ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

งานออกแบบเครื่องประดับและอัญมณี มูลค่าเพิ่มที่สร้างจากแรงบันดาลใจ

Mar 18, 2020
1643 views
0 share

            เทรนด์ต่างๆ ที่นำเสนอแก่ผู้บริโภคนั้นมีหลากหลายและมากมายราวกับคลื่นแต่ละลูกที่ติดตามมากระทบฝั่งอยู่ตลอดเวลา แม้ว่านวัตกรรมเทคโนโลยีจะเป็นกระแสหลักที่ผู้คนให้ความสนใจในทุกมิติ ทุกวงการ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดจนกลืนกิน (Disruption) นวัตกรรมเดิมๆ ที่ไม่อาจสร้างมูลค่าเพิ่มหรือสร้างสรรค์สินค้าและบริการมาตอบสนองให้ผู้บริโภคสนใจได้อีกต่อไป หลากหลายธุรกิจต้องปรับเปลี่ยน และปรับตัวขนานใหญ่ รวมทั้งธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับก็เช่นกัน ทว่าการปรับตัวดังกล่าวอาจเรียกได้ว่า ปรับเพื่อให้เข้ากับศาสตร์ (Science) ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ขณะเดียวกันยังมีการประยุกต์อีกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ นั่นก็คือ ศิลป์ (Arts)

ศิลปะกับอัญมณีและเครื่องประดับ

              บริษัทอัญมณีและเครื่องประดับจำนวนมากให้ความสนใจที่การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต ทั้งที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตทั้งหมด จะดีกว่าหรือไม่หากบริษัทมุ่งลดความผิดพลาดที่เป็นจุดสำคัญในกระบวนการผลิตและใส่ใจกับการสร้างมูลค่าเพิ่มแทน มีบริษัทมากมายในธุรกิจ
อัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลกแต่กลับมีแบรนด์ดังเพียงหยิบมือที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สิ่งหนึ่งที่ทำให้แบรนด์เหล่านั้นเป็นที่รู้จัก คือการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ เช่นเดียวกับที่มีการสำรวจพบว่า การออกแบบสินค้า เป็นปัจจัยที่ถูกคำนึงถึงมากที่สุดสำหรับคนรุ่น Millennials ซึ่งคนกลุ่มนี้คือ ผู้บริโภคหลักในตลาด ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ อัญมณี สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือของแต่งบ้าน การออกแบบจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งไม่อาจมองข้าม

              นอกจากการตลาดและกระบวนการผลิต การออกแบบถือเป็นหัวใจของแบรนด์ ทำไม Tiffany & Co. ถึงดึงดูดใจลูกค้า หรือทำไม David Yurman จึงเป็นผู้ทรงอิทธิพลในธุรกิจนี้ เพราะแบรนด์เหล่านี้ให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เสมอ ทั้งนี้ ในปี 2019 มีการจัดอันดับแบรนด์เครื่องประดับที่ออกแบบเป็นที่นิยมมากที่สุด 15 อันดับไว้ดังนี้


อันดับที่ 1-15 จากซ้ายไปขวา แถวบนสุด คือ Tiffany & Co., Cartier, BVLGARI แถวที่ 2 Harry Winston, Van Cleef & Arpels, Chopard, David Yurman แถวที่ 3 Buccellati, Boucheron, Hermes, Chanel และแถวล่างสุด Dior, Mikimoto, H. Stern และ Graff

              กระแสการเล่าเรื่องราวของเครื่องประดับแต่ละชิ้น การค้นหาประวัติความเป็นมา การเชื่อมโยงกับธรรรมชาติและสัตว์ วัฒนธรรม ประเพณี เหล่านี้เป็นคลื่นกระแสหลักที่ก้าวเข้ามาพร้อมๆ กับลักษณะการบริโภคสินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีความโดดเด่นแตกต่างจากสินค้าและบริการทั่วไปของกลุ่ม Millennial ซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่มที่มีความต้องการในการบริโภคสูง นิยาม “ของมันต้องมี” ซึ่งเกิดขึ้นตามพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ยิ่งทำให้การสร้างเอกลักษณ์ของชิ้นงานไม่อาจมองข้ามได้ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ดังระดับโลกหรือท้องถิ่นก็ตาม ดีไซเนอร์ผู้ถ่ายทอดความรู้สึก แนวคิดต่างๆ ทางศิลปะผ่านแต่ละชิ้นงานจึงมีความสำคัญ ด้วยแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานให้ดึงดูดใจผู้บริโภค พวกเขามีไอเดียเกิดขึ้นที่ไหนและแรงบันดาลใจเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง ติดตามได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

