ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โลหะทางเลือกเปล่งประกายในธุรกิจเครื่องประดับ

Apr 26, 2023
1853 views
0 share

        การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังบั่นทอนเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของผู้คนทั่วโลกที่กังวลว่าอาจจะนำไปสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง ทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจและภาคการเงินของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น นักลงทุนทั่วโลกต่างหันมาถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ทำให้ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นกว่า 2,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้วัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่าอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตเครื่องประดับมีราคาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ผู้บริโภคทั่วโลกต่างก็เพิ่มความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยลงซึ่งรวมถึงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ส่งผลให้ระดับอุปสงค์ในการบริโภคสินค้านี้มีแนวโน้มลดน้อยลงตามกำลังซื้อ กอปรกับปัจจุบันเทรนด์การออกแบบสินค้าต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมการผลิตกันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เมื่ออุปสงค์ถดถอย ขณะที่ตลาดหันมาให้ความสนใจแนวคิดใหม่ๆ และตัวเลือกสินค้าที่ไม่ตามขนบธรรมเนียมเดิมๆ เครื่องประดับที่ใช้โลหะมีค่าประเภทอื่นนอกเหนือจากทองคำจึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในหมู่นักออกแบบและผู้ซื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การผลิตและการตลาดให้เท่าทัน


โลหะทางเลือก

        ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ตลาดเครื่องประดับเริ่มค้นหาความแปลกใหม่หลุดจากขนบธรรมเนียมที่มีความผูกพันแนบแน่นกับทองคำมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งเริ่มหันมาตระหนักถึงเสน่ห์เฉพาะตัวและลักษณะพิเศษของโลหะทางเลือก เช่น เงินสเตอร์ลิง แพลทินัม ไทเทเนียม แพลเลเดียม โคบอลต์ และทังสเตน เป็นต้น ที่มีราคาต่ำกว่า และมีความคงทนถาวรเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเครื่องประดับแพลทินัม และไทเทเนียมนั้นได้รับความนิยมจากผู้ซื้อในตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยเป็นโลหะที่มีความแข็งทนทาน 

เปรียบเทียบราคาโลหะมีค่าเฉลี่ยรายปี ตั้งแต่ปี 2000-2023


ที่มา: https://www.kitco.com/ ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

        แพลทินัมได้รับการทำตลาดให้เป็นโลหะมีค่าที่เหมาะสำหรับการเฉลิมฉลองโอกาสครั้งสำคัญในชีวิต เช่น การหมั้นและการแต่งงาน เพราะเป็นโลหะสีขาวตามธรรมชาติที่มีความทนทานซึ่งสะท้อนคุณค่าและความหมายให้แก่ผู้ซื้อเครื่องประดับ ระดับความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับแพลทินัมโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 95 - 99 ขณะที่ทองเคหลากกะรัตและทองขาวนั้นมีปริมาณทองคำร้อยละ 75 หรือต่ำกว่านั้น อีกทั้งแพลทินัมได้รับความนิยมเนื่องจากมีค่าความหนาแน่นสูงและสีสันไม่จางลงจึงช่วยปกป้องประกายเพชรและอัญมณี และสะท้อนถึงสิ่งที่โลหะชนิดนี้นำเสนอซึ่งก็คือ ความรัก ความหมาย และความเป็นนิรันดร์


เครื่องประดับแพลทินัม

        แนวโน้มความนิยมเครื่องประดับแพลทินัมยิ่งเด่นชัดขึ้นในช่วงการระบาดโควิด-19 ผลการสำรวจผู้บริโภคของ Platinum Guild International (PGI) แสดงให้เห็นว่าผู้คนเริ่มจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ในชีวิตเสียใหม่ และเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้นเมื่อต้องผ่านสถานการณ์ที่ท้าทาย แพลทินัมได้รับการนำเสนอให้เป็นโลหะที่สื่อแทนอารมณ์และใช้รำลึกถึงช่วงเวลาสำคัญในชีวิต ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกรายใหม่ๆ จึงได้เข้ามาสู่ธุรกิจเครื่องประดับแพลทินัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดตัวคอลเลกชันสินค้าแบรนด์เนมและผลิตภัณฑ์แบบพรีเมียม ซึ่งตลาดผู้บริโภคหลักของเครื่องประดับแพลทินัม ได้แก่ อินเดีย จีน สหรัฐ และญี่ปุ่น

