ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ต่างชาติแห่ลงทุนเวียดนาม โอกาสและความท้าทายของเครื่องประดับไทย

Feb 1, 2023
3829 views
1 share

            ในช่วงที่โลกเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจในหลายประเทศถดถอยลง แต่เศรษฐกิจของเวียดนามกลับเติบโตเป็นบวก การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ1  และอานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้บริษัทต่างๆ ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน หรือขยายฐานการผลิตเพื่อกระจายความเสี่ยง รวมถึงเวียดนามมีแรงงานวัยหนุ่มสาวมากเกินครึ่งประเทศ แรงงานมีทักษะฝีมือดี และค่าจ้างแรงงานยังอยู่ในระดับแข่งขันได้ อีกทั้งยังมีข้อตกลงทางการค้ากับหลายประเทศมหาอำนาจ ซึ่งเป็นปัจจัยดึงดูดให้บริษัทต่างชาติจากหลากหลายธุรกิจรวมถึงธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับต่างทยอยเข้าไปลงทุนตั้งฐานการผลิตในเวียดนาม ซึ่งการที่ต่างชาติแห่เข้าไปลงทุนในเวียดนามนั้น จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยหรือไม่อย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ 

การลงทุนจากต่างประเทศในเวียดนาม

            เวียดนามกลายเป็นดาวเด่นของเอเชีย ท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งเวียดนามรอดพ้นจากวิกฤติในครั้งนี้ จากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เน้นการบริโภคในประเทศเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของ GDP ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากข้อมูลของ World Bank ที่พบว่า ในปี 2020 เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเป็นบวกโดยเศรษฐกิจขยายตัวได้ 2.94% ในขณะที่ประเทศอื่นในอาเซียนไม่ว่าจะเป็นไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เศรษฐกิจต่างหดตัวลง 6.20%, 2.07%, 5.65%, 9.52% และ 4.14% ตามลำดับ ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2022 พบว่าเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตสูง 8.80% ในขณะที่ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวราว 3.10%, 5.39%, 9.36%, 7.76% และ 4.2% ตามลำดับ ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นได้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติให้ไหลเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกและเศรษฐกิจของเวียดนามให้เติบโตสูงมากยิ่งขึ้น    

กราฟแสดงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอาเซียน


ที่มา: Trading Economics และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

            การลงทุนจากต่างประเทศในเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเมื่อพิจารณาสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในอาเซียนในปี 2020 พบว่าลดลงเฉลี่ย 32.95% แต่การลงทุนจากต่างชาติในเวียดนามกลับลดลงเพียง 1.99% ในขณะที่มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงถึง 61.04% ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีการลงทุนจากต่างชาติลดลง 22.19%, 18.79% และ 21.34% ตามลำดับ โดยบริษัทต่างชาติส่วนใหญ่เข้าไปลงทุนในภาคการผลิตของเวียดนามเป็นหลัก ในขณะที่เข้ามาลงทุนในภาคบริการในไทยเป็นส่วนมาก รวมถึงผู้ลงทุนหลักของไทยอย่างญี่ปุ่นและจีนก็หันไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้นด้วย

ปัจจัยส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนาม

            เวียดนามมีปัจจัยเด่นหลายประการที่ดึงดูดการลงทุนต่างชาติ ดังนี้

  • การเมืองมีเสถียรภาพ เนื่องจากปกครองระบอบสังคมนิยมซึ่งมีพรรคการเมืองเดียว จึงทำให้สามารถกำหนดนโยบายและกำกับดูแลได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินดองก็มีเสถียรภาพ เพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น หนี้ต่างประเทศต่ำและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาอย่างต่อเนื่อง
  • มีแรงงานจำนวนมาก คุณภาพดี และค่าจ้างอยู่ในระดับต่ำ ปัจจุบันเวียดนามมีประชากร 98.22 ล้านคน เป็นวัยทำงานอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมากถึง 56.15 ล้านคน ส่วนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 3.25-4.68 ล้านดองเวียดนามต่อเดือน (137.31 – 197.73 ดอลลาร์สหรัฐ2  หรือราว 4,774.96 – 6,876.06 บาท3 ) ขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ 4 เขตที่รัฐบาลเวียดนามกำหนด4  และอัตราการรู้หนังสือของชาวเวียดนามสูงกว่า 90% ของประชากรทั้งหมด ทำให้เวียดนามมีแรงงานคุณภาพจำนวนมาก และมีฝีมือดี 
  • มีข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ รวม 17 ฉบับ อาทิ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) ความตกลงการค้าเสรีเวียดนามกับสหภาพยุโรป (EU-Vietnam Free Trade Agreement: EVFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นต้น ทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ได้ทำข้อตกลงไว้
  • นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เวียดนามส่งเสริมการลงทุนด้วยการให้สิทธิพิเศษในด้านภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุน รวมถึงสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ให้มีความสะดวกและทันสมัยยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นมิตรกับนานาประเทศ และมีนโยบายด้านความปลอดภัย มีกฎหมายที่เข้มงวดและมีบทลงโทษรุนแรง จึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