David Yurman



ภาพ bronze Dante necklace จาก  https://news.artnet.com
 
              David Yurman ตำนานที่ยังมีชีวิต ผู้เป็นต้นแบบแห่งแรงบันดาลใจไร้กาลเวลา ผ่านการใช้นวัตกรรมและงานฝีมือที่เชี่ยวชาญด้วยการสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนาน กระทั่งก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์เครื่องประดับและนาฬิกาชั้นแนวหน้าของโลกซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เขาก้าวเข้าสู่วงการอัญมณีและเครื่องประดับตั้งแต่อยู่มัธยม ด้วยการเรียนรู้การเชื่อมโลหะจากช่างประติมากรรมใน Provincetown ด้วยความหลงใหลในศิลปะนำพาเขามาพบ Sybil Kleinrock สาวผู้หลงใหลในงานศิลปะเช่นเดียวกัน และทั้งคู่ได้คบหาดูใจกันกระทั่งเขาได้ทำสร้อยคอบรอนซ์ซึ่งเรียกว่า bronze Dante  necklace ให้เป็นของขวัญเธอ ซึ่งไปเข้าตาหอศิลป์และขอให้เขาทำสร้อยคอแบบเดียวกันนั้นซึ่งสามารถขายได้จนหมด  

             ทั้งคู่แต่งงานและร่วมกันสร้างธุรกิจเครื่องประดับร่วมกันในนิวยอร์กปี 1980 โดยมีแรงบันดาลใจจากงานศิลปะและการออกแบบ ซึ่งความตั้งใจของทั้งคู่นั้นไม่ใช่การทำธุรกิจ แต่คือ การออกแบบสร้างสรรค์เครื่องประดับที่สวยงามเพื่อให้ทุกคนสวมใส่ นอกจากนี้ ในการโฆษณาภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้น เขามักจะใช้โทนขาวดำเป็นหลักซึ่งได้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ทุกคนจดจำถึงทุกวันนี้

 

รูปจาก https://www.mainstreetroi.com
 
            David Yurman ยังสร้างมาตรฐานความพึงพอใจให้ลูกค้าหลายกลุ่มเพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องประดับอัญมณีหรูหราโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง ดังเช่นสร้อยข้อมือที่มีช่วงราคาตั้งแต่ 750 ดอลลาร์สหรัฐจนถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่างกันที่ประเภทของหินและอัญมณีมีค่าที่ตกแต่งบนตัวเรือนแต่ใช้วัสดุมีคุณภาพเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ เอกลักษณ์ของแบรนด์ David Yurman ที่เรามักพบเห็นได้ คือ มีลักษณะเป็นเส้นลวดเล็กๆ ถักเชื่อมกันเป็นเกลียว แรงบันดาลใจนี้มาจากเมื่อวัยเด็ก เขาชอบเข้าไปเล่นในป่าซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ห้อยระย้าด้วยเถาวัลย์ที่พันกันเป็นเกลียวอย่างแข็งแรง เขารู้สึกเป็นอิสระและกลมกลืนกับธรรมชาติเมื่อได้โหนไปมาบนเถาวัลย์เหล่านั้น ผลงานของเขาจึงเสมือนเป็นการเชื่อมโยงโลกยุคดั้งเดิมเข้ากับโลกยุคปัจจุบัน

 

ลักษณะเครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์ของ David Yurman รูปจาก https://brombergs.com
 
Hajime Ando

              ชาวอาทิตย์อุทัยผู้ซึ่งหลงใหลในวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมแบบโรมันในอิตาลี นำเอาศิลปะแบบโรมัน สถาปัตยกรรม ลวดลายตามท้องถนน มาผสมผสานเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับ ด้วยความใส่ใจในรายละเอียดของเขานำมาซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานอย่างพิถีพิถันอันทรงคุณค่าน่าชื่นชม Hajime Ando เรียนจบสาขาช่างฝีมือโลหะ ก่อนที่การเดินทางมาท่องเที่ยวอิตาลีจะเปลี่ยนโลกของเขาไปตลอดกาล

