพร่เมื่อต้นปี 2021 ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้ซื้ออัญมณีและเครื่องประดับแท้ในสหรัฐฯ จำนวน 1,100 คน และสัมภาษณ์ผู้ค้าและผู้ผลิตอัญมณีเครื่องประดับ 100 คน พบว่าลูกค้ากว่า 93% ชื่นชอบการซื้อทับทิม แซปไฟร์ และมรกตมากที่สุดในกลุ่มพลอยสี และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มคู่แต่งงานก็เลือกใช้อัญมณีและเครื่องประดับตกแต่งพลอยสี Big 3 เพิ่มมากขึ้น โดยความต้องการแหวนหมั้นพลอยสีเพิ่มมากกว่า 30% และผู้ค้าปลีกก็เสนอขายอัญมณีและเครื่องประดับตกแต่งพลอยสีที่ใช้ในงานแต่งงานเพิ่มขึ้น 15% ความนิยมพลอยสีที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการสวมใส่ของบรรดาผู้มีชื่อเสียง อาทิ ดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ ที่สวมแหวนหมั้นแซปไฟร์สีน้ำเงิน 12 กะรัต แหวนเพชรประดับมรกตขนาด 2.88 กะรัตของแจ๊กเกอลีน เคนเนดี สวมใส่ในงานแต่งงาน และเจสสิก้า ซิมป์สัน ที่ได้สวมแหวนหมั้นเพชรประดับทับทิมสีเลือดนกของเมียนมาขนาด 4-5 กะรัต

การประมูลอัญมณี

แหวนหมั้นแซปไฟร์สีน้ำเงิน 12 กะรัตของดัชเชสแห่งเคมบริดจ์

ที่มาภาพ: www.hellomagazine.com/


            โดยปกติอัญมณีทับทิม แซปไฟร์ และมรกต มีราคาแพงกว่าอัญมณีชนิดอื่นๆ อีกทั้งด้วยความสวยงามและหายาก จึงทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และได้รับความนิยมจากบรรดานักลงทุนที่หันมาถือครองอัญมณีธรรมชาติคุณภาพสูงในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยกันมากขึ้น เห็นได้จากงานประมูลออนไลน์ของ Sotheby's ในเดือนเมษายน 2020 “Tutti Frutti” สร้อยข้อมืออัญมณีเพชรประดับทับทิม แซปไฟร์สีน้ำเงิน และมรกตของ Cartier ได้ถูกประมูลไปในราคา 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นราคาสูงที่สุดสำหรับการประมูลอัญมณีออนไลน์ หรือการประมูลของ Christie's Magnificent Jewels ที่เจนีวา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2020 มรกตหลายชิ้นขายได้ราคาสูงกว่าที่ประมาณการไว้กว่า 3 เท่า เช่น แหวนมรกตโคลอมเบียที่ปรับปรุงความใสเล็กน้อยขนาด 6.5 กะรัต ถูกประมูลไปด้วยราคา 117,318 ดอลลาร์สหรัฐ จากที่ประมาณไว้ 22,343 - 33,515 ดอลลาร์สหรัฐ  

การค้าอัญมณี

สร้อยข้อมือ“Tutti Frutti”

ที่มาภาพ: www.forbes.com


ราคาทับทิม:

            ทับทิมคุณภาพสูงไม่ปรับปรุงคุณภาพเป็นที่นิยมลงทุนมากที่สุด โดยเฉพาะอัญมณีทับทิมสีแดงเลือดนกของเมียนมา นับเป็นพลอยสีที่หายากมากและมีมูลค่าสูงที่สุด จากข้อมูลราคาของ Gemworld10  สำหรับทับทิมเมียนมา คุณภาพดีที่สุดไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพขนาด 2 กะรัต ในปี 2016 ราคาอยู่ที่ 36,000 ดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2021 ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 47,500 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2016 เกือบ 32% ซึ่งทับทิมที่มีคุณภาพดีที่สุดมีมูลค่าสูงสุดได้ถึงกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต11  ส่วนทับทิมคุณภาพดีจากแหล่งอื่น เช่น มาดากัสการ์ โมซัมบิก และแทนซาเนีย ก็มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาราคาทับทิมปรับเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า

การค้าอัญมณี

แหวนทับทิมเมียนมา “The Sunrise Ruby”

ที่มาภาพ: www.gemrockauctions.com


ราคาแซปไฟร์:

            แซปไฟร์ที่ได้รับความนิยมมากคือ แซปไฟร์สีน้ำเงิน โดยแซปไฟร์แคชเมียร์ (อินเดีย) นั้นถือว่าเป็นอัญมณีหายากและมีค่ามากที่สุดเพราะไม่มีการขุดค้นแร่ใหม่มานานกว่าศตวรรษแล้ว รองลงมาคือแซปไฟร์จากเมียนมา ศรีลังกา (ซีลอน) และมาดากัสการ์ รวมถึงแซปไฟร์แฟนซี สีเหลือง ชมพู และพัดพารัดชาก็เป็นที่นิยมมากขึ้น 

            ปกติแซปไฟร์คุณภาพดีขนาด 2 – 3 กะรัตจะมีราคาราว 1,600 – 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต จากข้อมูลราคาของ Gemworld สำหรับอัญมณีแซปไฟร์เมียนมาคุณภาพดีที่สุดไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพขนาด 2 กะรัต ในปี 2016 มีราคาราว 8,480 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021 มีราคาอยู่ที่ 8,750 ดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 3.18% จากปี 2016 ทั้งนี้ แซปไฟร์คุณภาพสูงอาจมีราคาได้สูงกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต12    

ราคามรกต:

            มรกตขนาดใหญ่ที่ไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพซึ่งหาได้ยากมากเป็นที่ต้องการอย่างสูงในหมู่นักลงทุน โดยอัญมณีมรกตจากโคลอมเบียจะมีราคาแพงที่สุดในโลก เพราะมีสีเขียวสดค่อนข้างใส ถือเป็นสีที่สวยเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก รองลงมาคือมรกตบราซิล และแซมเบีย

            ปัจจุบันอัญมณีมรกตธรรมชาติมีราคาตั้งแต่ 200 ดอลลาร์สหรัฐไปจนถึง 18,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต ขึ้นอยู่กับคุณภาพและแหล่งกำเนิดของพลอยนั้น จากข้อมูลราคาของ Gemworld มรกตคุณภาพดีขนาดต่ำกว่า 8 กะรัตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคาไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อพิจารณามรกตขนาด 8 กะรัตในปี 2021 ราคาอยู่ที่ 9,500 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6% จากปี 2016 ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 8,750 ดอลลาร์สหรัฐ

ราคาอัญมณี

เครื่องประดับ Big 3: ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต

ที่มาภาพ: www.zadok.com/the-big-3-precious-gemstones/


จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าพลอยสีทั้ง 3 ชนิดมีราคาสูงมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน และมีแนวโน้มมูลค่าจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอนาคต เพราะผลิตได้น้อยลง แต่มีความต้องการในตลาดสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพลอยสีคุณภาพสูงไม่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพ 

แนวโน้มการค้าอัญมณี

            จากข้อมูลของ Cision PR Newswire ระบุว่าในปี 2020 การค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกมีมูลค่าราว 366,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 451,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2026 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 3.5% อย่างไรก็ตาม แม้ว่าธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่การดำรงธุรกิจให้ยังคงอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืนจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมของผู้ซื้อในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

            1) การซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น

            ในอดีตผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับยังไม่สนใจทำการค้าออนไลน์อย่างจริงจัง แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ได้บีบให้ผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับต้องหันมาขายสินค้าออนไลน์เต็มตัว เพราะผู้ซื้อเกือบทั้งหมดหันมาซื้อสินค้าออนไลน์ ส่งผลให้ช่องทางอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงขึ้น จากข้อมูลของ Emarketer ระบุว่าในปี 2020 ยอดขายปลีกอีคอมเมิร์ซของโลกมีมูลค่า 4.213 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มสูงถึง 25.7% เมื่อเทียบกับปี 2019 และคาดว่าจะมีมูลค่าเป็น 7.385 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 

            จากรายงานของ Bain & Company ระบุว่า ในปี 2020 ยอดขายปลีกเพชรออนไลน์เพิ่มขึ้น 20% หรือจากรายงานของ Mastercard ระบุว่าในช่วงครึ่งแรกปี 2021 ตลาดสหรัฐฯ มียอดซื้อเครื่องประดับออนไลน์พุ่งสูงถึง 75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การค้าอีคอมเมิร์ซและการโต้ตอบลูกค้าออนไลน์ จะกลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มมากขึ้น