            ทั้งนี้ เวียดนามได้ออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ปี 2020 (Law on Investment No.61/2020/QH14) เพื่อสร้างความชัดเจน อำนวยความสะดวก และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน โดยมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2021 เป็นต้นมา โดยมีสาระสำคัญ อาทิ เปิดให้นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับนักลงทุนเวียดนาม (ยกเว้นสาขาที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นสาขาการลงทุนที่มีเงื่อนไข5 ) และนักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้มากกว่า 50% ขึ้นไป เป็นต้น

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเวียดนาม

            เวียดนามเป็นประเทศที่มีเหมืองผลิตอัญมณีกระจายอยู่ในหลายเมืองทั่วประเทศ โดยเวียดนามเป็นแหล่งผลิตพลอยเนื้อแข็ง ได้แก่ ทับทิม และแซปไฟร์ พลอยเนื้ออ่อน เช่น ทัวร์มารีน การ์เน็ต โทแพซ แอเมทิสต์ สปิเนล ซิทริน และอะความารีน เป็นต้น รวมถึงผลิตหยกเจไดต์และหยกเนไฟรต์ได้อีกด้วย โดยผู้ประกอบการเหมืองอัญมณีท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งขาดแคลนทั้งเทคโนโลยีชั้นสูงและเงินลงทุนสำรวจอัญมณี จึงทำให้มีอัญมณีออกมาสู่ตลาดน้อยลง ภาครัฐจึงเปิดให้บริษัทต่างชาติซึ่งมีเงินทุนและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าไปสำรวจและทำเหมืองผลิตอัญมณีในเวียดนามมากขึ้น

ตลาดค้าพลอยสีในกรุงฮานอย

ภาพ: goldenemperor.com/

            สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเครื่องประดับทองตามความนิยมของคนในประเทศ โดยส่วนมากเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ผลิตเครื่องประดับด้วยมือ ไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและยังไม่ได้พัฒนารูปแบบเครื่องประดับให้ทันสมัยมากนัก ในขณะที่มีบริษัทรายใหญ่ไม่กี่รายได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและพัฒนารูปแบบเครื่องประดับมากขึ้น โดยบริษัทท้องถิ่นรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามมี 3 ราย คือ DOJI, PNJ และ SJC ซึ่งมีร้านค้าปลีกเครื่องประดับกระจายอยู่ทั่วประเทศ

            ในส่วนของการลงทุนด้านอัญมณีและเครื่องประดับจากบริษัทต่างชาติ พบว่ายังมีไม่มากนัก โดยบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม อาทิ Pranda Jewelry ของไทย Tomei จากมาเลเซีย Marigot Jewelry บริษัทในเครือ Swarovski, Julie Sandlau แบรนด์เครื่องประดับหรูจากเดนมาร์ก และ VIJAGEM ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างชาวญี่ปุ่นกับเวียดนาม เป็นต้น 

            จากการสัมภาษณ์คุณชนัตถ์ สรไกรกิติกูล ประธานกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้เข้าไปลงทุนในเวียดนามตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน ได้ให้ข้อมูลว่า “บริษัท แพรนด้าฯ เข้าไปผลิตเครื่องประดับทองทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ เพราะเห็นโอกาสกำลังซื้อของชาวเวียดนามเติบโตได้สูงจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และการเป็นฐานการผลิตที่ได้เปรียบทั้งเรื่องค่าแรงต่ำ แรงงานวัยหนุ่มสาวมีจำนวนมาก ทักษะฝีมือดี การเมืองมีเสถียรภาพ และการสนับสนุนของรัฐบาลให้กับการลงทุนจากต่างประเทศ ให้สิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ หลายประการ ซึ่งยอดจำหน่ายเครื่องประดับในตลาดเวียดนามและการส่งออกจากเวียดนามไปยังคู่ค้าในประเทศต่างๆ ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี”  

 