              หลังจากเขาได้มาเที่ยวอิตาลีและต้องมนต์สะกดในสิ่งต่างๆ ที่สะท้อนภาพให้เขาเห็น ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น สถาปัตยกรรม การออกแบบ ภาพยนตร์ และวัฒนธรรม เขาใช้เวลา 5 ปีเพื่อเรียนภาษาอิตาเลี่ยนในญี่ปุ่น ก่อนย้ายมาอยู่ที่วาเลนเซีย เมืองแห่งศิลปะ เขาใช้เวลาฝึกฝนพัฒนาทักษะด้านงานฝีมือและการออกแบบเครื่องประดับ โดยได้โอกาสเข้าสู่วงการนี้ในฐานะนักออกแบบเครื่องประดับให้แบรนด์ LUCA CARTI จากนั้นด้วยพัฒนาการที่โดดเด่นเขาจึงก้าวขึ้นมาเป็น 1 ใน 7 นักออกแบบของแบรนด์ชั้นนำ BVLGARI ในกรุงโรม โดยลักษณะงานของเขาเป็นการผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์โรมันกับการออกแบบสมัยใหม่ซึ่งสามารถผสานกันได้อย่างลงตัว

 
 
ภาพซ้าย แรงบันดาลใจจากโคลอสเซียม   ภาพขวา แรงบันดาลใจจากหินทางเท้าในกรุงโรม 
 
              หลังจากทำงานกับแบรนด์ BVLGARI มานานนับ 10 ปี Hajime Ando ผันตัวมาเป็นที่ปรึกษา ออกแบบโครงร่างต้นแบบให้แบรนด์ startup ทั้งในยุโรปและญี่ปุ่น กระทั่งตอนนี้ เขาเลือกประเทศไทยเป็นที่ค้นหาแรงบันดาลใจในการออกแบบและวางแผนจะสร้างแบรนด์ใหม่ในไทยและทำให้ made in Thailand เป็นแบรนด์ที่รู้จักในระดับโลก

 
 
ภาพกำไลข้อมือที่ Hajime Ando ได้แรงบันดาลใจจากสีของร่มตลาดนัดกลางคืนในกรุงเทพฯ

              Hajime Ando ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้สนใจต้องการเป็นดีไซน์เนอร์เครื่องประดับว่า ต้องไม่ละทิ้งสิ่งต่างๆ ที่พบเจอ คุณจะต้องให้เวลาใส่ใจกับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อเข้าใจถึงแก่นและเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้พบเจอ โอกาสถึงเกิดขึ้นได้

Nisan Ongwuthitham

              คุณนิสันต์ องค์วุฒิธรรม ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแบรนด์เครื่องประดับ Ong Jewelry Design หรือที่รู้จักกันในชื่อ NISAN ONG แบรนด์ไทยที่ก้าวไปเป็นที่รู้จักในระดับโลก ความชื่นชอบในการสะสมงานศิลป์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด งานแกะสลัก รวมทั้ง
อัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้ ความหลงใหลและความรักในการออกแบบต้องการให้งานปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม จึงนำเขามาสู่วงการอัญมณีและเครื่องประดับในที่สุด งานออกแบบของเขาได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์สำคัญ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีในวัฒนธรรมไทยตลอดจนความเชื่อความศรัทธา และธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์ป่าและดอกไม้ที่เขานิยมใช้ในการออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งเขาเปรียบสองสิ่งนี้เป็นหยินกับหยาง

              ธุรกิจของเขาเริ่มจากการเป็นร้านขายเครื่องประดับทั่วไปในห้างสรรพสินค้า ก่อนที่เพื่อนในแทนซาเนียจะส่งแทนซาไนท์
อัญมณีที่มีสีม่วงอมฟ้าที่ยังไม่ผ่านการเจียระไนมาให้ จุดประกายความคิดและสร้างจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขานับจากนั้น ถือว่าแทนซาไนท์เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่สร้างชื่อให้งานของเขาเป็นที่รู้จักในวงการเครื่องประดับชั้นสูง

