ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โลหะเงิน สินทรัพย์ปลอดภัยและโอกาสในตลาดเครื่องประดับ

Apr 8, 2022
4796 views
4 shares

            โลหะเงินเป็นหนึ่งในโลหะมีค่าที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาลในหลายอารยธรรม ทั้งในรูปแบบข้าวของเครื่องใช้ อาวุธยุทโธปกรณ์ การแพทย์ เงินตรา และเครื่องประดับ  ในปัจจุบัน โลหะเงินยังเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยที่มีนักลงทุนให้ความสนใจไม่แพ้ทองคำ ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้โลหะเงินกลายเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในแง่ของการลงทุน หากแต่ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โลหะเงินก็มีอุปสงค์เติบโตตามไปด้วยเช่นกัน  

ความสำคัญของโลหะเงิน

            โลหะเงินเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม ตามข้อมูลจากสถาบันโลหะเงิน (The Silver Institute) จำแนกเป็นประเภทหลักที่สำคัญได้ 4 ประเภท คือ การใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต (40.56%) การลงทุน (24.47%) เครื่องประดับ (17.85%) และโซล่าเซลล์ (10.17%) โดยในปี 2021 ทั้ง 4 อุตสาหกรรมดังกล่าวมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 8.6%, 26.07%, 24.06% และ 3.98% ตามลำดับ ในปี 2021 มีการผลิตโลหะเงินจากเหมืองราว 24,000 ตัน เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยประเทศผู้ผลิตโลหะเงินรายใหญ่ 5 อันดับแรก คือ เม็กซิโก จีน เปรู ชิลี และรัสเซีย คิดเป็นสัดส่วนราว 23.33%, 14.17%, 12.50%, 6.67% และ 5.42% ตามลำดับ ส่วนการรีไซเคิลโลหะเงินเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เติบโตสูงจากแนวทางการลดขยะ นำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ และมาตรการลดการก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอน ทำให้ในปี 2021 การรีไซเคิลโลหะเงินเติบโตสูงสุดในรอบ 9 ปี คิดเป็นปริมาณ 6,103 ตัน เพิ่มขึ้น 7.73% และยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากหลายอุตสาหกรรมที่มีอุปสงค์เข้ามาเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 


4 อุตสาหกรรมที่มีการใช้โลหะเงินมากที่สุด ภาพจาก www.visualcapitalist.com

            ทั้งนี้ สถาบันโลหะเงินคาดการณ์ว่า ในปี 2022 ปริมาณอุปสงค์ในโลหะเงินทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 8% คิดเป็นปริมาณราว 1,110 ล้านออนซ์ ซึ่งจะเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยเป็นแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าจากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังซื้อฟื้นตัว มีการบริโภคเพิ่มขึ้น การเติบโตของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ กระแสการใช้พลังงานสีเขียว (Green Energy) ทำให้โลหะเงินซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตโซลาร์เซลล์เป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อสูง ทำให้โลหะเงินเป็นที่หมายตาของนักลงทุนด้วย 

  โลหะเงินในภาคการผลิต

            การใช้โลหะเงินในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ คิดเป็นสัดส่วนราว 40.56% ของการใช้ทั้งหมด ด้วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2021 ทำให้หลายอุตสาหกรรมสามารถกลับมาดำเนินการผลิตสินค้าได้เต็มรูปแบบ โดยความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาจากหลายส่วน รวมทั้งการเติบโตของเทคโนโลยี 5G ทำให้ความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และการสร้างโครงข่ายรองรับระบบพุ่งสูงขึ้น   

