ทอง'ตู้แดง'รายย่อยทยอยเจ๊ง!'โควิด'ทุบกำลังซื้อ-คนแห่จำนำไม่ไถ่คืน

Jan 11, 2021
937 views
1 share
แหล่งที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
หมวดหมู่: การตลาด

"โควิด" ระลอกใหม่ทุบซ้ำค้าทองรายย่อย-ช่างทอง "นายกสมาคมค้าทองคำ" ชี้ร้านทอง "ตู้แดง" รายเล็กขาดทุนบักโกรกทยอยปิดกิจการ เหตุประชาชนเจอพิษเศรษฐกิจแย่ไม่มีกำลังซื้อแห่ "ขายทองรูปพรรณ-จำนำขาดไม่ไถ่คืน" ขณะที่ "ประธานกลุ่มแม่ทองสุก" ประเมินปีนี้ยอดขายทองรูปพรรณตกอีกไม่น้อยกว่า 30%

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มราคาทองคำปี 2564 ช่วงเริ่มต้นสัปดาห์แรก (1-7 ม.ค.) พบว่า ราคายังปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาทองคำต่างประเทศ (gold spot) ปรับขึ้นทะลุ 1,900 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนราคาทองคำแท่งในประเทศปรับขึ้น 400 บาท/บาททองคำ มาอยู่ที่ 27,250 บาท/บาททองคำ หลังจากในปี 2563 ที่ผ่านมา ราคาทองคำให้ผลตอบแทนกว่า 25%

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในแง่การซื้อขาย พบว่า ตลาดทองคำรูปพรรณค่อนข้างซบเซา จากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ทั้งระลอกเดิมและระลอกใหม่ ส่งผล ให้กำลังซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยหายไป ส่วนทองคำแท่ง พบว่า นักลงทุนยังเลือกถือครอง เพื่อรอดูความชัดเจนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึง สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศระหว่างสหรัฐกับจีน

ขณะที่ธุรกิจทองคำเองก็จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกใหม่ เช่นเดียวกับธุรกิจประเภทอื่น หลังจากช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา กำลังซื้อลดลงจากปีก่อน ส่งผล ต่อเนื่องไปยังร้านค้าทองคำขนาดเล็ก รวมถึงอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจทองคำ เช่น ช่างทอง เป็นต้น

"อาชีพช่างทองน่าเป็นห่วงมาก เพราะถูกกดดันจากสภาพเศรษฐกิจมายาวนาน พอสมควร ตั้งแต่การแพร่ระบาดของ โควิด-19 รอบแรก ส่งผลให้โรงงานผลิตทองคำหลายแห่งปิดตัวไปเยอะ ส่งผลให้ช่างทองตกงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอนาคตแม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว ก็น่าจะหาช่างได้ลำบาก" นายจิตติกล่าว

นายจิตติกล่าวอีกว่า ส่วนผู้ประกอบการ ร้านค้าทองคำรายย่อย โดยเฉพาะร้านทองตู้แดงในต่างจังหวัด พบว่า วอลุ่มการซื้อขายหน้าร้านเบาบางลง เนื่องจากลูกค้าบางส่วนนำทองคำมาขายและจำนำในช่วงที่ราคาทองคำปรับขึ้นร้อนแรงในปีก่อน และผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ลูกค้าจำนวนมากนำทองคำมาจำนำแล้วไม่ไถ่ถอนคืน เนื่องจากมีความจำเป็นนำเงินไป จับจ่ายใช้สอย

"ลูกค้ามีแต่เอาทองมาขาย เพราะจะนำเงินไปจับจ่ายใช้สอย ส่วนที่นำมาจำนำ ก็กะเอามาขายขาดเลย ไม่มีจำนำรอซื้อคืน ส่งผลให้ร้านทองขาดทุน นอกจากนี้ยังเห็นปรากฏการณ์ที่ร้านค้าทองคำรายเล็ก อาศัยจังหวะราคาทองพุ่งขึ้นมาก ๆ ก็ขายเอากำไรและปิดกิจการไปเลย" นายจิตติกล่าว

นายแพทย์กฤชรัตน์ หิรัณยศิริ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท MTS Gold แม่ทองสุก กล่าวว่า ธุรกิจทองคำในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ซบเซาลงกว่าครั้งก่อน สะท้อนจากช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา วอลุ่มการซื้อขายทองคำปรับลดลงประมาณ 30-50% โดยส่วนหนึ่งคาดว่า เป็นผลจากในช่วงที่ไวรัสระบาดรอบแรกประชาชนได้นำแก้วแหวนเงินทอง หรือของมีค่าออกมาขายเพื่อดึงสภาพคล่องบางส่วนไปแล้ว

