ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

Metaverse โอกาสหรือความเสี่ยงของอัญมณีและเครื่องประดับ

Sep 20, 2022
1995 views
0 share

            Metaverse หรือคำไทยที่ราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติไว้ว่า “จักรวาลนฤมิต” นั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นครั้งแรกในนิยายไซไฟเรื่อง Snow Crash ปี 1982 ซึ่งสื่อถึงโลกอีกใบหนึ่งที่ผู้คนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านการจำลองเป็นตัวละครต่างๆ (Avatar) ก่อนที่การเกิดขึ้นของโควิด-19 ซึ่งมา Disrupted ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้ไม่สามารถก้าวออกไปสู่โลกภายนอกได้ การพบปะกันในแบบเดิมมีข้อจำกัดมากมาย เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกนำมาใช้ตอบโจทย์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจึงมีการพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งการเกิดขึ้นของ Metaverse ด้วย 

Metaverse คืออะไร

Metaverse นั้น เป็นเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อผสานสภาพแวดล้อมในโลกความเป็นจริงกับโลกเสมือนให้มาบรรจบกัน ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) หรือ Extended Reality (XR) มาใช้เพื่อเชื่อมต่อให้ผู้คนสามารถเข้าไปดื่มด่ำในโลก Metaverse ได้แบบ 360 องศา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาทั้งระบบเครือข่ายออนไลน์ การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอุปกรณ์เชื่อมต่อเหล่านี้ล้วนพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด เข้ามาตอบโจทย์ให้การพบปะของผู้คนเกิดขึ้นได้คล้ายในโลกแห่งความเป็นจริง รวมทั้งการจัดกิจกรรมอย่างการจัดประชุม จัดงานแสดง การผ่าตัดทางไกล เล่นเกมส์ในรูปแบบ 3 มิติ หรือการชมคอนเสิร์ต รวมทั้งการแชร์หรือซื้อขายสินค้าทั้งที่อยู่ในโลกเสมือนหรือของจริงด้วยสกุลเงินคริปโตเป็นหลัก

            ยิ่งไปกว่านั้น Metaverse ยังเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจต่างๆ ในลักษณะที่เป็นเสมือนสถานที่หรือโลกอีกใบหนึ่ง ซึ่งมีการสร้างองค์ประกอบโครงสร้างทางสังคมและระบบเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นคล้ายเป็นโลกคู่ขนานอีกแห่งหนึ่ง โดยโลกเสมือนแต่ละรายเปิดโอกาสให้ธุรกิจหรือแบรนด์สินค้าที่สนใจสามารถเข้าไปทำการโฆษณา จัดกิจกรรม หรือแคมเปญต่างๆ รวมทั้งออกแบบผลิตภัณฑ์ในรูปของ NFT (Non Fungible Token) มาจัดจำหน่ายได้ ทำให้ธุรกิจต่างๆ มีทางเลือกใหม่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับการสร้างรายได้ โปรโมทธุรกิจของตนให้เป็นที่รู้จัก หรือแม้กระทั่งเป็นอีกช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น


การลงทุนใน Metaverse 5 เดือนแรกของปี 2022 มีการลงทุนมากกว่า 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ซึ่งมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าทั้งปีที่มีมูลค่า 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


โอกาสในโลก Metaverse

จากรายงาน Value Creation in the Metaverse ของ McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาการบริหารจัดการระดับโลก ได้เปิดเผยว่า การลงทุนในธุรกิจ Metaverse ใน 5 เดือนแรกของปี 2022 มีมากกว่า 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยราว 69,000 ล้านดอลลาร์ เป็นการทุ่มทุนของ Microsoft ในการเข้าซื้อ Activision Blizzard บริษัทผู้ผลิตเกมรายใหญ่ของโลก เพื่อเป็นการได้มาซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลของบริษัท อีกทั้งยังคาดการณ์ว่า Metaverse มีศักยภาพที่จะเติบโตได้โดยอาจมีมูลค่าสูงถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 โดย 2.6 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 52% มาจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ตามมาด้วยอุตสาหกรรมอื่น เช่น การเรียนรู้แบบเสมือนจริง (Virtual Learning) (270,000 ล้านดอลลาร์) สื่อโฆษณา (206,000 ล้านดอลลาร์) และอุตสาหกรรมเกม (125,000 ล้านดอลลาร์)


แผนภาพ 5 อันดับแรกของการใช้จ่ายใน Metaverse

 