              แม้ว่าจะได้รับยอดสั่งซื้อจากลูกค้าทั่วโลกแต่เมื่อตลาดในยุโรปชะลอตัวลง คุณนิสันต์ก็มองหาตลาดทดแทนในเอเชียโดยเฉพาะจีน ฮ่องกง ไต้หวัน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งมีฐานลูกค้าอยู่ ขณะที่ตลาดตะวันออกกลางยังรอผลตอบรับจากลูกค้าก่อนที่จะขยายตลาดในอนาคต งานเครื่องประดับทุกชิ้นของเขาทำด้วยมืออย่างตั้งใจเพื่อเป็นงานชิ้นพิเศษตามที่ลูกค้าต้องการ โดยราคาเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5,000-10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อชิ้น


 
    
ผลงานเครื่องประดับของแบรนด์ NISAN ONG รูปจาก  http://www.nisanong.com
  
              คุณนิสันต์ได้ฝากถึงผู้ที่จะเข้ามาในวงการ
อัญมณีและเครื่องประดับ ผ่านการสัมภาษณ์ของนิตยสาร JNA ว่า งานที่เขาทำไม่ใช่แค่การทำธุรกิจ แต่เป็นความหลงใหลที่มีมาอย่างยาวนานตลอดชั่วชีวิต สิ่งนี้เป็นเหมือนหลักปรัชญาต่ออาชีพที่ส่งต่อไปยังงานทุกๆ ชิ้นที่ผลิตขึ้น การให้ความสำคัญแต่ด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียวจะทำให้หลงทางได้ แต่ละผลงานที่ออกมาไม่ใช่เพื่อเงินแต่ผลิตออกมาจากความรักและการอุทิศตัวให้แต่ละชิ้นงาน ด้วยการเลือกที่จะทำตามสัญชาตญาณมากกว่าการตามกระแส

              การออกแบบนอกจากจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานจากแรงบันดาลใจที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเพิ่มมูลค่าสินค้า แม้ว่าการแข่งขันด้านราคาจะทวีความรุนแรงขึ้น แต่แบรนด์ใหญ่ในอุตสาหกรรม
อัญมณีและเครื่องประดับต่างไม่ยอมพาตัวเองเข้าสู่สงครามการตัดราคา แต่เลือกการออกแบบผลงานใหม่ๆ ผ่านดีไซน์เนอร์ เพราะสิ่งนี้เป็นทางที่ผู้ประกอบการควรเลือกเพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่ๆ รวมทั้งเป็นการโน้มน้าวใจลูกค้าเดิมให้มีความภักดีต่อแบรนด์อย่างต่อเนื่องได้ดีกว่าการตัดราคาซึ่งไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มใดๆ และเป็นการลดความน่าสนใจต่ออัญมณีและเครื่องประดับในระยะยาวด้วย  
 

ข้อมูลอ้างอิง


1) Top 15 Designer Jewelry Brands In The World. Retrieved December 17, 2019. from https://www.stylecraze.com2) Designer discusses roots of David Yurman collection. Retrieved December 12, 2019. from https://www.latimes.com3) A BOOK FOR COLLECTORS: David Yurman Cable. Retrieved December 12, 2019. from https://www.davidyurman.com4) The Jewelry Industry's Design Dilemma. Retrieved December 10, 2019. from https://www.forbes.com5) INTRODUCING HAJIME ANDO: EX-BVLGARI DESIGNER. Retrieved December 9, 2019. from  https://artmeetsjewellery.com6) Creating with passion and harmony. Retrieved December 11, 2019 from https://www.jewellerynet.com7) http://www.nisanong.com8) Thai jeweller offers a fresh twist on classic designs. Retrieved December 11, 2019 from https://www.jewellerynet.com