โลหะเงินกับการลงทุน

            โลหะมีค่าหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นทองคำ โลหะเงิน หรือแพลทินัม มักถูกนำมาซื้อหาเก็งกำไรกันมาก โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤต เนื่องจากมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ในช่วงที่ผ่านมาโลหะเงินได้รับความนิยมในการลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาโลหะเงินมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ด้วยราคาต่อหน่วยที่ถูกกว่าทองคำ ทำให้มีโอกาสทำกำไรได้สูงกว่า โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 โลหะเงินสามารถทำราคาสูงสุดที่ 29.585 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงสุดในรอบ 8 ปี ปัจจุบันด้วยเหตุปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากทั้งโควิด-19 เงินเฟ้อ และความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยเป็นที่ต้องการมากขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนการลงทุนแล้ว ในปี 2022 นักลงทุนยกให้โลหะเงินมีความน่าสนใจมากกว่าทองคำ   

                                                                                                                                                                                                                                                                    หน่วย : ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์


กราฟเปรียบเทียบราคาทองคำและโลหะเงิน ในช่วงปี 2000- มีนาคม 2022 จาก https://www.macrotrends.net

โลหะเงินกับโซล่าเซลล์

            กระแสพลังงานสีเขียวที่ต้องการใช้พลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดโลกร้อน อย่างแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ไฟฟ้า รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เป็นที่นิยมมากขึ้นในตลาด อีกทั้งยังเป็นวาระแห่งชาติที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติมีเป้าหมายร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 จึงเป็นส่วนสำคัญให้ความต้องการโลหะเงินในส่วนนี้ขยายตัวสูง

โลหะเงินในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

            สถาบันโลหะเงินคาดการณ์ว่า ในปี 2022 อุปสงค์โลหะเงินในอุตสาหกรรมเครื่องประดับจะเติบโตถึง 11% โดยได้รับแรงผลักดันจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลายประเทศ ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจการใช้จ่ายมากขึ้น ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสแฟชั่นมาสู่การออกแบบเครื่องประดับที่เรียบง่าย ประณีต สไตล์มินิมอล ที่สามารถสวมใส่ได้ทุกวัน ทำให้เครื่องประดับที่มีราคาในระดับกลางๆ อย่างเครื่องประดับเงินที่ตอบโจทย์ดังกล่าวได้รับความนิยมมากขึ้น โดยจะมีอินเดียเป็นแรงขับเคลื่อนหลักจากกระแสความนิยมเครื่องประดับเงินที่สูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

อินเดียตลาดแห่งการเติบโตของเครื่องประดับเงิน

            อินเดียนั้นไม่เพียงแต่เป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองรายใหญ่ของโลก ยังเป็นผู้บริโภคเครื่องประดับเงินรายใหญ่อีกด้วย ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดเครื่องประดับเงินในอินเดียเติบโตเพิ่มมากขึ้นในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างวัยมิลเลนเนียลที่มีจำนวนกว่า 440 ล้านคน และเจน Z จำนวน 472 ล้านคน คิดเป็น 34% และ 36% ของประชากรทั้งหมด โดยแบรนด์เครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงในอินเดียอย่าง Divas Mantra ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในเมืองสำคัญทั่วอินเดียอย่างเช่น เบงกาลูรู (Bengaluru) เจนไน (Chennai) ไฮเดอราบัด (Hyderabad) กัลกัตตา (Kolkata) มุมไบ (Mumbai) และนิวเดลี (New Delhi) ถึงความนิยมเครื่องประดับเงินที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างวัยมิลเลนเนียลและเจน Z พบว่า คนกลุ่มนี้นิยมเครื่องประดับเงินมากกว่าเครื่องประดับทอง เนื่องจากเครื่องประดับเงินมีดีไซน์ที่ดูทันสมัย มีลวดลายละเอียดประณีตมากมายหลายแบบ สามารถประยุกต์เข้ากับการแต่งกายได้ในชีวิตประจำวันและงานพิธีต่างๆ ได้อย่างลงตัว รวมทั้งยังมีราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้มากกว่าเครื่องประดับทองด้วย ราคาเฉลี่ยในการซื้อเครื่องประดับเงินเพื่อสวมใส่ในชีวิตประจำวันของชาวอินเดีย อยู่ที่ 38,000 รูปีต่อปี (ราว 500 ดอลลาร์สหรัฐ) 