ข้อมูลจาก Value Creation in the Metaverse 2022

            นอกจากนี้ ในรายงานดังกล่าวยังศึกษาถึงกิจกรรมที่ผู้คนนิยมทำมากที่สุดเมื่อเข้าสู่โลก Metaverse พบว่า ส่วนใหญ่นิยมการชอปปิงออนไลน์ การสังสรรค์ทางสังคมหรือเล่นเกม การออกกำลังกายในโลกเสมือนจริงผ่านกล้อง VR การนัดเดท และเข้าคอร์สเรียนออนไลน์ในโลกเสมือนจริง ขณะที่การใช้จ่ายใน Metaverse ผู้คนส่วนมากนิยมซื้อขายในเกมมากที่สุด ตามมาด้วยการซื้อไอเท็มที่ใช้ตกแต่ง Avatar ของตัวเองให้มีเอกลักษณ์และความโดดเด่นเฉพาะตัวตามที่เจ้าของต้องการ ขณะที่อันดับ 3 เป็นการซื้อสินค้าที่มีในโลกความเป็นจริง ตามมาด้วยการซื้อขาย NFT และการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโลกเสมือน นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ ทั้งในเอเชียแปซิฟิก จีน ยุโรป และอเมริกา ส่วนใหญ่ราว 95% มีความเห็นตรงกันว่า Metaverse แม้จะยังอยู่ในช่วงที่ต้องมีการพัฒนา แต่จะก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อภาคอุตสาหกรรมภายใน 5-10 ปีนี้ และด้วยเทคโนโลยีนี้จะมีส่วนทำให้รายได้ขององค์กรเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% ภายใน 5 ปี ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงราว 24% ที่คาดหมายว่า อาจทำให้รายได้องค์กรเพิ่มขึ้นมากกว่า 15%

            แต่ขณะเดียวกันมีการสอบถามถึงอุปสรรคสำคัญในการเข้าสู่อุตสาหกรรมโลกเสมือนนี้ 3 อันดับแรก คือ ผลตอบแทนการลงทุนไม่แน่นอน ไม่มีโมเดลทางธุรกิจเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมใหม่ และความขาดแคลนความสามารถในการจัดการเทคโนโลยี Metaverse ให้เข้ากับธุรกิจของตน ขณะเดียวกันหากธุรกิจประสบความสำเร็จในการประยุกต์ธุรกิจเข้ากับโลกเสมือนได้แล้ว ยังมีประเด็นความเสี่ยงซึ่งภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัยทางไซเบอร์

กลยุทธ์ที่แบรนด์ดังใช้ในการเข้าสู่ Metaverse 

            ปัจจุบันมีหลายแบรนด์ที่เห็นว่า โลกเสมือนนี้เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพซึ่งนำโอกาสใหม่ที่สร้างความน่าสนใจให้กับลูกค้าได้ บรรดาแบรนด์ต่างๆ จึงต้องสรรหากลยุทธ์ในหลายรูปแบบเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าในทุกๆ กลุ่มที่เข้ามาในโลกเสมือนของแต่ละ Verse ซึ่งกลยุทธ์ที่ใช้สามารถแบ่งได้ดังนี้ 

            Engagement and Awareness

            เป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดที่แบรนด์ต่างๆ ใช้เพื่อเข้าสู่โลกเสมือน มีตัวอย่างแบรนด์ Nike ที่ร่วมมือกับ Roblox ซึ่งเป็น 1 ในแพลตฟอร์มเกมชื่อดัง ในการสร้าง Nikeland ขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภค (Awareness) เข้ามาร่วมกิจกรรม เล่นเกม ทั้งยังมีหน้าร้านขายสินค้าให้นำมาตกแต่ง Avatar ของตนได้ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวมิลเลนเนียลและ Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มหลักในโลกเสมือน ทำให้แบรนด์สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ (Engagement) ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักจดจำได้ในหมู่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ และเกิดการซื้อสินค้าของแบรนด์ตามมาทั้งในโลกเสมือนและความเป็นจริง 

   


ภาพ Nikeland และห้องแสดงสินค้าของ Nike บนแพลตฟอร์ม Roblox จาก https://marshall-johnstonmm.com

