ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

Digital Transformation ด้วย AI ในโลกของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

Aug 31, 2023
1251 views
0 share

ในยุคนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นถือได้ว่ามีการเปลี่ยนในชนิดที่เรียกว่าไม่สามารถกระพริบตากันได้เลย Digital Transformation คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผู้รับบริการขององค์กรหรือธุรกิจ เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยจากความคาดหวังและความต้องการด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดการเปลี่ยนนั้น ซึ่งองค์ประกอบของ Digital Transformation ประกอบด้วย


  • คน (People) โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้น และความรู้สึกที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างประสบการณ์ของพนักงานในองค์กรและประสบการณ์ที่ผู้รับบริการจะได้รับ
  • กระบวนการ (Process) เทคโนโลยีที่จะนำมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องสนับสนุนกระบวนการทำงานต่างๆ ได้จริง และสามารถเชื่อมโยงถึงความคาดหวังและความต้องการของผู้รับบริการได้ด้วย
  • เทคโนโลยี (Technology) ระยะเวลาที่จะสามารถนำเทคโนโลยีที่ได้ผ่านการคัดกรองมาแล้วว่าจะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง โดยไม่ควรใช้ระยะเวลานานเกินไป เนื่องจากระยะเวลาที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

        ทั้งนี้ ในแต่ละองค์กรหรือธุรกิจอาจพิจารณาให้ความสำคัญกับองค์ประกอบสามส่วนนี้แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงานและการประเมินขององค์กรหรือธุรกิจเอง นอกจากองค์ประกอบของ Digital Transformation ที่ต้องคำนึงถึงแล้ว จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation ร่วมด้วย ซึ่งได้แก่

  • การวินิจฉัย (Diagnosis) เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้การวินิจฉัยและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน โดยการประเมินสภาพธุรกิจ (Situation Analysis) และการเข้าใจลูกค้าและคู่แข่ง
  • นโยบายขับเคลื่อน (Guiding Policy)
  • แผนการปฎิบัติงานที่สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อน (Coherent Plan of Action)

        จากข้อมูลของ Statista  คาดการณ์ว่าในปี 2026 ธุรกิจทั่วโลกจะมีการใช้จ่ายเกี่ยวกับ Digital Transformation สูงถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเติบโตขึ้นมากกว่า 2 เท่าในเวลาเพียง 4 ปี ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มของ Digital Transformation จะเป็นเทรนด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ มีการสำรวจจาก Gartner ที่ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ระบบ Hyperautomation*  จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขององค์กรหรือธุรกิจต่างๆ ได้ถึง 30% ภายในปี 2024 อีกทั้งข้อมูลจากรายงาน The AI Powered Enterprise: Unlocking the Potential of AI at Scale ระบุว่า องค์กรที่นำ AI มาใช้งานจะสามารถเพิ่มยอดขายได้มากกว่า 25% เห็นได้ชัดเจนว่า Digital Transformation ส่งผลกระทบกับทุกองค์กร  ดังนั้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ทันที เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของโลก รวมไปถึงรักษาระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง 

        สำหรับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับนั้นก็มี Digital Transformation เกิดขึ้นแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีความหลากหลายและน่าสนใจเป็นอย่างมาก จากนี้มาท่องโลกของ AI ที่เกี่ยวข้องกับอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงเวลาแห่ง Digital Transformation ไปด้วยกันว่าจะเป็นอย่างไร

  • การตรวจสอบเพชรแบบเรียลไทม์ สามารถตรวจสอบข้อมูลว่าเพชรนั้นมีตำหนิหรือมลทินที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ก่อนการตัดสินใจซื้อ รวมไปถึงการค้นหาเพชรตามงบประมาณและสไตล์ที่ต้องการในทางหนึ่ง โดย Ringo เป็นผู้เชี่ยวชาญ AI รายแรกของโลกในเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้วยังมี GCAL Diamond Certificate ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง Sarine Technologies Ltd กับ Gem Certification & Assurance Lab (GCAL) ที่เป็นรายงานการตรวจสอบเพชรแบบหนึ่งเดียวที่สามารถรับรองคุณภาพของเพชรตามเงื่อนไข 4C’s 