ร้านค้าปลีกแบรนด์ Prima ของ Pranda Group ในเวียดนาม

ภาพ: เพจ Prima Viet Nam


            ปัจจุบันบริษัทต่างชาติรายใหญ่ในหลากหลายอุตสาหกรรมรวมถึงแวดวงอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเตรียมทยอยขยายฐานหรือย้ายฐานการผลิตไปจัดตั้งโรงงานในเวียดนาม ล่าสุด Pandora ผู้ผลิตเครื่องประดับเงินรายใหญ่ที่สุดในโลกได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับเวียดนามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 เรื่องการสร้างโรงงานผลิตเครื่องประดับในจังหวัด Binh Duong ของเวียดนาม ด้วยเงินลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2023 และจะมีการจ้างงานราว 6,000 ตำแหน่ง โดยโรงงานในเวียดนามของ Pandora นับเป็นแห่งที่ 3 ส่วนโรงงาน 2 แห่งแรกตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดลำพูน นอกจากนี้ยังมีบริษัทจากฮ่องกง อาทิ Cixi Gemstone Jewelry Company มองเห็นศักยภาพของพลอยสีของเวียดนาม จึงมีแผนเข้าไปลงทุนเปิดบริษัทค้าพลอยสีในเวียดนาม เพื่อนำพลอยสีจากเวียดนามออกจำหน่ายสู่ตลาดโลก

โอกาสและความท้าทายต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย

            การที่เวียดนามมีข้อได้เปรียบหลายข้อทั้งเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ อำนวยความสะดวกในการลงทุน รัฐบาลมีเสถียรภาพ มีจำนวนประชากรวัยแรงงานมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งประเทศ แรงงานมีทักษะ มีฝีมือดี ขยัน พร้อมฝึกฝนเรียนรู้ และมีค่าจ้างแรงงานที่แข่งขันได้ อีกทั้งยังมีข้อตกลงทางการค้าถึง 17 ฉบับกับ 53 ประเทศ ที่ทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ส่งออกจากเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศที่มีความตกลงทางการค้าด้วยนั้นได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ถือเป็นแต้มต่อทางการค้าที่สำคัญ ส่งผลให้เวียดนามสามารถดึงดูดบริษัทผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลกเข้าไปลงทุนในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง

            เมื่อพิจารณาลึกลงไปในด้านแรงงาน พบว่าเวียดนามค่อนข้างได้เปรียบไทยมาก เพราะนอกจากเวียดนามจะมีแรงงานวัยหนุ่มสาวจำนวนมากแล้ว แรงงานยังมีฝีมือดี ด้วยประวัติศาสตร์การผลิตเครื่องประดับด้วยมือมายาวนานหลายร้อยปี มีการถ่ายทอดทักษะฝีมือจากรุ่นสู่รุ่น และคนรุ่นใหม่ก็ยังสานต่ออาชีพผลิตเครื่องประดับจากครอบครัวด้วย รวมถึงกลุ่มบริษัทเครื่องประดับได้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนสอนการผลิตเครื่องประดับให้กับเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องการเข้าสู่อาชีพนี้ อีกทั้งยังมีสถาบันทั้งรัฐและเอกชนที่เปิดสอนการผลิตเครื่องประดับอีกหลายแห่งทั้งในนครโฮจิมินห์และกรุงฮานอย ทำให้มีแรงงานรุ่นใหม่ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

            ในส่วนของไทยนั้น มีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐเปิดการเรียนการสอนด้านการผลิตเครื่องประดับอยู่น้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นลักษณะบริษัทผู้ผลิตเครื่องประดับเปิดอบรมสอนให้กับพนักงานใหม่ของตนเอง ประกอบกับวัยแรงงานมีจำนวนน้อย คนรุ่นใหม่ไม่สนใจเข้าสู่อาชีพผลิตเครื่องประดับ เพราะต้องใช้ความอดทนกว่าจะผลิตเครื่องประดับแต่ละชิ้นสำเร็จ จึงทำให้ไทยขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมฯ ซึ่งถือเป็นความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกันในการฝึกฝนเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่อาชีพผลิตเครื่องประดับมากขึ้น และภาครัฐอาจพิจารณาเปิดเสรีแรงงาน ควบคู่กับการแก้ปัญหาโครงสร้างประชากร เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว

            อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันเวียดนามจะมีจุดแข็งหลายประการที่ได้เปรียบประเทศไทย แต่หากพิจารณาในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแล้วพบว่า รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เครื่องจักรกล ยานยนต์ และชิ้นส่วนที่ใช้ในสาขาพลังงานทดแทน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมากนัก อีกทั้งห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม

            อัญมณีและเครื่องประดับในเวียดนามก็ยังไม่เข้มแข็ง ดังนั้น ในระยะสั้นถึงกลาง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยจึงถือว่ามีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า แต่หากภาครัฐของเวียดนามหันมาให้การสนับสนุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอย่างจริงจัง กอปรกับมีจุดแข็งดังกล่าวข้างต้นเป็นแรงเสริม อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของเวียดนามก็มีโอกาสก้าวทันไทยได้ในอนาคต


ผู้เขียน: นางสาววาสนา สมเนตร์

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลอ้างอิง


1. รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ 2030 ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในอนาคต
2. อัตราแลกเปลี่ยนของ Exchange-rate.org ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2565: 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 23,668.64 ดองเวียดนาม
3. อัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2565: 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 34.775 บาท
4. พื้นที่ 1 ได้แก่ เขตเมืองของกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ พื้นที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ชนบทของกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ และเขตเมืองของนครไฮฟอง นครดานัง และนครเกิ่นเทอ พื้นที่ 3 ได้แก่ เมืองในจังหวัดต่าง ๆ ที่เหลือ และอำเภอของจังหวัดบั๊กนิญ (Bắc Ninh)จังหวัดบั๊กซาง (Bắc Giang) และจังหวัดหายเซือง (Hải Dương) พื้นที่ 4 ได้แก่ พื้นที่อื่น ๆ
5. สาขาการลงทุนที่รัฐบาลเวียดนามกำหนดให้ต่างชาติลงทุนแบบมีเงื่อนไข อาทิ บริการสื่อสารมวลชน การกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ บริการโทรคมนาคม บริการการเงินและประกันภัย บริการท่องเที่ยว บริการสุขภาพและสังคม เป็นต้น ส่วนสาขาที่ไม่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุน อาทิ การประมง การทดสอบและการออกใบอนุญาตสำหรับพาหนะในการขนส่ง เป็นต้น
-----------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1) เหตุผลสำคัญที่ควรลงทุนในเวียดนาม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.offshorecompanycorp.com/ th/th/insight/jurisdiction-update/top-reasons-why-to-invest-in-vietnam?gclid=EAIaIQobChMI77Tj5_mx-gIV2zArCh1mjA9OEAMYASAAEgKpE_D_BwE. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565).
2) 'เวียดนาม' ดันลงทุนต่างชาติ หนุนใช้ Local Content หวังโต 6-6.5% ปี 2022. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/214-Vietnam-accerelates-FDI-to-boost-Local-Content. (สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565).
3) เวียดนาม: ความหวังการลงทุนของภูมิภาค. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thestandard.co/vietnam-regional-hope/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565).
4) มองเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ โอกาสของทุนไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.bangkokbanksme.com/en/ look-vietnam-economy-opportunities-thai-capital. (สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565).
5) ASEAN Investment Report 2022. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://asean.org/wp-content/uploads/ 2022/ 10/AIR2022-Web-Online-Final-211022.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565).
6) Fact Sheet เวียดนาม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.ditp.go.th (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565).
7) กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของเวียดนามมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ? [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thaibiz-vietnam.com/articles/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565).
8) เวียดนามวางยุทธศาสตร์ 2030 ดึงเงินลงทุนต่างชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2022/06/ asean-weekly-roundup-145/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565).
9) Vietnam Population 2023. [Online]. Available at https://worldpopulationreview.com/countries/ vietnam-population. (Retrieved January 9, 2022).
10) Pandora plans $100-mln jewelry plant in Vietnam. [Online]. Available at https://e.vnexpress.net/ news/companies/pandora-plans-100-mln-jewelry-plant-in-vietnam-4463455.html. (Retrieved January 10, 2022).
11) Hong Kong firms interest in Vietnamese gem market. [Online]. Available at https://en.vietnamplus.vn/hong-kong-firms-interest-in-vietnamese-gem-market/234674.vnp. (Retrieved January 10, 2022).
12) Overview of Vietnam's gold and jewelry industry. [Online]. Available at https://vietnamcredit.com.vn/news/overview-of-vietnams-gold-and-jewelry-industry_14725. (Retrieved January 10, 2022).
13) Hanoi Time. Hanoi’s skillful artisan preserves jewelry craft amid pandemic. [Online]. Available at https://hanoitimes.vn/hanois-skillful-artisan-preserves-jewelry-craft-amid-pandemic-319294.html. (Retrieved January 13, 2022).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ต่างชาติแห่ลงทุนเวียดนาม โอกาสและความท้าทายของเครื่องประดับไทย