            การจัดอีเวนท์พิเศษ 

            การจัดงานอีเวนท์นี้ มีตัวอย่างของ Warner Bros. ที่ได้ร่วมกับ Roblox แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ ที่มีผู้ใช้งานต่อวันเฉลี่ยมากกว่า 42 ล้านคน ในการจัดงานปาร์ตี้เพื่อฉลองภาพยนตร์เพลงเรื่อง In the Heights ซึ่งสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจากทั่วโลกผ่านอีเวนท์เพื่อสร้างประสบการณ์ดีๆ ร่วมกัน ไม่เพียงเท่านั้นทั้งสองแบรนด์ยังร่วมงานกันอย่างต่อเนื่องทั้งอีเวนท์ดนตรีและภาพยนตร์ ขณะที่ Wave แพลตฟอร์ม Virtual Music มีการร่วมมือกับเหล่าศิลปินนักร้องเพื่อจัดแสดงคอนเสิร์ตออนไลน์ในโลกเสมือน ซึ่งเหล่าแฟนคลับสามารถใกล้ชิดกับศิลปินที่อยู่ในร่าง Avatar ได้ โดยมีศิลปินชื่อดังอย่าง Justin Bieber, John Legend และ Lindsey Stirling ที่เคยแสดงคอนเสิร์ตในร่าง Avatar บนแพลตฟอร์ม Wave มาแล้ว

   


ภาพ Virtual Concert ของ John Legend และ Justin Bieber บนแพลตฟอร์ม Wave จาก https://wavexr.com

  กลยุทธ์แบบผสมผสานโลกจริงและโลกเสมือนเข้าด้วยกัน

เป็นลักษณะของการผสมผสานการตลาดบนโลกเสมือนเข้ากับโลกความจริง อย่างเช่น แบรนด์ McDonald's นำร้านขายอาหารและเครื่องดื่มของตนเข้าสู่ Metaverse ในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อผ่านร้านที่ไม่เพียงแต่นั่งดื่มกินในโลกเสมือนยังมีบริการจัดส่งถึงที่บ้านในโลกความเป็นจริงได้อีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบในความพยายามเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งยังตอบสนองสินค้าและบริการได้ในโลกความเป็นจริงได้ในขณะเดียวกัน

Metaverse กับอัญมณีและเครื่องประดับ

            ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น ผู้ผลิตสินค้าหรูต่างประสบชะตากรรมเดียวกัน ยอดขายนาฬิกาและเครื่องประดับในช่วงปี 2020 ลดลงกว่า 25% ขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้โลกดิจทัลและโลกแห่งความเป็นจริงโน้มเข้ามาหากัน หลายแบรนด์สินค้าหรูจึงก้าวเข้าสู่โลกเสมือนที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ทั้งรูปแบบ NFT ในเกม วิดีโอ หรือเครื่องแต่งกายของตัวละครในโลกเสมือน โดยมีตัวอย่างแบรนด์เครื่องประดับที่เข้าสู่ Metaverse อย่างเช่น 

            Bvlgari

            หากเอ่ยถึงแบรนด์เครื่องประดับระดับโลกแล้ว ชื่อ Bvlgari นับเป็นแบรนด์ระดับต้นๆ ที่คนทั่วโลกนึกถึง ซึ่งในช่วงที่กระแสเทคโนโลยีดิจิทัลเติบโตขึ้นได้เปลี่ยนโฉมหน้าโลกออนไลน์ไปสู่โลกเสมือนจริง แบรนด์ดังจากอิตาลีนี้ก็เข้าร่วมคว้าโอกาสในตลาดที่เกิดขึ้นใหม่นี้ด้วยเช่นกัน โดยการสร้างแอปพลิเคชั่น BVLGARI COLORS ที่มีขึ้นควบคู่กับการจัดงาน Bvlgari Colors: A Journey Between Jewels and Art ณ ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานจากทั่วโลกได้มีส่วนร่วมชมนิทรรศการด้วย ซึ่งรองรับภาษาอังกฤษและเกาหลี โดยหากใช้ร่วมกับอุปกรณ์ Virtual reality (VR) จะทำให้สามารถสร้าง Avatar ของตัวเองและสามารถออกแบบสไตล์การแต่งตัวที่ชอบด้วยเครื่องประดับจาก Bvlgari หลังจากนั้นก็สามารถเดินชมตามห้องจัดแสดงต่างๆ ที่จัดไว้เช่นเดียวกับงานจริงแบบ 360 องศา นอกจากนี้ ยังมีการร่วมเล่นเกมเพื่อลุ้นรางวัลรายเดือนอีกด้วย

  

ภาพ BVLGARI COLORS จาก www.theglassmagazine.com

            นอกจากนี้ Bvlgari ยังมีความร่วมมือกับ 101 games ในการใช้ระบบ Unreal Engine 5 ซึ่งเป็นระบบสร้างเกมยอดนิยมของผู้พัฒนาเกมหลายเจ้าในปัจจุบัน ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Metaverse ขึ้นใหม่ ให้มีความสมจริงทั้งวัตถุและแสงเงาเพื่อให้ปรากฏขึ้นบนโลกเสมือนอย่างสมบูรณ์ที่สุด 