            นอกจากเครื่องประดับเงินที่หนุ่มสาวแดนภารตะชื่นชอบอย่างเครื่องประดับเงินแท้ 925 ที่ให้ความรู้สึกทันสมัย อินเทรนด์ มีสไตล์มินิมอลตามแฟชั่นแล้ว เครื่องประดับเงินรมดำที่ให้ความรู้สึกในแบบวินเทจ มีความคลาสสิก ยังเป็นกระแสที่มาแรงเช่นกัน แต่เดิมในแถบชนบทการสวมใส่เครื่องประดับเงินขนาดใหญ่เป็นการแสดงออกถึงฐานะ ความมั่งคั่ง ทั้งยังเป็นมรดกตกทอด และนิยมสวมใส่ในงานแต่งงาน อีกทั้งลวดลายของเครื่องประดับยังแสดงถึงชุมชนหรือเผ่าพันธุ์ของผู้สวมใส่ด้วย ซึ่งปัจจุบันสไตล์แบบโบราณนี้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นและไม่ขึ้นกับเฉพาะกลุ่มเผ่าพันธุ์ แต่ยังได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษาโดยเฉพาะสายศิลปะที่นิยมเครื่องประดับที่สะท้อนดีไซน์รูปแบบในท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งยังมีเซเลบคนดังและดาราใน Bollywood ที่มีส่วนช่วยสร้างความนิยมในเครื่องประดับเงินประเภทนี้ด้วย



     ภาพดาราชื่อดังที่สวมใส่เครื่องประดับเงินรมดำ จาก verbenaweddingplanning.com

โอกาสของเครื่องประดับเงินของไทย ในปี 2022

            จากการที่โลหะเงินมีความต้องการเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องประดับ จึงส่งผลให้ผู้ผลิตรายใหญ่อย่างไทยได้รับประโยชน์จากการเติบโตด้วย โดยเห็นได้จาก ในปี 2021 โลหะเงินที่เป็นวัตถุดิบมีการส่งออกขยายตัวได้ 24.14% โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทำการหลอมใหม่มีมูลค่าสูงถึง 57.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เคยส่งไปเพียงหลักแสนดอลลาร์สหรัฐ1  

            ขณะที่เครื่องประดับเงินที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ในปี 2021 ไทยสามารถส่งออกได้ 1,716.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ในปี 2019 ที่มีมูลค่า 1,556.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดส่งออกสำคัญหลายตลาดอย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฮ่องกง และอินเดีย ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึง 54.67% สามารถเติบโตได้ดี 

ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวที่มีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ต่างๆ รอบด้าน ส่งผลให้โลหะมีค่าโดยเฉพาะโลหะเงินกลายเป็นที่สนใจมากขึ้นทั้งในด้านการถือครองเพื่อเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย การใช้เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้ในการทำโซลาเซลล์แล้ว การสวมใส่เครื่องประดับเงินยังเข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตได้ง่าย ใช้ได้ในหลายโอกาส ทั้งยังปรับให้เข้ากับสไตล์การแต่งตัวได้หลากหลาย จึงอาจกล่าวได้ว่า ปี 2022 นับเป็นปีทองของโลหะเงินอย่างไม่มีข้อสงสัย