Feb 1, 2023
3829 views
1 share

            ในช่วงที่โลกเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจในหลายประเทศถดถอยลง แต่เศรษฐกิจของเวียดนามกลับเติบโตเป็นบวก การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ1  และอานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา ที่ทำให้บริษัทต่างๆ ย้ายฐานการผลิตออกจากจีน หรือขยายฐานการผลิตเพื่อกระจายความเสี่ยง รวมถึงเวียดนามมีแรงงานวัยหนุ่มสาวมากเกินครึ่งประเทศ แรงงานมีทักษะฝีมือดี และค่าจ้างแรงงานยังอยู่ในระดับแข่งขันได้ อีกทั้งยังมีข้อตกลงทางการค้ากับหลายประเทศมหาอำนาจ ซึ่งเป็นปัจจัยดึงดูดให้บริษัทต่างชาติจากหลากหลายธุรกิจรวมถึงธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับต่างทยอยเข้าไปลงทุนตั้งฐานการผลิตในเวียดนาม ซึ่งการที่ต่างชาติแห่เข้าไปลงทุนในเวียดนามนั้น จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยหรือไม่อย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ 

การลงทุนจากต่างประเทศในเวียดนาม

            เวียดนามกลายเป็นดาวเด่นของเอเชีย ท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งเวียดนามรอดพ้นจากวิกฤติในครั้งนี้ จากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เน้นการบริโภคในประเทศเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของ GDP ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากข้อมูลของ World Bank ที่พบว่า ในปี 2020 เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเป็นบวกโดยเศรษฐกิจขยายตัวได้ 2.94% ในขณะที่ประเทศอื่นในอาเซียนไม่ว่าจะเป็นไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เศรษฐกิจต่างหดตัวลง 6.20%, 2.07%, 5.65%, 9.52% และ 4.14% ตามลำดับ ส่วนในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2022 พบว่าเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตสูง 8.80% ในขณะที่ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวราว 3.10%, 5.39%, 9.36%, 7.76% และ 4.2% ตามลำดับ ทั้งนี้ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้นได้ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติให้ไหลเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกและเศรษฐกิจของเวียดนามให้เติบโตสูงมากยิ่งขึ้น    

กราฟแสดงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอาเซียน


ที่มา: Trading Economics และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

            การลงทุนจากต่างประเทศในเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเมื่อพิจารณาสถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในอาเซียนในปี 2020 พบว่าลดลงเฉลี่ย 32.95% แต่การลงทุนจากต่างชาติในเวียดนามกลับลดลงเพียง 1.99% ในขณะที่มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงถึง 61.04% ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ มีการลงทุนจากต่างชาติลดลง 22.19%, 18.79% และ 21.34% ตามลำดับ โดยบริษัทต่างชาติส่วนใหญ่เข้าไปลงทุนในภาคการผลิตของเวียดนามเป็นหลัก ในขณะที่เข้ามาลงทุนในภาคบริการในไทยเป็นส่วนมาก รวมถึงผู้ลงทุนหลักของไทยอย่างญี่ปุ่นและจีนก็หันไปลงทุนในเวียดนามมากขึ้นด้วย

ปัจจัยส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนาม

            เวียดนามมีปัจจัยเด่นหลายประการที่ดึงดูดการลงทุนต่างชาติ ดังนี้

  • การเมืองมีเสถียรภาพ เนื่องจากปกครองระบอบสังคมนิยมซึ่งมีพรรคการเมืองเดียว จึงทำให้สามารถกำหนดนโยบายและกำกับดูแลได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงค่าเงินดองก็มีเสถียรภาพ เพราะมีทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น หนี้ต่างประเทศต่ำและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาอย่างต่อเนื่อง
  • มีแรงงานจำนวนมาก คุณภาพดี และค่าจ้างอยู่ในระดับต่ำ ปัจจุบันเวียดนามมีประชากร 98.22 ล้านคน เป็นวัยทำงานอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมากถึง 56.15 ล้านคน ส่วนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 3.25-4.68 ล้านดองเวียดนามต่อเดือน (137.31 – 197.73 ดอลลาร์สหรัฐ2  หรือราว 4,774.96 – 6,876.06 บาท3 ) ขึ้นอยู่กับเขตพื้นที่ 4 เขตที่รัฐบาลเวียดนามกำหนด4  และอัตราการรู้หนังสือของชาวเวียดนามสูงกว่า 90% ของประชากรทั้งหมด ทำให้เวียดนามมีแรงงานคุณภาพจำนวนมาก และมีฝีมือดี 
  • มีข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ รวม 17 ฉบับ อาทิ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) ความตกลงการค้าเสรีเวียดนามกับสหภาพยุโรป (EU-Vietnam Free Trade Agreement: EVFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นต้น ทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อส่งออกสินค้าไปยังประเทศที่ได้ทำข้อตกลงไว้
  • นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เวียดนามส่งเสริมการลงทุนด้วยการให้สิทธิพิเศษในด้านภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุน รวมถึงสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ให้มีความสะดวกและทันสมัยยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นมิตรกับนานาประเทศ และมีนโยบายด้านความปลอดภัย มีกฎหมายที่เข้มงวดและมีบทลงโทษรุนแรง จึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