            2) การค้นหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ

            ปัจจุบันผู้ซื้อมักต้องการความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่จะซื้อ โดยเฉพาะอัญมณีราคาแพง จึงมักค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ก่อนการตัดสินใจซื้อ ฉะนั้น การสื่อสารข้อมูลให้กับลูกค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยช่องทางที่นิยม ได้แก่ Instagram Facebook หรือ YouTube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์กระแสหลักที่นิยมใช้งานทั่วโลก

            3) การเติบโตของการบริโภคอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืน 

            ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับที่มีจริยธรรมและยั่งยืน นับเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้ออัญมณีหรือเครื่องประดับของผู้บริโภคยุคใหม่มากขึ้น จากรายงาน Diamond Insight Report ครั้งที่ 8 ของ De Beers ในหัวข้อ “Sustainability: Shaping the Future of the Diamond Sector” ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคจำนวน 8,400 รายใน 7 ตลาดผู้บริโภคเพชรหลักของโลก อันประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส อิตาลี และแอฟริกาใต้ พบว่า ผู้บริโภคราว 60% พิจารณาปัจจัยความยั่งยืนก่อนการตัดสินใจซื้อ และอีกกว่า 80% ได้รับอิทธิพลจากคนรอบข้างที่เลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งยังพบว่า เครื่องประดับแท้ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคซื้อบ่อยเป็นอันดับที่ 3 รองจากอาหารและเสื้อผ้า โดยพิจารณาจากปัจจัยด้านความยั่งยืนเป็นหลัก สำหรับเครื่องประดับเพชร การพิจารณาความยั่งยืนถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้บริโภคในทุกตลาดดังกล่าว

อัญมณีทับทิม อัญมณีแซปไฟร์ อัญมณีมรกต

แหวนมรกตและเพชรจากแหล่งที่มีจริยธรรมและความรับผิดชอบ

ที่มาภาพ: www.aylorandhart.com/us/


            ฉะนั้น ความต้องการบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนจึงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะกลายเป็นกระแสหลักให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคตต้องปรับตัวในการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่สวยงาม ด้วยการใช้วัตถุดิบซึ่งมีแหล่งที่มาโปร่งใสและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย 

            กล่าวโดยสรุป การบริโภคอัญมณี Big 4 ในปี 2021 เป็นต้นไป มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ จากการขับเคลื่อนของกำลังซื้อในประเทศผู้บริโภคอัญมณีหลักของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป จีน และอินเดีย โดยผู้บริโภคมีแนวโน้มซื้ออัญมณีขนาดใหญ่มากขึ้น และแม้ว่าจะมีการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น แต่หากเป็นอัญมณีและเครื่องประดับราคาสูง ผู้บริโภคบางส่วนก็มักจะหาข้อมูลทางออนไลน์ก่อน แล้วจึงนัดร้านค้าปลีกเพื่อเข้าไปดูสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ฉะนั้น จึงยังคงต้องทำการตลาดออนไลน์และออนไซต์ควบคู่กันไป และควรเน้นการให้ข้อมูลความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับสินค้ามากขึ้น รวมถึงการมีใบรับรองคุณภาพอัญมณีจากห้องปฏิบัติการที่น่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และปรับตัวดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนับเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสร้างความเติบให้กับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับอย่างยั่งยืน  