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

งานออกแบบเครื่องประดับและอัญมณี มูลค่าเพิ่มที่สร้างจากแรงบันดาลใจ

Mar 18, 2020
1643 views
0 share

            เทรนด์ต่างๆ ที่นำเสนอแก่ผู้บริโภคนั้นมีหลากหลายและมากมายราวกับคลื่นแต่ละลูกที่ติดตามมากระทบฝั่งอยู่ตลอดเวลา แม้ว่านวัตกรรมเทคโนโลยีจะเป็นกระแสหลักที่ผู้คนให้ความสนใจในทุกมิติ ทุกวงการ สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดจนกลืนกิน (Disruption) นวัตกรรมเดิมๆ ที่ไม่อาจสร้างมูลค่าเพิ่มหรือสร้างสรรค์สินค้าและบริการมาตอบสนองให้ผู้บริโภคสนใจได้อีกต่อไป หลากหลายธุรกิจต้องปรับเปลี่ยน และปรับตัวขนานใหญ่ รวมทั้งธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับก็เช่นกัน ทว่าการปรับตัวดังกล่าวอาจเรียกได้ว่า ปรับเพื่อให้เข้ากับศาสตร์ (Science) ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ขณะเดียวกันยังมีการประยุกต์อีกแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ นั่นก็คือ ศิลป์ (Arts)

ศิลปะกับอัญมณีและเครื่องประดับ

              บริษัทอัญมณีและเครื่องประดับจำนวนมากให้ความสนใจที่การลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต ทั้งที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตทั้งหมด จะดีกว่าหรือไม่หากบริษัทมุ่งลดความผิดพลาดที่เป็นจุดสำคัญในกระบวนการผลิตและใส่ใจกับการสร้างมูลค่าเพิ่มแทน มีบริษัทมากมายในธุรกิจ
อัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลกแต่กลับมีแบรนด์ดังเพียงหยิบมือที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย สิ่งหนึ่งที่ทำให้แบรนด์เหล่านั้นเป็นที่รู้จัก คือการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ เช่นเดียวกับที่มีการสำรวจพบว่า การออกแบบสินค้า เป็นปัจจัยที่ถูกคำนึงถึงมากที่สุดสำหรับคนรุ่น Millennials ซึ่งคนกลุ่มนี้คือ ผู้บริโภคหลักในตลาด ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ อัญมณี สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ หรือของแต่งบ้าน การออกแบบจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งไม่อาจมองข้าม

              นอกจากการตลาดและกระบวนการผลิต การออกแบบถือเป็นหัวใจของแบรนด์ ทำไม Tiffany & Co. ถึงดึงดูดใจลูกค้า หรือทำไม David Yurman จึงเป็นผู้ทรงอิทธิพลในธุรกิจนี้ เพราะแบรนด์เหล่านี้ให้ความสำคัญกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เสมอ ทั้งนี้ ในปี 2019 มีการจัดอันดับแบรนด์เครื่องประดับที่ออกแบบเป็นที่นิยมมากที่สุด 15 อันดับไว้ดังนี้


อันดับที่ 1-15 จากซ้ายไปขวา แถวบนสุด คือ Tiffany & Co., Cartier, BVLGARI แถวที่ 2 Harry Winston, Van Cleef & Arpels, Chopard, David Yurman แถวที่ 3 Buccellati, Boucheron, Hermes, Chanel และแถวล่างสุด Dior, Mikimoto, H. Stern และ Graff

              กระแสการเล่าเรื่องราวของเครื่องประดับแต่ละชิ้น การค้นหาประวัติความเป็นมา การเชื่อมโยงกับธรรรมชาติและสัตว์ วัฒนธรรม ประเพณี เหล่านี้เป็นคลื่นกระแสหลักที่ก้าวเข้ามาพร้อมๆ กับลักษณะการบริโภคสินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีความโดดเด่นแตกต่างจากสินค้าและบริการทั่วไปของกลุ่ม Millennial ซึ่งเป็นผู้บริโภคกลุ่มที่มีความต้องการในการบริโภคสูง นิยาม “ของมันต้องมี” ซึ่งเกิดขึ้นตามพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ยิ่งทำให้การสร้างเอกลักษณ์ของชิ้นงานไม่อาจมองข้ามได้ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ดังระดับโลกหรือท้องถิ่นก็ตาม ดีไซเนอร์ผู้ถ่ายทอดความรู้สึก แนวคิดต่างๆ ทางศิลปะผ่านแต่ละชิ้นงานจึงมีความสำคัญ ด้วยแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานให้ดึงดูดใจผู้บริโภค พวกเขามีไอเดียเกิดขึ้นที่ไหนและแรงบันดาลใจเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง ติดตามได้จากตัวอย่างต่อไปนี้