ข้อมูลอ้างอิง


1. ผู้ผลิตโลหะเงินที่ได้มาตรฐานตามที่ LBMA กำหนดไว้ต้องระบุทั้งความบริสุทธิ์ น้ำหนัก ตราประทับ และรูปทรง จึงจะถูกเรียกว่า LBMA Good Delivery ที่ทั่วโลกยอมรับ ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งสกัดโลหะมีค่าที่มีกำลังผลิตมากที่สุดในโลก อีกทั้งโรงสกัดรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Argor-Heraeus SA, Metalor Technologies SA, MKS PAMP SA, Valcambi SA (เป็นโรงสกัดโลหะมีค่าที่มีกำลังผลิตสูงที่สุดในโลก) ในสวิตเซอร์แลนด์ ล้วนเป็นสมาชิก LBMA ที่ได้มาตรฐานรับรอง และผู้แทนจาก Argor-Heraeus SA, Metalor Technologies SA และ PAMP SA ยังเป็น 3 ใน 5 คณะกรรมการที่ตรวจสอบมาตรฐานดังกล่าวด้วย
--------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1) The Silver institute. 2022. Global Silver Demand Forecast to Reach a Record 1.112 Billion Ounces in 2022. [Online]. Available at: www.silverinstitute.org. (Retrieved February 25,2022).
2) Kitco. 2022. Global silver demand to hit record in 2022 on strong industrial and investment demand. [Online]. Available at: www.kitco.com/news. (Retrieved March 10,2022).
3) Kimberly Parker. Top 10 largest silver producing countries in 2021 - report. [Online]. Available at: www.kitco.com/news/2022-01-31. (Retrieved March 23,2022).
4) Times of India. 2022. Indian Gen Z and millennials keen on investing in silver. [Online]. Available at: timesofindia.indiatimes.com. (Retrieved March 23,2022).
5) Times of India. 2021. Silver glams up jewellery trends. [Online]. Available at: timesofindia.indiatimes.com. (Retrieved March 23,2022).
6) Elf 925. 2022. 5 SILVER JEWELRY TRENDS TO SHOP THIS YEAR. [Online]. Available at: www.elf925wholesale.com. (Retrieved March 24,2022).
7) LBMA. Good Delivery Rules and Governance. [Online]. Available at: www.lbma.org.uk/good-delivery/good-delivery-rules-and-governance. (Retrieved March 24,2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โลหะเงิน สินทรัพย์ปลอดภัยและโอกาสในตลาดเครื่องประดับ

Apr 8, 2022
4796 views
4 shares

            โลหะเงินเป็นหนึ่งในโลหะมีค่าที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาลในหลายอารยธรรม ทั้งในรูปแบบข้าวของเครื่องใช้ อาวุธยุทโธปกรณ์ การแพทย์ เงินตรา และเครื่องประดับ  ในปัจจุบัน โลหะเงินยังเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ปลอดภัยที่มีนักลงทุนให้ความสนใจไม่แพ้ทองคำ ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้โลหะเงินกลายเป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่ในแง่ของการลงทุน หากแต่ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ โลหะเงินก็มีอุปสงค์เติบโตตามไปด้วยเช่นกัน  

ความสำคัญของโลหะเงิน

            โลหะเงินเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม ตามข้อมูลจากสถาบันโลหะเงิน (The Silver Institute) จำแนกเป็นประเภทหลักที่สำคัญได้ 4 ประเภท คือ การใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต (40.56%) การลงทุน (24.47%) เครื่องประดับ (17.85%) และโซล่าเซลล์ (10.17%) โดยในปี 2021 ทั้ง 4 อุตสาหกรรมดังกล่าวมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 8.6%, 26.07%, 24.06% และ 3.98% ตามลำดับ ในปี 2021 มีการผลิตโลหะเงินจากเหมืองราว 24,000 ตัน เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยประเทศผู้ผลิตโลหะเงินรายใหญ่ 5 อันดับแรก คือ เม็กซิโก จีน เปรู ชิลี และรัสเซีย คิดเป็นสัดส่วนราว 23.33%, 14.17%, 12.50%, 6.67% และ 5.42% ตามลำดับ ส่วนการรีไซเคิลโลหะเงินเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เติบโตสูงจากแนวทางการลดขยะ นำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ และมาตรการลดการก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอน ทำให้ในปี 2021 การรีไซเคิลโลหะเงินเติบโตสูงสุดในรอบ 9 ปี คิดเป็นปริมาณ 6,103 ตัน เพิ่มขึ้น 7.73% และยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากหลายอุตสาหกรรมที่มีอุปสงค์เข้ามาเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 