  • การผลิตแบบอัตโนมัติ กระบวนการผลิตบางอย่างสามารถนำ AI ไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนให้กระบวนการนั้นเป็นระบบอัตโนมัติได้ ซึ่งจะมีผลต่อการลดระยะเวลาในกระบวนการทำงานและลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี โดย 3D Printing คือหนึ่งในวิธีอัตโนมัติที่สามารถลดกระบวนการในการทำงานที่ซับซ้อน ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อยลง และแก้ไขชิ้นงานได้อย่างรวดเร็วด้วย AI
  • การออกแบบเครื่องประดับ AI นั้นสามารถสร้างชิ้นงานที่สวยงามและมีคุณภาพได้เช่นเดียวกับการออกแบบด้วยนักออกแบบเครื่องประดับ โดย Microsoft คือหนึ่งในตัวอย่างที่ได้สร้างและพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับด้วย AI 


  • การแสดงเครื่องประดับในร้านค้าออนไลน์ ด้วยการทำงานร่วมกันของ AI และเทคโนโลยีโฮโลแกรม 3 มิติ ทำให้สามารถจัดแสดงเพชรหรือเครื่องประดับต่างๆ ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับรู้และเข้าถึงรูปร่าง ขนาด การสะท้อนแสง ประกาย สีสันของสินค้าเสมือนได้ชมสินค้าจริง ซึ่งรวมไปถึงช่องทางในการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดใจไปพร้อมกันด้วย โดย James Allen Diamond Virtual Consultant คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ AI ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี


  • การลองสวมเครื่องประดับในรูปแบบดิจิทัล ทำให้ลูกค้าสามารถเห็นตำแหน่งของเครื่องประดับที่เลือกไว้บนรูปจริงของตนเอง เสมือนกับได้ลองเครื่องประดับที่ร้าน โดย James Allen คือหนึ่งในบริษัทที่พัฒนาวิธีการลองสวมเครื่องประดับในรูปแบบดิจิทัลผ่าน jamesallen.com


  • การวัดขนาดแหวนออนไลน์ สามารถวัดได้จากขนาดแหวนเดิมที่มีอยู่ หรือวัดจากนิ้วก็ทำให้ทราบขนาดของแหวนได้ในทันที หมดกังวลกับการซื้อแหวนผ่านช่องทางออนไลน์อีกต่อไป โดย Ring Size™ by Hitched ของ Tiffany & Co. เป็นตัวหนึ่งอย่างในการวัดขนาดแหวนออนไลน์ 


  • การพยากรณ์แนวโน้ม AI สามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า และข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำมาพยากรณ์แนวโน้มในอนาคต ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการทำงานของธุรกิจด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาด้านการบริการลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีของธุรกิจในอีกทางหนึ่งด้วย

        ด้วยความสามารถที่หลากหลายของ “ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI” ดังตัวอย่างบางส่วนข้างต้นนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่มีที่สิ้นสุดของเทคโนโยลีนี้ได้เป็นอย่างดี การนำ AI มาประยุกต์ใช้ด้วยความเหมาะสมให้ถูกที่และถูกเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรหรือธุรกิจจำเป็นต้องพิจารณาให้ดี โดยไม่ลืมนำเอาองค์ประกอบและกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation มาพิจารณาร่วมด้วย หากทำได้แล้วก็จะสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

--------------------------

Hyperautomation หมายถึง การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Machine Learning (ML) หรือ Robotic Process Automation (RPA) เพื่อทำงานต่างๆ ที่มนุษย์เคยทำให้เป็นกระบวนการอัตโนมัติให้มากที่สุด


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1. https://www.dmit.co.th/th/zendesk-updates-th/what-is-digital-transformation/
2. https://teachme-biz.com/blog/digital-transformationstrategy/?gclid=Cj0KCQjwz8emBhDrARIsANNJjS4Nz7Vlnw7cXEPTX5_r3yLzkqkzdnF-l3lqh9APaSGbx5rYujKOyJAaAv0IEALw_wcB
3. https://www.statista.com/statistics/870924/worldwide-digital-transformation-market-size/#statisticContainer
4. https://iconext.co.th/th/2022/02/11/hyperautomation-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97/
5. https://sciling.com/how-artificial-intelligence-has-revolutionized-the-jewelry-market/?lang=en
6. https://resleeve.ai/how-artificial-intelligence-has-revolutionized-the-jewelry-market/

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

Digital Transformation ด้วย AI ในโลกของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