   


ภาพจากคลิปทีเซอร์แนะนำแพลตฟอร์ม Metaverse ของ Bvlgari จาก https://www.youtube.com/watch?v=6hbVgnQ2xJk

            JEVELS

            Ms. Zuzana Bastian ผู้ก่อตั้งแบรนด์เครื่องประดับ JEVELS ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2021 ด้วยการมองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การทำงานและพบปะระหว่างกันต้องทำผ่านโปรแกรมประชุมออนไลน์ต่างๆ เป็นเวลายาวนานในแต่ละวัน ได้มองหาแนวทางการแต่งตัวและแฟชั่นที่สามารถทำให้ชั่วโมงการประชุมมีชีวิตชีวามากขึ้น กระทั่งได้พบการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ 3D (Digital Fashion) จึงเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียการสร้างแพลตฟอร์มร้านค้าที่ลูกค้าสามารถซื้อหาเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายแฟชั่น ซึ่งนำมาใช้เสมือนสวมใส่เครื่องประดับเหล่านั้นได้ในหลายแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์หรือการวิดีโอคอลอย่างเช่น Google Meet, Microsoft Teams, Skype หรือ  Zoom เป็นต้น รวมทั้งยังรองรับอุปกรณ์ AR และการสวมใส่เครื่องประดับให้ Avatar ในโลก Metaverse ได้อีกด้วย


ภาพจากคลิปสาธิตวิธีการใส่เครื่องประดับด้วยโปรแกรม Snap Camera จาก https://jevels.com/pages/how-it-works


ปัจจัยเสี่ยงและปัญหาของ Metaverse

            จากที่กล่าวมานั้นเราได้เห็นโอกาสที่หลากหลายแบรนด์ใช้เพื่อขยายช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภคในรูปแบบต่างๆ แต่ในโอกาสเหล่านั้นยังมีปัจจัยที่ผู้สนใจเข้าร่วมไขว่คว้าต้องพึ่งระมัดระวังและศึกษาก่อนที่ก้าวสู่โลกเสมือน อย่างเช่น

            ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดก่อให้เกิดตลาดเศรษฐกิจขึ้นใหม่ในโลกเสมือนจริงซึ่งนับวันจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หลายธุรกิจก้าวเข้ามาในโลกที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่นี้เพื่อแสวงหาโอกาสและพยายามทำความรู้จักกับกลุ่มลูกค้า สร้างปฏิสัมพันธ์และส่วนแบ่งการตลาด ให้ได้ก่อนแบรนด์อื่น แต่ขณะเดียวกันโลกเสมือนนี้ยังมีข้อควรระวัง สิ่งที่ยังไม่รับรู้ และความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ผู้สนใจจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนที่จะก้าวเข้าไปในโลกใหม่ที่เพิ่งก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาไม่นานแห่งนี้ 




ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข


ข้อมูลอ้างอิง


1) Forbes. 2022. The Future Of Brand Opportunities In The Metaverse. [Online]. Available at: https://www.forbes.com. (Retrieved July 8,2022).
2) Marshall Johnstonmm. 2022. NIKELAND: VIRTUAL REALITY RETAIL. [Online]. Available at: https://marshall-johnstonmm.com/2021/11/30/nikeland-virtual-reality-retail/. (Retrieved July 8,2022).
3) Yahoo Finance. 2022. McDonald’s is Entering the Metaverse: Order Real Burgers via Virtual World. [Online]. Available at: https://finance.yahoo.com/news. (Retrieved July 12,2022).
4) Joshua Hendren. 2021. Bulgari enters the metaverse with new Bulgari Colours virtual reality app. [Online]. Available at: https://www.theglassmagazine.com. (Retrieved July 12,2022).
5) Tech Game World. 2022. Bulgari enters the metaverse with Experiency. [Online]. Available at: https://techgameworld.com/bulgari-enters-the-metaverse-with-experiency. (Retrieved July 12,2022).
6) JEVELS. 2022. ABOUT US. [Online]. Available at: https://jevels.com/pages/about-us. (Retrieved July 12,2022).
7) Bernard Marr. 2022. 7 Important Problems & Disadvantages Of The Metaverse. [Online]. Available at: https://bernardmarr.com. (Retrieved July 12,2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