"การที่ตลาดทองคำซบเซาลง เรามองว่าเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้คนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกวัคซีนป้องกัน โควิด-19 แล้วก็ตาม แต่กว่าจะฉีดได้ครบจริง ๆ น่าจะกินเวลายาวไปถึงสิ้นปี ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกก็ต้องประคับประคองกันไปก่อน" นายแพทย์กฤชรัตน์กล่าว

โดยธุรกิจทองคำทั้ง 2 กลุ่ม กล่าวคือ ธุรกิจทองคำตู้แดงที่เน้นขายทองคำรูปพรรณ เพื่อสวมใส่เป็นเครื่องประดับ กลุ่มนี้ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทางตรง คาดว่ายอดขายจะยังลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนไม่น้อยกว่า 30% อย่างไรก็ดี ธุรกิจทองคำแท่งเพื่อการลงทุน น่าจะยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับตัวเลขการส่งออกทองคำที่อยู่ในระดับสูง

นายแพทย์กฤชรัตน์กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ค้าทองสามารถปรับตัวรับมือการระบาดระลอกใหม่ได้ดีขึ้น เนื่องจากวอลุ่มปรับขึ้นไม่สูงมากเท่าช่วงที่เกิดการระบาดรอบแรก นอกจากนี้ รัฐบาลยังประกาศล็อกดาวน์เพียงบางพื้นที่เท่านั้น จึงยังสามารถขนส่งทองคำระหว่างจังหวัดได้ โดยพนักงานขนส่งทองคำของบริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสอย่างเข้มงวด ส่วนการขนส่งทองคำระหว่างประเทศยังสามารถนำเข้า และส่งออกได้ตามปกติ แต่เป็นความปกติหลังวิถีใหม่ (new normal) ตามเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ลดลง


ข้อมูลอ้างอิง


หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ทอง'ตู้แดง'รายย่อยทยอยเจ๊ง!'โควิด'ทุบกำลังซื้อ-คนแห่จำนำไม่ไถ่คืน

Jan 11, 2021
937 views
1 share
แหล่งที่มา: ประชาชาติธุรกิจ
หมวดหมู่: การตลาด

"โควิด" ระลอกใหม่ทุบซ้ำค้าทองรายย่อย-ช่างทอง "นายกสมาคมค้าทองคำ" ชี้ร้านทอง "ตู้แดง" รายเล็กขาดทุนบักโกรกทยอยปิดกิจการ เหตุประชาชนเจอพิษเศรษฐกิจแย่ไม่มีกำลังซื้อแห่ "ขายทองรูปพรรณ-จำนำขาดไม่ไถ่คืน" ขณะที่ "ประธานกลุ่มแม่ทองสุก" ประเมินปีนี้ยอดขายทองรูปพรรณตกอีกไม่น้อยกว่า 30%

นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มราคาทองคำปี 2564 ช่วงเริ่มต้นสัปดาห์แรก (1-7 ม.ค.) พบว่า ราคายังปรับขึ้นต่อเนื่อง โดยราคาทองคำต่างประเทศ (gold spot) ปรับขึ้นทะลุ 1,900 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่วนราคาทองคำแท่งในประเทศปรับขึ้น 400 บาท/บาททองคำ มาอยู่ที่ 27,250 บาท/บาททองคำ หลังจากในปี 2563 ที่ผ่านมา ราคาทองคำให้ผลตอบแทนกว่า 25%

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในแง่การซื้อขาย พบว่า ตลาดทองคำรูปพรรณค่อนข้างซบเซา จากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ทั้งระลอกเดิมและระลอกใหม่ ส่งผล ให้กำลังซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยหายไป ส่วนทองคำแท่ง พบว่า นักลงทุนยังเลือกถือครอง เพื่อรอดูความชัดเจนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึง สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศระหว่างสหรัฐกับจีน

ขณะที่ธุรกิจทองคำเองก็จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกใหม่ เช่นเดียวกับธุรกิจประเภทอื่น หลังจากช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา กำลังซื้อลดลงจากปีก่อน ส่งผล ต่อเนื่องไปยังร้านค้าทองคำขนาดเล็ก รวมถึงอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจทองคำ เช่น ช่างทอง เป็นต้น