Aug 31, 2023
1251 views
0 share

ในยุคนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นถือได้ว่ามีการเปลี่ยนในชนิดที่เรียกว่าไม่สามารถกระพริบตากันได้เลย Digital Transformation คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผู้รับบริการขององค์กรหรือธุรกิจ เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยจากความคาดหวังและความต้องการด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดการเปลี่ยนนั้น ซึ่งองค์ประกอบของ Digital Transformation ประกอบด้วย


  • คน (People) โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้น และความรู้สึกที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างประสบการณ์ของพนักงานในองค์กรและประสบการณ์ที่ผู้รับบริการจะได้รับ
  • กระบวนการ (Process) เทคโนโลยีที่จะนำมาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องสนับสนุนกระบวนการทำงานต่างๆ ได้จริง และสามารถเชื่อมโยงถึงความคาดหวังและความต้องการของผู้รับบริการได้ด้วย
  • เทคโนโลยี (Technology) ระยะเวลาที่จะสามารถนำเทคโนโลยีที่ได้ผ่านการคัดกรองมาแล้วว่าจะสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง โดยไม่ควรใช้ระยะเวลานานเกินไป เนื่องจากระยะเวลาที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

        ทั้งนี้ ในแต่ละองค์กรหรือธุรกิจอาจพิจารณาให้ความสำคัญกับองค์ประกอบสามส่วนนี้แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงานและการประเมินขององค์กรหรือธุรกิจเอง นอกจากองค์ประกอบของ Digital Transformation ที่ต้องคำนึงถึงแล้ว จำเป็นต้องมีกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation ร่วมด้วย ซึ่งได้แก่

  • การวินิจฉัย (Diagnosis) เป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้การวินิจฉัยและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน โดยการประเมินสภาพธุรกิจ (Situation Analysis) และการเข้าใจลูกค้าและคู่แข่ง
  • นโยบายขับเคลื่อน (Guiding Policy)
  • แผนการปฎิบัติงานที่สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อน (Coherent Plan of Action)

        จากข้อมูลของ Statista  คาดการณ์ว่าในปี 2026 ธุรกิจทั่วโลกจะมีการใช้จ่ายเกี่ยวกับ Digital Transformation สูงถึง 3.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเติบโตขึ้นมากกว่า 2 เท่าในเวลาเพียง 4 ปี ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มของ Digital Transformation จะเป็นเทรนด์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้ มีการสำรวจจาก Gartner ที่ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ระบบ Hyperautomation*  จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานขององค์กรหรือธุรกิจต่างๆ ได้ถึง 30% ภายในปี 2024 อีกทั้งข้อมูลจากรายงาน The AI Powered Enterprise: Unlocking the Potential of AI at Scale ระบุว่า องค์กรที่นำ AI มาใช้งานจะสามารถเพิ่มยอดขายได้มากกว่า 25% เห็นได้ชัดเจนว่า Digital Transformation ส่งผลกระทบกับทุกองค์กร  ดังนั้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้ทันที เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของโลก รวมไปถึงรักษาระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่อง 

        สำหรับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับนั้นก็มี Digital Transformation เกิดขึ้นแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีความหลากหลายและน่าสนใจเป็นอย่างมาก จากนี้มาท่องโลกของ AI ที่เกี่ยวข้องกับอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงเวลาแห่ง Digital Transformation ไปด้วยกันว่าจะเป็นอย่างไร

  • การตรวจสอบเพชรแบบเรียลไทม์ สามารถตรวจสอบข้อมูลว่าเพชรนั้นมีตำหนิหรือมลทินที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ก่อนการตัดสินใจซื้อ รวมไปถึงการค้นหาเพชรตามงบประมาณและสไตล์ที่ต้องการในทางหนึ่ง โดย Ringo เป็นผู้เชี่ยวชาญ AI รายแรกของโลกในเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้วยังมี GCAL Diamond Certificate ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง Sarine Technologies Ltd กับ Gem Certification & Assurance Lab (GCAL) ที่เป็นรายงานการตรวจสอบเพชรแบบหนึ่งเดียวที่สามารถรับรองคุณภาพของเพชรตามเงื่อนไข 4C’s 