Metaverse โอกาสหรือความเสี่ยงของอัญมณีและเครื่องประดับ

Sep 20, 2022
1995 views
0 share

            Metaverse หรือคำไทยที่ราชบัณฑิตยสภาได้บัญญัติไว้ว่า “จักรวาลนฤมิต” นั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นครั้งแรกในนิยายไซไฟเรื่อง Snow Crash ปี 1982 ซึ่งสื่อถึงโลกอีกใบหนึ่งที่ผู้คนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านการจำลองเป็นตัวละครต่างๆ (Avatar) ก่อนที่การเกิดขึ้นของโควิด-19 ซึ่งมา Disrupted ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ทำให้ไม่สามารถก้าวออกไปสู่โลกภายนอกได้ การพบปะกันในแบบเดิมมีข้อจำกัดมากมาย เทคโนโลยีดิจิทัลที่ถูกนำมาใช้ตอบโจทย์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจึงมีการพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมทั้งการเกิดขึ้นของ Metaverse ด้วย 

Metaverse คืออะไร

Metaverse นั้น เป็นเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อผสานสภาพแวดล้อมในโลกความเป็นจริงกับโลกเสมือนให้มาบรรจบกัน ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) หรือ Extended Reality (XR) มาใช้เพื่อเชื่อมต่อให้ผู้คนสามารถเข้าไปดื่มด่ำในโลก Metaverse ได้แบบ 360 องศา ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาทั้งระบบเครือข่ายออนไลน์ การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอุปกรณ์เชื่อมต่อเหล่านี้ล้วนพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด เข้ามาตอบโจทย์ให้การพบปะของผู้คนเกิดขึ้นได้คล้ายในโลกแห่งความเป็นจริง รวมทั้งการจัดกิจกรรมอย่างการจัดประชุม จัดงานแสดง การผ่าตัดทางไกล เล่นเกมส์ในรูปแบบ 3 มิติ หรือการชมคอนเสิร์ต รวมทั้งการแชร์หรือซื้อขายสินค้าทั้งที่อยู่ในโลกเสมือนหรือของจริงด้วยสกุลเงินคริปโตเป็นหลัก

            ยิ่งไปกว่านั้น Metaverse ยังเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจต่างๆ ในลักษณะที่เป็นเสมือนสถานที่หรือโลกอีกใบหนึ่ง ซึ่งมีการสร้างองค์ประกอบโครงสร้างทางสังคมและระบบเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นคล้ายเป็นโลกคู่ขนานอีกแห่งหนึ่ง โดยโลกเสมือนแต่ละรายเปิดโอกาสให้ธุรกิจหรือแบรนด์สินค้าที่สนใจสามารถเข้าไปทำการโฆษณา จัดกิจกรรม หรือแคมเปญต่างๆ รวมทั้งออกแบบผลิตภัณฑ์ในรูปของ NFT (Non Fungible Token) มาจัดจำหน่ายได้ ทำให้ธุรกิจต่างๆ มีทางเลือกใหม่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับการสร้างรายได้ โปรโมทธุรกิจของตนให้เป็นที่รู้จัก หรือแม้กระทั่งเป็นอีกช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น


การลงทุนใน Metaverse 5 เดือนแรกของปี 2022 มีการลงทุนมากกว่า 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ซึ่งมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าทั้งปีที่มีมูลค่า 57,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


โอกาสในโลก Metaverse

จากรายงาน Value Creation in the Metaverse ของ McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาการบริหารจัดการระดับโลก ได้เปิดเผยว่า การลงทุนในธุรกิจ Metaverse ใน 5 เดือนแรกของปี 2022 มีมากกว่า 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยราว 69,000 ล้านดอลลาร์ เป็นการทุ่มทุนของ Microsoft ในการเข้าซื้อ Activision Blizzard บริษัทผู้ผลิตเกมรายใหญ่ของโลก เพื่อเป็นการได้มาซึ่งเทคโนโลยีดิจิทัลของบริษัท อีกทั้งยังคาดการณ์ว่า Metaverse มีศักยภาพที่จะเติบโตได้โดยอาจมีมูลค่าสูงถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 โดย 2.6 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 52% มาจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ตามมาด้วยอุตสาหกรรมอื่น เช่น การเรียนรู้แบบเสมือนจริง (Virtual Learning) (270,000 ล้านดอลลาร์) สื่อโฆษณา (206,000 ล้านดอลลาร์) และอุตสาหกรรมเกม (125,000 ล้านดอลลาร์)


แผนภาพ 5 อันดับแรกของการใช้จ่ายใน Metaverse

 