David Yurman



ภาพ bronze Dante necklace จาก  https://news.artnet.com
 
              David Yurman ตำนานที่ยังมีชีวิต ผู้เป็นต้นแบบแห่งแรงบันดาลใจไร้กาลเวลา ผ่านการใช้นวัตกรรมและงานฝีมือที่เชี่ยวชาญด้วยการสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนาน กระทั่งก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์เครื่องประดับและนาฬิกาชั้นแนวหน้าของโลกซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เขาก้าวเข้าสู่วงการอัญมณีและเครื่องประดับตั้งแต่อยู่มัธยม ด้วยการเรียนรู้การเชื่อมโลหะจากช่างประติมากรรมใน Provincetown ด้วยความหลงใหลในศิลปะนำพาเขามาพบ Sybil Kleinrock สาวผู้หลงใหลในงานศิลปะเช่นเดียวกัน และทั้งคู่ได้คบหาดูใจกันกระทั่งเขาได้ทำสร้อยคอบรอนซ์ซึ่งเรียกว่า bronze Dante  necklace ให้เป็นของขวัญเธอ ซึ่งไปเข้าตาหอศิลป์และขอให้เขาทำสร้อยคอแบบเดียวกันนั้นซึ่งสามารถขายได้จนหมด  

             ทั้งคู่แต่งงานและร่วมกันสร้างธุรกิจเครื่องประดับร่วมกันในนิวยอร์กปี 1980 โดยมีแรงบันดาลใจจากงานศิลปะและการออกแบบ ซึ่งความตั้งใจของทั้งคู่นั้นไม่ใช่การทำธุรกิจ แต่คือ การออกแบบสร้างสรรค์เครื่องประดับที่สวยงามเพื่อให้ทุกคนสวมใส่ นอกจากนี้ ในการโฆษณาภาพลักษณ์ของแบรนด์นั้น เขามักจะใช้โทนขาวดำเป็นหลักซึ่งได้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ทุกคนจดจำถึงทุกวันนี้

 

รูปจาก https://www.mainstreetroi.com
 
            David Yurman ยังสร้างมาตรฐานความพึงพอใจให้ลูกค้าหลายกลุ่มเพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องประดับอัญมณีหรูหราโดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นลูกค้าที่มีกำลังซื้อสูง ดังเช่นสร้อยข้อมือที่มีช่วงราคาตั้งแต่ 750 ดอลลาร์สหรัฐจนถึง 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่างกันที่ประเภทของหินและอัญมณีมีค่าที่ตกแต่งบนตัวเรือนแต่ใช้วัสดุมีคุณภาพเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ เอกลักษณ์ของแบรนด์ David Yurman ที่เรามักพบเห็นได้ คือ มีลักษณะเป็นเส้นลวดเล็กๆ ถักเชื่อมกันเป็นเกลียว แรงบันดาลใจนี้มาจากเมื่อวัยเด็ก เขาชอบเข้าไปเล่นในป่าซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ห้อยระย้าด้วยเถาวัลย์ที่พันกันเป็นเกลียวอย่างแข็งแรง เขารู้สึกเป็นอิสระและกลมกลืนกับธรรมชาติเมื่อได้โหนไปมาบนเถาวัลย์เหล่านั้น ผลงานของเขาจึงเสมือนเป็นการเชื่อมโยงโลกยุคดั้งเดิมเข้ากับโลกยุคปัจจุบัน

 

ลักษณะเครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์ของ David Yurman รูปจาก https://brombergs.com
 
Hajime Ando

              ชาวอาทิตย์อุทัยผู้ซึ่งหลงใหลในวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมแบบโรมันในอิตาลี นำเอาศิลปะแบบโรมัน สถาปัตยกรรม ลวดลายตามท้องถนน มาผสมผสานเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเครื่องประดับ ด้วยความใส่ใจในรายละเอียดของเขานำมาซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานอย่างพิถีพิถันอันทรงคุณค่าน่าชื่นชม Hajime Ando เรียนจบสาขาช่างฝีมือโลหะ ก่อนที่การเดินทางมาท่องเที่ยวอิตาลีจะเปลี่ยนโลกของเขาไปตลอดกาล