4 อุตสาหกรรมที่มีการใช้โลหะเงินมากที่สุด ภาพจาก www.visualcapitalist.com

            ทั้งนี้ สถาบันโลหะเงินคาดการณ์ว่า ในปี 2022 ปริมาณอุปสงค์ในโลหะเงินทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 8% คิดเป็นปริมาณราว 1,110 ล้านออนซ์ ซึ่งจะเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมา โดยเป็นแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าจากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังซื้อฟื้นตัว มีการบริโภคเพิ่มขึ้น การเติบโตของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ กระแสการใช้พลังงานสีเขียว (Green Energy) ทำให้โลหะเงินซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตโซลาร์เซลล์เป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อสูง ทำให้โลหะเงินเป็นที่หมายตาของนักลงทุนด้วย 

  โลหะเงินในภาคการผลิต

            การใช้โลหะเงินในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ คิดเป็นสัดส่วนราว 40.56% ของการใช้ทั้งหมด ด้วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2021 ทำให้หลายอุตสาหกรรมสามารถกลับมาดำเนินการผลิตสินค้าได้เต็มรูปแบบ โดยความต้องการที่เพิ่มขึ้นมาจากหลายส่วน รวมทั้งการเติบโตของเทคโนโลยี 5G ทำให้ความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และการสร้างโครงข่ายรองรับระบบพุ่งสูงขึ้น   

โลหะเงินกับการลงทุน

            โลหะมีค่าหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นทองคำ โลหะเงิน หรือแพลทินัม มักถูกนำมาซื้อหาเก็งกำไรกันมาก โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤต เนื่องจากมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ในช่วงที่ผ่านมาโลหะเงินได้รับความนิยมในการลงทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาโลหะเงินมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ด้วยราคาต่อหน่วยที่ถูกกว่าทองคำ ทำให้มีโอกาสทำกำไรได้สูงกว่า โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 โลหะเงินสามารถทำราคาสูงสุดที่ 29.585 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงสุดในรอบ 8 ปี ปัจจุบันด้วยเหตุปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากทั้งโควิด-19 เงินเฟ้อ และความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน ทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยเป็นที่ต้องการมากขึ้น ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนการลงทุนแล้ว ในปี 2022 นักลงทุนยกให้โลหะเงินมีความน่าสนใจมากกว่าทองคำ   

                                                                                                                                                                                                                                                                    หน่วย : ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์


กราฟเปรียบเทียบราคาทองคำและโลหะเงิน ในช่วงปี 2000- มีนาคม 2022 จาก https://www.macrotrends.net

โลหะเงินกับโซล่าเซลล์

            กระแสพลังงานสีเขียวที่ต้องการใช้พลังงานสะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดโลกร้อน อย่างแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ไฟฟ้า รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เป็นที่นิยมมากขึ้นในตลาด อีกทั้งยังเป็นวาระแห่งชาติที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติมีเป้าหมายร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 จึงเป็นส่วนสำคัญให้ความต้องการโลหะเงินในส่วนนี้ขยายตัวสูง

โลหะเงินในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

            สถาบันโลหะเงินคาดการณ์ว่า ในปี 2022 อุปสงค์โลหะเงินในอุตสาหกรรมเครื่องประดับจะเติบโตถึง 11% โดยได้รับแรงผลักดันจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลายประเทศ ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจการใช้จ่ายมากขึ้น ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสแฟชั่นมาสู่การออกแบบเครื่องประดับที่เรียบง่าย ประณีต สไตล์มินิมอล ที่สามารถสวมใส่ได้ทุกวัน ทำให้เครื่องประดับที่มีราคาในระดับกลางๆ อย่างเครื่องประดับเงินที่ตอบโจทย์ดังกล่าวได้รับความนิยมมากขึ้น โดยจะมีอินเดียเป็นแรงขับเคลื่อนหลักจากกระแสความนิยมเครื่องประดับเงินที่สูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