        ส่วนไทเทเนียมกลายเป็นโลหะมีค่าที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคทุกวันนี้ เพราะไทเทเนียมมีน้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่ง โดยมีความแข็งอยู่ที่ระดับ 6 จาก 10 ตามมาตรวัดของโมห์ส จึงเป็นโลหะที่ใช้ผลิตเครื่องประดับที่มีความทนทานและทนต่อรอยขีดข่วนเป็นอันดับต้นๆ ในขณะที่ทองคำนั้นมีความแข็งอยู่ที่ราวๆ 2.5 - 3 ตามมาตรวัดของโมห์ส ขณะที่แพลทินัมและแพลเลเดียมมีความแข็งอยู่ที่ 4 - 4.5 และ 4.75 ตามลำดับ อีกทั้งไทเทเนียมยังมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กราวร้อยละ 45 แต่แข็งแกร่งเป็น 2 เท่าของอลูมิเนียม (ซึ่งมีความแข็งอยู่ที่ 2.5 - 3 ตามสเกลของโมห์ส) ไทเทเนียมแตกต่างจากทองและแพลทินัมตรงที่มันทนต่อรอยขีดข่วน การเกิดรูพรุน และการผุกร่อน เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 1,688 องศาเซลเซียส

 

สร้อยข้อมือไทเทเนียมและทอง 18K โดยนักออกแบบ Anita So

        นอกจากความทนทานแล้ว โลหะชนิดนี้ยังช่วยให้นักออกแบบเครื่องประดับถ่ายทอดงานศิลป์ของตนเองได้อย่างเต็มที่และนำเสนอสไตล์ที่แปลกใหม่ เครื่องประดับไทเทเนียมมีสีสันหลากหลาย เช่น เงิน บรอนซ์ ม่วง น้ำเงิน ฟ้า ทอง ชมพู กุหลาบ แดงม่วง เขียวอมน้ำเงิน เขียวมะนาว และเขียว นักออกแบบจึงสามารถสร้างสรรค์เครื่องประดับได้อย่างไร้ขีดจำกัด ผสมผสานไทเทเนียมสีต่างๆ กับอัญมณีสีต่างๆ เพื่อสร้างผลงานที่โดดเด่นและแปลกใหม่ อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความนิยมของไทเทเนียมคือความเข้ากันได้ทางชีวภาพ ซึ่งหมายความว่าวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ จึงเป็นที่ทราบกันว่าแหวนไทเทเนียมจะไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับผู้สวมใส่ที่มักจะแพ้วัสดุอื่นๆ ในเครื่องประดับ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ความต้องการเครื่องประดับไทเทเนียมในตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตเครื่องประดับส่วนใหญ่เลือกใช้ไทเทเนียมคู่กับอัญมณีขนาดใหญ่ราคาแพงที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เพื่อผลิตชิ้นงานอันน่าหลงใหลสำหรับผู้ที่มีรสนิยมหรูหรา ขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์เครื่องประดับไทเทเนียมด้วยดีไซน์ร่วมสมัยสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะตลาดฮ่องกงและจีน


ต่างหูไทเทเนียมประดับหยก โอปอ เพชร และแฟนซีแซปไฟร์ โดยนักออกแบบ Anita So

        สำหรับเครื่องประดับที่ยังเน้นการนำเสนอภาพลักษณ์ของทองคำ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมสวมใส่เครื่องประดับทองดั้งเดิมนั้น ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการใช้โลหะผสมอย่าง เงิน แพลเลเดียม ทังสเตน หรือทองเหลือง ชุบหรือเคลือบด้วยทองคำหลากโทนสีทั้งชิ้นงาน หรือเฉพาะเพียงบางส่วนของชิ้นงาน อาทิ บริเวณส่วนที่ฝังอัญมณี โดยเป็นการดีไซน์ที่มีลูกเล่นคล้ายเครื่องประดับทองสลับเฉดสีเหลือง ขาว และชมพู เพื่อให้สินค้ามีราคาขายไม่สูงมากนักแต่ยังคงคุณค่าสะท้อนรสนิยมหรูหราทันสมัย