ข้อมูลอ้างอิง


1. www.statista.com. Jul 28, 2021. Global production of rough diamonds from 2005 to 2020. [Online]. Available at: www.statista.com/ statistics/274921/worldwide-production-of-rough-diamonds/. (Retrieved November 1, 2021).
2. ในปี 2020 บริษัทผู้ผลิตเพชรก้อนรายใหญ่ของโลกอย่าง ALROSA, De Beers, Rio Tinto ลดการผลิตเพชรก้อนลง 22%, 19.4% และ 14% ตามลำดับ
3. Deccan Chronicle. August 27,2021. Diamond prices go up as jewellery demand rises. [Online]. Available at: www.deccanchronicle.com/ business/market/270821/diamond-prices-go-up-as-jewellery-demand-rises.html. (Retrieved November 3, 2021).
4. ผู้บริโภคมีแนวโน้มซื้อเพชรขนาดใหญ่ขึ้น โดยผลการสำรวจผู้บริโภคในสหรัฐฯ ล่าสุดส่วนใหญ่ซื้อเพชรเฉลี่ย 1.22 กะรัต จากเดิมซื้อขนาด 1.05 กะรัต
5. เพชรเหมาะกับการลงทุนในระยะกลางถึงยาว (3 ปีขึ้นไป)
6. DIAMANT-GEMS. 2021. Investment diamonds: investing in diamonds. [Online]. Available at www.diamant-gems.com/en/ investment-diamonds-investing-in-diamonds/. (Retrieved November 5, 2021).
7. ในปี 2019 สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย มีอัตราเงินเฟ้อ 1.76%, 2.9% และ 4.6% ตามลำดับ
8. แหล่งผลิตทับทิมสำคัญของโลกได้แก่ โมซัมบิก เมียนมา และประเทศในแอฟริกาตะวันออก แหล่งผลิตแซปไฟร์สำคัญของโลก ได้แก่ มาดากัสการ์ ศรีลังกา ประเทศในแถบแอฟริกาตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนมรกต ส่วนใหญ่ผลิตในโคลอมเบีย แซมเบีย และบราซิล
9. แหล่งเจียระไนทับทิมสำคัญที่สุดของโลกคือ ไทย แหล่งเจียระไนแซปไฟร์สำคัญของโลกส่วนใหญ่คือไทย รองลงมาเป็นศรีลังกา ส่วนแหล่งเจียระไนมรกตสำคัญที่สุดของโลกอยู่ในอินเดีย รองลงมาเป็นโคลอมเบีย
10. หน่วยงานที่ทำการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดและราคาขายส่งอัญมณีในตลาดสหรัฐ โดยเผยแพร่ข้อมูลอุตสาหกรรมและราคาอัญมณีในวารสาร GEMGUIDE เพื่อเป็นแนวทางการซื้อขายอัญมณี
11. งานประมูลของ Sotheby’s ในปี 2015 แหวนทับทิมเมียนมา “The Sunrise Ruby” ขนาด 25.59 กะรัต ถูกประมูลไปด้วยราคาราว 30.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต นับเป็นทับทิมที่มีราคาสูงที่สุดในโลก
12. งานประมูลของ Sotheby’s ในปี 2014 แหวนแซปไฟร์แคชเมียร์ขนาด 27.54 กะรัต ได้ขายไปในราคา 5,984,474 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 22,000 ดอลลาร์ต่อกะรัต
-----------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง:
1) Ajediam. 2021. Historical Diamond Prices. [Online]. Available at https://ajediam.com/historical-diamond-prices# (Retrieved November 5, 2021).
2) Bain & Company. February 8, 2021. The Global Diamond Industry 2020-21. [Online]. Available at https://www.bain.com/insights/global-diamond-industry-2020-21/. (Retrieved November 1, 2021).
3) De Beers Group. 2021. DIAMOND INSIGHT REPORT 2021. [Online]. Available at www.debeersgroup.com/ reports/ insights/the-diamond-insight-report-2021. (Retrieved November 3, 2021).
4) High Life Living Luxury. October 19, 2021. Top Investment Gemstones. [Online]. Available at www.highlifelivingluxury.blogspot.com/2019/03/top-investment-gemstones.html. (Retrieved November 8, 2021).
5) Hubertjewelry. January 7, 2021. Investing in Color Gemstones, The New Trend [Online]. Available at www.hubertjewelry.com/investing-in-color-gemstones-the-new-trend/. (Retrieved November 10, 2021).
6) Jeweller. August 11, 2021. International Diamond Market Snapshot – August 2021. [Online]. Available at www. jewellermagazine.com/Article/9910/International-Diamond-Market-Snapshot-August-2021. (Retrieved November 5, 2021).
7) Jewellerynet. March 31, 2021. Rubies retain sparkle as favoured gem [Online]. Available at www.news. jewellerynet.com/en/jnanews/features/24198. (Retrieved November 5, 2021).
8) Nationaljeweler. November 12, 2020. ASM and the COVID-19 Impact. [Online]. Available at www.nationaljeweler. com/articles/6309-asm-and-the-covid-19-impact. (Retrieved November 5, 2021).
9) THE NATURAL GEM. 2021. Gemstones as an alternative investment. [Online]. Available at www.thenaturalgem. com/en/gemstones-as-an-investment/. (Retrieved November 5, 2021).
10) Valentin Magro. 2021. The Big Three Gemstones – Ruby, Sapphire, Emerald. [Online]. Available at www. valentinmagro.com/gemstones/big-three-gemstones-ruby-sapphire-emerald/. (Retrieved November 5, 2021).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site