ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สร้างสรรค์เครื่องประดับที่ไม่ระบุเพศสภาพ

Nov 21, 2024
166 views
0 share

        จำนวนผู้ประกอบการเครื่องประดับที่ยอมรับแนวคิดความเป็นกลางทางเพศกำลังเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดงานออกแบบเครื่องประดับแบบรวมไว้ซึ่งความหลากหลายและเป็นสากลที่เอื้อให้ผู้บริโภคทั้งชายและหญิงแสดงออกถึงสไตล์ส่วนตัวได้อย่างอิสระ

ในยุคสมัยของความเป็นปัจเจกนิยมและการรวมไว้ซึ่งความหลากหลาย ขอบเขตของเพศค่อยๆ ลดน้อยถอยลง คอลเลกชันแฟชั่นสมัยใหม่กำลังทำให้เส้นแบ่งระหว่างเสื้อผ้าผู้ชายและผู้หญิงมีความคลุมเครือ เช่นเดียวกับการออกแบบเครื่องประดับ 

เครื่องประดับแบบ Unisex ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อุตสาหกรรมกำลังมองเห็นเครื่องประดับชั้นสูงเดินหน้าสร้างความแปลกใหม่เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ 

เครื่องประดับในมุมมองแบบเดิมที่มักเชื่อมโยงเครื่องประดับผู้ชายกับลักษณะความเป็นชายต่างๆ เช่น พละกำลัง และความกล้าหาญ ขณะที่เครื่องประดับของผู้หญิงมักจะนำเสนอในรูปแบบที่นุ่มนวลและมีความละเอียดอ่อนบอบบาง อย่างไรก็ตาม งานออกแบบที่ไม่บ่งบอกเพศในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนโฉมความคิดแบบดั้งเดิมของความเป็นผู้ชายและผู้หญิงที่ว่านี้

งานออกแบบที่ลื่นไหล

เครื่องประดับที่มีความเป็นกลางทางเพศได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในตลาดทั่วโลก โดยเริ่มกลายเป็นสินค้าหลักมากกว่าการเป็นแค่สินค้าตามกระแส Joy Wei Chow จากแบรนด์ JWC Fine Jewelry ไต้หวัน นับเป็นแนวหน้าของการปฏิวัติแนวทางการออกแบบนี้

เธออธิบายว่า เครื่องประดับผู้ชายมักใช้รูปทรงเรขาคณิตที่สื่อถึงพละกำลังและความแข็งแกร่ง ในทางกลับกัน เครื่องประดับผู้หญิงจะใช้เส้นสายที่นุ่มนวลบอบบางกว่า แก่นของงานออกแบบแบบไม่ระบุเพศสภาพก็คือ การผสมผสานความแตกต่างสองด้านนี้เข้าด้วยกันเป็นแง่มุมเดียวที่มีความนุ่มนวลในความเข้มแข็ง และความเข้มแข็งในความนุ่มนวล

จุดแข็งของ Chow อยู่ที่การใช้เส้นสายที่ลื่นไหลในงานออกแบบเพื่อให้บรรลุความพยายามทางศิลปะ โดยเปรียบเทียบลายเส้นกับการเขียนพู่กันโดยใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงความตึงเครียดและพละกำลัง และสร้างงานออกแบบที่น่าทึ่งซึ่งปลดปล่อยจินตนาการอันมีชีวิตชีวาของศิลปิน


ตัวอย่างเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีที่ออกแบบโดย Joy Wei Chow

ประสบการณ์ของ Chow ในการใช้ชีวิตและศึกษาในสหรัฐฯ และการได้ใช้ชีวิตท่ามกลางวัฒนธรรมอเมริกันสะท้อนออกมาในงานสร้างสรรค์ของเธอ งานออกแบบที่โดดเด่นของเธอมีเส้นสายสะดุดตาและสื่อความหมาย โดยประดับอัญมณีและเพชรเจียระไนแบบแฟนซีและแบบฟรีฟอร์มที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของแต่ละคน

ไร้ขอบเขต

เครื่องประดับแบบไม่ระบุเพศไม่เพียงท้าทายแบบแผนดั้งเดิม แต่ยังแหวกกรอบของความคิดสร้างสรรค์โดยการลบลักษณะเฉพาะต่างๆ เกี่ยวกับเพศออกจากการออกแบบเครื่องประดับอีกด้วย

Daisy Chan จากฮ่องกง ผู้ชนะรางวัลจากการประกวดออกแบบเครื่องประดับเห็นว่า สไตล์ที่เป็นกลางเป็นประโยชน์ต่อนักออกแบบเนื่องจากมันลบกรอบเรื่องเพศออกไปจากการออกแบบ ไม่ต้องจำกัดว่าออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ชายหรือผู้หญิงเท่านั้น  