        ส่วนเครื่องประดับที่เน้นรูปแบบสวยงามแต่ยังคงระดับราคาย่อมเยาก็หันมานำเสนอเครื่องประดับเงินสเตอร์ลิงชุบโรเดียม หรือมักนิยมนำอัญมณีสังเคราะห์และอัญมณีเลียนแบบ มาใช้ตกแต่งเครื่องประดับแทนเพชรและพลอยสี ซึ่งเหมาะกับผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใส่ใจในเรื่องราคา ขณะที่เทรนด์การนำวัสดุใหม่ๆ หลากชนิด เช่น หนัง ไม้ ยาง กระดูกสัตว์ เชือก และริบบิ้น มาผสมผสานเป็นเครื่องประดับก็สร้างภาพลักษณ์ใหม่ระหว่างวัสดุธรรมดากับโลหะมีค่าและอัญมณีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังตอบโจทย์กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา หรือมีไลฟ์สไตล์กระฉับกระเฉงคล่องตัว รวมถึงผู้ที่มีรสนิยมในการสวมใส่เครื่องประดับรูปแบบแหวกแนวแปลกใหม่ด้วย


กำไลข้อมือทำจากยางและสแตนเลสสตีล แบรนด์ Chopard


        ฉะนั้น ผู้ประกอบการในแวดวงอัญมณีและเครื่องประดับจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะผู้ผลิตเครื่องประดับที่ควรเร่งปรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์และบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้สอดรับกับความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจ และราคาวัตถุดิบดังกล่าวข้างต้น เร่งพัฒนารูปแบบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาดคู่ค้ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังต้องมุ่งสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของตน ทั้งในด้านรูปแบบ วัสดุที่ใช้ และเน้นการออกแบบเครื่องประดับให้สะท้อนถึงความรู้สึกหรูหราในสนนราคาที่จับจ่ายได้ (Affordable Luxury) ปรับใช้ได้หลากสไตล์และหลายโอกาส รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าด้วย


ผู้เขียน: นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) JNA. 2023. Design diversity from fashion jewellers. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/blog/25063/030623-Design-diversity-from-fashion-jewellers?utm_source=JnetEnews&utm_medium=email&utm_campaign=ENG-230307&utm_term=Top_story.
2) JNA. 2022. Alternative metals sparkle in the jewellery trade. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24710.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โลหะทางเลือกเปล่งประกายในธุรกิจเครื่องประดับ

Apr 26, 2023
1853 views
0 share

        การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกำลังบั่นทอนเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของผู้คนทั่วโลกที่กังวลว่าอาจจะนำไปสู่ภาวะถดถอยอีกครั้ง ทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจและภาคการเงินของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น นักลงทุนทั่วโลกต่างหันมาถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ทำให้ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นกว่า 2,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้วัตถุดิบอัญมณีและโลหะมีค่าอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตเครื่องประดับมีราคาเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในขณะที่ผู้บริโภคทั่วโลกต่างก็เพิ่มความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยลงซึ่งรวมถึงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ส่งผลให้ระดับอุปสงค์ในการบริโภคสินค้านี้มีแนวโน้มลดน้อยลงตามกำลังซื้อ กอปรกับปัจจุบันเทรนด์การออกแบบสินค้าต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมการผลิตกันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เมื่ออุปสงค์ถดถอย ขณะที่ตลาดหันมาให้ความสนใจแนวคิดใหม่ๆ และตัวเลือกสินค้าที่ไม่ตามขนบธรรมเนียมเดิมๆ เครื่องประดับที่ใช้โลหะมีค่าประเภทอื่นนอกเหนือจากทองคำจึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในหมู่นักออกแบบและผู้ซื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การผลิตและการตลาดให้เท่าทัน


โลหะทางเลือก

        ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ตลาดเครื่องประดับเริ่มค้นหาความแปลกใหม่หลุดจากขนบธรรมเนียมที่มีความผูกพันแนบแน่นกับทองคำมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งเริ่มหันมาตระหนักถึงเสน่ห์เฉพาะตัวและลักษณะพิเศษของโลหะทางเลือก เช่น เงินสเตอร์ลิง แพลทินัม ไทเทเนียม แพลเลเดียม โคบอลต์ และทังสเตน เป็นต้น ที่มีราคาต่ำกว่า และมีความคงทนถาวรเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเครื่องประดับแพลทินัม และไทเทเนียมนั้นได้รับความนิยมจากผู้ซื้อในตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยเป็นโลหะที่มีความแข็งทนทาน 

เปรียบเทียบราคาโลหะมีค่าเฉลี่ยรายปี ตั้งแต่ปี 2000-2023


ที่มา: https://www.kitco.com/ ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