อินเดียตลาดแห่งการเติบโตของเครื่องประดับเงิน

            อินเดียนั้นไม่เพียงแต่เป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองรายใหญ่ของโลก ยังเป็นผู้บริโภคเครื่องประดับเงินรายใหญ่อีกด้วย ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดเครื่องประดับเงินในอินเดียเติบโตเพิ่มมากขึ้นในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างวัยมิลเลนเนียลที่มีจำนวนกว่า 440 ล้านคน และเจน Z จำนวน 472 ล้านคน คิดเป็น 34% และ 36% ของประชากรทั้งหมด โดยแบรนด์เครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงในอินเดียอย่าง Divas Mantra ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในเมืองสำคัญทั่วอินเดียอย่างเช่น เบงกาลูรู (Bengaluru) เจนไน (Chennai) ไฮเดอราบัด (Hyderabad) กัลกัตตา (Kolkata) มุมไบ (Mumbai) และนิวเดลี (New Delhi) ถึงความนิยมเครื่องประดับเงินที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างวัยมิลเลนเนียลและเจน Z พบว่า คนกลุ่มนี้นิยมเครื่องประดับเงินมากกว่าเครื่องประดับทอง เนื่องจากเครื่องประดับเงินมีดีไซน์ที่ดูทันสมัย มีลวดลายละเอียดประณีตมากมายหลายแบบ สามารถประยุกต์เข้ากับการแต่งกายได้ในชีวิตประจำวันและงานพิธีต่างๆ ได้อย่างลงตัว รวมทั้งยังมีราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้มากกว่าเครื่องประดับทองด้วย ราคาเฉลี่ยในการซื้อเครื่องประดับเงินเพื่อสวมใส่ในชีวิตประจำวันของชาวอินเดีย อยู่ที่ 38,000 รูปีต่อปี (ราว 500 ดอลลาร์สหรัฐ) 


            นอกจากเครื่องประดับเงินที่หนุ่มสาวแดนภารตะชื่นชอบอย่างเครื่องประดับเงินแท้ 925 ที่ให้ความรู้สึกทันสมัย อินเทรนด์ มีสไตล์มินิมอลตามแฟชั่นแล้ว เครื่องประดับเงินรมดำที่ให้ความรู้สึกในแบบวินเทจ มีความคลาสสิก ยังเป็นกระแสที่มาแรงเช่นกัน แต่เดิมในแถบชนบทการสวมใส่เครื่องประดับเงินขนาดใหญ่เป็นการแสดงออกถึงฐานะ ความมั่งคั่ง ทั้งยังเป็นมรดกตกทอด และนิยมสวมใส่ในงานแต่งงาน อีกทั้งลวดลายของเครื่องประดับยังแสดงถึงชุมชนหรือเผ่าพันธุ์ของผู้สวมใส่ด้วย ซึ่งปัจจุบันสไตล์แบบโบราณนี้ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นและไม่ขึ้นกับเฉพาะกลุ่มเผ่าพันธุ์ แต่ยังได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ นักเรียน นักศึกษาโดยเฉพาะสายศิลปะที่นิยมเครื่องประดับที่สะท้อนดีไซน์รูปแบบในท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งยังมีเซเลบคนดังและดาราใน Bollywood ที่มีส่วนช่วยสร้างความนิยมในเครื่องประดับเงินประเภทนี้ด้วย