ข้อมูลจาก Value Creation in the Metaverse 2022

            นอกจากนี้ ในรายงานดังกล่าวยังศึกษาถึงกิจกรรมที่ผู้คนนิยมทำมากที่สุดเมื่อเข้าสู่โลก Metaverse พบว่า ส่วนใหญ่นิยมการชอปปิงออนไลน์ การสังสรรค์ทางสังคมหรือเล่นเกม การออกกำลังกายในโลกเสมือนจริงผ่านกล้อง VR การนัดเดท และเข้าคอร์สเรียนออนไลน์ในโลกเสมือนจริง ขณะที่การใช้จ่ายใน Metaverse ผู้คนส่วนมากนิยมซื้อขายในเกมมากที่สุด ตามมาด้วยการซื้อไอเท็มที่ใช้ตกแต่ง Avatar ของตัวเองให้มีเอกลักษณ์และความโดดเด่นเฉพาะตัวตามที่เจ้าของต้องการ ขณะที่อันดับ 3 เป็นการซื้อสินค้าที่มีในโลกความเป็นจริง ตามมาด้วยการซื้อขาย NFT และการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในโลกเสมือน นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ ทั้งในเอเชียแปซิฟิก จีน ยุโรป และอเมริกา ส่วนใหญ่ราว 95% มีความเห็นตรงกันว่า Metaverse แม้จะยังอยู่ในช่วงที่ต้องมีการพัฒนา แต่จะก่อให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อภาคอุตสาหกรรมภายใน 5-10 ปีนี้ และด้วยเทคโนโลยีนี้จะมีส่วนทำให้รายได้ขององค์กรเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% ภายใน 5 ปี ซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงราว 24% ที่คาดหมายว่า อาจทำให้รายได้องค์กรเพิ่มขึ้นมากกว่า 15%

            แต่ขณะเดียวกันมีการสอบถามถึงอุปสรรคสำคัญในการเข้าสู่อุตสาหกรรมโลกเสมือนนี้ 3 อันดับแรก คือ ผลตอบแทนการลงทุนไม่แน่นอน ไม่มีโมเดลทางธุรกิจเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมใหม่ และความขาดแคลนความสามารถในการจัดการเทคโนโลยี Metaverse ให้เข้ากับธุรกิจของตน ขณะเดียวกันหากธุรกิจประสบความสำเร็จในการประยุกต์ธุรกิจเข้ากับโลกเสมือนได้แล้ว ยังมีประเด็นความเสี่ยงซึ่งภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัยทางไซเบอร์

กลยุทธ์ที่แบรนด์ดังใช้ในการเข้าสู่ Metaverse 

            ปัจจุบันมีหลายแบรนด์ที่เห็นว่า โลกเสมือนนี้เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพซึ่งนำโอกาสใหม่ที่สร้างความน่าสนใจให้กับลูกค้าได้ บรรดาแบรนด์ต่างๆ จึงต้องสรรหากลยุทธ์ในหลายรูปแบบเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าในทุกๆ กลุ่มที่เข้ามาในโลกเสมือนของแต่ละ Verse ซึ่งกลยุทธ์ที่ใช้สามารถแบ่งได้ดังนี้ 

            Engagement and Awareness

            เป็นกลยุทธ์พื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุดที่แบรนด์ต่างๆ ใช้เพื่อเข้าสู่โลกเสมือน มีตัวอย่างแบรนด์ Nike ที่ร่วมมือกับ Roblox ซึ่งเป็น 1 ในแพลตฟอร์มเกมชื่อดัง ในการสร้าง Nikeland ขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภค (Awareness) เข้ามาร่วมกิจกรรม เล่นเกม ทั้งยังมีหน้าร้านขายสินค้าให้นำมาตกแต่ง Avatar ของตนได้ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของชาวมิลเลนเนียลและ Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มหลักในโลกเสมือน ทำให้แบรนด์สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ (Engagement) ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักจดจำได้ในหมู่ผู้บริโภคกลุ่มนี้ และเกิดการซื้อสินค้าของแบรนด์ตามมาทั้งในโลกเสมือนและความเป็นจริง 

   


ภาพ Nikeland และห้องแสดงสินค้าของ Nike บนแพลตฟอร์ม Roblox จาก https://marshall-johnstonmm.com