            ทั้งนี้ เวียดนามได้ออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ปี 2020 (Law on Investment No.61/2020/QH14) เพื่อสร้างความชัดเจน อำนวยความสะดวก และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน โดยมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2021 เป็นต้นมา โดยมีสาระสำคัญ อาทิ เปิดให้นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับนักลงทุนเวียดนาม (ยกเว้นสาขาที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นสาขาการลงทุนที่มีเงื่อนไข5 ) และนักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้มากกว่า 50% ขึ้นไป เป็นต้น

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเวียดนาม

            เวียดนามเป็นประเทศที่มีเหมืองผลิตอัญมณีกระจายอยู่ในหลายเมืองทั่วประเทศ โดยเวียดนามเป็นแหล่งผลิตพลอยเนื้อแข็ง ได้แก่ ทับทิม และแซปไฟร์ พลอยเนื้ออ่อน เช่น ทัวร์มารีน การ์เน็ต โทแพซ แอเมทิสต์ สปิเนล ซิทริน และอะความารีน เป็นต้น รวมถึงผลิตหยกเจไดต์และหยกเนไฟรต์ได้อีกด้วย โดยผู้ประกอบการเหมืองอัญมณีท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งขาดแคลนทั้งเทคโนโลยีชั้นสูงและเงินลงทุนสำรวจอัญมณี จึงทำให้มีอัญมณีออกมาสู่ตลาดน้อยลง ภาครัฐจึงเปิดให้บริษัทต่างชาติซึ่งมีเงินทุนและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าไปสำรวจและทำเหมืองผลิตอัญมณีในเวียดนามมากขึ้น

ตลาดค้าพลอยสีในกรุงฮานอย

ภาพ: goldenemperor.com/

            สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับเวียดนาม ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเครื่องประดับทองตามความนิยมของคนในประเทศ โดยส่วนมากเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ใช้แรงงานคนเป็นหลัก ผลิตเครื่องประดับด้วยมือ ไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและยังไม่ได้พัฒนารูปแบบเครื่องประดับให้ทันสมัยมากนัก ในขณะที่มีบริษัทรายใหญ่ไม่กี่รายได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและพัฒนารูปแบบเครื่องประดับมากขึ้น โดยบริษัทท้องถิ่นรายใหญ่ที่สุดของเวียดนามมี 3 ราย คือ DOJI, PNJ และ SJC ซึ่งมีร้านค้าปลีกเครื่องประดับกระจายอยู่ทั่วประเทศ

            ในส่วนของการลงทุนด้านอัญมณีและเครื่องประดับจากบริษัทต่างชาติ พบว่ายังมีไม่มากนัก โดยบริษัทต่างชาติที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม อาทิ Pranda Jewelry ของไทย Tomei จากมาเลเซีย Marigot Jewelry บริษัทในเครือ Swarovski, Julie Sandlau แบรนด์เครื่องประดับหรูจากเดนมาร์ก และ VIJAGEM ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างชาวญี่ปุ่นกับเวียดนาม เป็นต้น 

            จากการสัมภาษณ์คุณชนัตถ์ สรไกรกิติกูล ประธานกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้เข้าไปลงทุนในเวียดนามตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน ได้ให้ข้อมูลว่า “บริษัท แพรนด้าฯ เข้าไปผลิตเครื่องประดับทองทั้งจำหน่ายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ เพราะเห็นโอกาสกำลังซื้อของชาวเวียดนามเติบโตได้สูงจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และการเป็นฐานการผลิตที่ได้เปรียบทั้งเรื่องค่าแรงต่ำ แรงงานวัยหนุ่มสาวมีจำนวนมาก ทักษะฝีมือดี การเมืองมีเสถียรภาพ และการสนับสนุนของรัฐบาลให้กับการลงทุนจากต่างประเทศ ให้สิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ หลายประการ ซึ่งยอดจำหน่ายเครื่องประดับในตลาดเวียดนามและการส่งออกจากเวียดนามไปยังคู่ค้าในประเทศต่างๆ ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี”  

 