  • การผลิตแบบอัตโนมัติ กระบวนการผลิตบางอย่างสามารถนำ AI ไปใช้เพื่อปรับเปลี่ยนให้กระบวนการนั้นเป็นระบบอัตโนมัติได้ ซึ่งจะมีผลต่อการลดระยะเวลาในกระบวนการทำงานและลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี โดย 3D Printing คือหนึ่งในวิธีอัตโนมัติที่สามารถลดกระบวนการในการทำงานที่ซับซ้อน ใช้ระยะเวลาในการทำงานน้อยลง และแก้ไขชิ้นงานได้อย่างรวดเร็วด้วย AI
  • การออกแบบเครื่องประดับ AI นั้นสามารถสร้างชิ้นงานที่สวยงามและมีคุณภาพได้เช่นเดียวกับการออกแบบด้วยนักออกแบบเครื่องประดับ โดย Microsoft คือหนึ่งในตัวอย่างที่ได้สร้างและพัฒนาการออกแบบเครื่องประดับด้วย AI 


  • การแสดงเครื่องประดับในร้านค้าออนไลน์ ด้วยการทำงานร่วมกันของ AI และเทคโนโลยีโฮโลแกรม 3 มิติ ทำให้สามารถจัดแสดงเพชรหรือเครื่องประดับต่างๆ ที่จะทำให้ลูกค้าได้รับรู้และเข้าถึงรูปร่าง ขนาด การสะท้อนแสง ประกาย สีสันของสินค้าเสมือนได้ชมสินค้าจริง ซึ่งรวมไปถึงช่องทางในการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่จะมาช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดใจไปพร้อมกันด้วย โดย James Allen Diamond Virtual Consultant คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ AI ในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี


  • การลองสวมเครื่องประดับในรูปแบบดิจิทัล ทำให้ลูกค้าสามารถเห็นตำแหน่งของเครื่องประดับที่เลือกไว้บนรูปจริงของตนเอง เสมือนกับได้ลองเครื่องประดับที่ร้าน โดย James Allen คือหนึ่งในบริษัทที่พัฒนาวิธีการลองสวมเครื่องประดับในรูปแบบดิจิทัลผ่าน jamesallen.com


  • การวัดขนาดแหวนออนไลน์ สามารถวัดได้จากขนาดแหวนเดิมที่มีอยู่ หรือวัดจากนิ้วก็ทำให้ทราบขนาดของแหวนได้ในทันที หมดกังวลกับการซื้อแหวนผ่านช่องทางออนไลน์อีกต่อไป โดย Ring Size™ by Hitched ของ Tiffany & Co. เป็นตัวหนึ่งอย่างในการวัดขนาดแหวนออนไลน์ 


  • การพยากรณ์แนวโน้ม AI สามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า และข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำมาพยากรณ์แนวโน้มในอนาคต ซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในกระบวนการทำงานของธุรกิจด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงการนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาด้านการบริการลูกค้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีของธุรกิจในอีกทางหนึ่งด้วย

        ด้วยความสามารถที่หลากหลายของ “ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI” ดังตัวอย่างบางส่วนข้างต้นนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่มีที่สิ้นสุดของเทคโนโยลีนี้ได้เป็นอย่างดี การนำ AI มาประยุกต์ใช้ด้วยความเหมาะสมให้ถูกที่และถูกเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรหรือธุรกิจจำเป็นต้องพิจารณาให้ดี โดยไม่ลืมนำเอาองค์ประกอบและกลยุทธ์ในการทำ Digital Transformation มาพิจารณาร่วมด้วย หากทำได้แล้วก็จะสามารถแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

--------------------------

Hyperautomation หมายถึง การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Machine Learning (ML) หรือ Robotic Process Automation (RPA) เพื่อทำงานต่างๆ ที่มนุษย์เคยทำให้เป็นกระบวนการอัตโนมัติให้มากที่สุด


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1. https://www.dmit.co.th/th/zendesk-updates-th/what-is-digital-transformation/
2. https://teachme-biz.com/blog/digital-transformationstrategy/?gclid=Cj0KCQjwz8emBhDrARIsANNJjS4Nz7Vlnw7cXEPTX5_r3yLzkqkzdnF-l3lqh9APaSGbx5rYujKOyJAaAv0IEALw_wcB
3. https://www.statista.com/statistics/870924/worldwide-digital-transformation-market-size/#statisticContainer
4. https://iconext.co.th/th/2022/02/11/hyperautomation-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97/
5. https://sciling.com/how-artificial-intelligence-has-revolutionized-the-jewelry-market/?lang=en
6. https://resleeve.ai/how-artificial-intelligence-has-revolutionized-the-jewelry-market/

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970