        แพลทินัมได้รับการทำตลาดให้เป็นโลหะมีค่าที่เหมาะสำหรับการเฉลิมฉลองโอกาสครั้งสำคัญในชีวิต เช่น การหมั้นและการแต่งงาน เพราะเป็นโลหะสีขาวตามธรรมชาติที่มีความทนทานซึ่งสะท้อนคุณค่าและความหมายให้แก่ผู้ซื้อเครื่องประดับ ระดับความบริสุทธิ์ของเครื่องประดับแพลทินัมโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 95 - 99 ขณะที่ทองเคหลากกะรัตและทองขาวนั้นมีปริมาณทองคำร้อยละ 75 หรือต่ำกว่านั้น อีกทั้งแพลทินัมได้รับความนิยมเนื่องจากมีค่าความหนาแน่นสูงและสีสันไม่จางลงจึงช่วยปกป้องประกายเพชรและอัญมณี และสะท้อนถึงสิ่งที่โลหะชนิดนี้นำเสนอซึ่งก็คือ ความรัก ความหมาย และความเป็นนิรันดร์


เครื่องประดับแพลทินัม

        แนวโน้มความนิยมเครื่องประดับแพลทินัมยิ่งเด่นชัดขึ้นในช่วงการระบาดโควิด-19 ผลการสำรวจผู้บริโภคของ Platinum Guild International (PGI) แสดงให้เห็นว่าผู้คนเริ่มจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ในชีวิตเสียใหม่ และเห็นคุณค่าของความสัมพันธ์มากยิ่งขึ้นเมื่อต้องผ่านสถานการณ์ที่ท้าทาย แพลทินัมได้รับการนำเสนอให้เป็นโลหะที่สื่อแทนอารมณ์และใช้รำลึกถึงช่วงเวลาสำคัญในชีวิต ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกรายใหม่ๆ จึงได้เข้ามาสู่ธุรกิจเครื่องประดับแพลทินัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดตัวคอลเลกชันสินค้าแบรนด์เนมและผลิตภัณฑ์แบบพรีเมียม ซึ่งตลาดผู้บริโภคหลักของเครื่องประดับแพลทินัม ได้แก่ อินเดีย จีน สหรัฐ และญี่ปุ่น

        ส่วนไทเทเนียมกลายเป็นโลหะมีค่าที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคทุกวันนี้ เพราะไทเทเนียมมีน้ำหนักเบาแต่แข็งแกร่ง โดยมีความแข็งอยู่ที่ระดับ 6 จาก 10 ตามมาตรวัดของโมห์ส จึงเป็นโลหะที่ใช้ผลิตเครื่องประดับที่มีความทนทานและทนต่อรอยขีดข่วนเป็นอันดับต้นๆ ในขณะที่ทองคำนั้นมีความแข็งอยู่ที่ราวๆ 2.5 - 3 ตามมาตรวัดของโมห์ส ขณะที่แพลทินัมและแพลเลเดียมมีความแข็งอยู่ที่ 4 - 4.5 และ 4.75 ตามลำดับ อีกทั้งไทเทเนียมยังมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กราวร้อยละ 45 แต่แข็งแกร่งเป็น 2 เท่าของอลูมิเนียม (ซึ่งมีความแข็งอยู่ที่ 2.5 - 3 ตามสเกลของโมห์ส) ไทเทเนียมแตกต่างจากทองและแพลทินัมตรงที่มันทนต่อรอยขีดข่วน การเกิดรูพรุน และการผุกร่อน เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 1,688 องศาเซลเซียส

 