            การจัดอีเวนท์พิเศษ 

            การจัดงานอีเวนท์นี้ มีตัวอย่างของ Warner Bros. ที่ได้ร่วมกับ Roblox แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ ที่มีผู้ใช้งานต่อวันเฉลี่ยมากกว่า 42 ล้านคน ในการจัดงานปาร์ตี้เพื่อฉลองภาพยนตร์เพลงเรื่อง In the Heights ซึ่งสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าจากทั่วโลกผ่านอีเวนท์เพื่อสร้างประสบการณ์ดีๆ ร่วมกัน ไม่เพียงเท่านั้นทั้งสองแบรนด์ยังร่วมงานกันอย่างต่อเนื่องทั้งอีเวนท์ดนตรีและภาพยนตร์ ขณะที่ Wave แพลตฟอร์ม Virtual Music มีการร่วมมือกับเหล่าศิลปินนักร้องเพื่อจัดแสดงคอนเสิร์ตออนไลน์ในโลกเสมือน ซึ่งเหล่าแฟนคลับสามารถใกล้ชิดกับศิลปินที่อยู่ในร่าง Avatar ได้ โดยมีศิลปินชื่อดังอย่าง Justin Bieber, John Legend และ Lindsey Stirling ที่เคยแสดงคอนเสิร์ตในร่าง Avatar บนแพลตฟอร์ม Wave มาแล้ว

   


ภาพ Virtual Concert ของ John Legend และ Justin Bieber บนแพลตฟอร์ม Wave จาก https://wavexr.com

  กลยุทธ์แบบผสมผสานโลกจริงและโลกเสมือนเข้าด้วยกัน

เป็นลักษณะของการผสมผสานการตลาดบนโลกเสมือนเข้ากับโลกความจริง อย่างเช่น แบรนด์ McDonald's นำร้านขายอาหารและเครื่องดื่มของตนเข้าสู่ Metaverse ในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อผ่านร้านที่ไม่เพียงแต่นั่งดื่มกินในโลกเสมือนยังมีบริการจัดส่งถึงที่บ้านในโลกความเป็นจริงได้อีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรูปแบบในความพยายามเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น ทั้งยังตอบสนองสินค้าและบริการได้ในโลกความเป็นจริงได้ในขณะเดียวกัน

Metaverse กับอัญมณีและเครื่องประดับ

            ในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น ผู้ผลิตสินค้าหรูต่างประสบชะตากรรมเดียวกัน ยอดขายนาฬิกาและเครื่องประดับในช่วงปี 2020 ลดลงกว่า 25% ขณะที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้โลกดิจทัลและโลกแห่งความเป็นจริงโน้มเข้ามาหากัน หลายแบรนด์สินค้าหรูจึงก้าวเข้าสู่โลกเสมือนที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ทั้งรูปแบบ NFT ในเกม วิดีโอ หรือเครื่องแต่งกายของตัวละครในโลกเสมือน โดยมีตัวอย่างแบรนด์เครื่องประดับที่เข้าสู่ Metaverse อย่างเช่น 

            Bvlgari

            หากเอ่ยถึงแบรนด์เครื่องประดับระดับโลกแล้ว ชื่อ Bvlgari นับเป็นแบรนด์ระดับต้นๆ ที่คนทั่วโลกนึกถึง ซึ่งในช่วงที่กระแสเทคโนโลยีดิจิทัลเติบโตขึ้นได้เปลี่ยนโฉมหน้าโลกออนไลน์ไปสู่โลกเสมือนจริง แบรนด์ดังจากอิตาลีนี้ก็เข้าร่วมคว้าโอกาสในตลาดที่เกิดขึ้นใหม่นี้ด้วยเช่นกัน โดยการสร้างแอปพลิเคชั่น BVLGARI COLORS ที่มีขึ้นควบคู่กับการจัดงาน Bvlgari Colors: A Journey Between Jewels and Art ณ ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อให้ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมงานจากทั่วโลกได้มีส่วนร่วมชมนิทรรศการด้วย ซึ่งรองรับภาษาอังกฤษและเกาหลี โดยหากใช้ร่วมกับอุปกรณ์ Virtual reality (VR) จะทำให้สามารถสร้าง Avatar ของตัวเองและสามารถออกแบบสไตล์การแต่งตัวที่ชอบด้วยเครื่องประดับจาก Bvlgari หลังจากนั้นก็สามารถเดินชมตามห้องจัดแสดงต่างๆ ที่จัดไว้เช่นเดียวกับงานจริงแบบ 360 องศา นอกจากนี้ ยังมีการร่วมเล่นเกมเพื่อลุ้นรางวัลรายเดือนอีกด้วย

  

ภาพ BVLGARI COLORS จาก www.theglassmagazine.com

            นอกจากนี้ Bvlgari ยังมีความร่วมมือกับ 101 games ในการใช้ระบบ Unreal Engine 5 ซึ่งเป็นระบบสร้างเกมยอดนิยมของผู้พัฒนาเกมหลายเจ้าในปัจจุบัน ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม Metaverse ขึ้นใหม่ ให้มีความสมจริงทั้งวัตถุและแสงเงาเพื่อให้ปรากฏขึ้นบนโลกเสมือนอย่างสมบูรณ์ที่สุด 