     ภาพดาราชื่อดังที่สวมใส่เครื่องประดับเงินรมดำ จาก verbenaweddingplanning.com

โอกาสของเครื่องประดับเงินของไทย ในปี 2022

            จากการที่โลหะเงินมีความต้องการเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรม รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องประดับ จึงส่งผลให้ผู้ผลิตรายใหญ่อย่างไทยได้รับประโยชน์จากการเติบโตด้วย โดยเห็นได้จาก ในปี 2021 โลหะเงินที่เป็นวัตถุดิบมีการส่งออกขยายตัวได้ 24.14% โดยเฉพาะการส่งออกไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทำการหลอมใหม่มีมูลค่าสูงถึง 57.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่เคยส่งไปเพียงหลักแสนดอลลาร์สหรัฐ1  

            ขณะที่เครื่องประดับเงินที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ในปี 2021 ไทยสามารถส่งออกได้ 1,716.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 ในปี 2019 ที่มีมูลค่า 1,556.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดส่งออกสำคัญหลายตลาดอย่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ฮ่องกง และอินเดีย ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึง 54.67% สามารถเติบโตได้ดี 

ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวที่มีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ต่างๆ รอบด้าน ส่งผลให้โลหะมีค่าโดยเฉพาะโลหะเงินกลายเป็นที่สนใจมากขึ้นทั้งในด้านการถือครองเพื่อเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย การใช้เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้ในการทำโซลาเซลล์แล้ว การสวมใส่เครื่องประดับเงินยังเข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตได้ง่าย ใช้ได้ในหลายโอกาส ทั้งยังปรับให้เข้ากับสไตล์การแต่งตัวได้หลากหลาย จึงอาจกล่าวได้ว่า ปี 2022 นับเป็นปีทองของโลหะเงินอย่างไม่มีข้อสงสัย


ข้อมูลอ้างอิง


1. ผู้ผลิตโลหะเงินที่ได้มาตรฐานตามที่ LBMA กำหนดไว้ต้องระบุทั้งความบริสุทธิ์ น้ำหนัก ตราประทับ และรูปทรง จึงจะถูกเรียกว่า LBMA Good Delivery ที่ทั่วโลกยอมรับ ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งสกัดโลหะมีค่าที่มีกำลังผลิตมากที่สุดในโลก อีกทั้งโรงสกัดรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Argor-Heraeus SA, Metalor Technologies SA, MKS PAMP SA, Valcambi SA (เป็นโรงสกัดโลหะมีค่าที่มีกำลังผลิตสูงที่สุดในโลก) ในสวิตเซอร์แลนด์ ล้วนเป็นสมาชิก LBMA ที่ได้มาตรฐานรับรอง และผู้แทนจาก Argor-Heraeus SA, Metalor Technologies SA และ PAMP SA ยังเป็น 3 ใน 5 คณะกรรมการที่ตรวจสอบมาตรฐานดังกล่าวด้วย
--------------------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1) The Silver institute. 2022. Global Silver Demand Forecast to Reach a Record 1.112 Billion Ounces in 2022. [Online]. Available at: www.silverinstitute.org. (Retrieved February 25,2022).
2) Kitco. 2022. Global silver demand to hit record in 2022 on strong industrial and investment demand. [Online]. Available at: www.kitco.com/news. (Retrieved March 10,2022).
3) Kimberly Parker. Top 10 largest silver producing countries in 2021 - report. [Online]. Available at: www.kitco.com/news/2022-01-31. (Retrieved March 23,2022).
4) Times of India. 2022. Indian Gen Z and millennials keen on investing in silver. [Online]. Available at: timesofindia.indiatimes.com. (Retrieved March 23,2022).
5) Times of India. 2021. Silver glams up jewellery trends. [Online]. Available at: timesofindia.indiatimes.com. (Retrieved March 23,2022).
6) Elf 925. 2022. 5 SILVER JEWELRY TRENDS TO SHOP THIS YEAR. [Online]. Available at: www.elf925wholesale.com. (Retrieved March 24,2022).
7) LBMA. Good Delivery Rules and Governance. [Online]. Available at: www.lbma.org.uk/good-delivery/good-delivery-rules-and-governance. (Retrieved March 24,2022).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site