              หลังจากเขาได้มาเที่ยวอิตาลีและต้องมนต์สะกดในสิ่งต่างๆ ที่สะท้อนภาพให้เขาเห็น ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น สถาปัตยกรรม การออกแบบ ภาพยนตร์ และวัฒนธรรม เขาใช้เวลา 5 ปีเพื่อเรียนภาษาอิตาเลี่ยนในญี่ปุ่น ก่อนย้ายมาอยู่ที่วาเลนเซีย เมืองแห่งศิลปะ เขาใช้เวลาฝึกฝนพัฒนาทักษะด้านงานฝีมือและการออกแบบเครื่องประดับ โดยได้โอกาสเข้าสู่วงการนี้ในฐานะนักออกแบบเครื่องประดับให้แบรนด์ LUCA CARTI จากนั้นด้วยพัฒนาการที่โดดเด่นเขาจึงก้าวขึ้นมาเป็น 1 ใน 7 นักออกแบบของแบรนด์ชั้นนำ BVLGARI ในกรุงโรม โดยลักษณะงานของเขาเป็นการผสมผสานระหว่างประวัติศาสตร์โรมันกับการออกแบบสมัยใหม่ซึ่งสามารถผสานกันได้อย่างลงตัว

 
 
ภาพซ้าย แรงบันดาลใจจากโคลอสเซียม   ภาพขวา แรงบันดาลใจจากหินทางเท้าในกรุงโรม 
 
              หลังจากทำงานกับแบรนด์ BVLGARI มานานนับ 10 ปี Hajime Ando ผันตัวมาเป็นที่ปรึกษา ออกแบบโครงร่างต้นแบบให้แบรนด์ startup ทั้งในยุโรปและญี่ปุ่น กระทั่งตอนนี้ เขาเลือกประเทศไทยเป็นที่ค้นหาแรงบันดาลใจในการออกแบบและวางแผนจะสร้างแบรนด์ใหม่ในไทยและทำให้ made in Thailand เป็นแบรนด์ที่รู้จักในระดับโลก

 
 
ภาพกำไลข้อมือที่ Hajime Ando ได้แรงบันดาลใจจากสีของร่มตลาดนัดกลางคืนในกรุงเทพฯ

              Hajime Ando ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้สนใจต้องการเป็นดีไซน์เนอร์เครื่องประดับว่า ต้องไม่ละทิ้งสิ่งต่างๆ ที่พบเจอ คุณจะต้องให้เวลาใส่ใจกับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อเข้าใจถึงแก่นและเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้พบเจอ โอกาสถึงเกิดขึ้นได้

Nisan Ongwuthitham

              คุณนิสันต์ องค์วุฒิธรรม ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแบรนด์เครื่องประดับ Ong Jewelry Design หรือที่รู้จักกันในชื่อ NISAN ONG แบรนด์ไทยที่ก้าวไปเป็นที่รู้จักในระดับโลก ความชื่นชอบในการสะสมงานศิลป์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด งานแกะสลัก รวมทั้ง
อัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้ ความหลงใหลและความรักในการออกแบบต้องการให้งานปรากฏออกมาเป็นรูปธรรม จึงนำเขามาสู่วงการอัญมณีและเครื่องประดับในที่สุด งานออกแบบของเขาได้แรงบันดาลใจจากเหตุการณ์สำคัญ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีในวัฒนธรรมไทยตลอดจนความเชื่อความศรัทธา และธรรมชาติ โดยเฉพาะสัตว์ป่าและดอกไม้ที่เขานิยมใช้ในการออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งเขาเปรียบสองสิ่งนี้เป็นหยินกับหยาง

              ธุรกิจของเขาเริ่มจากการเป็นร้านขายเครื่องประดับทั่วไปในห้างสรรพสินค้า ก่อนที่เพื่อนในแทนซาเนียจะส่งแทนซาไนท์
อัญมณีที่มีสีม่วงอมฟ้าที่ยังไม่ผ่านการเจียระไนมาให้ จุดประกายความคิดและสร้างจุดเปลี่ยนในชีวิตของเขานับจากนั้น ถือว่าแทนซาไนท์เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่สร้างชื่อให้งานของเขาเป็นที่รู้จักในวงการเครื่องประดับชั้นสูง