ร้านค้าปลีกแบรนด์ Prima ของ Pranda Group ในเวียดนาม

ภาพ: เพจ Prima Viet Nam


            ปัจจุบันบริษัทต่างชาติรายใหญ่ในหลากหลายอุตสาหกรรมรวมถึงแวดวงอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเตรียมทยอยขยายฐานหรือย้ายฐานการผลิตไปจัดตั้งโรงงานในเวียดนาม ล่าสุด Pandora ผู้ผลิตเครื่องประดับเงินรายใหญ่ที่สุดในโลกได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับเวียดนามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 เรื่องการสร้างโรงงานผลิตเครื่องประดับในจังหวัด Binh Duong ของเวียดนาม ด้วยเงินลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2023 และจะมีการจ้างงานราว 6,000 ตำแหน่ง โดยโรงงานในเวียดนามของ Pandora นับเป็นแห่งที่ 3 ส่วนโรงงาน 2 แห่งแรกตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดลำพูน นอกจากนี้ยังมีบริษัทจากฮ่องกง อาทิ Cixi Gemstone Jewelry Company มองเห็นศักยภาพของพลอยสีของเวียดนาม จึงมีแผนเข้าไปลงทุนเปิดบริษัทค้าพลอยสีในเวียดนาม เพื่อนำพลอยสีจากเวียดนามออกจำหน่ายสู่ตลาดโลก

โอกาสและความท้าทายต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย

            การที่เวียดนามมีข้อได้เปรียบหลายข้อทั้งเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ อำนวยความสะดวกในการลงทุน รัฐบาลมีเสถียรภาพ มีจำนวนประชากรวัยแรงงานมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งประเทศ แรงงานมีทักษะ มีฝีมือดี ขยัน พร้อมฝึกฝนเรียนรู้ และมีค่าจ้างแรงงานที่แข่งขันได้ อีกทั้งยังมีข้อตกลงทางการค้าถึง 17 ฉบับกับ 53 ประเทศ ที่ทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ส่งออกจากเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศที่มีความตกลงทางการค้าด้วยนั้นได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ถือเป็นแต้มต่อทางการค้าที่สำคัญ ส่งผลให้เวียดนามสามารถดึงดูดบริษัทผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลกเข้าไปลงทุนในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง

            เมื่อพิจารณาลึกลงไปในด้านแรงงาน พบว่าเวียดนามค่อนข้างได้เปรียบไทยมาก เพราะนอกจากเวียดนามจะมีแรงงานวัยหนุ่มสาวจำนวนมากแล้ว แรงงานยังมีฝีมือดี ด้วยประวัติศาสตร์การผลิตเครื่องประดับด้วยมือมายาวนานหลายร้อยปี มีการถ่ายทอดทักษะฝีมือจากรุ่นสู่รุ่น และคนรุ่นใหม่ก็ยังสานต่ออาชีพผลิตเครื่องประดับจากครอบครัวด้วย รวมถึงกลุ่มบริษัทเครื่องประดับได้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนสอนการผลิตเครื่องประดับให้กับเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องการเข้าสู่อาชีพนี้ อีกทั้งยังมีสถาบันทั้งรัฐและเอกชนที่เปิดสอนการผลิตเครื่องประดับอีกหลายแห่งทั้งในนครโฮจิมินห์และกรุงฮานอย ทำให้มีแรงงานรุ่นใหม่ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

            ในส่วนของไทยนั้น มีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐเปิดการเรียนการสอนด้านการผลิตเครื่องประดับอยู่น้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นลักษณะบริษัทผู้ผลิตเครื่องประดับเปิดอบรมสอนให้กับพนักงานใหม่ของตนเอง ประกอบกับวัยแรงงานมีจำนวนน้อย คนรุ่นใหม่ไม่สนใจเข้าสู่อาชีพผลิตเครื่องประดับ เพราะต้องใช้ความอดทนกว่าจะผลิตเครื่องประดับแต่ละชิ้นสำเร็จ จึงทำให้ไทยขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมฯ ซึ่งถือเป็นความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือกันในการฝึกฝนเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่อาชีพผลิตเครื่องประดับมากขึ้น และภาครัฐอาจพิจารณาเปิดเสรีแรงงาน ควบคู่กับการแก้ปัญหาโครงสร้างประชากร เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว

            อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันเวียดนามจะมีจุดแข็งหลายประการที่ได้เปรียบประเทศไทย แต่หากพิจารณาในส่วนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแล้วพบว่า รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนในอุตสาหกรรมเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เครื่องจักรกล ยานยนต์ และชิ้นส่วนที่ใช้ในสาขาพลังงานทดแทน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมากนัก อีกทั้งห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม

            อัญมณีและเครื่องประดับในเวียดนามก็ยังไม่เข้มแข็ง ดังนั้น ในระยะสั้นถึงกลาง อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยจึงถือว่ามีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า แต่หากภาครัฐของเวียดนามหันมาให้การสนับสนุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับอย่างจริงจัง กอปรกับมีจุดแข็งดังกล่าวข้างต้นเป็นแรงเสริม อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของเวียดนามก็มีโอกาสก้าวทันไทยได้ในอนาคต


ผู้เขียน: นางสาววาสนา สมเนตร์

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลอ้างอิง


1. รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ 2030 ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลกในอนาคต
2. อัตราแลกเปลี่ยนของ Exchange-rate.org ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2565: 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 23,668.64 ดองเวียดนาม
3. อัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2565: 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 34.775 บาท
4. พื้นที่ 1 ได้แก่ เขตเมืองของกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ พื้นที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ชนบทของกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ และเขตเมืองของนครไฮฟอง นครดานัง และนครเกิ่นเทอ พื้นที่ 3 ได้แก่ เมืองในจังหวัดต่าง ๆ ที่เหลือ และอำเภอของจังหวัดบั๊กนิญ (Bắc Ninh)จังหวัดบั๊กซาง (Bắc Giang) และจังหวัดหายเซือง (Hải Dương) พื้นที่ 4 ได้แก่ พื้นที่อื่น ๆ
5. สาขาการลงทุนที่รัฐบาลเวียดนามกำหนดให้ต่างชาติลงทุนแบบมีเงื่อนไข อาทิ บริการสื่อสารมวลชน การกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ บริการโทรคมนาคม บริการการเงินและประกันภัย บริการท่องเที่ยว บริการสุขภาพและสังคม เป็นต้น ส่วนสาขาที่ไม่อนุญาตให้ต่างชาติลงทุน อาทิ การประมง การทดสอบและการออกใบอนุญาตสำหรับพาหนะในการขนส่ง เป็นต้น
-----------------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1) เหตุผลสำคัญที่ควรลงทุนในเวียดนาม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.offshorecompanycorp.com/ th/th/insight/jurisdiction-update/top-reasons-why-to-invest-in-vietnam?gclid=EAIaIQobChMI77Tj5_mx-gIV2zArCh1mjA9OEAMYASAAEgKpE_D_BwE. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565).
2) 'เวียดนาม' ดันลงทุนต่างชาติ หนุนใช้ Local Content หวังโต 6-6.5% ปี 2022. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.mreport.co.th/news/industry-movement/214-Vietnam-accerelates-FDI-to-boost-Local-Content. (สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565).
3) เวียดนาม: ความหวังการลงทุนของภูมิภาค. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thestandard.co/vietnam-regional-hope/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565).
4) มองเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ โอกาสของทุนไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.bangkokbanksme.com/en/ look-vietnam-economy-opportunities-thai-capital. (สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565).
5) ASEAN Investment Report 2022. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://asean.org/wp-content/uploads/ 2022/ 10/AIR2022-Web-Online-Final-211022.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565).
6) Fact Sheet เวียดนาม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.ditp.go.th (สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565).
7) กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของเวียดนามมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ? [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thaibiz-vietnam.com/articles/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565).
8) เวียดนามวางยุทธศาสตร์ 2030 ดึงเงินลงทุนต่างชาติ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2022/06/ asean-weekly-roundup-145/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565).
9) Vietnam Population 2023. [Online]. Available at https://worldpopulationreview.com/countries/ vietnam-population. (Retrieved January 9, 2022).
10) Pandora plans $100-mln jewelry plant in Vietnam. [Online]. Available at https://e.vnexpress.net/ news/companies/pandora-plans-100-mln-jewelry-plant-in-vietnam-4463455.html. (Retrieved January 10, 2022).
11) Hong Kong firms interest in Vietnamese gem market. [Online]. Available at https://en.vietnamplus.vn/hong-kong-firms-interest-in-vietnamese-gem-market/234674.vnp. (Retrieved January 10, 2022).
12) Overview of Vietnam's gold and jewelry industry. [Online]. Available at https://vietnamcredit.com.vn/news/overview-of-vietnams-gold-and-jewelry-industry_14725. (Retrieved January 10, 2022).
13) Hanoi Time. Hanoi’s skillful artisan preserves jewelry craft amid pandemic. [Online]. Available at https://hanoitimes.vn/hanois-skillful-artisan-preserves-jewelry-craft-amid-pandemic-319294.html. (Retrieved January 13, 2022).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970