สร้อยข้อมือไทเทเนียมและทอง 18K โดยนักออกแบบ Anita So

        นอกจากความทนทานแล้ว โลหะชนิดนี้ยังช่วยให้นักออกแบบเครื่องประดับถ่ายทอดงานศิลป์ของตนเองได้อย่างเต็มที่และนำเสนอสไตล์ที่แปลกใหม่ เครื่องประดับไทเทเนียมมีสีสันหลากหลาย เช่น เงิน บรอนซ์ ม่วง น้ำเงิน ฟ้า ทอง ชมพู กุหลาบ แดงม่วง เขียวอมน้ำเงิน เขียวมะนาว และเขียว นักออกแบบจึงสามารถสร้างสรรค์เครื่องประดับได้อย่างไร้ขีดจำกัด ผสมผสานไทเทเนียมสีต่างๆ กับอัญมณีสีต่างๆ เพื่อสร้างผลงานที่โดดเด่นและแปลกใหม่ อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความนิยมของไทเทเนียมคือความเข้ากันได้ทางชีวภาพ ซึ่งหมายความว่าวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์ จึงเป็นที่ทราบกันว่าแหวนไทเทเนียมจะไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับผู้สวมใส่ที่มักจะแพ้วัสดุอื่นๆ ในเครื่องประดับ ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ความต้องการเครื่องประดับไทเทเนียมในตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตเครื่องประดับส่วนใหญ่เลือกใช้ไทเทเนียมคู่กับอัญมณีขนาดใหญ่ราคาแพงที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เพื่อผลิตชิ้นงานอันน่าหลงใหลสำหรับผู้ที่มีรสนิยมหรูหรา ขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์เครื่องประดับไทเทเนียมด้วยดีไซน์ร่วมสมัยสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันตอบโจทย์กลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะตลาดฮ่องกงและจีน


ต่างหูไทเทเนียมประดับหยก โอปอ เพชร และแฟนซีแซปไฟร์ โดยนักออกแบบ Anita So

        สำหรับเครื่องประดับที่ยังเน้นการนำเสนอภาพลักษณ์ของทองคำ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่นิยมสวมใส่เครื่องประดับทองดั้งเดิมนั้น ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการใช้โลหะผสมอย่าง เงิน แพลเลเดียม ทังสเตน หรือทองเหลือง ชุบหรือเคลือบด้วยทองคำหลากโทนสีทั้งชิ้นงาน หรือเฉพาะเพียงบางส่วนของชิ้นงาน อาทิ บริเวณส่วนที่ฝังอัญมณี โดยเป็นการดีไซน์ที่มีลูกเล่นคล้ายเครื่องประดับทองสลับเฉดสีเหลือง ขาว และชมพู เพื่อให้สินค้ามีราคาขายไม่สูงมากนักแต่ยังคงคุณค่าสะท้อนรสนิยมหรูหราทันสมัย

        ส่วนเครื่องประดับที่เน้นรูปแบบสวยงามแต่ยังคงระดับราคาย่อมเยาก็หันมานำเสนอเครื่องประดับเงินสเตอร์ลิงชุบโรเดียม หรือมักนิยมนำอัญมณีสังเคราะห์และอัญมณีเลียนแบบ มาใช้ตกแต่งเครื่องประดับแทนเพชรและพลอยสี ซึ่งเหมาะกับผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใส่ใจในเรื่องราคา ขณะที่เทรนด์การนำวัสดุใหม่ๆ หลากชนิด เช่น หนัง ไม้ ยาง กระดูกสัตว์ เชือก และริบบิ้น มาผสมผสานเป็นเครื่องประดับก็สร้างภาพลักษณ์ใหม่ระหว่างวัสดุธรรมดากับโลหะมีค่าและอัญมณีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังตอบโจทย์กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบการเล่นกีฬา หรือมีไลฟ์สไตล์กระฉับกระเฉงคล่องตัว รวมถึงผู้ที่มีรสนิยมในการสวมใส่เครื่องประดับรูปแบบแหวกแนวแปลกใหม่ด้วย


กำไลข้อมือทำจากยางและสแตนเลสสตีล แบรนด์ Chopard


        ฉะนั้น ผู้ประกอบการในแวดวงอัญมณีและเครื่องประดับจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะผู้ผลิตเครื่องประดับที่ควรเร่งปรับกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์และบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้สอดรับกับความท้าทายทางด้านเศรษฐกิจ และราคาวัตถุดิบดังกล่าวข้างต้น เร่งพัฒนารูปแบบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาดคู่ค้ามากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังต้องมุ่งสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ของตน ทั้งในด้านรูปแบบ วัสดุที่ใช้ และเน้นการออกแบบเครื่องประดับให้สะท้อนถึงความรู้สึกหรูหราในสนนราคาที่จับจ่ายได้ (Affordable Luxury) ปรับใช้ได้หลากสไตล์และหลายโอกาส รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าด้วย


ผู้เขียน: นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) JNA. 2023. Design diversity from fashion jewellers. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/blog/25063/030623-Design-diversity-from-fashion-jewellers?utm_source=JnetEnews&utm_medium=email&utm_campaign=ENG-230307&utm_term=Top_story.
2) JNA. 2022. Alternative metals sparkle in the jewellery trade. [Online]. Available at https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24710.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site