              แม้ว่าจะได้รับยอดสั่งซื้อจากลูกค้าทั่วโลกแต่เมื่อตลาดในยุโรปชะลอตัวลง คุณนิสันต์ก็มองหาตลาดทดแทนในเอเชียโดยเฉพาะจีน ฮ่องกง ไต้หวัน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งมีฐานลูกค้าอยู่ ขณะที่ตลาดตะวันออกกลางยังรอผลตอบรับจากลูกค้าก่อนที่จะขยายตลาดในอนาคต งานเครื่องประดับทุกชิ้นของเขาทำด้วยมืออย่างตั้งใจเพื่อเป็นงานชิ้นพิเศษตามที่ลูกค้าต้องการ โดยราคาเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5,000-10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อชิ้น


 
    
ผลงานเครื่องประดับของแบรนด์ NISAN ONG รูปจาก  http://www.nisanong.com
  
              คุณนิสันต์ได้ฝากถึงผู้ที่จะเข้ามาในวงการ
อัญมณีและเครื่องประดับ ผ่านการสัมภาษณ์ของนิตยสาร JNA ว่า งานที่เขาทำไม่ใช่แค่การทำธุรกิจ แต่เป็นความหลงใหลที่มีมาอย่างยาวนานตลอดชั่วชีวิต สิ่งนี้เป็นเหมือนหลักปรัชญาต่ออาชีพที่ส่งต่อไปยังงานทุกๆ ชิ้นที่ผลิตขึ้น การให้ความสำคัญแต่ด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียวจะทำให้หลงทางได้ แต่ละผลงานที่ออกมาไม่ใช่เพื่อเงินแต่ผลิตออกมาจากความรักและการอุทิศตัวให้แต่ละชิ้นงาน ด้วยการเลือกที่จะทำตามสัญชาตญาณมากกว่าการตามกระแส

              การออกแบบนอกจากจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานจากแรงบันดาลใจที่เป็นนามธรรมให้ออกมาเป็นรูปธรรมแล้ว ยังเป็นปัจจัยที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเพิ่มมูลค่าสินค้า แม้ว่าการแข่งขันด้านราคาจะทวีความรุนแรงขึ้น แต่แบรนด์ใหญ่ในอุตสาหกรรม
อัญมณีและเครื่องประดับต่างไม่ยอมพาตัวเองเข้าสู่สงครามการตัดราคา แต่เลือกการออกแบบผลงานใหม่ๆ ผ่านดีไซน์เนอร์ เพราะสิ่งนี้เป็นทางที่ผู้ประกอบการควรเลือกเพื่อดึงดูดลูกค้ารายใหม่ๆ รวมทั้งเป็นการโน้มน้าวใจลูกค้าเดิมให้มีความภักดีต่อแบรนด์อย่างต่อเนื่องได้ดีกว่าการตัดราคาซึ่งไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มใดๆ และเป็นการลดความน่าสนใจต่ออัญมณีและเครื่องประดับในระยะยาวด้วย  
 

ข้อมูลอ้างอิง


1) Top 15 Designer Jewelry Brands In The World. Retrieved December 17, 2019. from https://www.stylecraze.com2) Designer discusses roots of David Yurman collection. Retrieved December 12, 2019. from https://www.latimes.com3) A BOOK FOR COLLECTORS: David Yurman Cable. Retrieved December 12, 2019. from https://www.davidyurman.com4) The Jewelry Industry's Design Dilemma. Retrieved December 10, 2019. from https://www.forbes.com5) INTRODUCING HAJIME ANDO: EX-BVLGARI DESIGNER. Retrieved December 9, 2019. from  https://artmeetsjewellery.com6) Creating with passion and harmony. Retrieved December 11, 2019 from https://www.jewellerynet.com7) http://www.nisanong.com8) Thai jeweller offers a fresh twist on classic designs. Retrieved December 11, 2019 from https://www.jewellerynet.com

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site