Chan นำการออกแบบแนวนี้มาใช้ในงานของ Thinking Daisy Jewellery        แบรนด์เครื่องประดับของเธอ เช่น ในคอลเลกชัน ‘Stone’ นำเสนอเครื่องประดับเงินสเตอลิงค์ที่มีลักษณะคล้ายหิน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าทั้งชายและหญิง “ผู้หญิงยุคใหม่ถูกดึงดูดโดยการออกแบบที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครที่เป็นมากกว่าแค่ตัวเรือนให้กับอัญมณีและเพชรแบบดั้งเดิม ในทางตรงข้าม ผู้ชายบางคนไม่ได้ชื่นชอบการออกแบบที่มีลักษณะเป็นผู้ชายตามแบบแผน” Chan กล่าว 

แรงดึงดูดที่เป็นสากล

จากคำบอกเล่าของนักออกแบบเครื่องประดับ ธีมทางศิลปะบางอย่างโดยเฉพาะธีมที่สะท้อนให้เห็นภาพชีวิตประจำวัน จะมีความสอดคล้องกันทุกเพศ

Chow เน้นย้ำความนิยมของเครื่องประดับธีมสัตว์ ซึ่งเป็นหัวใจของคอลเลกชัน Uptown Funky Dog ของเธอว่า เครื่องประดับที่มีสัตว์เป็นแรงบันดาลใจเป็นที่ต้องการสูงในปีนี้เมื่อเทียบกับไม่กี่ปีก่อนหน้า อาจจะเป็นเพราะแทนที่จะมีลูก ผู้คนกลับหันไปเลี้ยงสัตว์แทน รูปสุนัขสามารถดึงดูดลูกค้าในวงกว้าง ไม่ว่าจะเพศอะไรก็ตาม 

ขณะที่ Thomas Tjiong แห่ง Cattivo Jewelry Co. Ltd. ในฮ่องกง เชื่อว่าการออกแบบแนวไม่ระบุเพศมาแรงเพราะความต้องการเครื่องประดับแปลกแหวกแนวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือกระแสความนิยมเครื่องประดับมุกและเทรนด์เครื่องประดับที่มีลักษณะพองนูนหรือ “Puffy Style” ที่กำลังเติบโต


แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

พฤศจิกายน 2567


ข้อมูลอ้างอิง


อ้างอิงเนื้อหาและภาพประกอบจาก JNA. 2024. "Gender-Fluid Creativity." [Online] Available at: https://news.jewellerynet.com/uploads/ebook//jna/2024/May-2024/18/ (Retrieved June 25, 2024).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สร้างสรรค์เครื่องประดับที่ไม่ระบุเพศสภาพ

Nov 21, 2024
166 views
0 share

        จำนวนผู้ประกอบการเครื่องประดับที่ยอมรับแนวคิดความเป็นกลางทางเพศกำลังเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดงานออกแบบเครื่องประดับแบบรวมไว้ซึ่งความหลากหลายและเป็นสากลที่เอื้อให้ผู้บริโภคทั้งชายและหญิงแสดงออกถึงสไตล์ส่วนตัวได้อย่างอิสระ

ในยุคสมัยของความเป็นปัจเจกนิยมและการรวมไว้ซึ่งความหลากหลาย ขอบเขตของเพศค่อยๆ ลดน้อยถอยลง คอลเลกชันแฟชั่นสมัยใหม่กำลังทำให้เส้นแบ่งระหว่างเสื้อผ้าผู้ชายและผู้หญิงมีความคลุมเครือ เช่นเดียวกับการออกแบบเครื่องประดับ 

เครื่องประดับแบบ Unisex ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่อุตสาหกรรมกำลังมองเห็นเครื่องประดับชั้นสูงเดินหน้าสร้างความแปลกใหม่เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดมากขึ้นเรื่อยๆ 

เครื่องประดับในมุมมองแบบเดิมที่มักเชื่อมโยงเครื่องประดับผู้ชายกับลักษณะความเป็นชายต่างๆ เช่น พละกำลัง และความกล้าหาญ ขณะที่เครื่องประดับของผู้หญิงมักจะนำเสนอในรูปแบบที่นุ่มนวลและมีความละเอียดอ่อนบอบบาง อย่างไรก็ตาม งานออกแบบที่ไม่บ่งบอกเพศในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนโฉมความคิดแบบดั้งเดิมของความเป็นผู้ชายและผู้หญิงที่ว่านี้

งานออกแบบที่ลื่นไหล

เครื่องประดับที่มีความเป็นกลางทางเพศได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในตลาดทั่วโลก โดยเริ่มกลายเป็นสินค้าหลักมากกว่าการเป็นแค่สินค้าตามกระแส Joy Wei Chow จากแบรนด์ JWC Fine Jewelry ไต้หวัน นับเป็นแนวหน้าของการปฏิวัติแนวทางการออกแบบนี้