   


ภาพจากคลิปทีเซอร์แนะนำแพลตฟอร์ม Metaverse ของ Bvlgari จาก https://www.youtube.com/watch?v=6hbVgnQ2xJk

            JEVELS

            Ms. Zuzana Bastian ผู้ก่อตั้งแบรนด์เครื่องประดับ JEVELS ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2021 ด้วยการมองเห็นโอกาสที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การทำงานและพบปะระหว่างกันต้องทำผ่านโปรแกรมประชุมออนไลน์ต่างๆ เป็นเวลายาวนานในแต่ละวัน ได้มองหาแนวทางการแต่งตัวและแฟชั่นที่สามารถทำให้ชั่วโมงการประชุมมีชีวิตชีวามากขึ้น กระทั่งได้พบการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ 3D (Digital Fashion) จึงเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียการสร้างแพลตฟอร์มร้านค้าที่ลูกค้าสามารถซื้อหาเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายแฟชั่น ซึ่งนำมาใช้เสมือนสวมใส่เครื่องประดับเหล่านั้นได้ในหลายแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์หรือการวิดีโอคอลอย่างเช่น Google Meet, Microsoft Teams, Skype หรือ  Zoom เป็นต้น รวมทั้งยังรองรับอุปกรณ์ AR และการสวมใส่เครื่องประดับให้ Avatar ในโลก Metaverse ได้อีกด้วย


ภาพจากคลิปสาธิตวิธีการใส่เครื่องประดับด้วยโปรแกรม Snap Camera จาก https://jevels.com/pages/how-it-works


ปัจจัยเสี่ยงและปัญหาของ Metaverse

            จากที่กล่าวมานั้นเราได้เห็นโอกาสที่หลากหลายแบรนด์ใช้เพื่อขยายช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภคในรูปแบบต่างๆ แต่ในโอกาสเหล่านั้นยังมีปัจจัยที่ผู้สนใจเข้าร่วมไขว่คว้าต้องพึ่งระมัดระวังและศึกษาก่อนที่ก้าวสู่โลกเสมือน อย่างเช่น

            ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดก่อให้เกิดตลาดเศรษฐกิจขึ้นใหม่ในโลกเสมือนจริงซึ่งนับวันจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หลายธุรกิจก้าวเข้ามาในโลกที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่นี้เพื่อแสวงหาโอกาสและพยายามทำความรู้จักกับกลุ่มลูกค้า สร้างปฏิสัมพันธ์และส่วนแบ่งการตลาด ให้ได้ก่อนแบรนด์อื่น แต่ขณะเดียวกันโลกเสมือนนี้ยังมีข้อควรระวัง สิ่งที่ยังไม่รับรู้ และความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ผู้สนใจจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจก่อนที่จะก้าวเข้าไปในโลกใหม่ที่เพิ่งก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาไม่นานแห่งนี้ 




ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข


ข้อมูลอ้างอิง


1) Forbes. 2022. The Future Of Brand Opportunities In The Metaverse. [Online]. Available at: https://www.forbes.com. (Retrieved July 8,2022).
2) Marshall Johnstonmm. 2022. NIKELAND: VIRTUAL REALITY RETAIL. [Online]. Available at: https://marshall-johnstonmm.com/2021/11/30/nikeland-virtual-reality-retail/. (Retrieved July 8,2022).
3) Yahoo Finance. 2022. McDonald’s is Entering the Metaverse: Order Real Burgers via Virtual World. [Online]. Available at: https://finance.yahoo.com/news. (Retrieved July 12,2022).
4) Joshua Hendren. 2021. Bulgari enters the metaverse with new Bulgari Colours virtual reality app. [Online]. Available at: https://www.theglassmagazine.com. (Retrieved July 12,2022).
5) Tech Game World. 2022. Bulgari enters the metaverse with Experiency. [Online]. Available at: https://techgameworld.com/bulgari-enters-the-metaverse-with-experiency. (Retrieved July 12,2022).
6) JEVELS. 2022. ABOUT US. [Online]. Available at: https://jevels.com/pages/about-us. (Retrieved July 12,2022).
7) Bernard Marr. 2022. 7 Important Problems & Disadvantages Of The Metaverse. [Online]. Available at: https://bernardmarr.com. (Retrieved July 12,2022).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site