"อาชีพช่างทองน่าเป็นห่วงมาก เพราะถูกกดดันจากสภาพเศรษฐกิจมายาวนาน พอสมควร ตั้งแต่การแพร่ระบาดของ โควิด-19 รอบแรก ส่งผลให้โรงงานผลิตทองคำหลายแห่งปิดตัวไปเยอะ ส่งผลให้ช่างทองตกงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอนาคตแม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว ก็น่าจะหาช่างได้ลำบาก" นายจิตติกล่าว

นายจิตติกล่าวอีกว่า ส่วนผู้ประกอบการ ร้านค้าทองคำรายย่อย โดยเฉพาะร้านทองตู้แดงในต่างจังหวัด พบว่า วอลุ่มการซื้อขายหน้าร้านเบาบางลง เนื่องจากลูกค้าบางส่วนนำทองคำมาขายและจำนำในช่วงที่ราคาทองคำปรับขึ้นร้อนแรงในปีก่อน และผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้ลูกค้าจำนวนมากนำทองคำมาจำนำแล้วไม่ไถ่ถอนคืน เนื่องจากมีความจำเป็นนำเงินไป จับจ่ายใช้สอย

"ลูกค้ามีแต่เอาทองมาขาย เพราะจะนำเงินไปจับจ่ายใช้สอย ส่วนที่นำมาจำนำ ก็กะเอามาขายขาดเลย ไม่มีจำนำรอซื้อคืน ส่งผลให้ร้านทองขาดทุน นอกจากนี้ยังเห็นปรากฏการณ์ที่ร้านค้าทองคำรายเล็ก อาศัยจังหวะราคาทองพุ่งขึ้นมาก ๆ ก็ขายเอากำไรและปิดกิจการไปเลย" นายจิตติกล่าว

นายแพทย์กฤชรัตน์ หิรัณยศิริ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท MTS Gold แม่ทองสุก กล่าวว่า ธุรกิจทองคำในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ซบเซาลงกว่าครั้งก่อน สะท้อนจากช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา วอลุ่มการซื้อขายทองคำปรับลดลงประมาณ 30-50% โดยส่วนหนึ่งคาดว่า เป็นผลจากในช่วงที่ไวรัสระบาดรอบแรกประชาชนได้นำแก้วแหวนเงินทอง หรือของมีค่าออกมาขายเพื่อดึงสภาพคล่องบางส่วนไปแล้ว

"การที่ตลาดทองคำซบเซาลง เรามองว่าเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้คนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกวัคซีนป้องกัน โควิด-19 แล้วก็ตาม แต่กว่าจะฉีดได้ครบจริง ๆ น่าจะกินเวลายาวไปถึงสิ้นปี ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกก็ต้องประคับประคองกันไปก่อน" นายแพทย์กฤชรัตน์กล่าว

โดยธุรกิจทองคำทั้ง 2 กลุ่ม กล่าวคือ ธุรกิจทองคำตู้แดงที่เน้นขายทองคำรูปพรรณ เพื่อสวมใส่เป็นเครื่องประดับ กลุ่มนี้ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจทางตรง คาดว่ายอดขายจะยังลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนไม่น้อยกว่า 30% อย่างไรก็ดี ธุรกิจทองคำแท่งเพื่อการลงทุน น่าจะยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับตัวเลขการส่งออกทองคำที่อยู่ในระดับสูง

นายแพทย์กฤชรัตน์กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ค้าทองสามารถปรับตัวรับมือการระบาดระลอกใหม่ได้ดีขึ้น เนื่องจากวอลุ่มปรับขึ้นไม่สูงมากเท่าช่วงที่เกิดการระบาดรอบแรก นอกจากนี้ รัฐบาลยังประกาศล็อกดาวน์เพียงบางพื้นที่เท่านั้น จึงยังสามารถขนส่งทองคำระหว่างจังหวัดได้ โดยพนักงานขนส่งทองคำของบริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสอย่างเข้มงวด ส่วนการขนส่งทองคำระหว่างประเทศยังสามารถนำเข้า และส่งออกได้ตามปกติ แต่เป็นความปกติหลังวิถีใหม่ (new normal) ตามเที่ยวบินระหว่างประเทศที่ลดลง


ข้อมูลอ้างอิง


หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970