เธออธิบายว่า เครื่องประดับผู้ชายมักใช้รูปทรงเรขาคณิตที่สื่อถึงพละกำลังและความแข็งแกร่ง ในทางกลับกัน เครื่องประดับผู้หญิงจะใช้เส้นสายที่นุ่มนวลบอบบางกว่า แก่นของงานออกแบบแบบไม่ระบุเพศสภาพก็คือ การผสมผสานความแตกต่างสองด้านนี้เข้าด้วยกันเป็นแง่มุมเดียวที่มีความนุ่มนวลในความเข้มแข็ง และความเข้มแข็งในความนุ่มนวล

จุดแข็งของ Chow อยู่ที่การใช้เส้นสายที่ลื่นไหลในงานออกแบบเพื่อให้บรรลุความพยายามทางศิลปะ โดยเปรียบเทียบลายเส้นกับการเขียนพู่กันโดยใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงออกถึงความตึงเครียดและพละกำลัง และสร้างงานออกแบบที่น่าทึ่งซึ่งปลดปล่อยจินตนาการอันมีชีวิตชีวาของศิลปิน


ตัวอย่างเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีที่ออกแบบโดย Joy Wei Chow

ประสบการณ์ของ Chow ในการใช้ชีวิตและศึกษาในสหรัฐฯ และการได้ใช้ชีวิตท่ามกลางวัฒนธรรมอเมริกันสะท้อนออกมาในงานสร้างสรรค์ของเธอ งานออกแบบที่โดดเด่นของเธอมีเส้นสายสะดุดตาและสื่อความหมาย โดยประดับอัญมณีและเพชรเจียระไนแบบแฟนซีและแบบฟรีฟอร์มที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของแต่ละคน

ไร้ขอบเขต

เครื่องประดับแบบไม่ระบุเพศไม่เพียงท้าทายแบบแผนดั้งเดิม แต่ยังแหวกกรอบของความคิดสร้างสรรค์โดยการลบลักษณะเฉพาะต่างๆ เกี่ยวกับเพศออกจากการออกแบบเครื่องประดับอีกด้วย

Daisy Chan จากฮ่องกง ผู้ชนะรางวัลจากการประกวดออกแบบเครื่องประดับเห็นว่า สไตล์ที่เป็นกลางเป็นประโยชน์ต่อนักออกแบบเนื่องจากมันลบกรอบเรื่องเพศออกไปจากการออกแบบ ไม่ต้องจำกัดว่าออกแบบเฉพาะสำหรับผู้ชายหรือผู้หญิงเท่านั้น  

Chan นำการออกแบบแนวนี้มาใช้ในงานของ Thinking Daisy Jewellery        แบรนด์เครื่องประดับของเธอ เช่น ในคอลเลกชัน ‘Stone’ นำเสนอเครื่องประดับเงินสเตอลิงค์ที่มีลักษณะคล้ายหิน โดยได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้าทั้งชายและหญิง “ผู้หญิงยุคใหม่ถูกดึงดูดโดยการออกแบบที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใครที่เป็นมากกว่าแค่ตัวเรือนให้กับอัญมณีและเพชรแบบดั้งเดิม ในทางตรงข้าม ผู้ชายบางคนไม่ได้ชื่นชอบการออกแบบที่มีลักษณะเป็นผู้ชายตามแบบแผน” Chan กล่าว 

แรงดึงดูดที่เป็นสากล

จากคำบอกเล่าของนักออกแบบเครื่องประดับ ธีมทางศิลปะบางอย่างโดยเฉพาะธีมที่สะท้อนให้เห็นภาพชีวิตประจำวัน จะมีความสอดคล้องกันทุกเพศ

Chow เน้นย้ำความนิยมของเครื่องประดับธีมสัตว์ ซึ่งเป็นหัวใจของคอลเลกชัน Uptown Funky Dog ของเธอว่า เครื่องประดับที่มีสัตว์เป็นแรงบันดาลใจเป็นที่ต้องการสูงในปีนี้เมื่อเทียบกับไม่กี่ปีก่อนหน้า อาจจะเป็นเพราะแทนที่จะมีลูก ผู้คนกลับหันไปเลี้ยงสัตว์แทน รูปสุนัขสามารถดึงดูดลูกค้าในวงกว้าง ไม่ว่าจะเพศอะไรก็ตาม 

ขณะที่ Thomas Tjiong แห่ง Cattivo Jewelry Co. Ltd. ในฮ่องกง เชื่อว่าการออกแบบแนวไม่ระบุเพศมาแรงเพราะความต้องการเครื่องประดับแปลกแหวกแนวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือกระแสความนิยมเครื่องประดับมุกและเทรนด์เครื่องประดับที่มีลักษณะพองนูนหรือ “Puffy Style” ที่กำลังเติบโต


แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

พฤศจิกายน 2567


ข้อมูลอ้างอิง


อ้างอิงเนื้อหาและภาพประกอบจาก JNA. 2024. "Gender-Fluid Creativity." [Online] Available at: https://news.jewellerynet.com/uploads/ebook//jna/2024/May-2024/18/ (Retrieved June 25, 2024).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site